11.10.2554

เสือตอ


ปลาเสือตอจัดเป็นปลาสวยงามของไทยชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพราะสามารถทำรายได้ให้กับผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์และเนื้อมีรสชาติดี เดิมทีประชาชนนิยมบริโภคเป็นอาหาร ซึ่งเคยเป็นเมนูที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนครสวรรค์ แต่ในปัจจุบันประชาชนนิยมนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่เลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลินมากกว่าที่จะนำไปบริโภค เพราะว่ามีราคาแพง อัตราการจับปลาเสือตอจากธรรมชาติมีจำนวนลดลงเป็นอย่างมากในปัจจุบันเมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้ปลาเสือตอกำลังสูญพันธุ์ไป นั่นก็คือ ความเสื่อมสภาพลงของสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ การทำการประมงเกินกำลังการผลิต การทำการประมงที่ผิด พ.ร.บ. เช่น การใช้ยาเบื่อเมา การใช้วัตถุระเบิด การใช้กระแสไฟฟ้าช๊อตจับปลา การลักลอบจับปลาในฤดูวางไข่ สาเหตุส่วนหนึ่งนั้นมาจากการขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ของมนุษย์ และเนื่องจากปลาเสือตอกำลังอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ กฎหมายจึงได้กำหนดให้ปลาเสือตอจัดอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยบัญญัติไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (2540) ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2540 ดังนั้นผู้ที่ต้องการมีปลาเสือตอไว้ในครอบครองจะต้องทำการขอุอนญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และจะต้องปฏิบัติตามกฎและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ผู้ใดมีปลาเสือตอไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิด โทษปรับไม่เกิน 40,000 บาทและจำคุกไม่เกิน 4 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้เพื่อการอนุรักษ์และสนับสนุนให้มีการเพาะเลี้ยงปลาเสือตอเพื่อมิให้สูญหายไปจากสารบบปลาสวยงามของไทยและให้มีอยู่คู่กับเราตลอดไป
1. ทำความรู้จักกับปลาเสือตอ
1.1 การเรียกชื่อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Datnioides (Coius) microlepis
ชื่อไทย : ปลาเสือตอ ปลาลาด
ชื่ออังกฤษ : Tiger fish, Siamess tiger fish, Gold datnoid
1.2 แหล่งกำเนิดและถิ่นที่อยู่อาศัย
ปลาเสือตอเป็นสัตว์น้ำจืดซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย ชอบอาศัยอยู่ตามหนอง บึง หรือลุ่มน้ำต่างๆ พบมากบริเวณภาคกลาง ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำน่าน และเคยพบชุกชุมมากในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์และแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในปัจจุบันพบว่ามีปริมาณลดน้อยลงมาก ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี นอกจากนี้ยังพบปลาเสือตอได้ทั่วไปในประเทศทางแถบร้อน เช่น อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม และเขมร
1.3 รูปร่างลักษณะโดยทั่วไป
ปลาเสือตอเป็นปลาใน Family Lobotidae ลำตัวมีสีเหลืองอมน้ำตาล สีน้ำตาลอ่อน สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม ตัวโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 40-50 cm ลักษณะที่โดเด่นเฉพาะตัวได้แก่ มีเส้นลายดำพาดขวางประมาณ 6-7 แถบ ลักษณะของลำตัวค่อนข้างลึกแบนกว้าง ส่วนหัวลาดลงเป็นปลายแหลม ปากกว้างยาวและสามารถยืดหดได้มาก (Protactile Jaw) มีครีบ 7 ครีบ ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแข็ง 12 อันส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อน ครีบอีก 1 คู่โปร่งใส ครีบท้อง 1 คู่อยู่ใต้ครีบอก ครีบก้นเป็นหนามแข็ง 3 อัน และส่วนที่เหลือเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางมีลักษณะกลม ขนาดลำตัวที่พบในธรรมชาติประมาณ 10-16 นิ้ว ปลาเสือตอที่พบในประเทศไทย มีลายบนลำตัวแตกต่างกัน แบ่งเป็น 2 สายพันธุ์
1.3.1 ปลาเสือตอลายใหญ่ ( Coius microlepis) ลายพาดขวางสีดำมีขนาดใหญ่ พื้นที่ของเส้นดำกลางลำตัวจะกว้างพอๆกับส่วนของสีพื้นซึ่งเป็นสีอ่อน และยังมีความแตกต่างกับปลาเสือตอลายเล็กตรงที่ลายพาดสีดำจะพาดผ่านแผ่นปิดเหงือกไปยังโคนครีบหูโดยจะอ้อมรอบลำคอทางด้านล่างของลำตัว นอกจากนี้ความลึกของลำตัวยังมากกว่าอีกด้วย ในปัจจุบันคาดว่าปลาเสือตอลายใหญ่สูญหายไปจากแม่น้ำในประเทศไทยแล้ว ส่วนปลาที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากการนำเข้าจากต่าประเทศเกือบทั้งหมด เช่น กัมพูชา และเวียดนาม
1.3.2 ปลาเสือตอลายเล็ก (Coius undecimradiatus) เป็นสายพันธุ์ที่มีลายดำพาดขวางแต่ละเส้นมีขนาดเล็ก โดยเล็กกว่าชนิดลายใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกว่านั้น และลายพาดสีดำดังกล่าวจะพาดผ่านแผ่นปิดเหงือกแล้วไปสิ้นสุดที่โคนครีบหู แต่ไม่อ้อมรอบลำคอ ปลาเสือตอลายเล็กนี้จะเป็นชนิดที่พบได้โดยทั่วไปในประเทศไทย1.4 อุปนิสัยของปลาเสือตอ
สาเหตุที่ได้ชื่อว่า "ปลาเสือตอ" เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบอาศัยหลบอยู่ตามตอไม้ใต้น้ำ หรือก้อนหินใต้น้ำ แต่จะไม่ชอบที่ที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นเยอะๆ มักจะชอบแฝงตัวอยู่อย่างเงียบๆคอยซุ่มจับเหยื่อ ตามธรรมชาติปลาเสือตอชอบหากินอยู่ในระดับน้ำลึกประมาณ 2-3 เมตร ปลาเสือตอจัดเป็นปลาประเภทกินเนื้อ ดังนั้นเหยื่อของมัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม