11.10.2554

เสือตอ


ปลาเสือตอจัดเป็นปลาสวยงามของไทยชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพราะสามารถทำรายได้ให้กับผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์และเนื้อมีรสชาติดี เดิมทีประชาชนนิยมบริโภคเป็นอาหาร ซึ่งเคยเป็นเมนูที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนครสวรรค์ แต่ในปัจจุบันประชาชนนิยมนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่เลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลินมากกว่าที่จะนำไปบริโภค เพราะว่ามีราคาแพง อัตราการจับปลาเสือตอจากธรรมชาติมีจำนวนลดลงเป็นอย่างมากในปัจจุบันเมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้ปลาเสือตอกำลังสูญพันธุ์ไป นั่นก็คือ ความเสื่อมสภาพลงของสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ การทำการประมงเกินกำลังการผลิต การทำการประมงที่ผิด พ.ร.บ. เช่น การใช้ยาเบื่อเมา การใช้วัตถุระเบิด การใช้กระแสไฟฟ้าช๊อตจับปลา การลักลอบจับปลาในฤดูวางไข่ สาเหตุส่วนหนึ่งนั้นมาจากการขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ของมนุษย์ และเนื่องจากปลาเสือตอกำลังอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ กฎหมายจึงได้กำหนดให้ปลาเสือตอจัดอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยบัญญัติไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (2540) ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2540 ดังนั้นผู้ที่ต้องการมีปลาเสือตอไว้ในครอบครองจะต้องทำการขอุอนญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และจะต้องปฏิบัติตามกฎและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ผู้ใดมีปลาเสือตอไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิด โทษปรับไม่เกิน 40,000 บาทและจำคุกไม่เกิน 4 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้เพื่อการอนุรักษ์และสนับสนุนให้มีการเพาะเลี้ยงปลาเสือตอเพื่อมิให้สูญหายไปจากสารบบปลาสวยงามของไทยและให้มีอยู่คู่กับเราตลอดไป
1. ทำความรู้จักกับปลาเสือตอ
1.1 การเรียกชื่อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Datnioides (Coius) microlepis
ชื่อไทย : ปลาเสือตอ ปลาลาด
ชื่ออังกฤษ : Tiger fish, Siamess tiger fish, Gold datnoid
1.2 แหล่งกำเนิดและถิ่นที่อยู่อาศัย
ปลาเสือตอเป็นสัตว์น้ำจืดซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย ชอบอาศัยอยู่ตามหนอง บึง หรือลุ่มน้ำต่างๆ พบมากบริเวณภาคกลาง ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำน่าน และเคยพบชุกชุมมากในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์และแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในปัจจุบันพบว่ามีปริมาณลดน้อยลงมาก ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี นอกจากนี้ยังพบปลาเสือตอได้ทั่วไปในประเทศทางแถบร้อน เช่น อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม และเขมร
1.3 รูปร่างลักษณะโดยทั่วไป
ปลาเสือตอเป็นปลาใน Family Lobotidae ลำตัวมีสีเหลืองอมน้ำตาล สีน้ำตาลอ่อน สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม ตัวโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 40-50 cm ลักษณะที่โดเด่นเฉพาะตัวได้แก่ มีเส้นลายดำพาดขวางประมาณ 6-7 แถบ ลักษณะของลำตัวค่อนข้างลึกแบนกว้าง ส่วนหัวลาดลงเป็นปลายแหลม ปากกว้างยาวและสามารถยืดหดได้มาก (Protactile Jaw) มีครีบ 7 ครีบ ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแข็ง 12 อันส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อน ครีบอีก 1 คู่โปร่งใส ครีบท้อง 1 คู่อยู่ใต้ครีบอก ครีบก้นเป็นหนามแข็ง 3 อัน และส่วนที่เหลือเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางมีลักษณะกลม ขนาดลำตัวที่พบในธรรมชาติประมาณ 10-16 นิ้ว ปลาเสือตอที่พบในประเทศไทย มีลายบนลำตัวแตกต่างกัน แบ่งเป็น 2 สายพันธุ์
1.3.1 ปลาเสือตอลายใหญ่ ( Coius microlepis) ลายพาดขวางสีดำมีขนาดใหญ่ พื้นที่ของเส้นดำกลางลำตัวจะกว้างพอๆกับส่วนของสีพื้นซึ่งเป็นสีอ่อน และยังมีความแตกต่างกับปลาเสือตอลายเล็กตรงที่ลายพาดสีดำจะพาดผ่านแผ่นปิดเหงือกไปยังโคนครีบหูโดยจะอ้อมรอบลำคอทางด้านล่างของลำตัว นอกจากนี้ความลึกของลำตัวยังมากกว่าอีกด้วย ในปัจจุบันคาดว่าปลาเสือตอลายใหญ่สูญหายไปจากแม่น้ำในประเทศไทยแล้ว ส่วนปลาที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากการนำเข้าจากต่าประเทศเกือบทั้งหมด เช่น กัมพูชา และเวียดนาม
1.3.2 ปลาเสือตอลายเล็ก (Coius undecimradiatus) เป็นสายพันธุ์ที่มีลายดำพาดขวางแต่ละเส้นมีขนาดเล็ก โดยเล็กกว่าชนิดลายใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกว่านั้น และลายพาดสีดำดังกล่าวจะพาดผ่านแผ่นปิดเหงือกแล้วไปสิ้นสุดที่โคนครีบหู แต่ไม่อ้อมรอบลำคอ ปลาเสือตอลายเล็กนี้จะเป็นชนิดที่พบได้โดยทั่วไปในประเทศไทย1.4 อุปนิสัยของปลาเสือตอ
สาเหตุที่ได้ชื่อว่า "ปลาเสือตอ" เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบอาศัยหลบอยู่ตามตอไม้ใต้น้ำ หรือก้อนหินใต้น้ำ แต่จะไม่ชอบที่ที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นเยอะๆ มักจะชอบแฝงตัวอยู่อย่างเงียบๆคอยซุ่มจับเหยื่อ ตามธรรมชาติปลาเสือตอชอบหากินอยู่ในระดับน้ำลึกประมาณ 2-3 เมตร ปลาเสือตอจัดเป็นปลาประเภทกินเนื้อ ดังนั้นเหยื่อของมัน


ไรแดงเป็นอาหารธรรมชาติที่ดีในการอนุบาลลูกปลาสวยงามวัยอ่อน ในอดีตพบไรแดงเป็นจำนวนมากในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป ซึ่งมีปริมาณไม่แน่นอน ปัจจุบันไรแดงจากแหล่งน้ำธรรมชาติลดน้อยลงมากกับการต้องการไรแดงเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนไรแดงขึ้นซึ่งเป็นผลโดยตรงต่อผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม การลดปัญหาการขาดแคลนไรแดงจึงจำเป็นต้องทำการเพาะไรแดงขึ้นเอง จากระยะเวลาที่ผ่านมากรมประมงได้ศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงไรแดงจนเป็นผลสำเร็จ ซึ่งลดปัญหาการขาดแคลนไรแดง และช่วยส่งเสริมการพัฒนาอาชีพเพาะเลี้ยงไรแดง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงสูตรการเพาะเลี้ยงไรแดงของกรมประมงเพื่อที่ทุกท่านจะได้นำไปปรับตามแต่สะดวก

ลักษณะของไรแดงไรแดงป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกกุ้ง หรือที่เรียกกันว่า crustacean มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moina macrocopa และมีชื่อสามัญว่า Water flea เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดหนึ่งมีขนาด 0.4-1.8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีแดงเรื่อ ๆ ถ้าอยู่กันเป็นจำนวนมากจะมองเห็นไรแดงมีสีแดงเข้ม ไรแดงหนึ่งตัวหนักประมาณ 0.2 มิลลิกรัม ตัวเมียมีขนาด
(ไรแดงเพศเมียโตเต็มวัยและลูกอ่อนในตัว)

ใหญ่กว่าตัวผู้ ลำตัวไรแดงมีเปลือกคลุมเกือบหมดยกเว้นส่วนหัว หัวกลม มีตา 1 คู่ขนาดใหญ่เรียกว่าตาประกอบ บนส่วนหัวมีหนวด 2 คู่ คู่ที่หนึ่งอยู่ใต้หัว มีขนาดเล็ก คู่ที่สองอยู่ข้างส่วนหัว มีขนาดใหญ่และเป็นปล้อง ตรงข้อต่อของทุกปล้องมีแขนงซึ่งเป็นขนคล้ายขนนก หนวดคู่นี้มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนที่ ไรแดงมีขา 5 คู่อยู่ที่อก ซึ่งมองเห็นไม่ชัดเพราะมีเปลือกหุ้มอยู่ ไรแดงเพศเมียมีถุงไข่อยู่บนหลังของลำตัว ถุงนี้เป็นที่เก็บไข่และให้ไข่เจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนเมื่อมีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม



(เพศเมียที่สืบพันธุ์แบบมีเพศ) (เพศเมียที่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ) (เพศผู้)

คือ อาหารที่สมบูรณ์ดี ไข่ในถุงไข่สามารถเติบโตเป็นตัวอ่อนได้โดยไม่ต้องได้รับการผสมจากเชื้อตัวผู้ เรียกว่าการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ โดยทั่วไปไรแดงเพศเมียให้ลูกอ่อนด้วยวิธีนี้เกือบตลอดเวลา

ไรแดงเพศเมีย 1 ตัวให้ลูกอ่อนได้เฉลี่ย 15 ตัว ( 1-35 ตัว ) แต่ถ้าสภาวะแวดล้อมของน้ำไม่เหทาะสม เช่น คุณสมบัติของน้ำไม่ดี อาหารไม่เพียงพอ ไรแดงจะสร้างไข่ชนิดพิเศษขึ้นมา 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นไข่ซึ่งเจริญเป็นเพศผู้ และอีกชนิดหนึ่งคือไข่ที่เจริญเป็นเพศเมียที่สืบพันธุ์แบบมีเพศ ซึ่งเมื่อโตเต็มวัยจะสร้างไข่เพียง 2 ฟองต่อตัวเท่านั้น ไข่ประเภทนี้มีลักษณะทึบแสงและต้องผสมพันธุ์กับเชื้อตัวผู้จึงจะเจริญเป็นตัวอ่อนได้ไข่เมื่อได้รับการผสมแล้วจะมีเปลือกหุ้มไข่รูปร่างคล้ายอานม้า เรียกว่าเอพิปเพียม ( ephippium ) หรือไข่ฟัก ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เอพิปเพียมเมื่อออกจากตัวแม่จะจมลงสู่พื้น รอจนกว่าสภาวะแวดล้อมเหมาะสมอีกครั้งจึงเจริญเป็นไรแดงเพศเมียที่สามารถให้ลูกอ่อนได้โดยไม่ต้องอาศัยเพศ หรือเรียกว่าพาร์เธโนเจเนสิส ( ลัดดา วงศ์รัตน์, ประวิทย์ สุรนีรนาท และประจิตร วงศ์รัตน์ คณะประมง 2523 )

การเพาะไรแดง ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ อาหาร จากการศึกษาวิจัยของนักวิชาการ พบว่า น้ำเขียว (ครอเรลล่า ) สาหร่ายเซลล์เดียวจำพวกแพลงก์ตอนพืช เป็นอาหารที่เหมาะสมในการเลี้ยงไรแดงโดยตรง เนื่องจากคงสภาพอยู่ได้นานไม่เน่าเสียง่าย มีขนาดเล็ก ( 2.5-3.5 ไมครอน ) ไรแดงกินง่ายและมีโปรตีนสูง ที่สำคัญ คือ เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงด้วยปุ๋ยยังสามารถเจริญเติบโตได้ดี และมีต้นทุนต่ำอีกด้วย



(คลอเรลล่าเป็นสาหร่ายเซลล์เดียวจำพวกแพลงก์ตอนพืช)

การเพาะเลี้ยงไรแดงที่มีความสำคัญที่สุดคือ อาหาร ผู้เพาะเลี้ยงควรทำการตรวจสอบอยู่เสมอว่า ไรแดงมีอาหารเพียงพอแล้วหรือไม่ เนื่องจากไรแดงจะมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศซึ่งเป็นไรแดงที่ให้ผลผลิตดีที่สุดนั้น จำเป็นต้องมีอาหารอย่างเพียงพอ เมื่อใดอาหารไม่เพียงพอไรแดงจะเปลี่ยนไปสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จึงเป็นสาเหตุให้ผลผลิตไรแดงลดลง

วิธีการเพาะไรแดงแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี วิธีแรกเป็นการเพาะไรแดงแบบเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว ซึ่งจะให้ผลผลิตที่แน่นอนและมีปริมาณมาก วิธีนี้ไม่ต้องคำนึงถึงศัตรูของไรแดงมากนักเพราะเป็นการเพาะในช่วงสั้น แต่การเพาะแบบเก็บเกี่ยวครั้งเดียวนี้จำเป็นต้องอาศัยบ่อเพาะจำนวนมาก เพื่อที่จะได้มีผลผลิตทุกวัน และเป็นการสิ้นเปลืองหัวเชื้อไรแดงในการเพาะอีกด้วย ส่วนวิธีที่สองเป็นการเพาะไรแดงแบบเก็บผลผลิตต่อเนื่อง ซึ่งได้ผลผลิตที่แน่นอนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายวัน ส่วนดีของวิธีนี้คือ ไม่สิ้นเปลืองบ่อเพาะฟักและหัวเชื้อไรแดงในการเพาะ ข้อเสียของวิธีนี้คือ ต้องระวังศตรูของไรแดง เช่น โรติเฟอร์ จำเป็นต้องคำนึงถึงอาหาร น้ำเขียว อินทรีย์สารต่าง ๆ รวมถึงความสะอาดอีกด้วย การเพาะวิธีนี้จำเป็นต้องอาศัยความเอาใจใส่ ต้องเพิ่มน้ำสะอาดในบ่อเพาะ เพื่อลดความป็นพิษของแอมโมเนียและสารพิษอื่น ๆ ในบ่อ เราจึงเห็นข้อดีและข้อเสียของทั้งสองวิธี

การเพาะไรแดงโดยใช้น้ำเขียว ( คลอเรลล่า ) เป็นอาหาร ผู้เพาะเลี้ยงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคลอเรลล่าจำนวนที่เพียงพอต่อการเพาะเลี้ยง จึงต้องมีการเพาะคลอเรลล่าขึ้นก่อนให้มีจำนวนที่เพียงพอกับไรแดง

วิธีเพาะเลี้ยงคลอเรลล่าในที่นี้จะกล่าวถึงการเพาะในบ่อซีเมนต์ขนาดเนื้อที่ 50 ตารางเมตร ( 10x5 เมตร สูง 60 เซนติเมตร ถ้าต้องการเพาะเลี้ยงในขนาดเนื้อที่ที่เล็กลง ให้ย่อส่วนของขนาดและปริมาณปุ๋ยที่ใช้ลงตามส่วน ) ทำความสะอาดบ่อและตากให้แห้งสนิท จากนั้นเติมน้ำที่กรองแล้วด้วยถุงกรองแพลงก์ตอน ควรกรองน้ำทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำบาดาล น้ำคลอง น้ำประปา ควรกรองผ่านผ้ากรองขนาด 69 ไมครอน เติมน้ำลงระดับความลึก 20 เซนติเมตร ( น้ำที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง จะให้ผลผลิตที่สูงกว่า น้ำประปา น้ำบาดาล และน้ำฝน แต่ควรกรองน้ำทุกครั้งเพราะแหล่งน้ำธรรมชาติมีศตรูของไรแดงจำนวนมาก )



(ล้างและตากบ่อเพาะให้แห้ง) (เติมน้ำที่ผ่านการกรองแล้วความลึก 20 เซนติเมตร)

เติมปุ๋ยที่ใช้เลี้ยงคลอเรลล่าตามสัดส่วนที่กำหนด แล้วเติมหัวเชื้อคลอเรลล่าน้ำจืด ปริมาณ 2 ตันต่อบ่อ



(เติมหัวเชื้อคลอเรลล่าลงในบ่อเพาะ) (เติมปุ๋ยที่ใช้เลี้ยงคลอเรลล่า)

ปุ๋ยที่ใช้เลี้ยงคลอเรลล่า

ปุ๋ย N-P-K ( ปุ๋ยนา 16-20-0 ) 0.5 กิโลกรัม , ยูเรีย ( 46-0-0 ) 1.5 กิโลกรัม , ซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0 ) 130.0 กรัม , ปูนขาว 3.0 กิโลกรัม , กากผงชูรส ( อามิ อามิ ) 20 ลิตร

อามิ อามิ เป็นกากของการทำผงชูรส หาซื้อได้ที่ บ.อายิโนโมโต๊ะ จก. ถนนสุขสวัสดิ์ ซ. 43 อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ หรือโทร. 0-2463-5536-8 , 0-2819-3259 , หัวเชื้อคลอเรลล่าเริ่มต้นติดต่อขอได้จากศูนย์วิจัยกองประมงน้ำจืด จ.ปทุมธานี หรือโทร. 0-2546-3184-5

หลังจากที่ได้ทำการเติมหัวเชื้อและปุ๋ยแล้วควรติดตั้งเครื่องเป่าลมไว้ในบ่อเพาะด้วย เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำในบ่อเพาะเป็นการป้องกันการตกตะกอนของน้ำเขียวอีกทั้งเป็การช่วยเพิ่มออกซิเจนและเร่งการเจริญเติบโตของน้ำเขียวและไรแดงให้ดีขึ้น รวมถึงการลดความเป็นพิษของน้ำที่มีต่อไรแดง น้ำเขียวเมื่อได้รับออกซิเจนที่เพียงพออีกทั้งปุ๋ยและแสงแดด ก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น สังเกตุได้จากน้ำจะเริ่มมีสีเขียวคล้ำมากขึ้นต่างจากวันแรก เมื่อทำการเพาะน้ำเขียวจนมีสีเขียวเข้มจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน ให้ทำการแบ่งหัวเชื้อน้ำเขียวไปเติมในบ่อใหม่ 2 ตัน และทำเช่นเดิมกับขั้นตอนที่ผ่านมาเพื่อเป็นสต๊อกน้ำเขียวเก็บไว้



(เครื่องเติมฟองอากาศ) (น้ำเริ่มมีสีเขียวเข้ม)

เมื่อทำการแบ่งหัวเชื้อน้ำเขียวแล้วให้เติมน้ำกลับลงไปในบ่อเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 10 เซนติเมตร รอถึงวันท่ 4 ใส่แม่พันธุ์ไรแดงหนัก 2 กิโลกรัมต่อบ่อเพาะทำการเลี้ยงไรแดงต่อไปอีก 4 วัน จึงเริ่มเก็บผลผลิตได้บางส่วนโดยกรองไรแดงออกจากบ่อเพาะเลี้ยง วันละประมาณ 5 กิโลกรัมพร้อมทั้งลดระดับน้ำลง 10 เซนติเมตร เติมน้ำเขียวและน้ำสะอาดลงในบ่อเพาะอย่างละ 5 เซนติเมตร ทำเช่นนี้ทุกวันจนกว่าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ( สังเกตุดูด้วยการเอากระชอนตักขึ้นดูว่ามีไรแดงตัวผู้มากขึ้น และจำนวนไรแดงลดน้อยลง ) ควรกรองไรแดงออก ล้างบ่อและเริ่มทำใหม่ตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว



(เติมหัวเชื้อไรแดงลงในบ่อเพาะ) (กรองไรแดง)

ข้อเสนอแนะในการเพาะไรแดง

การเตรียมน้ำลงในบ่อเพาะไรแดง ควรกรองน้ำก่อนด้วยผ้ากรองทุกครั้งเพื่อป้องกันสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ หรือศตรูของไรแดงจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่อาจจะเข้ามาปะปนกับไรแดง น้ำเขียวที่จะนำลงบ่อเพาะไรแดง ควรกรองด้วยถุงกรองแพลงก์ตอน เพื่อป้องกันสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่ติดมากับน้ำเขียว การเพาะไรแดงควรคำนึงถึงอาหารที่ใช้เลี้ยงไรแดง ( น้ำเขียว ) ซึ่งนับว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไรแดง เพราะคงสภาพอยู่ได้นานไม่เน่าเสีย เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วด้วยปุ๋ยชนิดต่าง ๆ การเพิ่มระดับน้ำและการเติมปุ๋ยก็เป็นปัจจัยในการเพิ่มผลผลิตไรแดง เนื่องจากการเพิ่มปุ๋ยจะเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำเขียวให้มากขึ้นด้วย แต่การเพิ่มระดับน้ำสูงขึ้นจะทำให้การสังเคราะห์แสงของน้ำเขียวไม่ดีพอ อีกทั้งไรแดงขาดออกซิเจนจึงควรติดตั้งปั้มลมเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้ทั่วถึง นอกจากจะช่วยให้ไรแดงขยายพันธุ์ได้รวดเร็วแล้ว ยังช่วยให้น้ำเขียวไม่ตกตะกอนและช่วยให้ปุ๋ยที่จมอยู่ฟุ้งกระจาย เพื่อเป็นปรโยชน์ต่อน้ำเขียวโดยตรง แสงแดดมีผลโดยตรงต่อความหนาแน่นของน้ำเขียว เมื่อน้ำเขียวได้รับแสงแดดการสังเคราะห์แสงดีขึ้นก็จะเพิ่มปริมาณความหนาแน่นของน้ำเขียว ไรแดงเมื่อได้รับอาหารอย่างเพียงพอก็จะมีการแพร่ขยายและเจริญเติบโตได้ดี เรื่องของการเพาะเลี้ยงไรแดงก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ หวังว่าคงมีประโยชน์ต่อทุกท่านและเป็นแนวทางในการเพาะเลี้ยงไรแดง

อาหารของไรน้ำนางฟ้า
อาหารของไรน้ำนางฟ้านั้นส่วนมากจะเป็นพวกสาหร่ายขนาดเล็ก ที่สำคัญที่สุดคือ คลอเรลล่า พวกแบคทีเรีย ซากสารอินทรีย์ รวมถึงแพลงค์ตอนขนาดเล็กอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า 60 ไมโครเมตร (เนื่องจากปากของไรน้ำนางฟ้ามีขนาดประมาณ 60 ไมโครเมตร) ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ สำหรับการเพาะเลี้ยงในโรงเพาะฟักจะใช้คลอเรลล่าเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ยังมีการให้อาหารอื่น ทดแทนเมื่อสาหร่ายไม่เพียงพอ เช่น ยีสต์ โดยมีสัดส่วนการใช้ยีสต์ 0.8-1.0 มิลลิกรัมต่อตัวต่อวัน ผสมกับกากน้ำตาล 1.0 มิลลิลิตร สำหรับการให้น้ำหมักชีวภาพใช้น้ำหมักชีวภาพ 1.0 มิลลิลิตร ผสมกับกากน้ำตาล 1.0 มิลลิลิตรให้กินต่อตัวต่อวัน แต่ไม่ควรให้ติดต่อกันนานเกินไปจะทำให้คุณภาพน้ำเสียได้ และไรน้ำนางฟ้ามีสีซีด เพราะทั้งยีสต์และน้ำหมักชีวภาพไม่มีสารสีพวกคลอโรฟิวส์ ดังนั้นจึงควรให้สลับกับสาหร่าย

ช่วงของอุณหภูมิและช่วงแสงมีผลต่อไรน้ำนางฟ้าอย่างไรบ้าง
ช่วงแสงมีผลต่อการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า เพราะถ้าไรน้ำนางฟ้าได้รับแสงน้อยเกินไป อากาศไม่ปลอดโปร่ง จะทำให้การเจริญเติบโตของไรน้ำนางฟ้าโตช้าและอัตราการรอดต่ำ แต่ถ้าแสงมากเกินไปจะมีผลต่อการกินอาหารและการว่ายน้ำ นอกจากนี้ความเข้มข้นแสงยังมีผลต่อการผลิตอาหารไรน้ำนางฟ้า ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวคลอเรลล่า เพราะเป็นพืชจึงต้องการแสงเพื่อการสังเคราะห์แสง หากได้รับแสงน้อยต่อวันอาจทำให้สาหร่ายสีเขียวคลอเรลล่าตายได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าด้วย

สำหรับการเปิดไฟในช่วงกลางคืนให้กับไรน้ำนางฟ้ามีความจำเป็นหรือไม่ ไม่จำเป็น ส่วนสาหร่ายสีเขียวอาจมีความจำเป็นในกรณีที่แสงไม่เพียงพอในช่วงกลางวันแต่โดยหลักการแล้วควรเปิดในช่วงค่ำ และช่วงเช้ามืดเสริมเพื่อให้ได้รับแสงในช่วงแสงที่เพียงพอเท่านั้น เพราะสาหร่ายสีเขียวก็ต้องการเวลาพักในช่วงมืดเช่นกันประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน (อัตราส่วนระหว่างความมืดและแสงสว่างที่เหมาะสมคือ สว่าง : มืด = 16 : 8) ส่วนในช่วงดูหนาวที่แสงแดดน้อย มีปริมาณแสงไม่เพียงพอจำเป็นต้องเปิดไฟในช่วงเช้ามืดและช่วงเย็น และหากสาหร่ายยังได้รับแสงไม่เพียงพออาจจำเป็นต้องเปิดไฟมากกว่า 16 ชั่วโมง

ศัตรูของไรน้ำนางฟ้าและวิธีป้องกัน
ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์ที่ไม่มีอวัยวะสำหรับป้องกันตัวเอง และมีเปลือกนิ่มจึงตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อได้ง่าย ระหว่างการเลี้ยงถ้าไม่มีวิธีป้องกันที่ดีก็อาจจะต้องสูญเสียไรน้ำนางฟ้าจำนวนมาก ศัตรูที่พบได้บ่อยในการเลี้ยงในโรงเพาะเลี้ยงคือ ลูกน้ำยุง ในระยะตัวโม่ง บางครั้งถึงแม้จะมีขนาดเล็กกว่าไรน้ำนางฟ้าแต่ลูกน้ำจะกัดติดแน่นบริเวณส่วนหัวหรือลำตัวจนกว่าไรน้ำนางฟ้าจะตาย ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่กินและกัดกินแค่บางส่วน

ศัตรูชนิดที่พบได้เสมอในบ่อดินคือ ตัวอ่อนแมลงปอ ตัวอ่อนแมลงปีกแข็งเกือบทุกชนิด รวมทั้งสัตว์กินเนื้อที่อยู่ในน้ำทุกชนิด มีรายงานว่าตัวอ่อนของแมลงปีกแข็งสามารถกินไรน้ำนางฟ้าตัวเต็มวัยได้ ส่วนวิธีการป้องกันในบ่อซีเมนต์หรือโรงเพาะฟักขนาดเล็กจะใช้มุ้งอวนในส่วนสีฟ้าล้อมป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาวางไข่ได้ แต่กรณีในบ่อดินซึ่งเป็นการเลี้ยงระบบเปิดจะป้องกันได้ยากแต่ก็สามารถปราบศัตรูได้โดยการกรองน้ำเข้าบ่อและหลังการเตรียมบ่อใสปุ๋ย และเติมน้ำควรรีบปล่อยไรน้ำนางฟ้าทันทีเพื่อให้เจริญเติบโตก่อนที่แมลงปอจะลงไปไข่และฟักเป็นตัวอ่อน จากการสังเกตพบว่าลูกน้ำในระยะตัวโม่งสามารถกินลูกไรน้ำนางฟ้าได้ 1 ตัวทุกๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งถ้าบ่อตั้งอยู่กลางแจ้งหรือโรงเพาะฟักขนาดใหญ่ที่ไม่มีการปกปิดยุงและแมลงต่างๆ สามารถบินมาวางไข่ได้ตลอดเวลาซึ่งป้องกันได้ยาก แต่อย่างไรก็ตามแต่ละพื้นที่มักจะพบปัญหาที่แตกต่างกัน คงต้องสังเกตและแก้ปัญหาเป็นกรณีๆ ไป

โรคที่เกิดกับไรน้ำนางฟ้าและแนวทางป้องกันแก้ไข
โรคที่พบว่าเกิดกับไรน้ำนางฟ้ามีเพียงชนิดเดียว คือโรคสีดำ (Black disease) ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบสีดำเกิดขึ้นบริเวณขาว่ายน้ำ หนวด และอาจลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โรคนี้มักเกิดกับไรน้ำนางฟ้าตัวเต็มวัยที่เลี้ยงในน้ำที่มีคุณภาพไม่เหมาะสม เช่น มีค่าแอมโมเนียทั้งหมด เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าไนไตรท์-ไนโตรเจน เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หรือไรน้ำนางฟ้าที่อ่อนแอก็มักติดโรคนี้ได้ง่าย เมื่อไรน้ำนางฟ้าเป็นโรคสีดำจะไม่ตายในทันทีแต่จะทยอยตายในภายหลังที่เป็นโรค 2-5 วัน วิธีการรักษายังไม่มีการศึกษาว่าควรรักษาอย่างไร ฉะนั้นการเลี้ยงควรดูแลให้ไรน้ำนางฟ้ามีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้กับไรน้ำนางฟ้าที่เลี้ยง และควรมีการป้องกันเรื่องคุณภาพน้ำที่ไม่ดีต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำให้มากขึ้นในช่วงไรน้ำนางฟ้าอายุมากขึ้นหรือเริ่มมีการวางไข่และควรใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่นในกลุ่มน้ำหมักชีวภาพต่างๆ ใส่ในบ่อเลี้ยงเพื่อย่อยสลายของเสียในบ่อและควบคุมเชื้อโรคที่จะเกิดกับไรน้ำนางฟ้าด้วย


เมื่อพบไรน้ำนางฟ้าเป็นโรคเกิดขึ้นในบ่อเลี้ยง หรือเพื่อป้องกันการเกิดโรค ควรมีการทำความสะอาดเครื่องมือที่ใช้ด้วยฟอร์มาลิน 10 เปอร์เซ็นต์ นาน 10 ชั่วโมง ก่อนล้างและตากให้แห้ง และแช่บ่อเลี้ยงด้วยคลอรีน 10-20 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือล้างบ่อและตากบ่อทิ้งไว้หลายๆ วัน แต่กรณีบ่อซีเมนต์ถ้าทาสีใหม่ทับปีละครั้งจะสามารถป้องกันได้เป็นอย่างดี


ไรน้ำนางฟ้า กินอาหารจำพวกสาหร่าย อินทรียสาร แบคทีเรีย และอาหารที่ให้กินก็หาได้ง่าย เช่น น้ำเขียว การทำน้ำเขียว โดยหาหัวเชื้อน้ำเขียวได้จากสถานีประมงซึ่งตั้งอยู่เกือบทุกจังหวัด แล้วนำมาขยายปริมาณ ส่วนผสมการทำน้ำเขียวประกอบด้วย ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยสูตร 16-20-0 รำข้าว ปูนขาว การเพาะน้ำเขียวต้องอาศัยแสงแดด ในกรณีที่เป็นบ่อซีเมนต์ทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ต้องมีจำนวน 3-4 บ่อ เพื่อสำรองผลิตน้ำเขียวให้มีปริมาณเพียงพอต่อการขยายพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า


การให้อาหารจะให้วันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น แต่ที่ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์จะใช้ระบบน้ำหยด โดยน้ำเขียว ค่อย ๆ หยดผ่านท่อแอสรอนครั้งละ 1-2 หยดเติมครั้งเดียวใช้ได้ 1-2 วัน ถ้าเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอัตราความหนาแน่นเกิน 30 ตัวต่อลิตร ต้องให้ อาหารมากสักหน่อย การสังเกตุความสมบูรณ์ของไรน้ำนางฟ้าตัวอ่อนสมบูรณ์จาก ทางเดินอาหารมีสีเขียว ท่อลำไส้จะยาว ถ้าใส่อาหารเยอะ น้ำเขียวมากจะเป็นที่สะสมของของเสียซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำรงชีวิตของไรน้ำนางฟ้า


วงจรชีวิตของไรน้ำนางฟ้า ไข่ไรน้ำนางฟ้าใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อมีอายุ 8-9 วันจะเจริญเติบโตมีไข่และ พัฒนาขยายพันธุ์ได้อีกทุก ๆ วัน โดยเฉลี่ยวางไข่วันละ 1 ครั้ง ครอกละ 500 ฟอง หากเป็นบ่อดิน ไข่จะไปกองบริเวณพื้นบ่อทำให้ไม่สามารถ เก็บไข่ได้ ถ้าเป็นกะละมังหรือบ่อซีเมนต์จะเก็บไข่ได้ง่ายกว่า การป้องกันไข่ไรน้ำนางฟ้าติดไปกับน้ำที่ระบายทิ้ง ขอแนะนำให้ใช้ผ้ากรองปิดที่ ปลายท่อระบายน้ำทิ้ง นำไข่มาแช่น้ำ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาทำให้แห้งเพื่อเก็บไว้ขยายพันธุ์ในครั้งต่อไป ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับ มิฉะนั้นจะทำให้ การเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ หากไข่ที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว เปอร์เซ็นต์การฟักจะสูงถึงร้อยละ 90 ไข่ไรน้ำนางฟ้ามีขนาด เล็กกว่าไข่อาร์ทีเมียและเป็นไข่จมน้ำ ส่วนไข่อาร์ทีเมียจะลอยน้ำ ไรน้ำนางฟ้าไทยมีอายุขัย 25-30 วัน ไรน้ำนางฟ้าสยายมีอายุขัย 69-119 วัน


ประโยชน์ของไรน้ำนางฟ้า
1. ใช้ในวงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม
2. ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอสี
3. ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น แกง หมก
4. ใช้ทดแทนการนำเข้าอาร์ทีเมียที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ช่วยลดภาวะการขาดดุลของประเทศ
5. สามารถเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้ผู้ประกอบการ


1. ภาชนะ
1.1 บ่อซีเมนต์ทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ลึก 50-100 เซนติเมตร ซึ่งสะดวกในการใช้เป็นอย่างมาก
1.2 กะละมัง ขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
1.3 ถังพลาสติกสีดำ
1.4 บ่อดิน ขนาดที่เกษตรกรนิยมใช้ คือ 0.5-1 ไร่ บ่อดินดีที่สุดเพราะไม่ต้องเติมอากาศ เป็นแบบธรรมชาติ ไม่ต้องให้ อาหารเสริม ไรน้ำนางฟ้าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สภาพการเติมอากาศเป็นแบบ Air Water Link คือ ให้น้ำข้างล่างขึ้นมาข้างบน หรือใช้ หัวทรายหรือระบบกรองที่ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม
2. แสงแดด ไรน้ำนางฟ้าต้องการแสงแดดด้วย เพื่อช่วยในการสังเคราะห์อาหารของไรน้ำนางฟ้า สำหรับบ่อดินเป็นบ่อเปิดรับ แสงแดดได้ทั่วทั้งบ่อ หากสร้างโรงเรือนต้องให้ได้รับแสงอาทิตย์ด้วย โรงเรือนแบบเปิดในช่วงฤดูร้อน ควรทำหลังคามีสแลนคลุมบังพื้นที่ 50 % หากเป็นช่วงฤดูหนาวไม่ค่อยมีแสงแดดจะเปิดสแลนออกให้ได้รับแสงแดด 100%
3. น้ำ มีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการเลี้ยงเหมือนสัตว์น้ำทั่วไป เช่น น้ำประปา และน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ไรน้ำนางฟ้าไม่จำเป็น ต้องใช้อุปกรณ์ราคารแพง น้ำประปาเหมาะสมที่สุด แต่ต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน โดยเปิดน้ำประปาทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อให้คลอรีนเจือจางลง เพราะคลอรีนจะมีผลกระทบภายหลังการฟักตัวของไรน้ำนางฟ้า จากนั้นใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไข่จะฟักเป็นตัว เมื่อลูกไรน้ำนางฟ้ามีอายุ 10-12 ชั่วโมงต้องให้อาหาร มิฉะนั้นตัวอ่อนจะตาย


อพิสโตแกรมมาเป็น ปลาหมอแคระ ที่คนนิยมไปแล้วครับในตอนนี้ แต่ก็แปลกใจว่า ทำไมยังไม่ค่อยมี การเพาะพันธุ์ อย่างจริงจังเสียที ปลาตัวหนึ่งราคาไม่น้อย หลายร้อยบาท แพงกว่าปลาป่าสองสามเท่าตัว เมื่อสอบถามจากเพื่อนฝูงที่นิยมในปลากลุ่มนี้ ต่างกล่าว เป็นเสียงเดียว กันว่า ไม่มีเวลา ทั้งที่เห็นอยู่ว่าปลาหมออื่นๆ เพาะไม่ยากเย็นอะไร ยิ่งพวก ปลาวางไข่จากทางอเมริกากลางอเมริกาใต้แล้ว ส่วนใหญ่เพาะง่ายจริงๆ ออกมาครอกหนึ่งๆ ผมว่าไม่น้อยกว่า ห้าหกร้อยตัว (อาจถึงพันตัวถ้าพ่อแม่ปลาดีจริง)

กลุ่มคนเลี้ยงอพิสโตแกรมมาส่วนใหญ่มักเลี้ยงต้นไม้น้ำด้วย อันต้นไม้น้ำนี้ถ้าลงว่าได้จัดกันเต็มรูปแบบแล้ว คงจะลงไปยุ่งกับมันลำบากมาก เพื่อนผมคนหนึ่งได้ อพิสโตแกรมมา ครูซอาย ไปเพียงอาทิตย์เดียว โทรกลับมาบอกว่าปลาวางไข่และฟักออกมาเป็นตัวแล้ว ผมดีใจด้วย แต่เพื่อนบอกว่าอย่าพึ่งดีใจเพราะยังไม่รู้เลย ว่าจะเอามันออกมาได้ยังไง
ถึงตอนนี้คงมีหลายคนแปลกใจว่าทำไมต้องเอาลูกปลาออกมา ปล่อยไว้ในตู้อย่างนั้นไม่ได้รึ? ตอบว่า ไม่ได้ครับ หรือถึงได้ก็คงไม่ดี ลูกปลานี้ถ้าได้รับอาหารไม่เพียงพอ ก็มักจะตายได้ง่ายๆ ตู้ต้นไม้น้ำนั้นเขาก็จะไม่นิยมให้อาหารปลาปริมาณมากๆ เสียด้วย เพราะว่าจะทำให้น้ำเสียได้ง่าย ระบบนิเวศของต้นไม้น้ำจะละเอียดอ่อนกว่าปลามากนัก ครั้นจะปล่อยให้ลูกปลาหากินเก็บเอาเศษอาหารก้นพื้นก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะตู้ต้นไม้นั้นเขาจะมีการใส่ปลาที่ทำหน้าที่นี้ลงไปอยู่แล้ว อาทิ ปลาเล็บมือนางหรือปลาแพะ ปลาแพะนี้ก็แสบไม่ใช่เล่น ชอบแอบดอดมาขโมยกินไข่ชาวบ้านเขาออกบ่อยๆ คนที่เลี้ยงอพิสโตแกรมมาในตู้ไม้น้ำหลายคนเลยไม่ค่อยได้มีโอกาสเห็นลูกปลา เพราะโดนปลาแพะงุบงิบเอาไปหมด


ผมแนะนำให้เอาสายยางดูดเอาลูกปลาออก เพราะถ้าจะใช้กระชอนไล่ตัก ก็เห็นว่าตู้คงได้พังกันเป็นแถบๆ และจะขุ่นคลั่กเนื่องจากปุ๋ยที่ฝังอยู่ใต้พื้นกรวดจะฟุ้งขึ้นมาให้วุ่นวาย สายยางที่ว่าไม่ต้องใช้ขนาดให้ใหญ่มากนัก เวลาใช้งานก็ดำเนินการตามวิธีกาลักน้ำ คือดูดจากที่สูงสู่ที่ต่ำกว่า แต่อย่าให้ระดับต่ำกว่ามากนักเพราะน้ำจะไหลแรง ลูกปลาที่ถูกดูดออกมาจะอำลาโลกไปหมด ตรงนี้ควรมีสมาธิ ทำอย่างตั้งใจ ลูกปลาอยู่ตรงไหนดูไม่ยาก ก็ตรงที่แม่ปลาอยู่นั่นแหละครับ มันไม่ยอมปล่อยลูกให้ห่างสายตาเลยจนกว่าลูกจะโต เพราะฉะนั้น ง่ายมาก ลองดูได้ครับ

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้สั่งปลาชุดใหม่มาจากประเทศเยอรมันอีกครั้ง ปลาชุดนี้ดีมาก เสียแต่ตัวเล็กไปนิด ผมเก็บตัวอย่างเพียงอย่างละสองสามคู่ ที่เหลือก็แบ่งๆให้พรรคพวกกันไป (ก็คือขายนั่นเอง ถอนทุนคืน) มีอพิสโตแกรมมาอยู่ชนิดหนึ่งที่ดูแล้วไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ทางเยอรมันระบุมาว่า คาคาทอยเดส โกลด์ บรรยายสรรพคุณว่าเป็นนิววาไรตี้ ยังไม่ค่อยมีขายที่ไหนในโลก (ตรงนี้อ่านแล้วก็อย่าเชื่อมากครับ ฝรั่งก็ขี้โม้ไม่ใช่เล่นเหมือนกัน) พิจารณาแล้วเข้าท่าถูกใจ เลยลองคิดว่าจะเพาะพันธุ์ดู คงไม่น่ายากเพราะเคยประสบความสำเร็จกับคาคาทอยเดส ดับเบิ้ลเรดมาแล้ว สองปีก่อน ลองผิดลองถูกเสียปลาเสียเงินไปเยอะ มาคราวนี้จึงพอมีประสบการณ์บ้าง

ผมเตรียมตู้ขนาด 30x16x18 นิ้ว สองใบ ใบหนึ่งวางขอนไม้เล็กๆที่มีต้นอนูเบียส นานา(Anubias nana) เกาะติดหนึ่งต้น เลือกขอนไม้ที่มีลักษณะเป็นโพรงหรือซอกหลืบซักหน่อย วางไปบริเวณกลางตู้ จากนั้นเอากระถางต้นไม้ดินเผาใบเล็กๆ มาทุบให้แตกแบบหยาบๆ เลือกชิ้นส่วนที่มีลักษณะโค้งซักสามสี่ชิ้น วางคว่ำลงไปให้ทั่วๆตู้ ตู้อีกใบหนึ่งจัดแบบเดียวกันแต่ไม่มีขอนไม้ติดอนูเบียส ไม่มีกรวดอื่นใดมาปูพื้น ปล่อยให้เป็นกระจกเปล่าๆ ทั้งอย่างนั้นเลย ระบบกรองก็ใช้กรองโฟมธรรมดา เปิดแอร์ปั๊มปานกลางไม่แรงมาก ใส่น้ำเตรียมไว้สองวันเต็มๆ ค่อยปล่อยปลาลงไป

การเลือกพ่อแม่ปลาผมใช้วิธีมาตรฐานตามแบบฉบับทั่วโลกนิยม พ่อปลาตัวจะต้องใหญ่หน่อย หนา ครีบกางสง่างามโดยเฉพาะครีบหลังอันเป็นจุดเด่นของปลาชนิดนี้ ถ้าเป็นคาคาทอยเดสตัวอื่นลายดำข้างลำตัวต้องเข้มและตรงเผง แต่คาคาทอยเดสโกลด์นั้นพิเศษหน่อยตรงที่จะมีลำตัวสีเหลืองสดและไม่มีเส้นกลางตัวสีดำให้เห็น จึงต้องอาศัยดูแนวของเกล็ดแทน ปลาที่มีแนวเกล็ดโค้งโก่งเป็นอันว่าขาดคุณสมบัติพ่อพันธุ์ อย่าได้เลือกมา ส่วนปลาตัวเมียต้องมีขนาดไม่น้อยกว่าหนึ่งนิ้ว ตัวอวบอ้วนและมีสีเหลืองจัดอมส้ม เวลาว่ายน้ำจะกางครีบฟ้อไม่เกรงกลัวใคร แม่ปลาที่ตัวเรียวๆผอมๆไม่เวิร์คสำหรับการนี้แน่นอนครับ

เมื่อคัดพ่อแม่ปลาได้แล้วสองคู่ ก็ทำการปล่อยลงไปในตู้ทดลองตู้ละคู่ บำรุงด้วยไส้เดือนน้ำบ้าง ไรทะเลบ้าง ไรทะเลนี้จะต้องล้างให้จืดสนิทเสียก่อน มิฉะนั้นอาจเกิดผลร้ายกับปลาได้ (ซึ่งจะพูดในโอกาสต่อไป) ผมแนะนำนิดนึงว่าอย่าให้อาหารจะปลาอิ่มมากเกินไป ควรให้ปริมาณน้อยๆพออิ่มในหนึ่งมื้อ ปลาที่กินอิ่มมากเกินไปมักไม่ใคร่สนใจเรื่องทางเพศ (คล้ายๆคนหรือเปล่าไม่รู้เหมือนกันแฮะ) เปลี่ยนถ่ายน้ำวันเว้นวัน ครั้งละประมาณสิบห้าถึงยี่สิบเปอร์เซ็นต์ กาลเวลาผ่านไปได้สองสัปดาห์ ราวกับปรากฏการซินโครไนซ์ ปลาทั้งสองคู่เริ่มจับคู่และวางไข่พร้อมกัน การจับคู่นั้นทำเพียงระยะสั้นๆ สังเกตดูว่า ตัวที่อยู่ในตู้ที่มีแต่ดินเผานั้นจะเลือกชิ้นที่มีส่วนโค้งและขนาดพอเหมาะ อันที่ใหญ่กว่าตัวมากๆจะไม่เอา การวางไข่จะตีลังกาวางบนเพดาน ไข่มีสีเหลืองใสๆ คะเนว่าไม่ต่ำกว่า 30 ฟอง

ส่วนแม่ปลาในตู้ที่มีขอนไม้จะเข้าไปวางไข่ในโพลงของขอนไม้นั้น โพลงค่อนข้างลึกเลยมองไม่เห็นไข่ที่วางไว้ แต่สิ่งที่ทำให้ผมรู้ได้ว่าปลาวางไข่แน่นอนแล้วคือดูจากที่แม่ปลาจะคอยเข้าไปทำท่าจิกอะไรซักอย่างอยู่บ่อยๆ ในระยะนี้ แม่ปลาทั้งสองจะมีอารมณ์ดุร้าย หวงไข่มากๆ แม้ผู้เป็นสามี ก็ไม่สามารถกรายกล้ำเข้ามาใกล้ได้ ถ้าลองเสนอหน้ามาเป็นได้โดนไล่เปิงออกมาแทบไม่ทัน ก็เลยได้แต่ว่ายวนไปรอบๆห่างๆหน่อย สามวัน ไข่ฟักเป็นตัว แม่ปลาจะขนลูกน้อยไปซุกๆ ตามมุมตามซอก มองดูเป็นขยุ้มๆกระดุกกระดิกไปมา ช่วงนี้แม่ปลาที่ว่าดุอยู่แล้วก็จะยิ่งดุเพิ่มขึ้นไปอีก พ่อปลาที่อยู่ไกลๆก็ยังอุตส่าห์พุ่งเป็นจรวดไปไล่เขาอีก จนพ่อปลาน้อยอกน้อยใจซึมเศร้าอยู่หลายวัน (ผมไม่ย้ายออกเพราะต้องการ ดูพฤติกรรมของพวกมัน ในช่วงนี้ด้วย)
DAY 5 ถุงไข่ที่ท้องลูกปลายุบไปหมดแล้ว ผมจึงเริ่มให้อาหาร มื้อแรกเป็นตัวอ่อนอาร์ทีเมียที่ล้างน้ำจืดเป็นอย่างดีเสิร์พพร้อมกับไส้เดือนน้ำสำหรับพ่อแม่ปลา ในวันหนึ่งให้ประมาณห้าหกครั้งๆหนึ่งไม่ต้องมาก พฤติกรรมปลาตอนนี้น่ารักมาก แม่ปลาเมื่อถึงเวลาค่ำ จะคาบลูกไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย แม่ปลาตัวที่วางไข่ในโพลงไม้ก็จะคาบลูกไปแอบไว้ในโพลงไม้สิ้นทุกตัว ผ่านไปสัปดาห์หนึ่ง ลูกปลาว่ายน้ำได้แต่ยังไม่แข็งแรงนัก แม่ปลาจะคอยเฝ้าราวกับแม่ไก่เลี้ยงลูกเจี๊ยบ ตัวไหนออกไปซนไกลหน่อยแม่ปลาก็จะรีบว่ายไปคาบกลับมาอยู่รวมกลุ่ม อาหารช่วงนี้เปลี่ยนเมนูเป็นไส้เดือนน้ำอย่างเดียว เชิญรับกันทั้งพ่อแม่ลูก ลูกปลากินทั้งวัน โตเร็วมาก

DAY 10 ลูกปลามีขนาดประมาณ 4-5 มิลลิเมตรว่ายน้ำคล่องแล้ว แต่จะว่ายเรี่ยๆพื้น ไม่ว่ายขึ้นสูงนัก แม่ปลาจะพาทัวร์ลูกปลาไปทั่วตู้ จะสั่งสอนอะไรบ้างผมก็ไม่เคยได้ยิน ระยะนี้พ่อปลาเริ่มมีส่วนร่วมหลังจากถูกตัดออกไปเสียหลายวัน ลูกปลาเริ่มว่ายไปหาพ่อปลาบ้างโดยที่แม่ปลาก็อนุโลมให้ แต่ตอนกลางคืน ลูกๆ ก็ยังต้องมานอนกับแม่อยู่ พ่อปลานอนตัวเดียวตามเคย

DAY 15 ลูกปลามีความยาว 6-7 มิลลิเมตร ลำตัวเริ่มหนาออกไปในทางกลมทรงกระบอก แม่ปลาเริ่มปล่อยไม่ดูแลเข้มงวดเหมือนก่อน ลูกปลาว่ายพล่านไปทั่วตู้ พ่อแม่ปลาเริ่มคืนดีกัน มีการจู๋จี๋กันบ้างตามแต่โอกาสจะอำนวย ผมย้ายลูกปลาออกจากตู้ในวันที่สิบหก ใช้กระชอนผ้านุ่มๆ บรรจงไล่ช้อน พอใกล้จะพ้นน้ำอย่ายกขึ้นมาทั้งกระชอน ให้เอาช้อนหรือกระบวยค่อยๆตักออกมา นับได้ 35 ตัว ส่วนอีกตู้ได้ 17 ตัว ยังงงๆกับความแตกต่างของจำนวนลูกปลาอยู่เหมือนกัน

DAY 22 ถึงวันนี้เช้าวันที่ยี่สิบสอง ลูกปลามีความยาว 1 ซ.ม. ลำตัวที่กลมทีแรกตอนนี้เริ่มออกแบนข้างบ้างแล้ว สังเกตดูที่เหงือกของลูกปลามีลักษณะกางออกทุกตัวคล้ายๆ ลูกปลาบู่ แปลกใจเหมือนกันเลยลองค้นดูในอินเตอร์เนต พอเห็นภาพลูกปลาที่บรรดาเซียนทั้งหลายเพาะแล้วถ่ายรูปมาให้ดูก็ค่อยสิ้นสงสัย เป็นลักษณะเดียวกันหมด ถึงตอนนี้แล้วผมมั่นใจว่าปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมาไม่ได้เพาะพันธุ์ยากไปกว่าแรมหรือปลาหมอพันธุ์อื่นๆ หลายคนอ่านบทความนี้จบลงก็อาจจะเกิดความคิดว่า อุเหม่ ในเมื่อไอ้เจ้าอันโตนิโอมันสามารถเพาะปลาตัวจ้อยเช่นนั้นได้


จัดอุปกรณ์ต่างๆ ที่เตรียมไว้ รวมทั้ง ใส่ตะข่าย ที่กั้นแบ่งครึ่งตู้ เติมน้ำ ใส่เกลือ 1 กำมือ แล้วก็ใส่มาลาไคท์ เพื่อป้องกันโรค ในตู้ควรมี หัวฟู่ 1 อัน (ใช้ก้อนกลม) + ระบบ กรองฟองน้ำเพื่อดักฝุ่นละออง ขี้ปลาต่างๆ ให้วางกระถางสำหรับปลาวางไข่ ไว้ตรงมุมตู้ นอกจากนี้ ให้นำกระดาษมา ปิดด้านนอก ของกระจก ในบริเวณ ดังกล่าว เพื่อกันปลาตกใจ

•ฮีทเตอร์ นั้นจริงๆ แล้วไม่ต้องใส่ก็ได้ แต่เพื่อเป็นการป้องกัน ลูกปลา ล้มตาย เพราะอุณหภูมิเปลี่ยน โดยส่วนตัวนั้นผมจะตั้งไว้ที่ 28 องศาครับ

เมื่อถึงขั้นตอน จับปลาใส่ตู้ ให้ตัวเมียอยู่ด้านที่เราวาง กระถาง นอกจากนี้ ควรสังเกต ว่าตัวเมียขุดรังตรงไหนด้วย หากขุดที่อื่นนอกกระถาง ก็ให้ย้ายกระถางไปตรงบริเวณนั้น ในช่วงนี้ตัวผู้จะคึกมาก จะว่ายไปทั่วแล้วก็จะมีอาการส่ายหัวไปมา จะลองยกที่กั้นออกตั้งแต่วันแรกเลยก็ได้ แต่ต้องนั่งดูไปเรื่อยๆ ถ้าทั้งสองตัวช่วยกันใช้ปากขุดรัง แล้วก็ยังไม่กัดกัน นั้นก็แสดงว่าเข้าคู่กันแล้วครับ ปล่อยไว้ได้เลย

ในระหว่างเพาะพันธุ์ การให้อาหารนั้นควรให้แต่น้อย พยายามอย่าให้เหลือในช่วงนี้ อย่าให้น้ำขุ่น ไม่ควรให้กุ้งฝอย เป็นๆ เพราะบางครั้ง กุ้งนั้นรอด และอาจจะไปทำอันตรายไข่ได้ครับ ควรให้อาหารเม็ดหรืออย่างอื่นจะดีกว่า นอกจากนี้ ผมชอบให้ หนอนแดง มีพี่เขาบอกมาว่า เป็นการบำรุงเชื้อตัวผู้ครับ ทำให้ฉีดเชื้อดี เมื่อปลาไข่

ระหว่าง การเพาะพันธุ์ ถ้าหากปลายังไม่ไข่ สามารถเปลี่ยนน้ำได้ครับ
•วิธีดู ไข่ปลาว่าติดไม่ติด

เมื่อปลาวางไข่ แล้ว ควรปล่อยให้ ปลาทั้งคู่ อยู่ด้วยกัน สัก 24 ชม. ก่อน แล้วค่อยแยกตัวผู้ออก เวลาแยก ต้องทำอย่างค่อย อย่ากวนน้ำ อย่าให้ปลาตื่น โดยปกติแล้วตัวเมีย จะดูแลไข่ แต่บางตัวก็กินไข่ จะแยกหรือไม่แยกก็แล้วแต่ครับ โดยปกติ แล้ว ไข่ปลาจะฟักเป็นตัวภายใน 3 วัน

ในวันที่ ไข่เริ่มเป็นจุดดำ หรือเป็นเม็ดสาคู ผมนิยมที่จะแยกปลาตัวเมียออก แล้ว ใช้หัวฟู่มาวางใกล้ๆ แทน เมื่อลูกปลาฟักออกจากไข่นั้น ยังไม่สามารถว่ายน้ำได้ ก็จะนอนดิ้นอยู่ในกระถาง หรือ พื้นตู้ บางครั้งจะมีไข่ที่ฝ่อ ถ้ามากก็ให้ยกกระถางออก แล้วก็ใช้มือพัดน้ำ ค่อยๆ นะ ให้ลูกปลาที่อยู่ในกระถางหลุดออกไป แต่ถ้ามีน้อยจะปล่อยไว้ก็ได้ครับ และเมื่อได้ 3-4 วัน ลูกปลาจะเริ่มบิน (ว่ายน้ำ) ยังไม่ต้องให้อาหารครับ ลูกปลาในระยะนี้ จะมีถุงไข่อยู่จะให้ก็เมื่อถุงไข่หมดไปแล้ว คือ ประมาณหลังจากปลาว่ายน้ำได้ 3 วันโดยประมาณ
•อาหารลูกปลา

•สาหร่าย Spirulina ชนิดผง หาซื้อได้ที่สวน จตุจักร มีเป็นกระปุก ราคาไม่เกิน 50 บาท และมี ที่ขายเป็นขีด ขีดละ 120 บาท ใส่ให้ลูกปลากินแต่ต้องระวังอย่าให้มากเกิน ให้แต่น้อย
•อาหารสำหรับลูกปลาพึ่งเกิด จะเป็นผงๆ ครับ ห่อเล็กๆ ไม่เกิน 30 บาท
•เต้าหู้ไข่ไก่ หั่น บางๆ ใส่ให้ลูกปลากิน (ผมนิยมอันนี้มาก เพราะจากที่สังเกต มาลูกปลาชอบกิน)
•ไข่ไก่ต้ม ใช้แต่ไข่แดง
•ไรแดง ควรกรองก่อนให้นะครับโดยการใช้กระชอนตาถี่ ร่อนให้แต่ตัวเล็ก หลุดลงตู้ ให้อย่างนี้สัก 3-4 วันก็ให้ตามปกติได้เลย ( อันนี้ก็ดีมากครับ ลูกปลาจะโตไว ถ้าหากไม่ขาดให้เป็นอย่างเดียว จะดีมากหากมีเวลาไปซื้อ )
เมื่อลูกปลาได้อายุประมาณ 10 วัน หรือ เริ่มตัวโตมีปากที่ใหญ่ขึ้น ก็ให้กินไส้เดือนได้ โดยใส่ไส้เดือนไว้ในกรวยแปะไว้ข้างตู้ ใส่ไว้ให้เต็มกรวย ไส้เดือนนั้นสามารถให้ได้ถึงโต และพวกลูกปลาจะชอบกินมาก ในช่วงนี้พยายามอย่าให้ลูกปลาขาดอาหาร เพราะปลาในช่วงนี้ถ้าอาหารถึงลูกปลาจะโตไวมากครับ

เรื่องของน้ำในช่วงนี้ ผมลืมบอกไปว่า เมื่อนำตัวเมียออกแล้วให้ลดน้ำสัก 30% น้ำ ในช่วงนี้ก็จะได้กรองฟองน้ำ คอยกรองน้ำอยู่ และเมื่อลูกปลาเริ่มโตขึ้น ก็ให้ค่อยๆ เพิ่มระดับ น้ำ ให้สูงขึ้น ตามความเหมาะสม ในช่วงนี้ไม่ควรเปลี่ยนน้ำ ถ้าหากน้ำเริ่มขุ่นๆ ให้หยิบกรองฟองน้ำขึ้นมาทำความสะอาด แล้วก็ใส่กลับลงไป เมื่อลูกปลาได้ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ก็สามารถเริ่ม เปลี่ยนถ่ายน้ำได้ครับ แต่ไม่ควรเปลี่ยนทีเดียว หมดตู้ ลูกปลาจะน็อคน้ำให้เปลี่ยนทีละ 30% หรือ ครึ่งตู้ แล้วก็ใส่มาลาไคท์ สัก 3-4 หยด

ตู้ทำปลานั้นไม่ควรที่จะมีทรายหิน อยู่ในตู้เพราะช่วงที่ปลาออกจากไข่นั้น ลูกปลาจะมุดพื้นครับ ถ้ามีหินกรวดอยู่ในตู้อาจทำให้ลูกปลาตาย และถ้าลูกปลาโตขึ้น หากมีจำนวนมากแน่นเกินไป ก็ควรที่จะ หาตู้ใส่ลูกปลาเพิ่มนะครับ เนื่องจากหากมีจำนวนมาก จะทำให้การแย่งอาหารกันและการโตจะไม่เท่ากัน กับปัญหาเรื่องน้ำขุ่นมาก ก็ประมาณนี้ครับ เป็นวิธีที่ผมคิดว่าคงจะไม่ยากนะ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่สูตรตายตัว สามารถนำไปปรับ แต่ตามความเหมาะสมได้ครับ และก็ขออภัย เพื่อนๆ พี่ๆ มา ณ ที่นี้ด้วยหากผมผิดพลาดประการใดนะครับ

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม