5.09.2556

ปลาแพะเป็นปลาที่นิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม   เพื่อทำความสะอาดในตู้ หรือบ่อปลาด้วยการกินเอาเศษอาหารตกหล่นบ้าง ตะไคร่น้ำ  ปลาแพะ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก และนิสัยไม่ดุร้าย จึงทำให้เลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้เกือบทุกชนิดที่ไม่ใช่ปลากินเนื้อ  ปลาแพะ จัดอยู่ในกลุ่มของปลาหนัง (catfish) หรือปลาไม่มีเกล็ดขนาดเล็ก แต่สามารถพัฒนาผิวหนังไร้เกล็ดของมันให้แข็งเหมือนเกราะเพื่อปกป้องอันตรายจากศัตรูได้ดียิ่งกว่าเกล็ดจริงๆ เสียอีก อาวุธป้องกันตัวใช้ก้านแข็งของครีบว่ายน้ำ ทำให้ปลาอื่นกินทำได้ด้วยความยากลำบาก ลักษณะภายนอกของปลาแพะ  รูปร่างของมันค่อนข้างป้อม ลำตัวกลม ส่วนหัวค่อนข้างโตกว่าลำตัว ที่ปากมีหนวดสั้นๆ ยื่นออกมาสำหรับคลำหาอาหาร หนวดที่ว่านี้ดูผิวเผินคล้ายเคราของแพะ จึงนิยมเรียกเจ้าปลาชนิดนี้ว่า "ปลาแพะ" ในขณะที่ฝรั่งจะเรียกมันว่า "คอรี่" ซึ่งก็มาจากชื่อสกุลของมันคือ Corydoras นั่นเอง
                  ปลาแพะเป็นปลาขนาดเล็กโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร แต่ก็มีบางชนิดที่อาจใหญ่กว่านั้นเล็กน้อย ปลาแพะ มีจำนวนชนิดพันธุ์มากมาย แต่ละชนิดแตกต่างกันทางรูปร่างและลวดลายสีสัน บางชนิดอ้วนป้อมมาก เช่น แพะเขียวโบรคิส (Brochis splendens) ซึ่งเป็นแพะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โตเต็มที่ตัวเมียจะมีความยาวถึง เซนติเมตร จึงได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า  "ปลาแพะยักษ์" ส่วนแพะที่มีรูปร่างตรงกันข้ามกันคือ แพะบาร์บาตัส (Corydoras barbatus) ซึ่งมีลำตัวเรียวยาวผอมเพรียวลม แหล่งอาศัยตามธรรมชาติของปลาแพะอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะลุ่มน้ำอะเมซอนที่  พวกมันหากินเป็นฝูงตามหน้าดิน โดยใช้ซากต้นไม้ใบไม้ที่ซ้อนทับถมกันเป็นเครื่องกำบังซ่อนตัวจากผู้ล่า ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ รูปร่างอ้วน ท้องกลมจนดูหัวเล็ก ส่วนตัวผู้ลำตัวจะเรียวกว่ามาก ในธรรมชาติปลาแพะกินสิ่งมีชีวิตที่หลบซุกซ่อนตัวอยู่บริเวณผิวหน้าของดิน เช่น ตัวอ่อนแมลงน้ำ ไส้เดือน และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 

เป็นปลาที่มีรูปร่างมีสีสันสวยงาม จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกกลุ่มหนึ่ง โดยปลาในสกุลนี้ทั่วโลกมีประมาณ 27 ชนิด พบว่าปลาหมูมีการแพร่กระจายตั้งแต่ประเทศปากีสถาน อินโดนีเซีย จีนตอนใต้ และประเทศไทยพบปลาหมูประมาณ ชนิด ปัจจุบันเราสามารถพบปลาหมูในธรรมชาติได้เพียง ชนิด เท่านั้น คือ ปลาหมูข้างลาย ปลาหมูหางแดง และปลาหมูขาว  โดยปลาหมูขาว หรือปลาหมูฟ้ามีลำตัวสีฟ้า พบมากในแม่น้ำทางภาคเหนือ และสีของลำตัวเปลี่ยนแปลงตามสภาพแหล่งน้ำที่อาศัย โดยถ้าเป็นแหล่งน้ำใสลำตัวปลามีสีฟ้า แต่ถ้าน้ำที่อาศัยขุ่นสีของลำตัวออกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ปลาหมูที่พบในแม่น้ำส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีขนาดเล็กกว่าปลาที่พบตามแก่งหิน น้ำตก หรือลำห้วยบริเวณต้นน้ำ เนื่องจากต้องมีการว่ายต้านกระแสน้ำที่มีไหลตลอดเวลาตามสภาพของแหล่งน้ำนั้น ๆ ปลาหมูมักชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยพบได้ทั้งในบริเวณแอ่งน้ำข้างแหล่งน้ำไหลของลำธาร น้ำตก หรือบริเวณที่มีน้ำไหลเล็กน้อย เช่น อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบน้ำจืด ห้วย ลำคลอง แม่น้ำสาขาที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา และมักว่ายทวนกระแสน้ำเพื่อขึ้นไปผสมพันธุ์วางไข่ และหาอาหารที่อุดมสมบูรณ์ในแหล่งที่เป็นต้นน้ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายฤดูร้อนต่อถึงช่วงต้นฤดูฝน เมื่อระดับน้ำในแหล่งน้ำลดลง ปลาบางส่วนว่ายตามน้ำไปอยู่บริเวณแอ่งน้ำ โดยกินอาหารที่มาพร้อมกับกระแสน้ำ ปลาหมูสามารถหาอาหารกินได้ตั้งแต่ระดับพื้นท้องน้ำจนถึงระดับผิวน้ำ ขึ้นอยู่กับชนิดของปลา เช่น ปลาหมูลายสามารถหาอาหารได้ในน้ำทุกระดับ ปลาหมูหางเหลืองหากินที่พื้นท้องน้ำเป็นส่วนมาก และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ค่อนข้างลึก


ชื่อสามัญ  Sun loach

ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia  eos  (Taki, 1972)

ลักษณะทั่วไปปลาหมูขาว

                  ปลาหมูขาวพบได้ในแม่น้ำ และอ่างเก็บน้ำใน ภาคกลาง ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย และค่อนข้างป้อมกว่าปลาหมูชนิดอื่น ๆ ความยาวลำตัวจากปลายจนถึงครีบโคนหางเป็น 2.5-2.9  เท่าของความกว้างลำตัว ลำตัวเป็นสีเทา หรือเทาอมเขียวบริเวณด้านหลังสีเข้มกว่าด้านข้างลำตัว ท้องสีเหลืองอ่อนหรือขาว บริเวณโคนหางมีจุดสีดำ  สำหรับปลาวัยอ่อนที่ยังโตไม่เต็มที่มีแถบสีดำเล็ก ๆ จะงอยปากค่อนข้างยาว ปลายจะงอยปากมีหนวด 2 คู่ และมุมปากมีหนวดอีก 1 คู่ ปากอยู่ปลายสุด และอยู่ในระดับต่ำ ส่วนหัวมีหนามแหลมปลายแยกเป็น 2 แฉก ขนาดใหญ่ และแข็งแรง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเหลืองจนถึงสีเหลืองจาง ๆ ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบ 9 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ 8 อัน ครีบอกมีก้านครีบ 7-9 อัน ปลาหมูขาวเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลปลาหมูที่พบในประเทศไทย ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือขนาด 23.5 เซนติเมตร  แต่ที่พบทั่วไปมีขนาดเฉลี่ย 10-25 เซนติเมตร  ในธรรมชาติอาหารของปลาหมูขาว ได้แก่ ตัวอ่อนแมลงน้ำ  หนอนและซากสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ

การเก็บรวมรวบพันธุ์ปลาธรรมชาติ

                 สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพิจิตรเก็บรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาหมูขาวจากชาวประมงในแม่น้ำน่านบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร แล้วนำมาแยกเลี้ยง 2 วิธี คือ
                  1 ในบ่อซีเมนต์ ขนาด 50 ตารางเมตร ปล่อยพ่อแม่พันธุ์จำนวน 100 ตัว
                  2 ในกระชังเนื้ออวนช่องตา 1 เซนติเมตร  ขนาด 2 ลูกบาศก์เมตร ปล่อยพ่อแม่พันธุ์จำนวน 100 ตัว ให้ปลาสับเป็นอาหารวันละ 1 ครั้ง ตอนบ่าย เลี้ยงไว้ระยะหนึ่งแล้วจึงคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อใช้ในการผสมเทียม

การเพาะพันธุ์ปลาหมูขาว

                  ฤดูการผสมพันธุ์ของปลาหมูขาวตามธรรมชาติอยู่ช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนประมาณเดือนมีนาคม -กันยายน คัดเลือกแม่พันธุ์ปลาหมูขาวที่สมบูรณ์ที่สุดโดยสังเกตลักษณะของท้องอูมเป่ง และช่องเพศเกิดสีชมพูเรื่อ ๆ ส่วนปลาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่า และลำตัวเพรียวกว่า บีบที่ช่องเปิดเบา ๆ มีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมา การทดลองผสมเทียมได้ทดลอง 3 ครั้ง โดยใช้แม่ปลาจำนวน 4 ตัว ใช้ต่อมใต้สมองปลาไนฉีดครั้งเดียวในจำนวน 1.5เท่า  ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพศเมีย  ทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง นำปลามารีดไข่ผสมน้ำเชื้อ ไข่มีลักษณะกลมสีเทาอมเขียวใกล้เคียงลักษณะไข่ปลาตะเพียน ไข่เป็นประเภทครึ่งลอยครึ่งจม  ความดกของไข่จากการผ่าแม่ปลาหมูขาว ขนาด130 กรัม ยาว 19.5 เซนติเมตร รังไข่หนัก 15 กรัม มีไข่อยู่ประมาณ 60,000 - 80,000 ฟอง ไข่ปลาหมูขาวใช้เวลาฟัก12 ถึง 18 ชั่วโมง ในตู้กระจกที่อุณหภูมิของน้ำประมาณ 27 องศาเซลเซียส ความเป็นกรดเป็นด่าง  8.6  ( น้ำบาดาล)

การอนุบาลลูกปลา

                  นำลูกปลาหมูขาวที่ฟักออกเป็นตัวแล้ว มาอนุบาลต่อในมุ้งโอล่อน ขนาด 1 x 1 ตารางเมตร  ซึ่งแขวนไว้ในบ่อซีเมนต์ขนาด 2 x 5 ตารางเมตร  ในโรงเพาะฟักเมื่อลูกปลาอายุ 3 วัน ถุงอาหารยุบจึงเริ่มให้ไข่ต้มสุกบดละเอียดละลายน้ำสาดให้กินวันละ 5 ครั้ง ถ่ายน้ำ 1 ใน 3 ของบ่อทุกวัน ตอนเช้าของวันที่ 7 จึงเริ่มให้ไรแดงมีชีวิตเป็นอาหารวันละ 3 ครั้ง โดยใช้แก้วใสตักน้ำในมุ้งอนุบาลตรวจความหนาแน่นของไรแดงอยู่เสมอ เพื่อให้พอเพียงกับความต้องการของลูกปลา ลักษณะของลูกปลาหมูขาวขนาดเล็กแตกต่างกับปลาชนิดอื่น คือ ด้านหลังโค้งลาด เช่นพ่อแม่พันธุ์ และบริเวณลำตัวมีสีดำทอดไปตามความยาวของตัวปลา เมื่ออายุได้ 20 วัน พบแถบสีดำพาดขวางลำตัวประมาณ 7-8 แถบ และสีลำตัวออกสีเหลืองอ่อน ๆ ลูกปลามีลักษณะเหมือนพ่อแม่พันธุ์ เมื่ออายุได้ประมาณ 45-60 วัน และสีดำที่พาดขวางลำตัวหายไปเมื่อลูกปลาโตขึ้น หรืออายุได้ประมาณ 5 เดือน

ลักษณะทั่วไป
     
จัดเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวมีความยาวเกือบ 3 เมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 250 กิโลกรัม ลำตัวมีลักษณะยาวและแบนด้านข้าง ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตามีขนาดเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวดสั้นๆ ที่ขากรรไกรบน 1 คู่ซ่อนอยู่ในร่องตรงเลยมุมปาก ในขณะมีชีวิตสีลำตัวจะเป็นสีเทาออกแดงทางด้านหลัง แล้วค่อยๆ กลายเป็นสีเทาแกมฟ้าทางด้านข้าง และสีขาวทางด้านใต้ท้อง มีจุดดำจุดหนึ่งทางด้านข้างตรงตำแหน่งปลายสุดของครีบหู และจุดดำอีกสามจุดบนครีบหาง ครีบทุกครีบเป็นสีเทาจางๆ 

       

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     ปลาบึกพบอาศัยอยู่เฉพาะในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาเท่านั้น เคยพบบ้างในแคว้นฉานของประเทศพม่า และแคว้นยูนาน ในประเทศจีนตอนใต้ ชอบบริเวณแม่น้ำที่มีความลึกมากกว่า 10 เมตร พื้นท้องน้ำเป็นกรวด และควรจะมีเพิงหินหรือถ้ำใต้น้ำด้วย 
     อาหารได้แก่ สาหร่ายที่ขึ้นอยู่ตามก้อนหินใต้น้ำเป็นอาหาร 

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     รักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณเขตน้ำลึกที่มีกระแสน้ำไหล 
     เชื่อว่าฤดูวางไข่ของปลาบึกจะตกอยู่ราวเดือนกุมภาพันธ์ โดยปลาบึกจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่เหนือขึ้นไปจากประเทศไทย บริเวณหลวงพระบางในประเทศลาวซึ่งเป็นบริเวณนำลึกมีเกาะแก่งมากสะดวกในการผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูแล้ง พอถึงฤดูน้ำหลาก มันจะว่ายตามน้ำลงมายังแม่น้ำโขงตอนล่าง 

สถานภาพปัจจุบัน
     ในปัจจุบันประเทศไทยโดยทางกรมประมงได้ผสมเทียมปลาบึกเป็นผลสำเร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และในปีต่อมาสามารถเพาะพันธุ์ได้จำนวนมากพอที่จะปล่อยในแหล่งน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏว่าปลาบึกเจริญเติบโตได้ดี แต่ยังไม่ทราบว่าจะผสมพันธุ์วางไข่ได้หรือไม่ ทุกปีจะมีเทศกาลจับปลาบึกขึ้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ทำให้ปลาบึกที่โตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์ถูกจับปีละนับร้อยตัว เพื่อนำเอามาขายเป็นอาหารราคาแพง ทำให้ปริมาณของปลาบึกในแม่น้ำโขงลดจำนวนลงทุกปีๆ 

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม