4.02.2554

โลมา


โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งอาศัยน้ำที่มีสติปัญญาสูงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายใกล้เคียงกับ วาฬ ในภาษาอังกฤษเรียกโลมาว่า Dolphin มาจากภาษากรีกโบราณ δελφίς เดลฟิส (delphis) ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลงมาเป็นมนุษย์ และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไดโอนีซอสนั้นแม้จะเป็นเทพ ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เมื่อถึงคราวของไดโอนีซอส เขาจึงถูกลูกเรือปล้น และคิดจะจับเขาไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เขาจึงจำต้องแสดงตนว่าเป็นเทพ และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจ จึงกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นปลาโลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นปลาโลมา นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปด้วย กลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอนหาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ปลาโลมาจึงได้รับเกียรติจากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมาอีกด้วย ที่จริงแล้วโลมาเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ แต่เพื่อความพยายามหาอาหาร เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมาจึงค่อยๆปรับตัวให้ลงไปอยู่ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน นั่นเป็นตำนานของคนโบราณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่นอาศัยอยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยังเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์ และยังเป็นสัตว์น้ำที่น่ารักเสียด้วย
รูปร่างของโลมา

โลมา อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรนับร้อยชนิด แต่ในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดีมีอยู่ ๒ ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร บางครั้งยังพบโลมาอยู่ในแม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะ จะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ดังนี้ จมูก โลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาทั่วไป หู หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้านข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของโลมามีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง การมองเห็น โลมามีดวงตาแจ่มใส เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเปลือกตาปิดได้ และในเวลา กลางคืนตาก็จะเป็นประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา และมองเห็นได้ไกลถึง ๕๐ ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ สีผิว สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ จนกระทั่งถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไปปลาโลมาจะมีสีผิวแบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสีตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน สีเข็มจะกลืนกับสีน้ำทะเล และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ ความฉลาดของโลมา

ว่ากันว่า โลมานั้นฉลาดไม่แพ้เด็กตัวเล็กๆ เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย โลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เทียบกับลำตัวใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์ และ สมองส่วนซีรีบรัม อันเป็นส่วนของความจำ และการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมของการรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้ นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่าโลมาอาจจะฉลาดเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้ โลมาผู้ช่วยชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาโลมาช่วยชีวิตคนนั้นมีอยู่บ่อยครั้ง แต่จริงๆแล้ว เป็นเพราะปลาโลมาต้องการช่วยชีวิตคนจริงๆ หรือ เชื่อว่าจริงๆ แล้ว ปลาโลมานั้นเป็นปลาที่อ่อนโยน รักสนุก และขี้เล่น ที่มันช่วยคนอาจเป็นเพราะมันต้องการเข้ามาเล่นสนุกๆ เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็น สัญชาตญาณของแม่ปลาที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าลูกปลาเสียชีวิต ระหว่างคลอด จะพบว่าแม่ปลาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุด ภัยร้ายของโลมา ในประเทศไทย โลมาที่ติดอวนมาแล้ว จะถูกชำแหละเนื้อขายด้วยราคาถูกๆ เนื่องจากเนื้อปลาโลมามีความคาวมาก จึงไม่มีผู้นิยมบริโภคเท่าใดนัก ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเคยเป็นประเทศที่ล่าปลาวาฬมากที่สุดในโลก จนกระทั่งปลาวาฬใกล้สูญพันธ์ จึงถูกสั่งห้ามล่าปลาวาฬ หันมาล่าปลาโลมาแทน โดยเพิ่มปริมาณการล่าปลาวาฬขึ้นเป็นสี่เท่า ทำให้โลมาในทะเลญี่ปุ่นลดน้อยลงเป็นอันมาก จะเห็นว่าโลมา ไม่ได้มีชีวิตอยู่สุขสบายนักในท้องทะเลธรรมชาติ ดังนั้น เราก็ควรที่จะอนุรักษ์เจ้าโลมาไว้ เพื่อที่จะได้ยกให้มันเป็นสัตว์ที่น่ารัก และมีให้เราได้เห็นอยู่ในท้องทะเลได้อีกนานๆ คงไม่มีใครอยากเห็นเจ้าโลมาน้อยน่ารัก โดนสาปให้แข็ง ตั้งโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ และมีป้ายเขียนว่า “สัตว์สูญพันธุ์” เป็นแน่. เป็นสัตว์ไม่มีขา เป็นสัตว์ฉลาด


ปลาทับทิม เป็นปลาที่สามารถเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจได้ มีเกษตรกรบางรายที่นำปลาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ ปลาร้า จำหน่าย จนสามารถทำกำไรและลดต้นทุน มีรายได้เสริมอย่างงดงาม
ปลาทับทิมจึงเป็นปลาซึ่งเกษตรกรผู้มีทุนน้อยสามารถเลี้ยงได้ในเชิงเศรษฐกิจ ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ร้านอาหาร โต๊ะจีน ต่างนิยมนำปลาทับทิมมาทำเป็นอาหาร

ลักษณะเด่น 9 ประการ ของปลาทับทิม

1. เส้นใยเนื้อละเอียดแน่นจึงมีรสชาติดีและปราศจากกลิ่น

2. มีไขมันต่ำมากจึงปราศจากกลิ่นที่เกิดจากไขมันในตัวปลา และเป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์

3. ปริมาณเนื้อบริโภคได้ต่อน้ำหนักสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนสันหนามาก

4. ส่วนหัวเล็ก โครงกระดูกเล็ก ก้างน้อย

5. ผิวมีสีแดงอมชมพู เนื้อทุกส่วนสีขาวทำให้น่ารับประทาน

6. เจริญเติบโตในความเค็มสูงถึง 25 ppt

7. อัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก

8. การกินอาหารเก่ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคสัตว์น้ำต่างๆ ได้ดี

9. สามารถเลี้ยงในกระชังมีความหนาแน่นสูงได้ โดยไม่มีผลเสียต่อปลา ให้ผลผลิตเฉลี่ย 40 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร

สำหรับขั้นตอนการเลี้ยงอย่างมืออาชีพ

1. จัดเตรียมกระชังปลาสำหรับเลี้ยงปลา ระยะเวลา 4 เดือน เดือนแรก 4 กระชัง เดือนที่สอง 4 กระชัง เดือนที่สาม 4 กระชัง เดือนที่สี่ 4 กระชัง รวมแล้ว 16 กระชัง (เป็นการเลี้ยงครบวงจรดูรายละเอียดการเลี้ยง)

2. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ยังไม่ได้รับการอนุบาล จะตกราคาตัวละ 50 สตางค์ แต่มีอัตราการเสี่ยงสูง เพราะเมื่อเลี้ยงแล้วจะมีอัตราการตายสูงถึง 60%

3. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ได้รับการอนุบาลแล้วคือ มีอายุ ประมาณ 2 เดือน น้ำหนักตัวอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ 3.50 บาท (ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้วลดอัตราการเสี่ยง เพราะจะเสียหายเพียง 5-6% เท่านั้น) เมื่อเตรียมพันธุ์ปลาแล้ว (สามารถติดต่อซื้อลูกปลาได้แล้วและกำหนดวันส่งอย่างแน่นอน)

1. นำกระชังปลาที่เตรียมไว้ จำนวน 4 กระชัง ลงน้ำ ไว้เพื่อให้กระชังสร้างความสมดุลกับน้ำและหาข้อบกพร่องของกระชัง ไม่ว่าจะเป็นทุ่นตะแกรง เพราะเมื่อนำลูกปลาลงเลี้ยงแล้ว จะแก้ไขไม่ได้

2. นำลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้ว (อายุ 2 เดือน น้ำหนักอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ ประมาณ 3.50 บาท) จำนวน 950 ตัว ต่อหนึ่งกระชัง ลงทั้งหมด 4 กระชัง ในวันแรกของการลงลูกปลา หลังจากที่ลูกปลาสามารถปรับสภาพกับน้ำได้แล้ว ให้นำยาปฏิชีวนะ วิตามิน ผสมในอาหารสำเร็จรูป สูตร 9950 เป็นเวลา 7 วัน วันละ 4 ครั้ง คือเวลา 08.00 น. - 11.00 น. - 13.30 น. - 16.30 น. (ไม่ให้เลยเวลาของลูกจ้าง ถ้าเกษตรกรเลี้ยงเอง สามารถยืดเวลาออกไปได้อีก) ให้ดูน้ำหนักของลูกปลาจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 4% (น้ำหนักอยู่ที่ 50-55 กรัม)

3. หลังจากเลี้ยงได้ 7 วันแล้ว ให้อาหารสำเร็จรูปสูตร 9950 โดยไม่ต้องผสมยาปฏิชีวนะและวิตามิน ใช้เวลา 15-20 อัตราการเจริญเติบโตของปลาอยู่ที่ 100-120 กรัม (จากวันที่ลงลูกปลา)

4. หลังจากเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9951 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 60 วัน อัตราการเจริญเติบโตของปลา อยู่ที่ 400-500 กรัม

5. ระยะเดือนสุดท้าย ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9952 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน น้ำหนักปลาอยู่ที่ 800 กรัม (เป็นน้ำหนักมาตรฐาน) ซึ่งสามารถจับขายได้ ระยะเวลาการเลี้ยงตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงเวลาจับขาย ใช้เวลาทั้งสิ้น 4 เดือน (120 วัน)


การเลี้ยงแบบครบวงจร 4 เดือน 16 กระชัง

1. เดือนแรกลง 4 กระชัง (ตามที่เขียนไว้)

2. เดือนที่สอง ให้ลงกระชังเพิ่มอีก 4 กระชัง และเริ่มวิธีเลี้ยงกระชังแรกรวมเป็น 8 กระชัง

3. เดือนที่สาม ให้ลงกระชังเพิ่มอีก 4 กระชัง และเริ่มวิธีเลี้ยงเหมือนขั้นตอนแรกรวมเป็น 12 กระชัง

4. เดือนที่สี่ ให้ลงกระชังปลาเพิ่มอีก 4 กระชัง และเริ่มวิธีเลี้ยงเหมือนขั้นตอนแรกรวมเป็น 16 กระชัง ครบวงจร

เมื่อลงกระชังปลาและเลี้ยงปลาจนครบวงจร 16 กระชัง ในเดือน ซึ่งเป็นการเข้าสู่ระบบการเลี้ยงครบวงจร (เริ่มเก็บผลประโยชน์) คือเกษตรกรสามารถจับปลาขายได้ในเดือนแรก (กระชัง 4 กระชังของเดือนแรก) และต่อมาสามารถจับปลาขายได้ทุกเดือน สร้างรายได้อย่างแน่นอนเป็นระบบหมุนเวียน จับขายแล้วลงลูกปลาต่อ ซึ่งทางเกษตรกรสามารถกำหนดเวลาการขาย การลงลูกปลาอย่างแน่นอน สมกับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ต้นทุนการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังแบบครบวงจร 16 กระชัง มีดังต่อไปนี้

กระชังปลา 1 กระชัง สามารถลงลูกปลาได้ จำนวน 950 ตัว ราคาตัวละ 3.50 บาท รวมเป็นเงิน 3,325 บาท ลงลูกปลา 4 กระชัง สามารถลงลูกปลาได้ จำนวน 3,800 ตัว ราคาตัวละ 3.50 บาท รวมเป็นเงิน 13,300 บาท ระยะเวลาการเลี้ยง 4 เดือน (มีอัตราการสูญเสียคิดอัตราสูงสุด ที่กระชัง 50 ตัว) คงเหลือปลาที่สามารถจับขายได้ 3,600 ตัว สามารถขายได้ในกิโลกรัมละ 45-50 บาท (อัตราการขายต่ำที่สุด) น้ำหนักและขนาดของปลาทับทิมที่ได้มาตรฐานอยู่ที่ 800-900 กรัม (สามารถขายปลาได้น้ำหนักรวม 3,240 กิโลกรัม ด้วยราคาปลาที่ 40 บาท ต่อกิโลกรัม จะได้เงินทั้งสิ้นจำนวน 129,600 บาท จำนวนนี้ยังไม่รวมค่าแรง ค่าอาหาร ค่ายา และค่าเสื่อมกระชัง แต่ไม่รวมค่าสร้างกระชัง การเลี้ยงควรจะเลี้ยงเป็นอาชีพ อย่าเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม เพราะการเลี้ยงปลานั้นต้องเอาใจใส่อย่างดี วิธีเลี้ยงที่ดีที่สุดเป็นมาตรฐานคือ เลี้ยงจำนวน 16 กระชัง ซึ่งสามารถใช้แรงงานเพียงแค่ 1-2 คน เท่านั้น

การเลี้ยงปลาทับทิมเกษตรกรต้องมีความอดทน ต้องดูแลเอาใจใส่ สังเกตว่าปลามีความเครียดหรือไม่ การกินอาหารมีโรคแทรกหรือไม่ ถ้าพบความผิดปกติต้องให้ยารักษา ให้วิตามิน ก็จะทำให้ปลาเจริญเติบโตแข็งแรง สำหรับการเลี้ยงบางครั้งการเลี้ยงปลาอาจมีการตายของปลา ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลงตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเกษตรกรควรนำปลาที่ตายมาดัดแปลง เช่น ทำน้ำปลา ทำปลาร้า ส่วนกระเพาะภายในของปลาก็นำมาทำปุ๋ยชีวภาพ ก็จะทำให้เกษตรกรมีรายได้มาทดแทนปลาที่ตายไป และเป็นการลดต้นทุนทำให้มีกำไรเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยเงินลงทุนเลี้ยงปลาทับทิม จำนวน 1,600 ตัว (2 กระชัง)
1. ค่าลูกปลาตัวละ 2.32 บาท จำนวน 1,600 ตัว = 3,712 บาท
2. ค่าอาหารปลา เบอร์ 9950 128 กิโลกรัม x 18.5 บาท = 2,368 บาท
เบอร์ 9951 1,024 กิโลกรัม x 17.75 บาท = 18,176 บาท
3. ค่าเสื่อมกระชัง = 634 บาท
4. ค่ายา + วิตามิน ประมาณ = 500 บาท
ต้นทุนรวม = 25,390 บาท
5. ขายปลาเลี้ยง (เลี้ยงรอด 85%) = 1,360 บาท
10% น้ำหนัก 450 กรัม (136 ตัว) = 61.2 บาท
90% น้ำหนัก 600 กรัม (1,224 ตัว) = 734.4 บาท
น้ำหนักปลารวม = 795.6 บาท
6. ต้นทุนต่อกิโลกรัม = 32.6 บาท
7. วิเคราะห์ กำไร (ขาดทุน) ของเกษตรกร
บริษัทรับซื้อคืนขนาด 450 กรัม = 30 บาท ต่อกิโลกรัม
เป็นเงิน 61.2 x 30 = 1,836 บาท
บริษัทรับซื้อคืนขนาด 600 กรัม = 40 บาท
เป็นเงิน 734.4 x 40 = 29,376 บาท
รวมเป็นเงินขายปลาทั้งหมด = 31,212 บาท
รายได้ต่อเดือน (2 กระชัง) = 5,822 บาท
กำไร ต่อกิโลกรัม = 7.50 บาท ต่อกิโลกรัม

มูลค่ากระชังขนาด 3 x 3 x 2.5 เมตร (2 ใบ)

1. กระชังขนาดปลา 3.5 cm. ด้าย #12 ใบละ 1,800 บาท
จำนวน เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ถังน้ำมัน 200 ลิตร ใบละ 300 บาท
จำนวน 6 ใบ เป็นเงิน 1,800 บาท
3. เหล็กดำ 1 นิ้ว เส้นละ 280 บาท
จำนวน 4 เส้น เป็นเงิน 1,120 บาท
4. เหล็กดำ 3/4 นิ้ว เส้นละ 280 บาท
จำนวน 3 เส้น เป็นเงิน 720 บาท
5. อวนเขียว 1 ม้วน ม้วนละ 280 บาท
6. ค่าแรงและอุปกรณ์อื่นๆ ในการสร้างกระชัง กระชังละ 2,000 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,500 บาท

มูลค่าต่อกระชัง 1 ใบ 4,760 บาท
- กระชัง 1 ใบ อายุการใช้งาน ปี เลี้ยงปลาได้ 7.5 รุ่น
- ค่าเสื่อมกระชัง ต่อรุ่น 317 บา��


ปลาปักเป้าขน เป็นปลาน้ำจืดของไทย ที่ยังมีข้อมูลในทางวิชาการอยู่น้อยมาก จากการสำรวจปลาปักเป้าขน พบอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

• พฤติกรรม : ปลาปักเป้าขน มีนิสัยก้าวร้าว ดุร้าย ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ หรือแม้แต่ปลาชนิดเดียวกัน
• ขนาด : 10-15 เซนติเมตร
• อาหาร : กุ้ง หอยขนาดเล็ก ลูกปลา หรืออาหารสด
• แหล่งอาศัย : ปลาปักเป้าขน อาศัยอยู่ตามแก่งหินในแม่น้ำโขง
ปลาปักเป้าขน เป็นปลาที่สามารถพองลมได้ เช่นเดียวกับปลาปักเป้าชนิดอื่นๆ แต่ ปลาปักเป้าขน จะมีจุดเด่นที่ไม่เหมือนปลาในกลุ่มเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด ก็คือ จะมีติ่งหนังหรือขนสั้นขึ้นรอบตัว มีรายงานน่าสนใจว่า ในบางตัวที่มีขนน้อยจะพบอาศัยอยู่บริเวณที่กระแสน้ำไหลช้าไม่แรง แต่ในบางตัวที่มีขนขึ้นมาก จะพบอาศัยอยู่บริเวณที่มีน้ำไหลแรงเช่นตามแก่งต่างๆในแม่น้ำโขง

ในตลาดปลาสวยงาม นานๆจะพบเข้ามาบ้างเป็นบางครั้ง แต่มีจำนวนที่น้อย เนื่องจากยังเป็นปลาที่หายากใกล้สูญพันธุ์ และยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาดปลาสวยงามมากนัก

ปลาปักเป้าขนเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารสดได้หลายชนิด แต่มีนิสัยก้าวร้าว ดุร้าย ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ หรือแม้แต่ปลาชนิดเดียวกันก็ตาม เนื่องจากมีนิสัยชอบกัดกินและคอยกวนปลาที่อยู่ใกล้กัน จึงแนะนำให้เลี้ยงเพียงตัวเดียวถ้าหากสถานที่เลี้ยงไม่เหมาะสม

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม