12.09.2556

ลักษณะของยี่สกเทศ เป็นปลาน้ำจืดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียนขาว ลำตัวยาวเรียวแบนข้าง รูปร่างคล้ายปลานวลจันทร์

น้ำจืด หัวค่อนข้างโต ปากแคบ ริมฝีปากหนามีร่องรอบปาก มีหนวดสั้น ๆ อยู่มุมปากบน 1 คู่ ลำตัวด้านหลังสีน้ำเงินปนเทา ด้านข้างสีน้ำเงินและจางลงจนถึงส่วนท้อง เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมีจุดสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพูอ่อน
ยี่สกเทศแต่เดิมมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดีย นักวิชาการประมงของไทยทำการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการผสมเทียมได้เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2511 ต่อมาได้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำทั่วประเทศ ชอบอยู่ตามแม่น้ำ ลำธาร และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีพื้นเป็นกรวดทรายและอุดมสมบูรณ์ด้วยแพลงก์ตอนสีเขียว

ปลาเม่น

ปลาแรด (Giant Gouramy) Osphronemus goramy (Lacepede) เป็นปลาน้ำจืด ขนาดใหญ่ของไทยชนิดหนึ่ง ปลาขนาดใหญ่ที่พบมีน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม ความยาว 65 เซนติเมตร เป็นปลาจำพวกเดียวกับปลากระดี่และปลาสลิด แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีเนื้อแน่นนุ่ม เนื้อมากไม่ค่อยมีก้าง รสชาติดี จึงได้รับความนิยมจากประชาชนผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอด เจี๋ยน ต้มยำ แกงเผ็ด ลาบปลา และน้ำยา ฯลฯ ในระยะหลังได้รับการจัดเป็นปลาจานในภัตตาคารต่าง ๆ หรือจะนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามก็ได้ สำหรับผู้เลี้ยง ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเช่นเดียวกับปลาสลิดราคาค่อนข้างสูง มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมและโรคได้เป็นอย่างดี ให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนดีมีกำไรและไม่มีปัญหาเรื่องตลาด เป็นปลาที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดีทั้งในบ่อและกระชัง มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว สามารถแพร่ขยายพันธุ์ในบ่อได้ โดยเลี้ยงเพื่อขาย เป็นปลาเนื้อหรือปลาสวยงาม

ปลาแรดมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า "ปลาเม่น" มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย แถบหมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในประเทศไทยภาคกลาง พบตามแม่น้ำ ลำคลอง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ ที่จังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฏร์ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัย อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนน้อยลง เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่ และแหล่งเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม การเลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลาย มีอยู่เฉพาะบริเวณ แถบจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อย การเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมาก จะทำให้มีปลาแรดบริโภคกันอย่างกว้างขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์


1. ลักษณะเพศ ปกติปลาแรดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จะเห็นได้ชัดก็ต่อเมื่อมีขนาดสมบูรณ์พันธุ์ คือ ตัวผู้จะมีนอ (Tubercle) ที่หัวของมันโหนกสูงขึ้นจนเห็นได้ปัดหัวโต ส่วนตัวเมียจะมีโหนกไม่สูงและที่ใต้ฐานของครีบอกตัวเมีย จะมีจุดสีดำ แต่ตัวผู้จะมีแต้มสีขาว ปลาแรดที่มีอายุเท่ากัน ปลาตัวผู้จะโตกว่าปลาตัวเมีย ปลาแรดจะเริ่มมีไข่เมื่ออายุ 2-3 ปี น้ำหนักประมาณ 2-4 กิโลกรัม แม่ปลาขนาด 3 กิโลกรัมจะมีไข่ 2,000-4,000 ฟอง แม่ปลาตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง/ปี



2. การเพาะพันธุ์ปลา ปลาแรดสามารถวางไข่ได้ตลอดปี แต่จะมีไข่สูงใน ช่วง 7 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ปลาแรดจะสร้างรังวางไข่ การเพาะพันธุ์ จึงควรใส่ฟางหรือหญ้าเพื่อให้ปลาแรดนำไปใช้ในการสร้างรัง รังจะมีลักษณะคล้ายรังนก และจะมีฝาปิดรัง ขนาดรังโดยทั่ว ๆ ไป มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1 ฟุต ใช้เวลาสร้าง ประมาณ 1 สัปดาห์ การเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติในบ่อดิน บ่อเพาะพันธุ์ควรเป็น บ่อขนาดใหญ่ 1-2 ไร่ อัตราการปล่อยปลาตัวผู้ต่อตัวเมีย 1:2 จำนวน 100-150 คู่/ไร่ แม่ปลาขนาด 3 กิโลกรัมจะมีไข่ระหว่าง 2,000-4,000 ฟอง
การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ บริเวณพื้นบ่อมีสภาพเป็นโคลน ให้มีหญ้าและพันธุ์ ไม้น้ำขึ้นหนาสักหน่อย พร้อมทั้งหากิ่งไผ่ ผักให้จมอยู่ในน้ำเพื่อใช้เป็นที่สร้างรังพ่อแม่ปลา จะคอยระวังรักษาลูกอ่อนอยู่ใกล้ ๆ รังและจะพุ่งเข้าใส่ศัตรูที่มารบกวนอย่างเต็มที่ หรือ อาจใช้คอกที่สร้างขึ้นบริเวณตลิ่งที่เป็นคุ้งของลำแม่น้ำที่ไม่ไหลเชี่ยวมาก ใช้เพาะปลาแรด เช่นเดียวกับการเพาะในบ่อ
3. การฟักไข่ ไข่ปลาแรดเป็นประเภทไข่ลอย (มีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน มีไขมันมาก กลิ่นคาวจัด ไม่มีเมือกเหนียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร) เมื่อ ปลาแรดวางไข่แล้วนำรังที่มีไข่ขึ้นมาแล้วคัดเฉพาะไข่ดี ควรช้อนคราบไขมันออกมิฉะนั้น แล้ว จะทำให้น้ำเสียและปลาติดเชื้อโรคได้ง่าย ต่อจากนั้นรวบรวมไข่ใส่ถังส้วมทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ระดับน้ำประมาณ 30-50 ซม. ให้เครื่องเป่าอากาศเบา ๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนและใส่พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง เพื่อช่วยในการดูดซับไขมันและให้ลูกปลาได้ยึดเกาะ หรือฟักไข่ในบ่ออนุบาลหรือฟักในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว กระชังมีรูปร่าง สี่เหลี่ยมขนาด 2 x 1 x 0.5 ใช้หูเกี่ยวหรือโครงเหล็กถ่วงที่พื้นเพื่อให้กระปังดึงคงรูปอยู่
ได้ ในระหว่างการฟักควรเพิ่มอากาศหรือน้ำลงในกระชังเพื่อไล่ไขมันที่ติดมากับไข่ออกได้ มากที่สุด ไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนภายใน 18-36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20-30 เซลเซียส เมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ตัวอ่อนจะลอยหงายท้องอยู่และยึดติดกับพืชน้ำ ลูกปลาจะเริ่มกิน อาหารในวันที่ 5-7 โดยให้ไข่ชง อายุ 7-10 วัน ให้ไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ ช่วงที่ให้ไข่เป็น อาหาร ควรให้ทีละน้อยในบริเวณที่ลูกปลารวมเป็นกลุ่ม อายุ 10-15 วัน จึงให้ไรแดง ลูกปลาแรด จะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย เมื่ออายุได้ 4 เดือน

11.30.2556

ปลาฉลามหางไหม้ หรือ ปลาหางไหม้ (อังกฤษ: Bala shark) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Balantiocheilus ambusticauda ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Systomini มีรูปร่างคล้ายปลาตามิน (Amblyrhynchichthys truncatus) มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหาง สีส้มแดงและขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 20 เซนติเมตร นิยมอยู่เป็นฝูง หากินตามใต้พื้นน้ำ ในอดีตพบชุกชุมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ที่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย (ปลาที่พบในอินโดนีเซียสีของครีบหางจะออกเหลืองสดกว่า) แต่สถานภาพในปัจจุบัน ในประเทศไทยได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากธรรมชาติ ในอินโดนีเซียก็ใกล้จะสูญพันธุ์เช่นกัน

ปลากระเบนลายเสือ (อังกฤษ: Marbled whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura oxyrhynchus อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างเหมือนปลากระเบนชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน หางยาว โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ 1 หรือ 2 ชิ้น ที่สามารถงอกใหม่ได้เมื่อหลุดหรือหักไป หางไม่มีริ้วหนัง พื้นลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเหลือง กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ มีจุดดำคล้ายลายของเสือดาวกระจายอยู่ทั่วตัวไปจนปลายหาง อันเป็นที่มาของชื่อ พื้นลำตัวด้านล่างสีขาว หากินตามพื้นท้องน้ำโดยอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็ก, สัตว์หน้าดิน และสัตว์มีเปลือก จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง มีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร ปลากระเบนลายเสือเป็นปลาน้ำกร่อยที่พบอาศัยอยู่ค่อนมาทางน้ำจืด เป็นปลาที่พบน้อย พบได้ตามปากแม่น้ำ เช่น ปากแม่น้ำเจ้าพระยา, ปากแม่น้ำโขง, ทะเลสาบเขมร และพบได้ไกลถึงปากแม่น้ำบนเกาะบอร์เนียวของอินโดนีเซีย เป็นต้น แต่มีรายงานทางวิชาการว่าพบครั้งแรกที่ แม่น้ำน่าน เนื่องจากเป็นปลาที่มีลวดลายสวยงามจึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีราคาแพง แต่มักจะเลี้ยงไม่ค่อยรอดเพราะปลามักประสบปัญหาปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือภาวะแวดล้อมในที่เลี้ยงไม่ค่อยได้

5.09.2556

ปลาแพะเป็นปลาที่นิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม   เพื่อทำความสะอาดในตู้ หรือบ่อปลาด้วยการกินเอาเศษอาหารตกหล่นบ้าง ตะไคร่น้ำ  ปลาแพะ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก และนิสัยไม่ดุร้าย จึงทำให้เลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้เกือบทุกชนิดที่ไม่ใช่ปลากินเนื้อ  ปลาแพะ จัดอยู่ในกลุ่มของปลาหนัง (catfish) หรือปลาไม่มีเกล็ดขนาดเล็ก แต่สามารถพัฒนาผิวหนังไร้เกล็ดของมันให้แข็งเหมือนเกราะเพื่อปกป้องอันตรายจากศัตรูได้ดียิ่งกว่าเกล็ดจริงๆ เสียอีก อาวุธป้องกันตัวใช้ก้านแข็งของครีบว่ายน้ำ ทำให้ปลาอื่นกินทำได้ด้วยความยากลำบาก ลักษณะภายนอกของปลาแพะ  รูปร่างของมันค่อนข้างป้อม ลำตัวกลม ส่วนหัวค่อนข้างโตกว่าลำตัว ที่ปากมีหนวดสั้นๆ ยื่นออกมาสำหรับคลำหาอาหาร หนวดที่ว่านี้ดูผิวเผินคล้ายเคราของแพะ จึงนิยมเรียกเจ้าปลาชนิดนี้ว่า "ปลาแพะ" ในขณะที่ฝรั่งจะเรียกมันว่า "คอรี่" ซึ่งก็มาจากชื่อสกุลของมันคือ Corydoras นั่นเอง
                  ปลาแพะเป็นปลาขนาดเล็กโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร แต่ก็มีบางชนิดที่อาจใหญ่กว่านั้นเล็กน้อย ปลาแพะ มีจำนวนชนิดพันธุ์มากมาย แต่ละชนิดแตกต่างกันทางรูปร่างและลวดลายสีสัน บางชนิดอ้วนป้อมมาก เช่น แพะเขียวโบรคิส (Brochis splendens) ซึ่งเป็นแพะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โตเต็มที่ตัวเมียจะมีความยาวถึง เซนติเมตร จึงได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า  "ปลาแพะยักษ์" ส่วนแพะที่มีรูปร่างตรงกันข้ามกันคือ แพะบาร์บาตัส (Corydoras barbatus) ซึ่งมีลำตัวเรียวยาวผอมเพรียวลม แหล่งอาศัยตามธรรมชาติของปลาแพะอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะลุ่มน้ำอะเมซอนที่  พวกมันหากินเป็นฝูงตามหน้าดิน โดยใช้ซากต้นไม้ใบไม้ที่ซ้อนทับถมกันเป็นเครื่องกำบังซ่อนตัวจากผู้ล่า ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ รูปร่างอ้วน ท้องกลมจนดูหัวเล็ก ส่วนตัวผู้ลำตัวจะเรียวกว่ามาก ในธรรมชาติปลาแพะกินสิ่งมีชีวิตที่หลบซุกซ่อนตัวอยู่บริเวณผิวหน้าของดิน เช่น ตัวอ่อนแมลงน้ำ ไส้เดือน และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 

เป็นปลาที่มีรูปร่างมีสีสันสวยงาม จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกกลุ่มหนึ่ง โดยปลาในสกุลนี้ทั่วโลกมีประมาณ 27 ชนิด พบว่าปลาหมูมีการแพร่กระจายตั้งแต่ประเทศปากีสถาน อินโดนีเซีย จีนตอนใต้ และประเทศไทยพบปลาหมูประมาณ ชนิด ปัจจุบันเราสามารถพบปลาหมูในธรรมชาติได้เพียง ชนิด เท่านั้น คือ ปลาหมูข้างลาย ปลาหมูหางแดง และปลาหมูขาว  โดยปลาหมูขาว หรือปลาหมูฟ้ามีลำตัวสีฟ้า พบมากในแม่น้ำทางภาคเหนือ และสีของลำตัวเปลี่ยนแปลงตามสภาพแหล่งน้ำที่อาศัย โดยถ้าเป็นแหล่งน้ำใสลำตัวปลามีสีฟ้า แต่ถ้าน้ำที่อาศัยขุ่นสีของลำตัวออกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ปลาหมูที่พบในแม่น้ำส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีขนาดเล็กกว่าปลาที่พบตามแก่งหิน น้ำตก หรือลำห้วยบริเวณต้นน้ำ เนื่องจากต้องมีการว่ายต้านกระแสน้ำที่มีไหลตลอดเวลาตามสภาพของแหล่งน้ำนั้น ๆ ปลาหมูมักชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยพบได้ทั้งในบริเวณแอ่งน้ำข้างแหล่งน้ำไหลของลำธาร น้ำตก หรือบริเวณที่มีน้ำไหลเล็กน้อย เช่น อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบน้ำจืด ห้วย ลำคลอง แม่น้ำสาขาที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา และมักว่ายทวนกระแสน้ำเพื่อขึ้นไปผสมพันธุ์วางไข่ และหาอาหารที่อุดมสมบูรณ์ในแหล่งที่เป็นต้นน้ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายฤดูร้อนต่อถึงช่วงต้นฤดูฝน เมื่อระดับน้ำในแหล่งน้ำลดลง ปลาบางส่วนว่ายตามน้ำไปอยู่บริเวณแอ่งน้ำ โดยกินอาหารที่มาพร้อมกับกระแสน้ำ ปลาหมูสามารถหาอาหารกินได้ตั้งแต่ระดับพื้นท้องน้ำจนถึงระดับผิวน้ำ ขึ้นอยู่กับชนิดของปลา เช่น ปลาหมูลายสามารถหาอาหารได้ในน้ำทุกระดับ ปลาหมูหางเหลืองหากินที่พื้นท้องน้ำเป็นส่วนมาก และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ค่อนข้างลึก


ชื่อสามัญ  Sun loach

ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia  eos  (Taki, 1972)

ลักษณะทั่วไปปลาหมูขาว

                  ปลาหมูขาวพบได้ในแม่น้ำ และอ่างเก็บน้ำใน ภาคกลาง ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย และค่อนข้างป้อมกว่าปลาหมูชนิดอื่น ๆ ความยาวลำตัวจากปลายจนถึงครีบโคนหางเป็น 2.5-2.9  เท่าของความกว้างลำตัว ลำตัวเป็นสีเทา หรือเทาอมเขียวบริเวณด้านหลังสีเข้มกว่าด้านข้างลำตัว ท้องสีเหลืองอ่อนหรือขาว บริเวณโคนหางมีจุดสีดำ  สำหรับปลาวัยอ่อนที่ยังโตไม่เต็มที่มีแถบสีดำเล็ก ๆ จะงอยปากค่อนข้างยาว ปลายจะงอยปากมีหนวด 2 คู่ และมุมปากมีหนวดอีก 1 คู่ ปากอยู่ปลายสุด และอยู่ในระดับต่ำ ส่วนหัวมีหนามแหลมปลายแยกเป็น 2 แฉก ขนาดใหญ่ และแข็งแรง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเหลืองจนถึงสีเหลืองจาง ๆ ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบ 9 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ 8 อัน ครีบอกมีก้านครีบ 7-9 อัน ปลาหมูขาวเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลปลาหมูที่พบในประเทศไทย ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือขนาด 23.5 เซนติเมตร  แต่ที่พบทั่วไปมีขนาดเฉลี่ย 10-25 เซนติเมตร  ในธรรมชาติอาหารของปลาหมูขาว ได้แก่ ตัวอ่อนแมลงน้ำ  หนอนและซากสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ

การเก็บรวมรวบพันธุ์ปลาธรรมชาติ

                 สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพิจิตรเก็บรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาหมูขาวจากชาวประมงในแม่น้ำน่านบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร แล้วนำมาแยกเลี้ยง 2 วิธี คือ
                  1 ในบ่อซีเมนต์ ขนาด 50 ตารางเมตร ปล่อยพ่อแม่พันธุ์จำนวน 100 ตัว
                  2 ในกระชังเนื้ออวนช่องตา 1 เซนติเมตร  ขนาด 2 ลูกบาศก์เมตร ปล่อยพ่อแม่พันธุ์จำนวน 100 ตัว ให้ปลาสับเป็นอาหารวันละ 1 ครั้ง ตอนบ่าย เลี้ยงไว้ระยะหนึ่งแล้วจึงคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อใช้ในการผสมเทียม

การเพาะพันธุ์ปลาหมูขาว

                  ฤดูการผสมพันธุ์ของปลาหมูขาวตามธรรมชาติอยู่ช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนประมาณเดือนมีนาคม -กันยายน คัดเลือกแม่พันธุ์ปลาหมูขาวที่สมบูรณ์ที่สุดโดยสังเกตลักษณะของท้องอูมเป่ง และช่องเพศเกิดสีชมพูเรื่อ ๆ ส่วนปลาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่า และลำตัวเพรียวกว่า บีบที่ช่องเปิดเบา ๆ มีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมา การทดลองผสมเทียมได้ทดลอง 3 ครั้ง โดยใช้แม่ปลาจำนวน 4 ตัว ใช้ต่อมใต้สมองปลาไนฉีดครั้งเดียวในจำนวน 1.5เท่า  ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพศเมีย  ทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง นำปลามารีดไข่ผสมน้ำเชื้อ ไข่มีลักษณะกลมสีเทาอมเขียวใกล้เคียงลักษณะไข่ปลาตะเพียน ไข่เป็นประเภทครึ่งลอยครึ่งจม  ความดกของไข่จากการผ่าแม่ปลาหมูขาว ขนาด130 กรัม ยาว 19.5 เซนติเมตร รังไข่หนัก 15 กรัม มีไข่อยู่ประมาณ 60,000 - 80,000 ฟอง ไข่ปลาหมูขาวใช้เวลาฟัก12 ถึง 18 ชั่วโมง ในตู้กระจกที่อุณหภูมิของน้ำประมาณ 27 องศาเซลเซียส ความเป็นกรดเป็นด่าง  8.6  ( น้ำบาดาล)

การอนุบาลลูกปลา

                  นำลูกปลาหมูขาวที่ฟักออกเป็นตัวแล้ว มาอนุบาลต่อในมุ้งโอล่อน ขนาด 1 x 1 ตารางเมตร  ซึ่งแขวนไว้ในบ่อซีเมนต์ขนาด 2 x 5 ตารางเมตร  ในโรงเพาะฟักเมื่อลูกปลาอายุ 3 วัน ถุงอาหารยุบจึงเริ่มให้ไข่ต้มสุกบดละเอียดละลายน้ำสาดให้กินวันละ 5 ครั้ง ถ่ายน้ำ 1 ใน 3 ของบ่อทุกวัน ตอนเช้าของวันที่ 7 จึงเริ่มให้ไรแดงมีชีวิตเป็นอาหารวันละ 3 ครั้ง โดยใช้แก้วใสตักน้ำในมุ้งอนุบาลตรวจความหนาแน่นของไรแดงอยู่เสมอ เพื่อให้พอเพียงกับความต้องการของลูกปลา ลักษณะของลูกปลาหมูขาวขนาดเล็กแตกต่างกับปลาชนิดอื่น คือ ด้านหลังโค้งลาด เช่นพ่อแม่พันธุ์ และบริเวณลำตัวมีสีดำทอดไปตามความยาวของตัวปลา เมื่ออายุได้ 20 วัน พบแถบสีดำพาดขวางลำตัวประมาณ 7-8 แถบ และสีลำตัวออกสีเหลืองอ่อน ๆ ลูกปลามีลักษณะเหมือนพ่อแม่พันธุ์ เมื่ออายุได้ประมาณ 45-60 วัน และสีดำที่พาดขวางลำตัวหายไปเมื่อลูกปลาโตขึ้น หรืออายุได้ประมาณ 5 เดือน

ลักษณะทั่วไป
     
จัดเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวมีความยาวเกือบ 3 เมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 250 กิโลกรัม ลำตัวมีลักษณะยาวและแบนด้านข้าง ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตามีขนาดเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวดสั้นๆ ที่ขากรรไกรบน 1 คู่ซ่อนอยู่ในร่องตรงเลยมุมปาก ในขณะมีชีวิตสีลำตัวจะเป็นสีเทาออกแดงทางด้านหลัง แล้วค่อยๆ กลายเป็นสีเทาแกมฟ้าทางด้านข้าง และสีขาวทางด้านใต้ท้อง มีจุดดำจุดหนึ่งทางด้านข้างตรงตำแหน่งปลายสุดของครีบหู และจุดดำอีกสามจุดบนครีบหาง ครีบทุกครีบเป็นสีเทาจางๆ 

       

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     ปลาบึกพบอาศัยอยู่เฉพาะในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาเท่านั้น เคยพบบ้างในแคว้นฉานของประเทศพม่า และแคว้นยูนาน ในประเทศจีนตอนใต้ ชอบบริเวณแม่น้ำที่มีความลึกมากกว่า 10 เมตร พื้นท้องน้ำเป็นกรวด และควรจะมีเพิงหินหรือถ้ำใต้น้ำด้วย 
     อาหารได้แก่ สาหร่ายที่ขึ้นอยู่ตามก้อนหินใต้น้ำเป็นอาหาร 

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     รักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณเขตน้ำลึกที่มีกระแสน้ำไหล 
     เชื่อว่าฤดูวางไข่ของปลาบึกจะตกอยู่ราวเดือนกุมภาพันธ์ โดยปลาบึกจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่เหนือขึ้นไปจากประเทศไทย บริเวณหลวงพระบางในประเทศลาวซึ่งเป็นบริเวณนำลึกมีเกาะแก่งมากสะดวกในการผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูแล้ง พอถึงฤดูน้ำหลาก มันจะว่ายตามน้ำลงมายังแม่น้ำโขงตอนล่าง 

สถานภาพปัจจุบัน
     ในปัจจุบันประเทศไทยโดยทางกรมประมงได้ผสมเทียมปลาบึกเป็นผลสำเร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และในปีต่อมาสามารถเพาะพันธุ์ได้จำนวนมากพอที่จะปล่อยในแหล่งน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏว่าปลาบึกเจริญเติบโตได้ดี แต่ยังไม่ทราบว่าจะผสมพันธุ์วางไข่ได้หรือไม่ ทุกปีจะมีเทศกาลจับปลาบึกขึ้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ทำให้ปลาบึกที่โตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์ถูกจับปีละนับร้อยตัว เพื่อนำเอามาขายเป็นอาหารราคาแพง ทำให้ปริมาณของปลาบึกในแม่น้ำโขงลดจำนวนลงทุกปีๆ 

4.08.2556

ตะพาก ปีก

ชื่อไทย  GOLDEN BELLY BARB

ชื่อสามัญ   Hypsibarbus wetmorei
อยู่ตามแหล่งน้ำไหลที่มีกระแสน้ำเชี่ยว ในบริเวณที่มีระดับน้ำลึกประมาณ 2 - 3 เมตร มีพื้นที่เป็นกรวดทราย หรือดินปนทรายพบตามลำน้ำปิง ลุ่มน้ำสาละวิน ภาคกลางพบในแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ทางภาคอีสานพบในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง

มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขาวและอยู่ในสกุลเดียวกัน โดยทั่วไปจะมีลำตัวสีเหลืองทองบริเวณส่วนหลังจะมีสีเข้มเป็นสีน้ำเงินอม เขียว ครีบหลังและครีบหางสีส้มแกมเขียว ครีบท้องสีส้มหรือสีเหลือง วิธีการในการสืบพันธุ์วางไข่ของปลาชนิดนี้เป็นที่ร่ำลือกันมากที่จังหวัดตาก ในเขตอำเภออุ้มผาง คือ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งตกราวเดื

อนตุลาคมถึงธันวาคม ปลาตะพากทั้งตัวผู้และตัวเมียจะเวียนว่ายเคล้าเคลียรวมกันเป็นฝูงใหญ่นับ เป็นจำนวนพัน จำนวนหมื่น ในขณะผสมพันธุ์ปลาทุกตัวจะรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนและเบียดเสียดยัดเยียดกัน จนตัวที่อยู่ด้านบน ตัวจะลอยอยู่พ้นน้ำ อาการเช่นนี้ชาวบ้านเรียกว่า " ปลากอง " คือปลามารวมกองกันอยู่ในบริเวณเดียวกัน

อาหารธรรมชาติ กินพืชน้ำ แมลงและตัวอ่อนของแมลงน้ำ

สถานภาพ เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ

3.10.2556

ประโยชน์การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์
       1. ใช้พื้นที่น้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่
       2. ใช้เวลาเลี้ยงสั้น รุ่นละประมาณ 90 - 120 วัน
       3. ปลาดุกเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
       4. สามารถเลี้ยง ดูแลรักษาได้สะดวก บริโภคในครัวเรือนและส่วนที่เหลือนำไปจำหน่ายได้
การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
       1. การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
          - บ่อควรอยู่ใกล้บ้าน หรือที่สามารถดูแลได้สะดวก
          - ควรอยู่ในร่มหรือมีหลังคา เพราะปลาดุกไม่ชอบแสงแดดจัด และป้องกันเศษใบไม้ลงสู่บ่อจะทำให้น้ำเสียได้
          - มีแหล่งน้ำสำหรับเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวกพอสมควร
       2. การสร้างบ่อ
          - บ่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูงประมาณ 40 ซม.
          - ควรมี 2 บ่อ เพื่อใช้คัดขนาดปลาและสำรองน้ำไว้ถ่ายเท
          - ผนังและพื้นบ่อควรใส่สารกันรั่วซึม
          - มีท่อระบายน้ำเพื่อช่วยในการถ่ายเทน้ำ

การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยง
       1. การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยงปลา ให้ตัดต้นกล้วยเป็นท่อใส่ลงไปในบ่อ เติมน้ำให้ท่วม แช่ไว้ 3 - 5 วัน เปลี่ยนต้นกล้วยแล้วแช่ไว้อี่ครั้งเพื่อให้หมดฤทธิ์ปูนขาว แล้วล้างบ่อให้สะอาด
       2. ตรวจสอบสภาพน้ำให้เป็นกลางหมดฤทธิ์ของปูน ถ้ามีตะใคร่น้ำเกาะติดที่ข้างบ่อปูนถึงจะดี
       3. น้ำที่จะใช้เลี้ยงคือน้ำจากคลอง หนอง บึง ต้องตรวจสอบว่ามีศัตรูปลาเข้ามาในบ่อด้วยหรือเปล่า
       4. น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำประปา ควรพักน้ำไว้ประมาณ 3 - 5 วัน ก่อนนำมาใช้ได้

 อัตราการปล่อยปลาและเลี้ยง
       1. ปลาเริ่มเลี้ยงความยาว 5 -7 ซม.
       2. อัตราการปล่อยลงเลี้ยงในถังซีเมนต์กลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ถึก 40 ซม. ประมาณ 80 - 100 ตัว
       3. ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรใส่เกลือแกลงประมาณ 2 - 3 ช้อนแกง เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำ
       4. ระดับน้ำที่ปล่อยปลาครั้งแรก 10 -15 ซม.
       5. การปล่อยปลาควรปล่อยในตอนเช้า
       6. ควรนำถุงปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงแช่ในบ่อประมาณ 30 นาที เพื่อให้อุณหภูมิน้ำในถุงปลาและน้ำในบ่อไม่แตกต่างกันป้องกันปลาตายได้
       7. ควรมีวัสดุให้ปลาหลบซ่อน เช่นท่อพีวีซีตัดเป็นท่อนหรือกระบอกไม้ไผ่ เพราะปลาตัวใหญ่จะกวนปลาตัวเล็ก
       8. ควรมีการคัดขนาดปลา เมื่อมีอายุประมาณ 15 -20 วัน โดยนำตัวเล็กแยกไว้อีกบ่อหนึ่ง
       9. ควรมีวัสดุช่วยบังแสงแดด

ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น แม่น้ำ  ลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ มีชื่อสามัญ STRIPED ANAKE-HEAD FISH  และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa striatus ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดี  ก้างน้อย  สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด จึงทำให้การบริโภคปลาช่อนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันปริมาณปลาช่อนที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากการทำประมงเกินศักยภาพการผลิตตลอดจนสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อม โทรมตื้นเขิน ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ทำให้ปริมาณปลาช่อนในธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และความต้องการบริ โภค การเลี้ยงปลาช่อนจึงเป็นแนวทางหนึ่งซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนโดยนำลูก ปลาที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะขยายพันธุ์มาเลี้ยงให้เป็น ปลาโตขนาดตลาดต้องการต่อไป
 

  อุปนิสัย 

          โดยธรรมชาติปลาช่อนเป็นปลาประเภทกินเนื้อ กินสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ รวมทั้งปลาขนาดเล็กและแมลงในน้ำชนิดต่างๆ  เป็นอาหารเมื่ออาหารขาดแคลน ปลาจะมีพฤติกรรมกินกันเองโดยปลาช่อนตัวใหญ่จะกินปลาตัวเล็ก
 

  รูปร่างลักษณะ 

          ปลาช่อนเป็นปลาที่มีเกล็ด  ลำตัวอ้วนกลม  ยาวเรียว  ท่อนหางแบนข้าง  หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่ ปากกว้างมาก มีฟันซี่เล็กๆ  อยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง  ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง  ครีบหางกลม ลำตัวส่วนหลังมีสีดำ ท้องสีขาว ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียง มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ปลาช่อนจึงสามารถเคลื่อนไหวไปบนบกหรือฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆ
 

  การผสมพันธุ์วางไข่ 

          ปลาช่อนสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดปี   สำหรับฤดูกาลผสมพันธุ์วางไข่จะเริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม ตุลาคม ช่วงที่มีความพร้อมที่สุดคือเดือนมิถุนายน กรกฎาคม
          ในฤดูวางไข่ จะสังเกตความแตกต่างระหว่างปลาเพศผู้กับเพศเมียอย่างเห็นได้ชัดคือ  ปลาเพศเมีย ลักษณะท้องจะอูมเป่ง  ช่องเพศขยายใหญ่  มีสีชมพูปนแดง  ครีบท้องกว้างสั้น  ส่วนปลาเพศผู้ ลำตัวมีสีเข้มใต้คางจะมีสีขาว  ลำตัวยาวเรียวกว่าปลาเพศเมีย
           ตามธรรมชาติปลาช่อนจะสร้างรังวางไข่ในแหล่งน้ำนิ่งความลึกของน้ำประมาณ  30 –100 เซนติเมตร โดยปลาตัวผู้จะเป็นผู้สร้างรังด้วยการกัดหญ้าหรือพรรณไม้น้ำ และใช้หางโบกพัดตลอดเวลาเพื่อที่จะทำให้พื้นที่เป็นรูปวงกลม  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 –40 เซนติเมตร ปลาจะกัดหญ้าที่บริเวณกลางของรัง ส่วนพื้นดินใต้น้ำ ปลาก็จะตีแปลงจนเรียบ  หลังจากที่ปลาช่อนได้ผสมพันธุ์วางไข่แล้ว  พ่อแม่ปลาจะคอยรักษาไข่อยู่ใกล้ๆ เพื่อมิให้ปลาหรือศัตรูอื่นเข้ามากินจนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัว ในช่วงนี้พ่อแม่ปลาก็ยังให้การดูแลลูกปลาวัยอ่อน เมื่อลูกปลามีขนาด 2 – 3 เซนติเมตร  จึงแยกตัวออกไปหากินตามลำพังได้ ซึ่งระยะนี้เรียกว่า ลูกครอก หรือลูกชักครอก  ลูกปลาขนาดดังกล่าวน้ำหนักเฉลี่ย 0.5 กรัม ปลา 1 กิโลกรัมจะมีลูกครอก ประมาณ 2,000 ตัว ลูกครอกระยะนี้จะมีเกษตรกรผู้รวบรวมลูกปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นอาชีพนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้เลี้ยงปลาอีกต่อหนึ่งในราคากิโลกรัมละ 70 – 100 บาท ซึ่งรวบรวมได้มากในระหว่างเดือนมิถุนายน ธันวาคม
 

  การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ 

           ปลาช่อนที่นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่มีรูปร่าง  ลักษณะสมบูรณ์ ไม่บอบช้ำและมีน้ำหนักตั้งแต่ 800 – 1,000 กรัมขึ้นไป และอายุ 1 ปีขึ้นไป
           ลักษณะแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปลาช่อนที่ดีซึ่งเหมาะสมจะนำมาใช้ในการเพาะพันธุ์   แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย  ลักษณะติ่งเพศมีสีแดงหรือสีชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบาๆที่ท้องจะมีไข่ไหลออกมามีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน ใส ส่วนพ่อพันธุ์ติ่งเพศควรจะมีสีชมพูเรื่อๆปลาไม่ควรจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมมากเกินไป เป็นปลาขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม
 

  การเพาะพันธุ์ปลาช่อน 

         ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่ประชาชนนิยมบริโภค ทำให้ปริมาณปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด  สำหรับเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาช่อน เนื่องจากเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งนี้ ลูกปลาช่อนที่เกษตรกรรวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณไม่เพียงพอต่อ ความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนดังนั้นการเพาะพันธุ์ปลาจึงเป็นแนว ทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตพันธุ์ปลาช่อน
         ในการเพาะพันธุ์ปลาช่อนต้องคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาช่อนที่มีความสมบูรณ์  ซึ่งจะมีอายุ 1ปีขึ้นไป ขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม  บ่อเพาะพันธุ์ควรมีระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0 – 1.5 เมตร และมีการถ่ายเทน้ำบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี มีการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้สมบูรณ์  ซึ่งจะทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนมีน้ำเชื้อและไข่ที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
 
             การเพาะพันธุ์ปลาช่อน ทำได้ 2 วิธี คือ
         1. การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ  วิธีนี้ควรใช้บ่อเพาะพันธุ์เป็นบ่อดินขนาด 0.5 – 1.0 ไร่ พร้อมทั้งจัดสภาพสิ่งแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1:1 ให้ปลาเป็ดผสมรำเป็นอาหารในปริมาณ 2.5 – 3.0 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา
         2. การเพาะพันธุ์โดยวิธีการผสมเทียมด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์
            สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรี ดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาช่อนด้วยวิธีผสมเทียมโดยใช่ฮอร์โมน
สังเคราะห์ฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อหรือ ปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ได้แก่
LHRHa  หรือ  LRH – a โดยใช้ร่วมกับโดมเพอริโดน (Domperidone)
        การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาช่อนโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่นั้น ด้วยการฉีดเพียงครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ร่วมกับโดมเพอริโดน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ส่วนพ่อพันธุ์ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 15 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัมร่วมกับโดมเพอริโดน
5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม   จากนั้นประมาณ  8–10 ชั่วโมง  สามารถรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้เนื่องจากไข่ปลาช่อนมีไขมันมากเมื่อทำการผสม
เทียมจึงต้องล้างน้ำหลายๆครั้ง  เพื่อขจัดคราบไขมัน นำไข่ไปฟักในถังไฟเบอร์กลาสขนาด
2 ตัน ภายในถังเพิ่มออกชิเจนผ่านหัวทรายโดยเปิดเบาๆ ในกรณีที่ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้วต้องแยกไข่ไปฟักต่างหากเช่นกัน
 

  การฟักไข่ 

           ไข่ปลาช่อนมีลักษณะกลมเล็ก เป็นไข่ลอย  มีไขมันมาก ไข่ที่ดีมีสีเหลือง  ใส  ส่วนไข่เสียจะทึบ ไข่ปลาช่อนฟักเป็นตัวภายในเวลา 30 –35 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 27 องศาเซลเซียส  ความเป็นกรด - ด่าง  7.8 ความกระด้าง  56  ส่วนต่อล้าน
 

  การอนุบาลลูกปลาช่อน 

          ลูกปลาที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ลำตัวมีสีดำ มีถุงไข่แดงสีเหลืองใสปลาจะลอยตัวในลักษณะหงายท้องขึ้นอยู่บริเวณผิวน้ำ   ลอยอยู่นิ่งๆไม่ค่อยเคลื่อนไหว หลังจากนั้น  2 – 3 วันจึงพลิกตัวกลับลง และว่ายไปมาตราปกติโดยว่ายรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณผิวน้ำ
          ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัว   เมื่อถุงไข่แดงยุบ วันที่ 4 จึงเริ่มให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มสุกบดละลายกับน้ำผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากินวันละ 3 ครั้ง เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าวันที่ 6 จึงให้ไรแดงเป็นอาหารอีก 2 สัปดาห์ และฝึกให้อาหารเสริม เช่น ปลาป่น เนื้อปลาสดบด โดยใส่อาหารในแท่นรับอาหารรูปสี่เหลี่ยมซึ่งมีทุ่นผูกติดอยู่ ถ้าให้อาหารไม่เพียงพออัตราการเจริญเติบโตของลูกปลาจะแตกต่างกัน และพฤติกรรมการกินกันเอง ทำให้ตราการรอดตายต่ำจึงต้องคัดขนาดลูกปลา การอนุบาลลูกปลาช่อนโดยทั่วไปจะมีอัตราการรอดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆละ 50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำ

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม