12.19.2554


กระต่ายไทย เป็นกระต่ายพื้นบ้านที่มีมานานแล้ว มีราคาถูก ลักษณะขนจะสั้น ตัวใหญ่ มีหลากหลายสี
ว่องไว ปราดเปรียว หูยาว หน้าค่อนข้างจะแหลม มีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง สามารถกระโดดได้สูงเกิน1 เมตร
มีหลาย สีเช่น สีเทา ขาว น้ำตาล ฯลฯ ตาสีดำ หน้าแหลม เลี้ยงลูกเก่ง ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี
เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2.0-3.0 กิโลกรัม คนขายที่ไม่มีจรรยาบรรณบางคนจะนำกระต่ายไทย ที่ยังไม่อดนม
มาขายแล้วหลอกผู้ซื้อว่าเป็นกระต่ายแคระ เมื่อผู้ซื้อซื้อมาได้ไม่นานกระต่ายก็จะเสียชีวิต เนื่องจากกระต่ายเหล่านั้นยังไม่อดนม
บางตัว ทานอาหารเม็ดยังไม่เป็นด้วยซ้ำ ประกอบกับผู้เลี้ยงไม่มีความรู้ในการเลี้ยงดู จึงมักจะเข้าใจว่ากระต่ายต้องกินผัก
จึงมัก จะเอาผักให้กระต่ายที่อายุน้อยเหล่านี้กิน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมาก เนื่องจากกระต่ายเด็กเหล่านี้ ได้รับนมแม่ไม่เต็มที่
จึงยัง ไม่แข็งแรงพอ ที่จะรับมือกับ เชื้อโรค จุลินทรีย์ หรือโปรโตชัว ที่มากับผัก เป็นเหตุให้กระต่ายท้องเสียตาย
หรือถ้า รอดก็จะตัวโตไม่ได้แคระอย่างที่แม่ค้าบอกแน่นอน

กระต่ายไทยหรือไทยผสม ในท้องตลาดบ้านเรามีราคาประมาณ 80-180 บาท/ตัว
ปัจจุบันมีการผสมข้ามพันธุ์กับกระต่ายพันธุ์อื่นมากขึ้น กระต่ายไทยแท้ๆจึงหายาก

การที่เราคิดจะเลือกเลี้ยงสัตว์เลี้ยงสักอย่างหนึ่งนั้น สัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดก็ย่อมมีสิ่งที่จะต้องพิจารณาแตกต่างกันไป โดยเราจะต้องคิดถึงข้อดี ข้อด้อย ข้อจำกัดต่างๆ นอกเหนือจากเรื่องของความชอบส่วนบุคคลแล้ว แต่สำหรับการที่จะเลือกเลี้ยงกระต่ายเป็นเพื่อนนั้น คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า "กระต่ายเหมาะสมกับคุณ หรือ คุณเหมาะสมกับกระต่ายหรือไม่" คำถามนี้เป็นคำถามที่ เราจะต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อน ยังไงลองพิจารณาบทความนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณ แล้วคุณจะรู้ว่า กระต่ายใช่คำตอบสุดท้ายที่ถูกต้องสำหรับคุณหรือไม่ ...


เจ้าสัตว์เลี้ยงตัวน้อยขนปุย จอมซุกซนนี้ สำหรับคนไทยนั้นยังถือว่าไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่สำหรับชาวต่างชาตินั้น โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกา สัตว์เลี้ยงชนิดนี้กลับได้รับความนิยมอย่างมากมาย เพราะว่าเค้ามีความเชื่อที่ว่าเท้ากระต่าย (Rabbit Foot) เป็นสิ่งนำโชคสำหรับพวกเขา กระต่ายจึงกลายเป็นสัตว์เลี้ยงที่เหมือนกับว่าลึกลับสำหรับคนไทย อีกทั้งในประเทศไทยมีกระต่ายอยู่เพียงไม่กี่สายพันธุ์ การที่คุณจะเลือกกระต่ายสักตัวให้สวย น่ารัก และถูกใจจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย อีกทั้งการเลี้ยงกระต่ายก็มีข้อจำกัดในการเลี้ยงอยู่บ้าง ดังที่จะกล่าวต่อไป แต่ถ้าหากคุณกำลังมองหาเพื่อนที่รู้ใจ น่ารัก ขนปุย และที่สำคัญคือ ไม่ส่งเสียงดัง คำตอบที่เรานึกถึงก็คือ กระต่าย ลองพิจารณาสิ่งเหล่านี้ก่อนเพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณ

คุณมีเวลาอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมงหรือไม่

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะเลี้ยงกระต่ายสักตัวหนึ่งแล้ว กิจวัตรประจำวันที่คุณต้องปฏิบัติให้กระต่ายนั้น ค่อนข้างจะต้องใช้เวลาพอสมควร ทั้งการให้อาหาร เปลี่ยนน้ำสะอาด ทำความสะอาดกรง สางขนสำหรับสายพันธุ์ขนยาว และที่สำคัญที่สุดคือการปล่อยให้กระต่ายได้วิ่งเล่นอย่างเป็นอิสระบ้าง ความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือการให้อิสระ ไม่ใช่การกักขัง

คุณมีสถานที่ที่เหมาะสมหรือไม่
สถานที่วางกรงสำหรับกระต่าย ควรเป็นที่ที่มีอากาศถ่ายเทตลอดทั้งวัน ไม่ร้อนจัด ลมไม่พัดแรง และต้องไม่ชื้นแฉะ เพราะกลิ่นฉี่ของกระต่ายค่อนข้างมีกลิ่นที่แรง ยิ่งถ้าผสมกับมูลด้วย ยิ่งไม่น่าอภิรมย์ยิ่งนัก และอาจจะเป็นแหล่งที่เพาะเชื้อโรคเป็นอย่างดี ดังนั้นกระต่ายจึงไม่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงในบ้านหรือสถานที่ที่ปิดอับ ฉะนั้นคุณจึงต้องเตรียมสถานที่วางกรงให้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยสำหรับกระต่าย

สัตว์เลี้ยงตัวเก่าของคุณพร้อมหรือไม่สำหรับเพื่อนใหม่
สำหรับบางคนที่เลี้ยงสุนัขหรือแมวอยู่แล้ว ต้องการเลี้ยงจะกระต่ายเพิ่ม สิ่งนี้คือสิ่งที่ต้องระวังอย่างมากเป็นพิเศษ เนื่องจากธรรมชาติของสุนัขและแมว สัตว์เหล่านี้ที่มีสัญชาตญาณของการล่าเสมอ (นอกจากสุนัขบางสายพันธุ์ แต่แมวนี่คือศัตรูตัวฉกาจของกระต่ายเลย) และกระต่ายมักจะเป็นผู้ถูกล่าเสมอ เพราะฉะนั้น มันไม่เป็นการดีแน่ หากคุณมีสุนัขหรือแมวอยู่ก่อนแล้วในบ้าน เรื่องนี้มีวิธีแก้ไขหากคุณต้องการนำกระต่ายมาเลี้ยงเพิ่มจริง ๆ สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ คุณต้องพิจารณาว่าสุนัขและแมวของคุณ มีนิสัยอย่างไร และน่าจะเป็นอันตรายต่อกระต่ายหรือไม่ ถ้าหากเค้ามีนิสัยไม่ก้าวร้าวและเป็นมิตร การจะเลี้ยงกระต่ายเพิ่มขึ้นอีกสักตัว ก็ไม่เป็นไร ดังนั้น ก่อนทึ่คุณจะตัดสินใจเลือกกระต่ายมาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวของคุณ คุณต้องพิจารณาสัตว์เลี้ยงเดิมก่อนว่า เค้าจะยอมรับเพื่อนใหม่ขนปุยเข้ามาอยู่ด้วยกันในบ้านหรือไม่

กระต่ายและเด็กน้อยคือเพื่อนซี้กันจริงหรือ
แน่นอน เด็กน้อยน่ารักและกระต่ายน้อยเข้ากันได้อย่างดี เพราะกระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความอดทนในการจับ อุ้ม เป็นอย่างดี กระต่ายจะไม่ทำร้ายเด็ก ๆ อีกทั้งกระต่ายยังเหมาะสมที่จะใช้ฝึกเด็ก ๆ ให้รู้จักความรับผิดชอบ และทำให้จิตใจของเด็ก ๆ อ่อนโยน แต่ ... ข้อควรระวังสำหรับเด็กน้อยที่ไม่สามารถอุ้มกระต่ายได้อย่างถูกวิธีนั้นจะทำให้กระต่ายดิ้นหลุดมือ นั่นอาจทำให้กระต่ายได้รับอันตราย อีกทั้งสองขาหลังของกระต่ายนั้นเป็นขาที่ทรงพลังอย่างมหาศาล กระต่ายอาจจะดิ้นหรือถีบตัวเองออกจากการอุ้ม ทำให้เล็บอันแหลมคมจากขาหลังทำร้ายเด็ก ๆ ได้ และนี่คือสิ่งที่คุณต้องระมัดระวัง

นักทำลายและกัดแทะทุกสิ่ง
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่ากระต่าย คือ ยอดนักขุด และกัดแทะทุกสิ่งที่ขวางหน้า ดังนั้น พรม เฟอร์นิเจอร์สุดหรู สายไฟฟ้า สายโทรศัทพ์ สิ่งเหล่านี้อาจถูกทำลาย เสียหายได้ หากคุณไม่ได้เตรียมตัวป้องกันไว้ล่วงหน้า คุณยอมรับได้หรือไม่กับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในบ้านคุณ โดยไม่ได้ตั้งใจของน้องกระต่ายได้


วิธีการเลี้ยงกระต่าย วิธีการเลี้ยงกระต่ายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด อย่างหนึ่งสำหรับ การเลี้ยงกระต่ายและ พัฒนาพันธุ์กระต่าย ถ้าเราอยากให้การ เลี้ยงกระต่ายของเราสมบูรณ์แบบยิ่งๆขึ้นไป แข็งแรง น่ารัก และน่าเอ็นดู เราก็ต้องมาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของกระต่ายกันเสียก่อนว่า เจ้ากระต่ายน้อย
ชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไรเป็นพิเศษ อะไรที่สามารถทานได้ แล้วอะไรที่ทานไม่ได้ เราถึงจะได้ดูแลเจ้ากระต่ายน้อยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อาหารสำเร็จรูป หญ้า ผัก ผลไม้และน้ำ รวมถึงวิธีการให้อาหารด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เลี้ยงจะต้องรู้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับการเลี้ยงกระต่าย ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้กระต่ายมีความสุขและมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ อาหารกระต่าย น้ำ
น้ำเป็นโภชนาการที่สำคัญที่สุด น้ำที่สะอาด และเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ต้องการเลี้ยงกระต่ายจะละเลยไม่ได้โดยเด็ดขาด ถ้าหากการเลี้ยงกระต่ายขาดน้ำกระต่ายจะไม่ยอม ทานอาหารอะไรเลย จึงแนะนำว่าควรเปลี่ยนน้ำเช้า-เย็นนะครับ นอกจากนี้
อาทิตย์ หนึ่งๆ ควรมีสักวันหยดวิตามินรวม น้ำสีแดงๆ ให้กระต่ายสัก 2-3 หยด ต่อน้ำครึ่งลิตร เพื่อให้กระต่าย
ได้รับวิตามินบางตัวที่ไม่มีในอาหาร ยกตัวอย่างเช่นวิตามินบี ซีและเค การผสมวิตามินลงในน้ำสามารถช่วยลดอาการ เครียดและเป็นผลดีต่อแม่กระต่าย พันธุ์ที่ผสมติดต่อกันหลายครอก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกระต่ายมากๆ
ของกระต่ายและ โดยเฉพาะในกระต่ายขน น้ำจะช่วยให้ขนกระต่ายนั้นมีคุณภาพที่ดี จำไว้ว่าลิ้นของกระต่ายค่อน ข้างไวต่อรสชาติของน้ำที่เปลี่ยนไป และในบางครั้งเค้าอาจจะไม่ยอมดื่มน้ำที่แปลกกว่าที่เคยทาน แม้ว่าจะเป็น ช่วงระยะเวลาอันสั้นก็ตาม ที่กระต่ายขาดหรือไม่ยอมทานน้ำ แต่สิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิดเมตาโบลิซึมของการสร้าง ขนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งอาจจะทำให้ขนกระต่ายพันกันก็เป็นไปได้

อาหารสำเร็จรูป
อาหาร เม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารครบถ้วนและมีสัดส่วนที่พอเหมาะ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพ ของกระต่าย กระต่ายทั่วไปมีความต้องการโปรตีนอยู่ที่ 14-17 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2-4 เปอร์เซ็นต์ และไฟเบอร์อย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่ขายกันมากมายตามท้องตลาดมักจะมีอัตราส่วน อย่างพอเหมาะอยู่ แล้ว และยังมีสารอาหารอื่นๆที่จำเป็นเช่น วิตามินและเกลือแร่ แต่ผู้เลี้ยงก็ยังสามารถผสมหรือให้ผักผลไม้อื่นๆ เพิ่มเติมอีกได้ด้วย โดยสามารถให้อาหารกระต่ายทุก 12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ฉะนั้นเวลาที่ เหมาะสมที่สุดสำหรับการให้อาหารคือในช่วงเช้าตรู่และตอนหัวค่ำ กระต่ายเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนควรจะได้รับ อาหารเม็ดอย่างพอเพียง อาหารเม็ดใหม่ๆ และเปลี่ยนทุกวัน เช้าเย็น ควรจะมีไว้ตลอดอย่าให้ขาด เมื่อกระต่าย อายุมากขึ้น
การจำกัดอาหารตามปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ จำเป็นอย่าง ยิ่ง เพราะปัญหาหลักของการ เลี้ยงกระต่ายคือการให้อาหารกระต่ายก็ คือ การให้อาหารมากจนเกินไป ถ้าเราให้อาหารเจ้ากระต่ายน้อยมากจนเกินไป กระต่ายจะอ้วนและไม่แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลโดย ตรงกับการผสมพันธุ์ติดยาก เพราะฉะนั้น แม้ว่ากระต่ายจะทานอาหารทั้งหมดที่ท่านให้ แต่ก็จงต้องจำกัดปริมาณอาหาร อย่างเคร่งครัด สูตรง่ายๆ ของการให้อาหารเม็ด คือ ให้อาหาร 50 กรัมต่อน้ำหนักกระต่าย 1 กิโลกรัม ต่อวัน
* การเลี้ยงกระต่ายขนาดเล็กเล็ก เช่น โปลิช และดัทช์ ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
* การเลี้ยงกระต่ายหู ตกพันธุ์เล็ก เช่น ฮอลแลนด์ลอป และอเมริกันฟัซซี่ลอป ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
* การเลี้ยงกระต่ายแคระ สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ให้ทาน 35 กรัมต่อมื้อ

หญ้าขน สำหรับการเลี้ยงกระต่าย
หญ้าขนเป็นสิ่งจำ เป็นสำหรับการควบคุมโภชนาการของกระต่าย เพราะหญ้าขนเป็นแหล่งไฟเบอร์อย่างดี ซึ่ง
ช่วยให้การเลี้ยงกระต่ายมี ระบบการย่อยอาหารที่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงควรมีหญ้าขนที่สดและสะอาดไว้ในกรงตลอด
เวลา หญ้าขนที่นำมาให้กระต่ายกินควรจะทำความสะอาดเสียก่อน โดยการแช่น้ำผสมด่างทับทิมไว้อย่างน้อยที่สุด
30 นาที ถ้าไปเก็บมาจากสถานที่ที่เสี่ยงต่อการมียาฆ่าแมลงตกค้างก็ควรจะเลี่ยงหรือ แช่ให้นานกว่านั้น เพราะ
กระต่ายเป็นสัตว์ที่ไวต่อสิ่งมีพิษและอาจจะตาย ได้ในทันที นอกจากนี้หญ้าขนยังจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกระต่ายพันธุ์ขน
เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันอาการ ขนพันกันแล้ว หญ้าขนยังมีส่วนช่วยในการงอกใหม่ของขนอีกด้วย
หญ้าขนให้ได้ อัลฟัลฟ่าและฟางไม่สมควรให้ อัลฟัลฟ่าเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม และกระตุ้นการกิน
อาหารของกระต่าย แต่ไม่ควรให้มากหรือบ่อยเกินไป เพราะอัลฟัลฟ่ามีโปรตีนสูง ซึ่งจะมีผลต่อไตของกระต่าย
อาจะทำให้เกิด อาการไตวายเฉียบพลัน โดยเฉพาะการเลี้ยง กระต่ายพันธุ์เล็ก โปรตีนที่มากเกินไปจะมีผลเสียต่อไตและ อวัยวะภายในอื่นๆ กระต่ายที่ได้รับโปรตีนสูงเกินไป อาจจะมีอาการชักกระตุก หายใจถี่ น้ำมูกไหล และตายอย่างเฉียบพลันได้ในที่สุด ฟางก็ไม่สมควรให้เป็นอาหารกระต่าย เพราะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใดๆเลย


เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง กระต่ายสายพันธุ์เฟรนซ์ ลอป (French Lop) กับ เนเธอแลนด์ ดวอร์ฟ (Natherland Dwarf) โดยนักพัฒนาพันธุ์กระต่าย (Breeder) ชาวดัทซ์ หรือ เนเธอแลนด์ ชื่อ นายแอนเดรียน เดอคอก
การ พัฒนาสายพันธุ์ใช้เวลาในการพัฒนายาวนานร่วม 15 ปี เริ่มตั้งแต่ปี คศ.1949 จนถึงปี 1964
กระต่ายฮอลแลนด์ ลอป ต้นแบบจึงเกิดขึ้นและได้รับการจดทะเบียนรับรองมาตรฐานสายพันธุ์จากสภา กระต่าย
แห่งเนเธอร์แลนด์ และในปี 1980 ฮอลแลนด์ลอป ก็ได้รับการยอมรับจากสมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่าย
แห่งสหรัฐอเมริกา (ARBA) ที่งานประกวดกระต่ายสวยงาม ที่มลรัฐเท็กซัส

ลักษณะสายพันธุ์

คุณลักษณะ ของกระต่าย ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop) ที่ตรงตามมาตรฐาน
1. ลักษณะหัวต้องกลมโต
2. กล้ามเนื้อหนาแน่น
3. ลำตัวสั้นกระทัดรัด สมส่วนทั้งความยาว ความกว้าง และความสูง
4. สัดส่วนของลำตัว และหัว ควรจะเป็น 3 : 1 โดยหัวที่โต จะต่อกับลำตัวแลดูเหมือนไม่มีคอ
5. ไหล่ และอกกว้าง หนาและเต็ม เช่นเดียวกับสะโพก
6. ขาสั้น ขนนุ่มลื่น
7. หน้าตรง และกระดูกใหญ่
8. ใบหูทั้งสองข้างต้องตกแนบสนิทกับแก้ม และใบหูต้องหนาและมีขนขึ้นเต็ม ใบหูต้องยาวเลยจากคางไม่เกิน 1 นิ้ว ความยาวของหูต้องสัมพันธ์กับหัว และตัว
9. น้ำหนักตัวตามมาตรฐานในตัวผู้ คือ 1.6 ก.ก. ในตัวเมีย 1.7 ก.ก.
และน้ำหนักที่มากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้คือ 1.8 ก.ก.

กลุ่มสีที่ตรง ตามมาตรฐาน

กระต่ายฮอลแลนด์ลอปมีสีมากมายหลากหลายสี จนสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้มากถึง 7 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มอะกูติ (Agouti) กลุ่มสีขาวแต้ม (Broken) กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม (Pointed White) กลุ่มสีพื้น (Self) กลุ่มสีเฉด (Shaded) กลุ่มสีพิเศษ (Ticked) และกลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band) หรือเราอาจจะกล่าวง่ายๆ ว่ามีสีต่างๆ ที่รับรองโดย ARBA แล้ว ดังต่อไปนี้ คือ

กลุ่มอะกูติ : สีเชสนัทอะกูติ สีช็อกโกแล็ตอะกูติ สีชินชิลล่า สีช็อกโกแล็ตชินชิลล่า สีลิงซ์ สีโอปอล
สีกระรอก (Squirrel)

กลุ่มสีขาวแต้ม : สีขาวแต้ม คือสีขาว แต่มีสีแต้มเป็นสีอะไรก็ได้ ที่ได้รับการรับรอง รวมถึงสีไตรคัลเลอร์
หรือสามสี (มีสีขาว น้ำตาล และดำ)

กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม : โดยที่มาร์กกิ้งต้องมีสีกลุ่มสีพื้น (สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค)

กลุ่มสีพื้น : สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค สีขาวตาแดง และสีขาวตาฟ้า

กลุ่มสีเฉด : สีวิเชียรมาศ สีทองแดง สีซีล สีเทาควันบุหรี่ และสีกระ

กลุ่มสีพิเศษปลายขนสีน้ำตาล : ตอนนี้มีอยู่สีเดียวคือ สีสตีล หรือสีสนิมเหล็ก

กลุ่มสีอื่นๆ : สีครีม สีฟางข้าว สีฟร้อสตี้ (เทาควันบุหรี่อ่อนๆ) สีส้ม และสีแดง

ในขณะนี้ได้มีสีอีกกลุ่มหนึ่งที่เพิ่งจะได้รับการรับรองเมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา คือ กลุ่มสร้อยทอง หรือ ออตเตอร์ สีทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นสีมาตรฐานของสมาคมนักพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Rabbit Breeders Association, Inc.) แต่ของสภากระต่ายแห่งสหราชอาณาจักร (The British Rabbit Council) ก็จะมีสีน้อยกว่านี้ แต่จะมีสีแปลกๆเพิ่มขึ้นมาแทน เช่น กลุ่มสีสร้อยเงิน เช่น สีเทาควันบุหรี่สร้อยเงินและสีทองแดงสร้อยเงิน เป็นต้น

ราคาซื้อขายกันใน ตลาด


ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop) มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแลเลี้ยงดูค่อนข้างสูง เพราะเป็นกระต่ายที่มีนิสัยสนุกสนานกับการกิน และกินเก่งมาก ความสมบูรณ์ของสุขภาพทั้งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์อาหารบำรุงต้องถึง ต้องสมบูรณ์ จึงจะทำให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์สามารถให้ผลผลิตลูกออกมาได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งลักษณะขน และความสมบูรณ์ของรูปร่าง กล้ามเนื้อต่าง ๆ จึงทำให้ราคาขายกันทั่วไปในตลาดมีราคาค่อนข้างสูง ราคาเกรดเลี้ยงทั่วไป จะเริ่มกันที่ประมาณ 2,500-3,500 บาทขึ้นไป ในเกรดประกวด Show Quality จะเริ่มกันตั้งแต่ 6,000 บาท จนถึงหลักหมื่นกันเลยทีเดียว

สำหรับชาวชอบเลี้ยงกระต่ายทั้งหลายการเลี้ยงกระต่ายนั้นมี สายพันธุ์กระต่าย ให้เลี้ยงมากมายวันนี้เราก็จะมาพูดถึงเรื่องนี้กันนะครับ เราจะทำการแนะนำกระต่ายสายพันธุ์ต่างๆ อันดับแรก
1.กระต่ายไทย
เป็น สายพันธุ์กระต่าย พื้นบ้านของประเทศไทยคับ ลักษณะตัวใหญ่ มีหลากหลายสี ว่องไวปราดเปรียว หูยาว หน้าค่อนข้างจะกลม มีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง สามารถกระโดดได้สูง
2.นิวซีแลนด์ ไวท์ แรบบิท
เป็นสายพันธุ์กระต่ายพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์ ลักษณะตัวใหญ่กว่ากระต่ายไทย มีขนสีขาวจนถึงเหลืองอ่อนๆ หูยาว ตาแดง มีลักษณะลำตัวอ้วนตัน ใช้สำหรับเป็นอาหารและการทดลอง
3.ไลอ้อนเฮดท์
เป็นกระต่ายที่ตัวใหญ่ มีขนเป็นแผงคอจึงทำให้ดูเหมือนสิงโต ตัวอ้วน น้ำหนักมาก มีหลายสี
4.เท็ดดี้แบร์
เป็นสายพันธุ์กระต่ายที่มีขนาดกลางๆ มีขนฟูทั่วตัว ดูเเล้วน่ารัก มีหลากหลายสี พบได้ง่ายในท้องตลาด
5.วู๊ดดี้ทอย
เป็นกระต่ายขนาดค่อนข้างเล็ก มีขนนุ่มๆฟูๆกระจายไปทั่วตัว คล้ายๆเท็ดดี้แบร์ แต่จะตัวเล็กกว่า มีหลายสี อาจหาได้ยากกว่าเท็ดดี้แบร์
6.เจอร์รี่วู๊ดดี้ทอย
เป็นสายพันธุ์กระต่ายพันธุ์ผสม มีขนนุ่ม ฟูไปทั่วตัว ตัวเล็ก มีหลากหลายสี ราคาค่อนข้างสูง และหาได้ยากตามท้องตลาด
7.มินิล็อป
เป็นสายพันธุ์กระต่ายหูตกชนิดหนึ่ง มีขนาดกลางๆ ลำตัวค่อนข้างอ้วนกลม ขนจะยาว หาเจอได้ง่ายตามตลาด
8.ฮอลแลนด์ล็อป
เป็นสายพันธุ์กระต่ายหูตกอีกชนิดหนึ่ง ราคาค่อนข้างสูง มักมีแต่สีพื้นๆ มีขนาดเล็กกว่ามินิล็อป ดูเเล้วหน้ากลมน่ารัก
9.เฟรนซ์ล็อป
เป็นกระต่ายหูตกพันธุ์ใหญ่ที่สุด ลำตัวอ้วน ตัน ตัวใหญ่มากๆ หาได้ยากในเมืองไทย
10.อิงลิซล็อป
เป็นสายพันธุ์กระต่ายหูตกที่ดังที่สุดในอังกฤษ ในประเทศไทยต้องสั่งนำเข้ามาเท่านั้น หูจะยาวกว่าลำตัว ขนจะสั้นเกรียนไปทั่วทั้งตัว
11.ดัชต์
เป็นกระต่ายพันธุ์กลางๆอีกชนิดหนึ่ง ขนสั้น ลำตัวเปรียว ราคาก็ค่อนข้างสูง หูจะยาว กระโดดได้สูง
12.มินิเร็กซ์
เป็นกระต่ายใหญ่ มีขนแบบกำมะหยี่ ราคาค่อนข้างสูง ลำตัวยาว เปรียว วิ่งเร็ว
13.โปลิส
มีต้นกำเนิดที่เบลเยี่ยม หูสั้น ปลายหูชนกัน ตัวเล็ก ราคาค่อนข้างสูง
14.เนเธอร์แลนด์ดรอฟ
เป้นกระต่ายพันธุ์ผสมระหว่างกระต่ายแคระกับกระต่ายเนเธอร์แลนด์ มีขนาดเล็กที่สุด หูสั้น ตัวอ้วน แต่เปรียว ราคาแพง แต่เป้นที่นิยม หัวจะกลมหน้าจะสั้น
จะเห็นได้ว่ากระต่ายที่นิยมเลี้ยงๆกันอยู่ในปัจจุบันมีมากมายหลายสายพันธ์มากก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสนใจ

1. พาสเจอร์เรลโลลิส (Pasturellosis) เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา (Pasturella multocida) ซี่งทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการแตกต่างกันตามอวัยวะที่ติดเชื้อดังนี้

หวัด กระต่ายจะจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่มและมีน้ำมูกตดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก รักษาโดย ให้ยากิน เช่น เพนนิวิลลิน วี (Penicillin V ) หรือถ้าไม่แน่ใจให้รีบนำไปปริกษาสัตวแพทย์

ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจ ลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมี โอกาสรอดเพียง 75 % ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบ สัตวแพทย์ทันที

ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื้องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้า เช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85%) หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฎิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย

อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อ จับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ การอักเสบมักลุกลามไปทื่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้ โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรคัดทิ้ง

มดลูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทาง อวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื้อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขยายใหญ่ การรักษาทำได้ยากมากและ กระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรคัดทิ้ง

2. สแตฟฟิลโลคอคโคซีส (Staphylococcosis) โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล (Staphylococcus aureus) ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการดังนี้

ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาด แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน

เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านม จะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าญม่แน่ใจควรรีบปริกษาสัตวแพทย์

ข้ออักเสบ เกิดจากมีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่ ข้อเท้าทำให้ข้อบวมแดง เจ็บปวด กระต่ายอาจมีไข้และมักพบบาดแผลที่ฝ่าเท้า การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะ รักษาได้ยากและอาจจำเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรงอย่า ให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย

3. โรคบิด (Coccidiosis) เกิดจากเชื้อโปรโตชัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac, E. irresdua, E.magna ฯลฯ การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ

อาการ ถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่ายจะทำให้ น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน และอาจทำให้ตายได้

การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa) หรือแอมโปรเลียม (Amprolium )

4. โรคพิซเชอร์ (Tizzer 's disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชชื่อ แบซิลลัส ฟิลลิฟอร์มิส (Bacillus pilliformis) มักพบ ในกระต่ายที่มีอายุ 7-12 สัปดาห์มากที่สุด

อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออก จากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก

การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าชัยคลีน (Oxytetracyclin) ละลายน้ำให้กิน

5. โรคติดเชื้อ อี.โค.ไล (Colibacillosis) เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร กระต่ายจะมีอาการท้องเสีย อย่างรุนแรงและตายได้ การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฎิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ ให้น้ำเกลือ ลดอาหารข้น เพิ่มอาหารหยาบ

6. เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia) เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตาย อย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไล

7. ไรในหู (ear mange or ear canker) เกิดจากไรพวกโชรอบเตส แคนิคุไล(Psoroptes caniculi) อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้นๆ ที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตุดีๆ จะพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก กระต่ายที่เป็นโรคนี้จะคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางตรังเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนองและมีกลิ่นเหม็น

การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหู เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกใชด์(H202) แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความ สะอาดกรงและอุปกรณ์การเลี้ยงเสมอๆ

8. ไรที่ผิวหนัง (skin mange) เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei, var. cuniculi, Notedes cati var. caniculi อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหู

การรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษา สัตวแพทย์ การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู

11.10.2554

เสือตอ


ปลาเสือตอจัดเป็นปลาสวยงามของไทยชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพราะสามารถทำรายได้ให้กับผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์และเนื้อมีรสชาติดี เดิมทีประชาชนนิยมบริโภคเป็นอาหาร ซึ่งเคยเป็นเมนูที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนครสวรรค์ แต่ในปัจจุบันประชาชนนิยมนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่เลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลินมากกว่าที่จะนำไปบริโภค เพราะว่ามีราคาแพง อัตราการจับปลาเสือตอจากธรรมชาติมีจำนวนลดลงเป็นอย่างมากในปัจจุบันเมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้ปลาเสือตอกำลังสูญพันธุ์ไป นั่นก็คือ ความเสื่อมสภาพลงของสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ การทำการประมงเกินกำลังการผลิต การทำการประมงที่ผิด พ.ร.บ. เช่น การใช้ยาเบื่อเมา การใช้วัตถุระเบิด การใช้กระแสไฟฟ้าช๊อตจับปลา การลักลอบจับปลาในฤดูวางไข่ สาเหตุส่วนหนึ่งนั้นมาจากการขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ของมนุษย์ และเนื่องจากปลาเสือตอกำลังอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ กฎหมายจึงได้กำหนดให้ปลาเสือตอจัดอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยบัญญัติไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (2540) ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2540 ดังนั้นผู้ที่ต้องการมีปลาเสือตอไว้ในครอบครองจะต้องทำการขอุอนญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และจะต้องปฏิบัติตามกฎและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ผู้ใดมีปลาเสือตอไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิด โทษปรับไม่เกิน 40,000 บาทและจำคุกไม่เกิน 4 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้เพื่อการอนุรักษ์และสนับสนุนให้มีการเพาะเลี้ยงปลาเสือตอเพื่อมิให้สูญหายไปจากสารบบปลาสวยงามของไทยและให้มีอยู่คู่กับเราตลอดไป
1. ทำความรู้จักกับปลาเสือตอ
1.1 การเรียกชื่อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Datnioides (Coius) microlepis
ชื่อไทย : ปลาเสือตอ ปลาลาด
ชื่ออังกฤษ : Tiger fish, Siamess tiger fish, Gold datnoid
1.2 แหล่งกำเนิดและถิ่นที่อยู่อาศัย
ปลาเสือตอเป็นสัตว์น้ำจืดซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย ชอบอาศัยอยู่ตามหนอง บึง หรือลุ่มน้ำต่างๆ พบมากบริเวณภาคกลาง ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำน่าน และเคยพบชุกชุมมากในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์และแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในปัจจุบันพบว่ามีปริมาณลดน้อยลงมาก ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี นอกจากนี้ยังพบปลาเสือตอได้ทั่วไปในประเทศทางแถบร้อน เช่น อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม และเขมร
1.3 รูปร่างลักษณะโดยทั่วไป
ปลาเสือตอเป็นปลาใน Family Lobotidae ลำตัวมีสีเหลืองอมน้ำตาล สีน้ำตาลอ่อน สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม ตัวโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 40-50 cm ลักษณะที่โดเด่นเฉพาะตัวได้แก่ มีเส้นลายดำพาดขวางประมาณ 6-7 แถบ ลักษณะของลำตัวค่อนข้างลึกแบนกว้าง ส่วนหัวลาดลงเป็นปลายแหลม ปากกว้างยาวและสามารถยืดหดได้มาก (Protactile Jaw) มีครีบ 7 ครีบ ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแข็ง 12 อันส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อน ครีบอีก 1 คู่โปร่งใส ครีบท้อง 1 คู่อยู่ใต้ครีบอก ครีบก้นเป็นหนามแข็ง 3 อัน และส่วนที่เหลือเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางมีลักษณะกลม ขนาดลำตัวที่พบในธรรมชาติประมาณ 10-16 นิ้ว ปลาเสือตอที่พบในประเทศไทย มีลายบนลำตัวแตกต่างกัน แบ่งเป็น 2 สายพันธุ์
1.3.1 ปลาเสือตอลายใหญ่ ( Coius microlepis) ลายพาดขวางสีดำมีขนาดใหญ่ พื้นที่ของเส้นดำกลางลำตัวจะกว้างพอๆกับส่วนของสีพื้นซึ่งเป็นสีอ่อน และยังมีความแตกต่างกับปลาเสือตอลายเล็กตรงที่ลายพาดสีดำจะพาดผ่านแผ่นปิดเหงือกไปยังโคนครีบหูโดยจะอ้อมรอบลำคอทางด้านล่างของลำตัว นอกจากนี้ความลึกของลำตัวยังมากกว่าอีกด้วย ในปัจจุบันคาดว่าปลาเสือตอลายใหญ่สูญหายไปจากแม่น้ำในประเทศไทยแล้ว ส่วนปลาที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากการนำเข้าจากต่าประเทศเกือบทั้งหมด เช่น กัมพูชา และเวียดนาม
1.3.2 ปลาเสือตอลายเล็ก (Coius undecimradiatus) เป็นสายพันธุ์ที่มีลายดำพาดขวางแต่ละเส้นมีขนาดเล็ก โดยเล็กกว่าชนิดลายใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกว่านั้น และลายพาดสีดำดังกล่าวจะพาดผ่านแผ่นปิดเหงือกแล้วไปสิ้นสุดที่โคนครีบหู แต่ไม่อ้อมรอบลำคอ ปลาเสือตอลายเล็กนี้จะเป็นชนิดที่พบได้โดยทั่วไปในประเทศไทย1.4 อุปนิสัยของปลาเสือตอ
สาเหตุที่ได้ชื่อว่า "ปลาเสือตอ" เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบอาศัยหลบอยู่ตามตอไม้ใต้น้ำ หรือก้อนหินใต้น้ำ แต่จะไม่ชอบที่ที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นเยอะๆ มักจะชอบแฝงตัวอยู่อย่างเงียบๆคอยซุ่มจับเหยื่อ ตามธรรมชาติปลาเสือตอชอบหากินอยู่ในระดับน้ำลึกประมาณ 2-3 เมตร ปลาเสือตอจัดเป็นปลาประเภทกินเนื้อ ดังนั้นเหยื่อของมัน


ไรแดงเป็นอาหารธรรมชาติที่ดีในการอนุบาลลูกปลาสวยงามวัยอ่อน ในอดีตพบไรแดงเป็นจำนวนมากในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป ซึ่งมีปริมาณไม่แน่นอน ปัจจุบันไรแดงจากแหล่งน้ำธรรมชาติลดน้อยลงมากกับการต้องการไรแดงเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนไรแดงขึ้นซึ่งเป็นผลโดยตรงต่อผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม การลดปัญหาการขาดแคลนไรแดงจึงจำเป็นต้องทำการเพาะไรแดงขึ้นเอง จากระยะเวลาที่ผ่านมากรมประมงได้ศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงไรแดงจนเป็นผลสำเร็จ ซึ่งลดปัญหาการขาดแคลนไรแดง และช่วยส่งเสริมการพัฒนาอาชีพเพาะเลี้ยงไรแดง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงสูตรการเพาะเลี้ยงไรแดงของกรมประมงเพื่อที่ทุกท่านจะได้นำไปปรับตามแต่สะดวก

ลักษณะของไรแดงไรแดงป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกกุ้ง หรือที่เรียกกันว่า crustacean มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moina macrocopa และมีชื่อสามัญว่า Water flea เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดหนึ่งมีขนาด 0.4-1.8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีแดงเรื่อ ๆ ถ้าอยู่กันเป็นจำนวนมากจะมองเห็นไรแดงมีสีแดงเข้ม ไรแดงหนึ่งตัวหนักประมาณ 0.2 มิลลิกรัม ตัวเมียมีขนาด
(ไรแดงเพศเมียโตเต็มวัยและลูกอ่อนในตัว)

ใหญ่กว่าตัวผู้ ลำตัวไรแดงมีเปลือกคลุมเกือบหมดยกเว้นส่วนหัว หัวกลม มีตา 1 คู่ขนาดใหญ่เรียกว่าตาประกอบ บนส่วนหัวมีหนวด 2 คู่ คู่ที่หนึ่งอยู่ใต้หัว มีขนาดเล็ก คู่ที่สองอยู่ข้างส่วนหัว มีขนาดใหญ่และเป็นปล้อง ตรงข้อต่อของทุกปล้องมีแขนงซึ่งเป็นขนคล้ายขนนก หนวดคู่นี้มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนที่ ไรแดงมีขา 5 คู่อยู่ที่อก ซึ่งมองเห็นไม่ชัดเพราะมีเปลือกหุ้มอยู่ ไรแดงเพศเมียมีถุงไข่อยู่บนหลังของลำตัว ถุงนี้เป็นที่เก็บไข่และให้ไข่เจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนเมื่อมีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม



(เพศเมียที่สืบพันธุ์แบบมีเพศ) (เพศเมียที่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ) (เพศผู้)

คือ อาหารที่สมบูรณ์ดี ไข่ในถุงไข่สามารถเติบโตเป็นตัวอ่อนได้โดยไม่ต้องได้รับการผสมจากเชื้อตัวผู้ เรียกว่าการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ โดยทั่วไปไรแดงเพศเมียให้ลูกอ่อนด้วยวิธีนี้เกือบตลอดเวลา

ไรแดงเพศเมีย 1 ตัวให้ลูกอ่อนได้เฉลี่ย 15 ตัว ( 1-35 ตัว ) แต่ถ้าสภาวะแวดล้อมของน้ำไม่เหทาะสม เช่น คุณสมบัติของน้ำไม่ดี อาหารไม่เพียงพอ ไรแดงจะสร้างไข่ชนิดพิเศษขึ้นมา 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นไข่ซึ่งเจริญเป็นเพศผู้ และอีกชนิดหนึ่งคือไข่ที่เจริญเป็นเพศเมียที่สืบพันธุ์แบบมีเพศ ซึ่งเมื่อโตเต็มวัยจะสร้างไข่เพียง 2 ฟองต่อตัวเท่านั้น ไข่ประเภทนี้มีลักษณะทึบแสงและต้องผสมพันธุ์กับเชื้อตัวผู้จึงจะเจริญเป็นตัวอ่อนได้ไข่เมื่อได้รับการผสมแล้วจะมีเปลือกหุ้มไข่รูปร่างคล้ายอานม้า เรียกว่าเอพิปเพียม ( ephippium ) หรือไข่ฟัก ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เอพิปเพียมเมื่อออกจากตัวแม่จะจมลงสู่พื้น รอจนกว่าสภาวะแวดล้อมเหมาะสมอีกครั้งจึงเจริญเป็นไรแดงเพศเมียที่สามารถให้ลูกอ่อนได้โดยไม่ต้องอาศัยเพศ หรือเรียกว่าพาร์เธโนเจเนสิส ( ลัดดา วงศ์รัตน์, ประวิทย์ สุรนีรนาท และประจิตร วงศ์รัตน์ คณะประมง 2523 )

การเพาะไรแดง ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ อาหาร จากการศึกษาวิจัยของนักวิชาการ พบว่า น้ำเขียว (ครอเรลล่า ) สาหร่ายเซลล์เดียวจำพวกแพลงก์ตอนพืช เป็นอาหารที่เหมาะสมในการเลี้ยงไรแดงโดยตรง เนื่องจากคงสภาพอยู่ได้นานไม่เน่าเสียง่าย มีขนาดเล็ก ( 2.5-3.5 ไมครอน ) ไรแดงกินง่ายและมีโปรตีนสูง ที่สำคัญ คือ เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงด้วยปุ๋ยยังสามารถเจริญเติบโตได้ดี และมีต้นทุนต่ำอีกด้วย



(คลอเรลล่าเป็นสาหร่ายเซลล์เดียวจำพวกแพลงก์ตอนพืช)

การเพาะเลี้ยงไรแดงที่มีความสำคัญที่สุดคือ อาหาร ผู้เพาะเลี้ยงควรทำการตรวจสอบอยู่เสมอว่า ไรแดงมีอาหารเพียงพอแล้วหรือไม่ เนื่องจากไรแดงจะมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศซึ่งเป็นไรแดงที่ให้ผลผลิตดีที่สุดนั้น จำเป็นต้องมีอาหารอย่างเพียงพอ เมื่อใดอาหารไม่เพียงพอไรแดงจะเปลี่ยนไปสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จึงเป็นสาเหตุให้ผลผลิตไรแดงลดลง

วิธีการเพาะไรแดงแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี วิธีแรกเป็นการเพาะไรแดงแบบเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว ซึ่งจะให้ผลผลิตที่แน่นอนและมีปริมาณมาก วิธีนี้ไม่ต้องคำนึงถึงศัตรูของไรแดงมากนักเพราะเป็นการเพาะในช่วงสั้น แต่การเพาะแบบเก็บเกี่ยวครั้งเดียวนี้จำเป็นต้องอาศัยบ่อเพาะจำนวนมาก เพื่อที่จะได้มีผลผลิตทุกวัน และเป็นการสิ้นเปลืองหัวเชื้อไรแดงในการเพาะอีกด้วย ส่วนวิธีที่สองเป็นการเพาะไรแดงแบบเก็บผลผลิตต่อเนื่อง ซึ่งได้ผลผลิตที่แน่นอนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายวัน ส่วนดีของวิธีนี้คือ ไม่สิ้นเปลืองบ่อเพาะฟักและหัวเชื้อไรแดงในการเพาะ ข้อเสียของวิธีนี้คือ ต้องระวังศตรูของไรแดง เช่น โรติเฟอร์ จำเป็นต้องคำนึงถึงอาหาร น้ำเขียว อินทรีย์สารต่าง ๆ รวมถึงความสะอาดอีกด้วย การเพาะวิธีนี้จำเป็นต้องอาศัยความเอาใจใส่ ต้องเพิ่มน้ำสะอาดในบ่อเพาะ เพื่อลดความป็นพิษของแอมโมเนียและสารพิษอื่น ๆ ในบ่อ เราจึงเห็นข้อดีและข้อเสียของทั้งสองวิธี

การเพาะไรแดงโดยใช้น้ำเขียว ( คลอเรลล่า ) เป็นอาหาร ผู้เพาะเลี้ยงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคลอเรลล่าจำนวนที่เพียงพอต่อการเพาะเลี้ยง จึงต้องมีการเพาะคลอเรลล่าขึ้นก่อนให้มีจำนวนที่เพียงพอกับไรแดง

วิธีเพาะเลี้ยงคลอเรลล่าในที่นี้จะกล่าวถึงการเพาะในบ่อซีเมนต์ขนาดเนื้อที่ 50 ตารางเมตร ( 10x5 เมตร สูง 60 เซนติเมตร ถ้าต้องการเพาะเลี้ยงในขนาดเนื้อที่ที่เล็กลง ให้ย่อส่วนของขนาดและปริมาณปุ๋ยที่ใช้ลงตามส่วน ) ทำความสะอาดบ่อและตากให้แห้งสนิท จากนั้นเติมน้ำที่กรองแล้วด้วยถุงกรองแพลงก์ตอน ควรกรองน้ำทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำบาดาล น้ำคลอง น้ำประปา ควรกรองผ่านผ้ากรองขนาด 69 ไมครอน เติมน้ำลงระดับความลึก 20 เซนติเมตร ( น้ำที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง จะให้ผลผลิตที่สูงกว่า น้ำประปา น้ำบาดาล และน้ำฝน แต่ควรกรองน้ำทุกครั้งเพราะแหล่งน้ำธรรมชาติมีศตรูของไรแดงจำนวนมาก )



(ล้างและตากบ่อเพาะให้แห้ง) (เติมน้ำที่ผ่านการกรองแล้วความลึก 20 เซนติเมตร)

เติมปุ๋ยที่ใช้เลี้ยงคลอเรลล่าตามสัดส่วนที่กำหนด แล้วเติมหัวเชื้อคลอเรลล่าน้ำจืด ปริมาณ 2 ตันต่อบ่อ



(เติมหัวเชื้อคลอเรลล่าลงในบ่อเพาะ) (เติมปุ๋ยที่ใช้เลี้ยงคลอเรลล่า)

ปุ๋ยที่ใช้เลี้ยงคลอเรลล่า

ปุ๋ย N-P-K ( ปุ๋ยนา 16-20-0 ) 0.5 กิโลกรัม , ยูเรีย ( 46-0-0 ) 1.5 กิโลกรัม , ซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0 ) 130.0 กรัม , ปูนขาว 3.0 กิโลกรัม , กากผงชูรส ( อามิ อามิ ) 20 ลิตร

อามิ อามิ เป็นกากของการทำผงชูรส หาซื้อได้ที่ บ.อายิโนโมโต๊ะ จก. ถนนสุขสวัสดิ์ ซ. 43 อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ หรือโทร. 0-2463-5536-8 , 0-2819-3259 , หัวเชื้อคลอเรลล่าเริ่มต้นติดต่อขอได้จากศูนย์วิจัยกองประมงน้ำจืด จ.ปทุมธานี หรือโทร. 0-2546-3184-5

หลังจากที่ได้ทำการเติมหัวเชื้อและปุ๋ยแล้วควรติดตั้งเครื่องเป่าลมไว้ในบ่อเพาะด้วย เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำในบ่อเพาะเป็นการป้องกันการตกตะกอนของน้ำเขียวอีกทั้งเป็การช่วยเพิ่มออกซิเจนและเร่งการเจริญเติบโตของน้ำเขียวและไรแดงให้ดีขึ้น รวมถึงการลดความเป็นพิษของน้ำที่มีต่อไรแดง น้ำเขียวเมื่อได้รับออกซิเจนที่เพียงพออีกทั้งปุ๋ยและแสงแดด ก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น สังเกตุได้จากน้ำจะเริ่มมีสีเขียวคล้ำมากขึ้นต่างจากวันแรก เมื่อทำการเพาะน้ำเขียวจนมีสีเขียวเข้มจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน ให้ทำการแบ่งหัวเชื้อน้ำเขียวไปเติมในบ่อใหม่ 2 ตัน และทำเช่นเดิมกับขั้นตอนที่ผ่านมาเพื่อเป็นสต๊อกน้ำเขียวเก็บไว้



(เครื่องเติมฟองอากาศ) (น้ำเริ่มมีสีเขียวเข้ม)

เมื่อทำการแบ่งหัวเชื้อน้ำเขียวแล้วให้เติมน้ำกลับลงไปในบ่อเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 10 เซนติเมตร รอถึงวันท่ 4 ใส่แม่พันธุ์ไรแดงหนัก 2 กิโลกรัมต่อบ่อเพาะทำการเลี้ยงไรแดงต่อไปอีก 4 วัน จึงเริ่มเก็บผลผลิตได้บางส่วนโดยกรองไรแดงออกจากบ่อเพาะเลี้ยง วันละประมาณ 5 กิโลกรัมพร้อมทั้งลดระดับน้ำลง 10 เซนติเมตร เติมน้ำเขียวและน้ำสะอาดลงในบ่อเพาะอย่างละ 5 เซนติเมตร ทำเช่นนี้ทุกวันจนกว่าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ( สังเกตุดูด้วยการเอากระชอนตักขึ้นดูว่ามีไรแดงตัวผู้มากขึ้น และจำนวนไรแดงลดน้อยลง ) ควรกรองไรแดงออก ล้างบ่อและเริ่มทำใหม่ตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว



(เติมหัวเชื้อไรแดงลงในบ่อเพาะ) (กรองไรแดง)

ข้อเสนอแนะในการเพาะไรแดง

การเตรียมน้ำลงในบ่อเพาะไรแดง ควรกรองน้ำก่อนด้วยผ้ากรองทุกครั้งเพื่อป้องกันสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ หรือศตรูของไรแดงจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่อาจจะเข้ามาปะปนกับไรแดง น้ำเขียวที่จะนำลงบ่อเพาะไรแดง ควรกรองด้วยถุงกรองแพลงก์ตอน เพื่อป้องกันสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่ติดมากับน้ำเขียว การเพาะไรแดงควรคำนึงถึงอาหารที่ใช้เลี้ยงไรแดง ( น้ำเขียว ) ซึ่งนับว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไรแดง เพราะคงสภาพอยู่ได้นานไม่เน่าเสีย เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วด้วยปุ๋ยชนิดต่าง ๆ การเพิ่มระดับน้ำและการเติมปุ๋ยก็เป็นปัจจัยในการเพิ่มผลผลิตไรแดง เนื่องจากการเพิ่มปุ๋ยจะเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำเขียวให้มากขึ้นด้วย แต่การเพิ่มระดับน้ำสูงขึ้นจะทำให้การสังเคราะห์แสงของน้ำเขียวไม่ดีพอ อีกทั้งไรแดงขาดออกซิเจนจึงควรติดตั้งปั้มลมเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้ทั่วถึง นอกจากจะช่วยให้ไรแดงขยายพันธุ์ได้รวดเร็วแล้ว ยังช่วยให้น้ำเขียวไม่ตกตะกอนและช่วยให้ปุ๋ยที่จมอยู่ฟุ้งกระจาย เพื่อเป็นปรโยชน์ต่อน้ำเขียวโดยตรง แสงแดดมีผลโดยตรงต่อความหนาแน่นของน้ำเขียว เมื่อน้ำเขียวได้รับแสงแดดการสังเคราะห์แสงดีขึ้นก็จะเพิ่มปริมาณความหนาแน่นของน้ำเขียว ไรแดงเมื่อได้รับอาหารอย่างเพียงพอก็จะมีการแพร่ขยายและเจริญเติบโตได้ดี เรื่องของการเพาะเลี้ยงไรแดงก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ หวังว่าคงมีประโยชน์ต่อทุกท่านและเป็นแนวทางในการเพาะเลี้ยงไรแดง

อาหารของไรน้ำนางฟ้า
อาหารของไรน้ำนางฟ้านั้นส่วนมากจะเป็นพวกสาหร่ายขนาดเล็ก ที่สำคัญที่สุดคือ คลอเรลล่า พวกแบคทีเรีย ซากสารอินทรีย์ รวมถึงแพลงค์ตอนขนาดเล็กอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า 60 ไมโครเมตร (เนื่องจากปากของไรน้ำนางฟ้ามีขนาดประมาณ 60 ไมโครเมตร) ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ สำหรับการเพาะเลี้ยงในโรงเพาะฟักจะใช้คลอเรลล่าเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ยังมีการให้อาหารอื่น ทดแทนเมื่อสาหร่ายไม่เพียงพอ เช่น ยีสต์ โดยมีสัดส่วนการใช้ยีสต์ 0.8-1.0 มิลลิกรัมต่อตัวต่อวัน ผสมกับกากน้ำตาล 1.0 มิลลิลิตร สำหรับการให้น้ำหมักชีวภาพใช้น้ำหมักชีวภาพ 1.0 มิลลิลิตร ผสมกับกากน้ำตาล 1.0 มิลลิลิตรให้กินต่อตัวต่อวัน แต่ไม่ควรให้ติดต่อกันนานเกินไปจะทำให้คุณภาพน้ำเสียได้ และไรน้ำนางฟ้ามีสีซีด เพราะทั้งยีสต์และน้ำหมักชีวภาพไม่มีสารสีพวกคลอโรฟิวส์ ดังนั้นจึงควรให้สลับกับสาหร่าย

ช่วงของอุณหภูมิและช่วงแสงมีผลต่อไรน้ำนางฟ้าอย่างไรบ้าง
ช่วงแสงมีผลต่อการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า เพราะถ้าไรน้ำนางฟ้าได้รับแสงน้อยเกินไป อากาศไม่ปลอดโปร่ง จะทำให้การเจริญเติบโตของไรน้ำนางฟ้าโตช้าและอัตราการรอดต่ำ แต่ถ้าแสงมากเกินไปจะมีผลต่อการกินอาหารและการว่ายน้ำ นอกจากนี้ความเข้มข้นแสงยังมีผลต่อการผลิตอาหารไรน้ำนางฟ้า ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวคลอเรลล่า เพราะเป็นพืชจึงต้องการแสงเพื่อการสังเคราะห์แสง หากได้รับแสงน้อยต่อวันอาจทำให้สาหร่ายสีเขียวคลอเรลล่าตายได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าด้วย

สำหรับการเปิดไฟในช่วงกลางคืนให้กับไรน้ำนางฟ้ามีความจำเป็นหรือไม่ ไม่จำเป็น ส่วนสาหร่ายสีเขียวอาจมีความจำเป็นในกรณีที่แสงไม่เพียงพอในช่วงกลางวันแต่โดยหลักการแล้วควรเปิดในช่วงค่ำ และช่วงเช้ามืดเสริมเพื่อให้ได้รับแสงในช่วงแสงที่เพียงพอเท่านั้น เพราะสาหร่ายสีเขียวก็ต้องการเวลาพักในช่วงมืดเช่นกันประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน (อัตราส่วนระหว่างความมืดและแสงสว่างที่เหมาะสมคือ สว่าง : มืด = 16 : 8) ส่วนในช่วงดูหนาวที่แสงแดดน้อย มีปริมาณแสงไม่เพียงพอจำเป็นต้องเปิดไฟในช่วงเช้ามืดและช่วงเย็น และหากสาหร่ายยังได้รับแสงไม่เพียงพออาจจำเป็นต้องเปิดไฟมากกว่า 16 ชั่วโมง

ศัตรูของไรน้ำนางฟ้าและวิธีป้องกัน
ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์ที่ไม่มีอวัยวะสำหรับป้องกันตัวเอง และมีเปลือกนิ่มจึงตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อได้ง่าย ระหว่างการเลี้ยงถ้าไม่มีวิธีป้องกันที่ดีก็อาจจะต้องสูญเสียไรน้ำนางฟ้าจำนวนมาก ศัตรูที่พบได้บ่อยในการเลี้ยงในโรงเพาะเลี้ยงคือ ลูกน้ำยุง ในระยะตัวโม่ง บางครั้งถึงแม้จะมีขนาดเล็กกว่าไรน้ำนางฟ้าแต่ลูกน้ำจะกัดติดแน่นบริเวณส่วนหัวหรือลำตัวจนกว่าไรน้ำนางฟ้าจะตาย ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่กินและกัดกินแค่บางส่วน

ศัตรูชนิดที่พบได้เสมอในบ่อดินคือ ตัวอ่อนแมลงปอ ตัวอ่อนแมลงปีกแข็งเกือบทุกชนิด รวมทั้งสัตว์กินเนื้อที่อยู่ในน้ำทุกชนิด มีรายงานว่าตัวอ่อนของแมลงปีกแข็งสามารถกินไรน้ำนางฟ้าตัวเต็มวัยได้ ส่วนวิธีการป้องกันในบ่อซีเมนต์หรือโรงเพาะฟักขนาดเล็กจะใช้มุ้งอวนในส่วนสีฟ้าล้อมป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาวางไข่ได้ แต่กรณีในบ่อดินซึ่งเป็นการเลี้ยงระบบเปิดจะป้องกันได้ยากแต่ก็สามารถปราบศัตรูได้โดยการกรองน้ำเข้าบ่อและหลังการเตรียมบ่อใสปุ๋ย และเติมน้ำควรรีบปล่อยไรน้ำนางฟ้าทันทีเพื่อให้เจริญเติบโตก่อนที่แมลงปอจะลงไปไข่และฟักเป็นตัวอ่อน จากการสังเกตพบว่าลูกน้ำในระยะตัวโม่งสามารถกินลูกไรน้ำนางฟ้าได้ 1 ตัวทุกๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งถ้าบ่อตั้งอยู่กลางแจ้งหรือโรงเพาะฟักขนาดใหญ่ที่ไม่มีการปกปิดยุงและแมลงต่างๆ สามารถบินมาวางไข่ได้ตลอดเวลาซึ่งป้องกันได้ยาก แต่อย่างไรก็ตามแต่ละพื้นที่มักจะพบปัญหาที่แตกต่างกัน คงต้องสังเกตและแก้ปัญหาเป็นกรณีๆ ไป

โรคที่เกิดกับไรน้ำนางฟ้าและแนวทางป้องกันแก้ไข
โรคที่พบว่าเกิดกับไรน้ำนางฟ้ามีเพียงชนิดเดียว คือโรคสีดำ (Black disease) ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบสีดำเกิดขึ้นบริเวณขาว่ายน้ำ หนวด และอาจลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โรคนี้มักเกิดกับไรน้ำนางฟ้าตัวเต็มวัยที่เลี้ยงในน้ำที่มีคุณภาพไม่เหมาะสม เช่น มีค่าแอมโมเนียทั้งหมด เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าไนไตรท์-ไนโตรเจน เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หรือไรน้ำนางฟ้าที่อ่อนแอก็มักติดโรคนี้ได้ง่าย เมื่อไรน้ำนางฟ้าเป็นโรคสีดำจะไม่ตายในทันทีแต่จะทยอยตายในภายหลังที่เป็นโรค 2-5 วัน วิธีการรักษายังไม่มีการศึกษาว่าควรรักษาอย่างไร ฉะนั้นการเลี้ยงควรดูแลให้ไรน้ำนางฟ้ามีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้กับไรน้ำนางฟ้าที่เลี้ยง และควรมีการป้องกันเรื่องคุณภาพน้ำที่ไม่ดีต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำให้มากขึ้นในช่วงไรน้ำนางฟ้าอายุมากขึ้นหรือเริ่มมีการวางไข่และควรใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่นในกลุ่มน้ำหมักชีวภาพต่างๆ ใส่ในบ่อเลี้ยงเพื่อย่อยสลายของเสียในบ่อและควบคุมเชื้อโรคที่จะเกิดกับไรน้ำนางฟ้าด้วย


เมื่อพบไรน้ำนางฟ้าเป็นโรคเกิดขึ้นในบ่อเลี้ยง หรือเพื่อป้องกันการเกิดโรค ควรมีการทำความสะอาดเครื่องมือที่ใช้ด้วยฟอร์มาลิน 10 เปอร์เซ็นต์ นาน 10 ชั่วโมง ก่อนล้างและตากให้แห้ง และแช่บ่อเลี้ยงด้วยคลอรีน 10-20 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือล้างบ่อและตากบ่อทิ้งไว้หลายๆ วัน แต่กรณีบ่อซีเมนต์ถ้าทาสีใหม่ทับปีละครั้งจะสามารถป้องกันได้เป็นอย่างดี


ไรน้ำนางฟ้า กินอาหารจำพวกสาหร่าย อินทรียสาร แบคทีเรีย และอาหารที่ให้กินก็หาได้ง่าย เช่น น้ำเขียว การทำน้ำเขียว โดยหาหัวเชื้อน้ำเขียวได้จากสถานีประมงซึ่งตั้งอยู่เกือบทุกจังหวัด แล้วนำมาขยายปริมาณ ส่วนผสมการทำน้ำเขียวประกอบด้วย ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยสูตร 16-20-0 รำข้าว ปูนขาว การเพาะน้ำเขียวต้องอาศัยแสงแดด ในกรณีที่เป็นบ่อซีเมนต์ทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ต้องมีจำนวน 3-4 บ่อ เพื่อสำรองผลิตน้ำเขียวให้มีปริมาณเพียงพอต่อการขยายพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า


การให้อาหารจะให้วันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น แต่ที่ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์จะใช้ระบบน้ำหยด โดยน้ำเขียว ค่อย ๆ หยดผ่านท่อแอสรอนครั้งละ 1-2 หยดเติมครั้งเดียวใช้ได้ 1-2 วัน ถ้าเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอัตราความหนาแน่นเกิน 30 ตัวต่อลิตร ต้องให้ อาหารมากสักหน่อย การสังเกตุความสมบูรณ์ของไรน้ำนางฟ้าตัวอ่อนสมบูรณ์จาก ทางเดินอาหารมีสีเขียว ท่อลำไส้จะยาว ถ้าใส่อาหารเยอะ น้ำเขียวมากจะเป็นที่สะสมของของเสียซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำรงชีวิตของไรน้ำนางฟ้า


วงจรชีวิตของไรน้ำนางฟ้า ไข่ไรน้ำนางฟ้าใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อมีอายุ 8-9 วันจะเจริญเติบโตมีไข่และ พัฒนาขยายพันธุ์ได้อีกทุก ๆ วัน โดยเฉลี่ยวางไข่วันละ 1 ครั้ง ครอกละ 500 ฟอง หากเป็นบ่อดิน ไข่จะไปกองบริเวณพื้นบ่อทำให้ไม่สามารถ เก็บไข่ได้ ถ้าเป็นกะละมังหรือบ่อซีเมนต์จะเก็บไข่ได้ง่ายกว่า การป้องกันไข่ไรน้ำนางฟ้าติดไปกับน้ำที่ระบายทิ้ง ขอแนะนำให้ใช้ผ้ากรองปิดที่ ปลายท่อระบายน้ำทิ้ง นำไข่มาแช่น้ำ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาทำให้แห้งเพื่อเก็บไว้ขยายพันธุ์ในครั้งต่อไป ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับ มิฉะนั้นจะทำให้ การเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ หากไข่ที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว เปอร์เซ็นต์การฟักจะสูงถึงร้อยละ 90 ไข่ไรน้ำนางฟ้ามีขนาด เล็กกว่าไข่อาร์ทีเมียและเป็นไข่จมน้ำ ส่วนไข่อาร์ทีเมียจะลอยน้ำ ไรน้ำนางฟ้าไทยมีอายุขัย 25-30 วัน ไรน้ำนางฟ้าสยายมีอายุขัย 69-119 วัน


ประโยชน์ของไรน้ำนางฟ้า
1. ใช้ในวงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม
2. ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอสี
3. ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น แกง หมก
4. ใช้ทดแทนการนำเข้าอาร์ทีเมียที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ช่วยลดภาวะการขาดดุลของประเทศ
5. สามารถเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้ผู้ประกอบการ


1. ภาชนะ
1.1 บ่อซีเมนต์ทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ลึก 50-100 เซนติเมตร ซึ่งสะดวกในการใช้เป็นอย่างมาก
1.2 กะละมัง ขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
1.3 ถังพลาสติกสีดำ
1.4 บ่อดิน ขนาดที่เกษตรกรนิยมใช้ คือ 0.5-1 ไร่ บ่อดินดีที่สุดเพราะไม่ต้องเติมอากาศ เป็นแบบธรรมชาติ ไม่ต้องให้ อาหารเสริม ไรน้ำนางฟ้าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สภาพการเติมอากาศเป็นแบบ Air Water Link คือ ให้น้ำข้างล่างขึ้นมาข้างบน หรือใช้ หัวทรายหรือระบบกรองที่ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม
2. แสงแดด ไรน้ำนางฟ้าต้องการแสงแดดด้วย เพื่อช่วยในการสังเคราะห์อาหารของไรน้ำนางฟ้า สำหรับบ่อดินเป็นบ่อเปิดรับ แสงแดดได้ทั่วทั้งบ่อ หากสร้างโรงเรือนต้องให้ได้รับแสงอาทิตย์ด้วย โรงเรือนแบบเปิดในช่วงฤดูร้อน ควรทำหลังคามีสแลนคลุมบังพื้นที่ 50 % หากเป็นช่วงฤดูหนาวไม่ค่อยมีแสงแดดจะเปิดสแลนออกให้ได้รับแสงแดด 100%
3. น้ำ มีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการเลี้ยงเหมือนสัตว์น้ำทั่วไป เช่น น้ำประปา และน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ไรน้ำนางฟ้าไม่จำเป็น ต้องใช้อุปกรณ์ราคารแพง น้ำประปาเหมาะสมที่สุด แต่ต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน โดยเปิดน้ำประปาทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อให้คลอรีนเจือจางลง เพราะคลอรีนจะมีผลกระทบภายหลังการฟักตัวของไรน้ำนางฟ้า จากนั้นใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไข่จะฟักเป็นตัว เมื่อลูกไรน้ำนางฟ้ามีอายุ 10-12 ชั่วโมงต้องให้อาหาร มิฉะนั้นตัวอ่อนจะตาย


อพิสโตแกรมมาเป็น ปลาหมอแคระ ที่คนนิยมไปแล้วครับในตอนนี้ แต่ก็แปลกใจว่า ทำไมยังไม่ค่อยมี การเพาะพันธุ์ อย่างจริงจังเสียที ปลาตัวหนึ่งราคาไม่น้อย หลายร้อยบาท แพงกว่าปลาป่าสองสามเท่าตัว เมื่อสอบถามจากเพื่อนฝูงที่นิยมในปลากลุ่มนี้ ต่างกล่าว เป็นเสียงเดียว กันว่า ไม่มีเวลา ทั้งที่เห็นอยู่ว่าปลาหมออื่นๆ เพาะไม่ยากเย็นอะไร ยิ่งพวก ปลาวางไข่จากทางอเมริกากลางอเมริกาใต้แล้ว ส่วนใหญ่เพาะง่ายจริงๆ ออกมาครอกหนึ่งๆ ผมว่าไม่น้อยกว่า ห้าหกร้อยตัว (อาจถึงพันตัวถ้าพ่อแม่ปลาดีจริง)

กลุ่มคนเลี้ยงอพิสโตแกรมมาส่วนใหญ่มักเลี้ยงต้นไม้น้ำด้วย อันต้นไม้น้ำนี้ถ้าลงว่าได้จัดกันเต็มรูปแบบแล้ว คงจะลงไปยุ่งกับมันลำบากมาก เพื่อนผมคนหนึ่งได้ อพิสโตแกรมมา ครูซอาย ไปเพียงอาทิตย์เดียว โทรกลับมาบอกว่าปลาวางไข่และฟักออกมาเป็นตัวแล้ว ผมดีใจด้วย แต่เพื่อนบอกว่าอย่าพึ่งดีใจเพราะยังไม่รู้เลย ว่าจะเอามันออกมาได้ยังไง
ถึงตอนนี้คงมีหลายคนแปลกใจว่าทำไมต้องเอาลูกปลาออกมา ปล่อยไว้ในตู้อย่างนั้นไม่ได้รึ? ตอบว่า ไม่ได้ครับ หรือถึงได้ก็คงไม่ดี ลูกปลานี้ถ้าได้รับอาหารไม่เพียงพอ ก็มักจะตายได้ง่ายๆ ตู้ต้นไม้น้ำนั้นเขาก็จะไม่นิยมให้อาหารปลาปริมาณมากๆ เสียด้วย เพราะว่าจะทำให้น้ำเสียได้ง่าย ระบบนิเวศของต้นไม้น้ำจะละเอียดอ่อนกว่าปลามากนัก ครั้นจะปล่อยให้ลูกปลาหากินเก็บเอาเศษอาหารก้นพื้นก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะตู้ต้นไม้นั้นเขาจะมีการใส่ปลาที่ทำหน้าที่นี้ลงไปอยู่แล้ว อาทิ ปลาเล็บมือนางหรือปลาแพะ ปลาแพะนี้ก็แสบไม่ใช่เล่น ชอบแอบดอดมาขโมยกินไข่ชาวบ้านเขาออกบ่อยๆ คนที่เลี้ยงอพิสโตแกรมมาในตู้ไม้น้ำหลายคนเลยไม่ค่อยได้มีโอกาสเห็นลูกปลา เพราะโดนปลาแพะงุบงิบเอาไปหมด


ผมแนะนำให้เอาสายยางดูดเอาลูกปลาออก เพราะถ้าจะใช้กระชอนไล่ตัก ก็เห็นว่าตู้คงได้พังกันเป็นแถบๆ และจะขุ่นคลั่กเนื่องจากปุ๋ยที่ฝังอยู่ใต้พื้นกรวดจะฟุ้งขึ้นมาให้วุ่นวาย สายยางที่ว่าไม่ต้องใช้ขนาดให้ใหญ่มากนัก เวลาใช้งานก็ดำเนินการตามวิธีกาลักน้ำ คือดูดจากที่สูงสู่ที่ต่ำกว่า แต่อย่าให้ระดับต่ำกว่ามากนักเพราะน้ำจะไหลแรง ลูกปลาที่ถูกดูดออกมาจะอำลาโลกไปหมด ตรงนี้ควรมีสมาธิ ทำอย่างตั้งใจ ลูกปลาอยู่ตรงไหนดูไม่ยาก ก็ตรงที่แม่ปลาอยู่นั่นแหละครับ มันไม่ยอมปล่อยลูกให้ห่างสายตาเลยจนกว่าลูกจะโต เพราะฉะนั้น ง่ายมาก ลองดูได้ครับ

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้สั่งปลาชุดใหม่มาจากประเทศเยอรมันอีกครั้ง ปลาชุดนี้ดีมาก เสียแต่ตัวเล็กไปนิด ผมเก็บตัวอย่างเพียงอย่างละสองสามคู่ ที่เหลือก็แบ่งๆให้พรรคพวกกันไป (ก็คือขายนั่นเอง ถอนทุนคืน) มีอพิสโตแกรมมาอยู่ชนิดหนึ่งที่ดูแล้วไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ทางเยอรมันระบุมาว่า คาคาทอยเดส โกลด์ บรรยายสรรพคุณว่าเป็นนิววาไรตี้ ยังไม่ค่อยมีขายที่ไหนในโลก (ตรงนี้อ่านแล้วก็อย่าเชื่อมากครับ ฝรั่งก็ขี้โม้ไม่ใช่เล่นเหมือนกัน) พิจารณาแล้วเข้าท่าถูกใจ เลยลองคิดว่าจะเพาะพันธุ์ดู คงไม่น่ายากเพราะเคยประสบความสำเร็จกับคาคาทอยเดส ดับเบิ้ลเรดมาแล้ว สองปีก่อน ลองผิดลองถูกเสียปลาเสียเงินไปเยอะ มาคราวนี้จึงพอมีประสบการณ์บ้าง

ผมเตรียมตู้ขนาด 30x16x18 นิ้ว สองใบ ใบหนึ่งวางขอนไม้เล็กๆที่มีต้นอนูเบียส นานา(Anubias nana) เกาะติดหนึ่งต้น เลือกขอนไม้ที่มีลักษณะเป็นโพรงหรือซอกหลืบซักหน่อย วางไปบริเวณกลางตู้ จากนั้นเอากระถางต้นไม้ดินเผาใบเล็กๆ มาทุบให้แตกแบบหยาบๆ เลือกชิ้นส่วนที่มีลักษณะโค้งซักสามสี่ชิ้น วางคว่ำลงไปให้ทั่วๆตู้ ตู้อีกใบหนึ่งจัดแบบเดียวกันแต่ไม่มีขอนไม้ติดอนูเบียส ไม่มีกรวดอื่นใดมาปูพื้น ปล่อยให้เป็นกระจกเปล่าๆ ทั้งอย่างนั้นเลย ระบบกรองก็ใช้กรองโฟมธรรมดา เปิดแอร์ปั๊มปานกลางไม่แรงมาก ใส่น้ำเตรียมไว้สองวันเต็มๆ ค่อยปล่อยปลาลงไป

การเลือกพ่อแม่ปลาผมใช้วิธีมาตรฐานตามแบบฉบับทั่วโลกนิยม พ่อปลาตัวจะต้องใหญ่หน่อย หนา ครีบกางสง่างามโดยเฉพาะครีบหลังอันเป็นจุดเด่นของปลาชนิดนี้ ถ้าเป็นคาคาทอยเดสตัวอื่นลายดำข้างลำตัวต้องเข้มและตรงเผง แต่คาคาทอยเดสโกลด์นั้นพิเศษหน่อยตรงที่จะมีลำตัวสีเหลืองสดและไม่มีเส้นกลางตัวสีดำให้เห็น จึงต้องอาศัยดูแนวของเกล็ดแทน ปลาที่มีแนวเกล็ดโค้งโก่งเป็นอันว่าขาดคุณสมบัติพ่อพันธุ์ อย่าได้เลือกมา ส่วนปลาตัวเมียต้องมีขนาดไม่น้อยกว่าหนึ่งนิ้ว ตัวอวบอ้วนและมีสีเหลืองจัดอมส้ม เวลาว่ายน้ำจะกางครีบฟ้อไม่เกรงกลัวใคร แม่ปลาที่ตัวเรียวๆผอมๆไม่เวิร์คสำหรับการนี้แน่นอนครับ

เมื่อคัดพ่อแม่ปลาได้แล้วสองคู่ ก็ทำการปล่อยลงไปในตู้ทดลองตู้ละคู่ บำรุงด้วยไส้เดือนน้ำบ้าง ไรทะเลบ้าง ไรทะเลนี้จะต้องล้างให้จืดสนิทเสียก่อน มิฉะนั้นอาจเกิดผลร้ายกับปลาได้ (ซึ่งจะพูดในโอกาสต่อไป) ผมแนะนำนิดนึงว่าอย่าให้อาหารจะปลาอิ่มมากเกินไป ควรให้ปริมาณน้อยๆพออิ่มในหนึ่งมื้อ ปลาที่กินอิ่มมากเกินไปมักไม่ใคร่สนใจเรื่องทางเพศ (คล้ายๆคนหรือเปล่าไม่รู้เหมือนกันแฮะ) เปลี่ยนถ่ายน้ำวันเว้นวัน ครั้งละประมาณสิบห้าถึงยี่สิบเปอร์เซ็นต์ กาลเวลาผ่านไปได้สองสัปดาห์ ราวกับปรากฏการซินโครไนซ์ ปลาทั้งสองคู่เริ่มจับคู่และวางไข่พร้อมกัน การจับคู่นั้นทำเพียงระยะสั้นๆ สังเกตดูว่า ตัวที่อยู่ในตู้ที่มีแต่ดินเผานั้นจะเลือกชิ้นที่มีส่วนโค้งและขนาดพอเหมาะ อันที่ใหญ่กว่าตัวมากๆจะไม่เอา การวางไข่จะตีลังกาวางบนเพดาน ไข่มีสีเหลืองใสๆ คะเนว่าไม่ต่ำกว่า 30 ฟอง

ส่วนแม่ปลาในตู้ที่มีขอนไม้จะเข้าไปวางไข่ในโพลงของขอนไม้นั้น โพลงค่อนข้างลึกเลยมองไม่เห็นไข่ที่วางไว้ แต่สิ่งที่ทำให้ผมรู้ได้ว่าปลาวางไข่แน่นอนแล้วคือดูจากที่แม่ปลาจะคอยเข้าไปทำท่าจิกอะไรซักอย่างอยู่บ่อยๆ ในระยะนี้ แม่ปลาทั้งสองจะมีอารมณ์ดุร้าย หวงไข่มากๆ แม้ผู้เป็นสามี ก็ไม่สามารถกรายกล้ำเข้ามาใกล้ได้ ถ้าลองเสนอหน้ามาเป็นได้โดนไล่เปิงออกมาแทบไม่ทัน ก็เลยได้แต่ว่ายวนไปรอบๆห่างๆหน่อย สามวัน ไข่ฟักเป็นตัว แม่ปลาจะขนลูกน้อยไปซุกๆ ตามมุมตามซอก มองดูเป็นขยุ้มๆกระดุกกระดิกไปมา ช่วงนี้แม่ปลาที่ว่าดุอยู่แล้วก็จะยิ่งดุเพิ่มขึ้นไปอีก พ่อปลาที่อยู่ไกลๆก็ยังอุตส่าห์พุ่งเป็นจรวดไปไล่เขาอีก จนพ่อปลาน้อยอกน้อยใจซึมเศร้าอยู่หลายวัน (ผมไม่ย้ายออกเพราะต้องการ ดูพฤติกรรมของพวกมัน ในช่วงนี้ด้วย)
DAY 5 ถุงไข่ที่ท้องลูกปลายุบไปหมดแล้ว ผมจึงเริ่มให้อาหาร มื้อแรกเป็นตัวอ่อนอาร์ทีเมียที่ล้างน้ำจืดเป็นอย่างดีเสิร์พพร้อมกับไส้เดือนน้ำสำหรับพ่อแม่ปลา ในวันหนึ่งให้ประมาณห้าหกครั้งๆหนึ่งไม่ต้องมาก พฤติกรรมปลาตอนนี้น่ารักมาก แม่ปลาเมื่อถึงเวลาค่ำ จะคาบลูกไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย แม่ปลาตัวที่วางไข่ในโพลงไม้ก็จะคาบลูกไปแอบไว้ในโพลงไม้สิ้นทุกตัว ผ่านไปสัปดาห์หนึ่ง ลูกปลาว่ายน้ำได้แต่ยังไม่แข็งแรงนัก แม่ปลาจะคอยเฝ้าราวกับแม่ไก่เลี้ยงลูกเจี๊ยบ ตัวไหนออกไปซนไกลหน่อยแม่ปลาก็จะรีบว่ายไปคาบกลับมาอยู่รวมกลุ่ม อาหารช่วงนี้เปลี่ยนเมนูเป็นไส้เดือนน้ำอย่างเดียว เชิญรับกันทั้งพ่อแม่ลูก ลูกปลากินทั้งวัน โตเร็วมาก

DAY 10 ลูกปลามีขนาดประมาณ 4-5 มิลลิเมตรว่ายน้ำคล่องแล้ว แต่จะว่ายเรี่ยๆพื้น ไม่ว่ายขึ้นสูงนัก แม่ปลาจะพาทัวร์ลูกปลาไปทั่วตู้ จะสั่งสอนอะไรบ้างผมก็ไม่เคยได้ยิน ระยะนี้พ่อปลาเริ่มมีส่วนร่วมหลังจากถูกตัดออกไปเสียหลายวัน ลูกปลาเริ่มว่ายไปหาพ่อปลาบ้างโดยที่แม่ปลาก็อนุโลมให้ แต่ตอนกลางคืน ลูกๆ ก็ยังต้องมานอนกับแม่อยู่ พ่อปลานอนตัวเดียวตามเคย

DAY 15 ลูกปลามีความยาว 6-7 มิลลิเมตร ลำตัวเริ่มหนาออกไปในทางกลมทรงกระบอก แม่ปลาเริ่มปล่อยไม่ดูแลเข้มงวดเหมือนก่อน ลูกปลาว่ายพล่านไปทั่วตู้ พ่อแม่ปลาเริ่มคืนดีกัน มีการจู๋จี๋กันบ้างตามแต่โอกาสจะอำนวย ผมย้ายลูกปลาออกจากตู้ในวันที่สิบหก ใช้กระชอนผ้านุ่มๆ บรรจงไล่ช้อน พอใกล้จะพ้นน้ำอย่ายกขึ้นมาทั้งกระชอน ให้เอาช้อนหรือกระบวยค่อยๆตักออกมา นับได้ 35 ตัว ส่วนอีกตู้ได้ 17 ตัว ยังงงๆกับความแตกต่างของจำนวนลูกปลาอยู่เหมือนกัน

DAY 22 ถึงวันนี้เช้าวันที่ยี่สิบสอง ลูกปลามีความยาว 1 ซ.ม. ลำตัวที่กลมทีแรกตอนนี้เริ่มออกแบนข้างบ้างแล้ว สังเกตดูที่เหงือกของลูกปลามีลักษณะกางออกทุกตัวคล้ายๆ ลูกปลาบู่ แปลกใจเหมือนกันเลยลองค้นดูในอินเตอร์เนต พอเห็นภาพลูกปลาที่บรรดาเซียนทั้งหลายเพาะแล้วถ่ายรูปมาให้ดูก็ค่อยสิ้นสงสัย เป็นลักษณะเดียวกันหมด ถึงตอนนี้แล้วผมมั่นใจว่าปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมาไม่ได้เพาะพันธุ์ยากไปกว่าแรมหรือปลาหมอพันธุ์อื่นๆ หลายคนอ่านบทความนี้จบลงก็อาจจะเกิดความคิดว่า อุเหม่ ในเมื่อไอ้เจ้าอันโตนิโอมันสามารถเพาะปลาตัวจ้อยเช่นนั้นได้


จัดอุปกรณ์ต่างๆ ที่เตรียมไว้ รวมทั้ง ใส่ตะข่าย ที่กั้นแบ่งครึ่งตู้ เติมน้ำ ใส่เกลือ 1 กำมือ แล้วก็ใส่มาลาไคท์ เพื่อป้องกันโรค ในตู้ควรมี หัวฟู่ 1 อัน (ใช้ก้อนกลม) + ระบบ กรองฟองน้ำเพื่อดักฝุ่นละออง ขี้ปลาต่างๆ ให้วางกระถางสำหรับปลาวางไข่ ไว้ตรงมุมตู้ นอกจากนี้ ให้นำกระดาษมา ปิดด้านนอก ของกระจก ในบริเวณ ดังกล่าว เพื่อกันปลาตกใจ

•ฮีทเตอร์ นั้นจริงๆ แล้วไม่ต้องใส่ก็ได้ แต่เพื่อเป็นการป้องกัน ลูกปลา ล้มตาย เพราะอุณหภูมิเปลี่ยน โดยส่วนตัวนั้นผมจะตั้งไว้ที่ 28 องศาครับ

เมื่อถึงขั้นตอน จับปลาใส่ตู้ ให้ตัวเมียอยู่ด้านที่เราวาง กระถาง นอกจากนี้ ควรสังเกต ว่าตัวเมียขุดรังตรงไหนด้วย หากขุดที่อื่นนอกกระถาง ก็ให้ย้ายกระถางไปตรงบริเวณนั้น ในช่วงนี้ตัวผู้จะคึกมาก จะว่ายไปทั่วแล้วก็จะมีอาการส่ายหัวไปมา จะลองยกที่กั้นออกตั้งแต่วันแรกเลยก็ได้ แต่ต้องนั่งดูไปเรื่อยๆ ถ้าทั้งสองตัวช่วยกันใช้ปากขุดรัง แล้วก็ยังไม่กัดกัน นั้นก็แสดงว่าเข้าคู่กันแล้วครับ ปล่อยไว้ได้เลย

ในระหว่างเพาะพันธุ์ การให้อาหารนั้นควรให้แต่น้อย พยายามอย่าให้เหลือในช่วงนี้ อย่าให้น้ำขุ่น ไม่ควรให้กุ้งฝอย เป็นๆ เพราะบางครั้ง กุ้งนั้นรอด และอาจจะไปทำอันตรายไข่ได้ครับ ควรให้อาหารเม็ดหรืออย่างอื่นจะดีกว่า นอกจากนี้ ผมชอบให้ หนอนแดง มีพี่เขาบอกมาว่า เป็นการบำรุงเชื้อตัวผู้ครับ ทำให้ฉีดเชื้อดี เมื่อปลาไข่

ระหว่าง การเพาะพันธุ์ ถ้าหากปลายังไม่ไข่ สามารถเปลี่ยนน้ำได้ครับ
•วิธีดู ไข่ปลาว่าติดไม่ติด

เมื่อปลาวางไข่ แล้ว ควรปล่อยให้ ปลาทั้งคู่ อยู่ด้วยกัน สัก 24 ชม. ก่อน แล้วค่อยแยกตัวผู้ออก เวลาแยก ต้องทำอย่างค่อย อย่ากวนน้ำ อย่าให้ปลาตื่น โดยปกติแล้วตัวเมีย จะดูแลไข่ แต่บางตัวก็กินไข่ จะแยกหรือไม่แยกก็แล้วแต่ครับ โดยปกติ แล้ว ไข่ปลาจะฟักเป็นตัวภายใน 3 วัน

ในวันที่ ไข่เริ่มเป็นจุดดำ หรือเป็นเม็ดสาคู ผมนิยมที่จะแยกปลาตัวเมียออก แล้ว ใช้หัวฟู่มาวางใกล้ๆ แทน เมื่อลูกปลาฟักออกจากไข่นั้น ยังไม่สามารถว่ายน้ำได้ ก็จะนอนดิ้นอยู่ในกระถาง หรือ พื้นตู้ บางครั้งจะมีไข่ที่ฝ่อ ถ้ามากก็ให้ยกกระถางออก แล้วก็ใช้มือพัดน้ำ ค่อยๆ นะ ให้ลูกปลาที่อยู่ในกระถางหลุดออกไป แต่ถ้ามีน้อยจะปล่อยไว้ก็ได้ครับ และเมื่อได้ 3-4 วัน ลูกปลาจะเริ่มบิน (ว่ายน้ำ) ยังไม่ต้องให้อาหารครับ ลูกปลาในระยะนี้ จะมีถุงไข่อยู่จะให้ก็เมื่อถุงไข่หมดไปแล้ว คือ ประมาณหลังจากปลาว่ายน้ำได้ 3 วันโดยประมาณ
•อาหารลูกปลา

•สาหร่าย Spirulina ชนิดผง หาซื้อได้ที่สวน จตุจักร มีเป็นกระปุก ราคาไม่เกิน 50 บาท และมี ที่ขายเป็นขีด ขีดละ 120 บาท ใส่ให้ลูกปลากินแต่ต้องระวังอย่าให้มากเกิน ให้แต่น้อย
•อาหารสำหรับลูกปลาพึ่งเกิด จะเป็นผงๆ ครับ ห่อเล็กๆ ไม่เกิน 30 บาท
•เต้าหู้ไข่ไก่ หั่น บางๆ ใส่ให้ลูกปลากิน (ผมนิยมอันนี้มาก เพราะจากที่สังเกต มาลูกปลาชอบกิน)
•ไข่ไก่ต้ม ใช้แต่ไข่แดง
•ไรแดง ควรกรองก่อนให้นะครับโดยการใช้กระชอนตาถี่ ร่อนให้แต่ตัวเล็ก หลุดลงตู้ ให้อย่างนี้สัก 3-4 วันก็ให้ตามปกติได้เลย ( อันนี้ก็ดีมากครับ ลูกปลาจะโตไว ถ้าหากไม่ขาดให้เป็นอย่างเดียว จะดีมากหากมีเวลาไปซื้อ )
เมื่อลูกปลาได้อายุประมาณ 10 วัน หรือ เริ่มตัวโตมีปากที่ใหญ่ขึ้น ก็ให้กินไส้เดือนได้ โดยใส่ไส้เดือนไว้ในกรวยแปะไว้ข้างตู้ ใส่ไว้ให้เต็มกรวย ไส้เดือนนั้นสามารถให้ได้ถึงโต และพวกลูกปลาจะชอบกินมาก ในช่วงนี้พยายามอย่าให้ลูกปลาขาดอาหาร เพราะปลาในช่วงนี้ถ้าอาหารถึงลูกปลาจะโตไวมากครับ

เรื่องของน้ำในช่วงนี้ ผมลืมบอกไปว่า เมื่อนำตัวเมียออกแล้วให้ลดน้ำสัก 30% น้ำ ในช่วงนี้ก็จะได้กรองฟองน้ำ คอยกรองน้ำอยู่ และเมื่อลูกปลาเริ่มโตขึ้น ก็ให้ค่อยๆ เพิ่มระดับ น้ำ ให้สูงขึ้น ตามความเหมาะสม ในช่วงนี้ไม่ควรเปลี่ยนน้ำ ถ้าหากน้ำเริ่มขุ่นๆ ให้หยิบกรองฟองน้ำขึ้นมาทำความสะอาด แล้วก็ใส่กลับลงไป เมื่อลูกปลาได้ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ก็สามารถเริ่ม เปลี่ยนถ่ายน้ำได้ครับ แต่ไม่ควรเปลี่ยนทีเดียว หมดตู้ ลูกปลาจะน็อคน้ำให้เปลี่ยนทีละ 30% หรือ ครึ่งตู้ แล้วก็ใส่มาลาไคท์ สัก 3-4 หยด

ตู้ทำปลานั้นไม่ควรที่จะมีทรายหิน อยู่ในตู้เพราะช่วงที่ปลาออกจากไข่นั้น ลูกปลาจะมุดพื้นครับ ถ้ามีหินกรวดอยู่ในตู้อาจทำให้ลูกปลาตาย และถ้าลูกปลาโตขึ้น หากมีจำนวนมากแน่นเกินไป ก็ควรที่จะ หาตู้ใส่ลูกปลาเพิ่มนะครับ เนื่องจากหากมีจำนวนมาก จะทำให้การแย่งอาหารกันและการโตจะไม่เท่ากัน กับปัญหาเรื่องน้ำขุ่นมาก ก็ประมาณนี้ครับ เป็นวิธีที่ผมคิดว่าคงจะไม่ยากนะ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่สูตรตายตัว สามารถนำไปปรับ แต่ตามความเหมาะสมได้ครับ และก็ขออภัย เพื่อนๆ พี่ๆ มา ณ ที่นี้ด้วยหากผมผิดพลาดประการใดนะครับ

9.27.2554


เป็นปลาหนัง (ปลาไม่มีเกล็ด) รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวแบนข้างมากส่วนหัวมักแบนราบหรือแบนข้างในบางชนิด ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กและแหลมขึ้นบนขากรรไกรและเป็นแผ่นบนเพดาน มีหนวด 2-3 คู่ครีบก้นยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว ไม่มีครีบไขมัน ครีบหลังเล็กมาก ไม่มีก้านครีบแข็งแหลมที่ครีบอกและครีบหลัง ครีบหางเว้าตื้นหรือเป็นแฉก ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบท้องเล็ก กินเนื้อ ได้แก่ แมลงขนาดเล็ก, ปลาขนาดเล็ก, กุ้งฝอย สัตว์หน้าดินต่างๆ วางไข่แบบจมติดกับวัสดุใต้น้ำ กระจายพันธุ์ไกล พบตั้งแต่ยุโรป, เอเชียตอนบน, อินเดียไปจนถึงอินโดนีเชีย เป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย, กัมพูชา เฉพาะที่พบในประเทศไทยมีราว 30 ชนิด ชนิดที่เล็กสุดคือ ก้างพระร่วง (Krytopterus bicirrhis) ที่มีความยาวราว 10 ซม. นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และชนิดใหญ่ที่สุดคือ เค้าขาว (Wallago attu) ใหญ่ได้ถึง 2 เมตร
•1.ก้างพระร่วง
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Krytopterus bicirrhis อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน Siluridae มีลักษณะลำตัวเพรียวยาวและแบนข้างมาก ตัวโปร่งใส จนสามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน อาจกล่าวได้ว่าเป็น " ปลาที่ตัวใสที่สุดในโลก " ก็ว่าได้ มีหนวดคู่ 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง โดยหนวดคู่บนจะยาวกว่าคู่ล่างมาก ครีบหลังมีขนาดเล็กและสั้นมากจนแทบมองไม่เห็น ครีบทวารเป็นแนวยาวจรดโคนหาง หางมีลักษณะเว้าลึก อาศัยอยู่ตามแม่น้ำและลำธารที่มีกระแสน้ำไหลแรงในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ของ ประเทศ โดยปลาที่พบในแม่น้ำลำคลองตัวจะมีสีขุ่นกว่าที่พบในแหล่งน้ำบริเวณเชิงเขา เชื่อว่าสาเหตุเพราะปลาต้องปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเพื่อหลีกเลี่ยง ศัตรู ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10 ซ.ม. พบใหญ่ที่สุดราว 15 ซ.ม.
อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่จำนวน 100 ตัวขึ้นไป ชอบเกาะกลุ่มในแหล่งน้ำไหล โดยจะลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ และหันหน้าสู้กระแสน้ำไปในทิศทางเดียวกันหมด เป็นปลาขี้ตื่นตกใจมาก เมื่อตกใจจะว่ายกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง จากนั้นก็จะกลับมาเกาะกลุ่มตามเดิม อาหารได้แก่ แมลงน้ำขนาดเล็กและแพลงก์ตอนสัตว์
ก้างพระร่วง เป็นปลาเนื้ออ่อนที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค และขึ้นชื่อมานาน โดยเป็นปลาส่งออกด้วย มีปรัมปราเล่ากันว่า พระร่วงได้ เสวยปลาชนิดนี้จนเหลือแต่ก้าง จึงทิ้งลงน้ำและกล่าววาจาสัจว่าขอให้ปลาตัวนี้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา จึงได้ชื่อว่า " ก้างพระร่วง " นับแต่นั้นมา นอกจากชื่อก้างพระร่วงแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า ผี, ก้าง, กระจก, เพียว เป็นต้น
นอกจากก้างพระร่วงชนิด Krytopterus bicirrhis แล้วยังมีก้างพระร่วงอีกชนิดหนึ่งที่มีความใกล้เคียงกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Krytopterus macrocephalus โดยก้างพระร่วงชนิดนี้จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า หนวดยาวกว่า อาศัยอยู่เฉพาะป่าพรุโต๊ะแดง ที่จังหวัดนราธิวาส เท่านั้น มีลำตัวที่ขุ่นทึบกว่า โดยมีอุปนิสัยและพฤติกรรมเหมือนกัน ปลาก้างพระร่วงชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า ก้างพระร่วงป่าพรุ หรือ เพียวขุ่น


เป็นปลาที่อยู่ในอันดับ (Order) Osteoglossiformes คือ ปลาที่มีกระดูกแข็งบริเวณส่วนหัวและลิ้น พบตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งสิ้น 4 สกุล (Genus) 8 ชนิด (Species) ปลาในอันดับนี้ เช่น ปลาตะพัดเป็นต้น พบในประเทศไทย 4 ชนิด คือ ปลากราย, ปลาตองลาย, ปลาสะตือ และปลาสลาด โดยในไทยมักจะเรียกปลาทั้ง 4 ชนิดนี้ว่า ปลาตอง รวมกันหมด เป็นปลาน้ำจืด มีรูปร่างแบนด้านข้างมาก และเรียวไปทางด้านท้าย ครีบหลังเล็ก ครีบก้นและครีบหางยาวติดกัน จึงใช้ครีบก้นที่ยาวติดกันนี้โบกพริ้วในเวลาว่ายน้ำ ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ปากกว้าง เกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ (Cycloid) และมีขนาดเล็กละเอียด กินเนื้อ เมื่อวางไข่ตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่ ไข่เป็นก้อนสีขาวทึบ ติดเป็นกลุ่มกับวัสดุใต้น้ำเช่นตอไม้หรือเสาสะพาน
•ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata (เดิม Notopterus chitala)
อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 ก.ก.
มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กพบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน


และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก (Albino) หรือสีทอง ขาว (Platinum) หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ (Short Body) มีชื่อเรียกอื่น เช่น " หางแพน " ในภาษากลาง " ตอง " ในภาษาอีสาน " ตองดาว " ในภาษาเหนือ เป็นต้น

8.10.2554


ปูมะพร้าว (อังกฤษ: Coconut Crab, ชื่อวิทยาศาสตร์: Birgus latro) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นปูที่วิวัฒนาการมาจากปูเสฉวน และเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน กิตติศัพท์ที่ว่าปูมะพร้าวสามารถเจาะลูกมะพร้าวด้วยก้ามอันทรงพลังนั้นเป็นที่รู้จักกันดี ในบางครั้งปูมะพร้าวถูกเรียกว่า ปูปล้น หรือ ปาล์มขโมย (ภาษาเยอรมัน: Palmendieb) ทั้งนี้เนื่องจากปูมะพร้าวมักจะขโมยข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านที่ส่องประกาย อย่างเช่น หม้อ หรือถ้วยสแตนเลส บางคนเรียกปูมะพร้าวว่า ปูเสฉวนบก แต่อันที่จริงนอกจากปูมะพร้าวแล้ว ยังมีปูชนิดอื่นอีกที่จัดได้ว่าเป็นปูเสฉวนบกเช่นกัน นอกจากนี้ ปูมะพร้าวอาจมีชื่อเรียกต่างกันไปอีกในแต่ละที่ เช่น ที่เกาะกวม เรียกปูมะพร้าวว่า อายูยู
ขนาดตัวของปูมะพร้าวนั้นหลากหลาย ตัวเต็มวัยของปูมะพร้าวสามารถเจริญเติบโตจนมีน้ำหนัก 4 กิโลกรัม และความยาวของลำตัว 40 เซนติเมตร แต่ถ้านับรวมช่วงขาแล้วจะยาวถึง 1 เมตรได้ทีเดียว โดยทั่วไปตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีรายงานว่ามีการพบปูมะพร้าวที่หนักถึง 17 กิโลกรัม และมีความยาวของลำตัว 1 เมตร ซึ่งเป็นที่เชื่อว่านี่คือขนาดตัวที่ใหญ่ที่สุดที่เป็นไปได้ของสัตว์ขาปล้องที่อยู่บนบก ปูมะพร้าวมีอายุประมาณ 30-60 ปี

ลำตัวของปูมะพร้าวก็เหมือนกับสัตว์ทศบาททั่วไป คือประกอบด้วยส่วนหัวอก (เซฟาโลโทแรกซ์) และส่วนท้อง ที่มี 10 ขา ขาคู่หน้าสุดของปูมะพร้าวเป็นก้ามขนาดใหญ่ ใช้สำหรับเจาะลูกมะพร้าว และสามารถยกน้ำหนักได้ถึง 29 กิโลกรัม ขาอีกสามคู่ถัดมามีลักษณะคล้ายแหนบ ใช้สำหรับเดินและปีนป่าย (ปูมะพร้าวสามารถใช้ขาทั้งสามคู่นี้ไต่ต้นมะพร้าวได้สูงถึง 6 เมตร) ส่วนขาคู่สุดท้ายนั้นเล็กมาก ใช้สำหรับทำความสะอาดอวัยวะหายใจ ขาคู่นี้มักจะอยู่ในกระดองตรงช่องที่บรรจุอวัยวะหายใจ

แม้ปูมะพร้าวจะวิวัฒนาการมาจากปูเสฉวน แต่มีเพียงตัวอ่อนของปูมะพร้าวเท่านั้นที่ต้องการเปลือกหอยมาปกป้องส่วนท้อง ตัวเต็มวัยของปูมะพร้าวสามารถสร้างส่วนท้องที่แข็งแรงขึ้นได้ด้วยไคติน และชอล์ค เปลือกแข็งที่ส่วนท้องนี้ช่วยป้องกันอันตรายและลดการเสียน้ำบนพื้นดิน ปูมะพร้าวจะลอกคราบเปลือกแข็งนี้ทุกๆ ช่วงเวลาหนึ่ง (ประมาณ 1 ปี) การลอกคราบครั้งหนึ่งใช้เวลาประมาณ 30 วัน โดยช่วงที่ลอกคราบเสร็จใหม่ๆ ส่วนท้องของปูมะพร้าวจะอ่อนแอ และต้องการการป้องกัน

ปูมะพร้าวมีอวัยวะพิเศษสำหรับหายใจ เรียกว่า branchiostegal lung อวัยวะนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นครึ่งเหงือกครึ่งปอด ตั้งอยู่ด้านหลังของส่วนหัวอก มีเนื้อเยื่อคล้ายเหงือก แต่เนื้อเยื่อนี้ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซจากในอากาศ ไม่ใช่ในน้ำ ปูมะพร้าวมีเหงือกอยู่เหมือนกัน แต่เหงือกนี้ก็ไม่สามารถรับออกซิเจนได้มากนัก จึงไม่มีประโยชน์อะไร เหงือกนี้น่าจะเป็นสิ่งหลงเหลือจากวิวัฒนาการมากกว่า ปูมะพร้าวจึงว่ายน้ำไม่เป็น และอาจจะจมน้ำตายได้ถ้าอยู่ในน้ำนานๆ
อาหารหลักของปูมะพร้าวคือผลไม้ โดยเฉพาะมะพร้าว อย่างไรก็ดี อะไรอย่างอื่นที่เป็นชีวภาพ ปูมะพร้าวสามารถกินได้หมด ไม่ว่าจะเป็น ใบไม้ ผลไม้เน่า ไข่เต่า ซากสัตว์ และเปลือกของสัตว์อื่นๆ ปูมะพร้าวอาจกินสัตว์อื่นเป็นๆ ที่เคลื่อนไหวช้า เช่น เต่าทะเลที่เพิ่งฟักออกจากไข่ เป็นต้น บ่อยครั้ง ปูมะพร้าวชอบที่จะขโมยอาหารจากปูมะพร้าวตัวอื่น และเอาอาหารลงไปกินในรูของมัน

ปูมะพร้าวชอบปีนต้นไม้เพื่อหาอาหาร นอกจากนั้นยังเพื่อหลบร้อนและหลีกภัย บางคนเชื่อว่าปูมะพร้าวตัดลูกมะพร้าวจากต้นแล้วลงมากินที่พื้น แต่นักชีววิทยาชาวเยอรมัน โฮลเกอร์ รัมพ์ฟ บอกว่าปูมะพร้าวไม่ได้ฉลาดพอที่จะคิดแผนการได้ถึงขนาดนั้น มันเพียงบังเอิญทำลูกมะพร้าวหล่นตอนที่จะกินลูกมะพร้าวบนต้นเท่านั้นเอง ถ้าไม่นับมนุษย์แล้ว ถือว่าปูมะพร้าวเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวในอาณาจักรสัตว์ที่สามารถเจาะลูกมะพร้าวและกินเนื้อมะพร้าวข้างในได้

ปูม้า


ปูม้า (อังกฤษ: flower crab, blue crab, blue swimmer crab, blue manna crab, sand crab, ชื่อวิทยาศาสตร์: Portunus pelagicus) จัดเป็นปูที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Portunus ซึ่งพบทั้งหมด 90 ชนิดทั่วโลก และพบในน่านน้ำไทยราว 19 ชนิด[
ลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนตัว, อก และท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหุ้มอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองจะเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ด้วยกัน คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2, 3 และ 4 จะมีขนาดเล็กปลายแหลมใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้ายตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำ ขนาดกระดองสามารถโตเต็มที่ได้ราว 15-20 เซนติเมตร

สำหรับปูม้าในประเทศไทยสามารถพบได้แทบทุกจังหวัดทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย โดยอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำและแถบชายฝั่งทะเล

ปูม้าตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันที่จับปิ้งและสี ตัวผู้มีก้ามยาวเรียวกว่า มีสีฟ้าอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปบนกระดองและก้าม พื้นท้องเป็นสีขาว จับปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวสูง ตัวเมียจะมีก้ามสั้นกว่ากระดองและก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวประทั่วไปทั้งกระดองและก้าม เมื่อถึงฤดูกาลวางไข่ ปูม้าตัวเมียจะมีไข่ติดอยู่บริเวณระยางค์ซึ่งเคยเป็นขาว่ายน้ำในระยะวัยอ่อน โดยในระยะแรกไข่จะอยู่ภายในกระดองต่อมากระดองทางหน้าท้องเปิดออกมาทำให้สามารถเห็นไข่ชัดเจน จึงมักเรียกปูม้าในระยะนี้ว่าปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง ไข่นอกกระดองนี้ในขณะที่เจริญแบ่งเซลล์อยู่ภายในเปลือกไข่ สีของไข่จะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองอมส้มเป็นสีเหลืองปนเทา สีเทาและสีเทาอมดำ ปูม้าที่มีไข่สีเทาอมดำนั้นจะวางไข่ภายใน 1-2 วัน
ปูม้า นับเป็นปูอีกชนิดหนึ่งที่มนุษย์ใช้ปรุงเป็นอาหารเช่นเดียวกับปูดำ (Scylla serrata) หรือปูทะเล โดยใช้ปรุงได้ทั้งอาหารยุโรป, อาหารจีน, อาหารญี่ปุ่นและอาหารไทย สำหรับอาหารไทยนั้นยังอาจปรุงเป็นส้มตำปูม้าได้อีกด้วย

ปูม้า จึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐ คือ กรมประมงได้ทำการเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงและส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไทยเลี้ยงในเชิงพาณิชย์


ปูจั๊กจั่น (อังกฤษ: Red Frog Crab, Spanner Crab, Kona Crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ranina vanima) เป็นปูในวงศ์ Raninidae ถิ่นที่อยู่ตั้งแต่หมู่เกาะฮาวาย, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, ไทย จนไปถึงหมู่เกาะอินโดนีเซีย และ แอฟริกาตะวันออก จัดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ranina

มีกระดองทรงรีรูปไข่กว้างทางด้านข้างขอบกระดอง ด้านหน้ามีหนามแหลม เป็นกลุ่มจำนวน 7 กลุ่ม กลุ่มละ 3 อัน ด้าน บนมีหนามแหลมแข็งขนาดเล็ก ปลายหนามชี้ไปทางส่วนหัว ปกคลุมทั่วไป มีก้านตายาว และตั้งขึ้นสามารถพับเก็บลงในร่องทางด้านหน้าไต้กระดองตากระเปาะทรงรีอยู่ปลายก้านตา มีหนวด 2 คู่ ขนาดเล็กสั้นหนวดข้างหนึ่งแยก 2 เส้น ส่วนอีกคู่หนึ่งมีฐานเป็นแผ่นแข็งมีขนขึ้นโดยรอบ ระยางค์ปากมีขนาดใหญ่แข็งแรง มีก้ามหนีบขนาดใหญ่ ปลายก้ามหันเข้าหากัน ฟันในส่วน ของก้ามหนีบด้านละ 6-7 อัน มีขาเดิน 4 คู่ สองคู่แรก มีปลายคล้ายใบหอก ส่วนสองคู่หลัง ปลายแบนคล้ายพาย ลักษณะลำตัวเป็นปล้อง 6 ปล้อง ขนาดเล็กต่อจากปลายกระดองม้วนด้านล่าง ปล้องสุดท้ายมีแพนหางรูปสามหลี่ยม ตอนท้ายมีขาว่ายน้ำ 1 คู่ ลำตัวด้านล่างมีสันนูน (เพศเมียจะเห็นได้ชัดเจน) มีขาสีน้ำตาลค่อน ข้างรอบขอบกระดอง เพศผู้จะเห็นชัดเจนลำตัวกับขาเดิน มีสีส้มอมแดงหรือน้ำตาล ส่วนท้องมีสีขาวขอบกระดอง หน้าและหลังมีสีขาวเช่นเดียวกัน ตามีหลายสี เช่น ดำ, เหลือง หรือน้ำตาล

มีความยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร (ตัวผู้ประมาณ 7-14 เซนติเมตร ตัวเมียประมาณ 5-8 เซนติเมตร)

พบตามชายฝั่งที่เป็นโขดหิน แหล่งที่อยู่อาศัยชอบหมกตัวกับพื้นที่เป็นทรายรอบกองหินหรือแนวหินใต้น้ำระดับน้ำลึกประมาณ 60 เมตร กินอาหารที่เป็นซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย

เป็นปูที่นิยมใช้รับประทานเป็นอาหาร


ปลากระเบนราหูแปซิฟิก หรือ ปลากระเบนแมนตา (อังกฤษ: Manta Ray) หรือ ปลากระเบนปีศาจ (Devil Ray) เป็นปลากระดูกอ่อนเช่นเดียวกับปลาฉลาม จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก (ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร หรือ 22 ฟุต มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม หรือ 3,000 ปอนด์ อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ แนวปะการัง

โดยทั่วไปปลากระเบนแมนตาจะมีหลังสีดำและท้องสีขาว แต่อาจพบตัวที่มีหลังสีฟ้าได้บ้าง ตาอยู่อยู่บริเวณข้างหัว และต่างจากกระเบนทั่วไป ปากอยู่ทางด้านหน้าของหัว มีช่องเหงือก 5 คู่ เหมือนกระเบนทั่วไป

ครีบหูพัฒนาเป็น ติ่งลักษณะคล้ายเขา หรือที่เรียกว่าครีบหัว (ลักษณะดังกล่าวทำให้กระเบนชนิดนี้มีอีกชื่อว่ากระเบนปิศาจ) อยู่บริเวณด้านหน้าของหัวแบน ๆ ครีบดังกล่าวเจริญขึ้นในช่วงตัวอ่อน เลื่อนมาอยู่รอบปาก ทำให้เป็นหนึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังมีขากรรไกร ที่มีรยางค์พิเศษอันเป็นที่รู้จักมากที่สุดชนิดหนึ่ง (อีกชนิดคือ เต่าหก ((Manouria emys)) โดยเขาที่อ่อนนุ่มนี้มีไว้สำหรับโบกพัดเอาน้ำเข้าปาก เพื่อกินแพลงก์ตอน และเพื่อจะฮุบน้ำจำนวนมากต้องว่ายอ้าปากและพัดอาหารเข้าปากอยู่เสมอ

ปลากระเบนแมนตาเคยหาอาหารตามพื้นท้องทะเลมาก่อน ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นกรองกินแพลงก์ตอนตามทะเลเปิดในปัจจุบัน ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้จนมีขนาดใหญ่มากกว่าปลากระเบนชนิดอื่น ๆ

ลักษณะการกรองกินทำให้ฟันลดขนาดลงเป็นซี่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่แอบอยู่ใต้ผิว คล้ายกับกระเบนทั่วไป กระเบนราหูมีหางเป็นเส้นยาว แต่หากปราศจากเงี่ยงที่ส่วนหาง และเกล็ดแหลมหุ้มลำตัวก็มีขนาดเล็กลง แทนที่ด้วยเมือกหนาหุ้มร่างกาย ส่วน spiracle มีขนาดเล็กและไม่ทำหน้าที่ น้ำทั้งหมดไหลเข้าสู่ปากแทน

เพื่อการว่ายน้ำที่ดี ปลากระเบนแมนตาวิวัฒนาการรูปร่างร่างกายให้เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และมีการพัฒนาครีบให้คล้ายปีกสำหรับโบยบินในท้องทะเล ขนาดตัวยักษ์ใหญ่และความเร็วชนิดใกล้เคียงจรวด ทำให้ปลากระเบนแมนตามีศัตรูตามธรรมชาติน้อยมาก โดยที่ศัตรูของปลากระเบนแมนตาในน่านน้ำไทยกลุ่มเดียว คือวาฬเพชรฆาต (Orcinus orca) และวาฬเพชรฆาตเทียม (Pseudorca crassidens) แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน

โดยปกติแล้วกินแพลงก์ตอน, ตัวอ่อนปลา และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั่วไปโดยการกรองน้ำที่ไหลเข้าสู่ปากโดยใช้ซี่เหงือก ซึ่งเรียกว่า ram-jet

ในเชิงอนุกรมวิธานแล้ว ปลากระเบนแมนตายังมีการจัดจำแนกที่ไม่ชัดเจน โดยอาจแบ่งได้ถึง 3 ชนิดที่มีการจัดนำแนกไว้ ได้แก่ Manta birostris, Manta ehrenbergii และ Manta raya โดยชนิดแรกสุดมีขนาดเล็กกว่า และสองชนิดหลังนั้นอาจเป็นเพียงประชากรที่แยกตัวกันมานานแสนนาน เดิมทีแล้ว สกุลของปลากระเบนแมนตาถูกจัดอยู่ในวงศ์ Mobulidae แต่ในปัจจุบันถือเป็นวงศ์ย่อยในวงศ์ Myliobatidae ซึ่งมีปลากระเบนนกเป็นปลาร่วมวงศ์ และทำให้ปลากระเบนแมนตา เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Manta

สามารถถูกพบเห็นได้บ่อยตามแนวปะการังของมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะหมู่เกาะมัลดีฟส์, หมู่เกาะสุรินทร์ รวมไปถึงหมู่เกาะสิมิลันของไทย โดยเฉพาะ หินแดง, เกาะบอน, เกาะตอรินลา, และเกาะตาชัย พบได้บ่อยในทางด้านอ่าวไทยเช่นกัน เช่น หินใบ, เกาะพงัน และกองหินโลซินอันห่างไกล

ปลากระเบนแมนตาเป็นปลาอีกชนิดที่นักดำน้ำต้องการที่จะพบเห็นมากที่สุด ซึ่งมักจะถูกพูดถึงร่วมกับปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) เสมอ

นอกจากนี้ ปลากระเบนแมนตายังเป็นปลากระเบนเพียงไม่กี่ชนิด ที่ไม่มีเงี่ยงพิษที่โคนหางเหมือนปลากระเบนชนิดอื่น ๆ

Giant freshwater whipray


ปลากระเบนราหู (อังกฤษ: Giant freshwater whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลากระเบนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากปลากระเบนแมนตา (Manta birostris) ที่พบได้ในทะเล โดยสามารถหนักได้ถึง 600 กิโลกรัม กว้างได้ถึง 2.5-3 เมตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura chaophraya เป็นปลากระเบนที่อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) ซึ่งเป็นปลากระเบนชนิดที่มีหางเรียวยาวเหมือนแส้ ได้ชื่อว่า "ราหู" เนื่องจากขนาดลำตัวที่ใหญ่เหมือนราหูอมจันทร์ตามคติของคนโบราณ มีลักษณะส่วนปลายหัวแหลม ขอบด้านหน้ามนกลมคล้ายใบโพ ลักษณะตัวเกือบเป็นรูปกลม ส่วนหางยาวไม่มีริ้วหนัง มีเงี่ยงแหลมที่โคนหาง 2 ชิ้น ซึ่งในปลาขนาดใหญ่อาจยาวได้ถึง 8-10 นิ้ว เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกขึ้นได้ กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ด้านบนของปีกและตัวเป็นสีเทาหรือน้ำตาลนวล หางสีคล้ำ ด้านล่างของตัวมีสีขาวนวล ที่ขอบปีกด้านล่างเป็นด่างสีดำ อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ จนถึงบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ พบครั้งแรกในแม่น้ำเจ้าพระยา จึงถูกตั้งชื่อชนิด ว่า "เจ้าพระยา" (chaophraya) และยังพบในแม่น้ำสายอื่น ๆ เช่น แม่น้ำแม่กลอง, บางปะกง, แม่น้ำโขง, บอร์เนียว, นิวกินี จนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ

โดยปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ และอาจมีน้ำหนักที่มากกว่าได้ถึง 80 เท่า เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาที่ออกมาใหม่นั้นจะมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร และมีปลอกหุ้มเงี่ยงหางเอาไว้ เพื่อมิให้ทำอันตรายต่อแม่ปลา ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว สันนิษฐานว่าที่ต้องมีขนาดตัวใหญ่เช่นนี้ พื่อมิให้ตกเป็นอาหารของนักล่าชนิดต่าง ๆ ในแม่น้ำ

ปลากระเบนราหู ถูกอนุกรมวิธานในปี ค.ศ. 1990 โดย ศ.ดร.สุภาพ มงคลประสิทธิ์ อดีตคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.ไทสัน โรเบิร์ตส์ แห่งสถาบันกองทุนสัตว์ป่าโลก

ปลากระเบนราหูมักถูกพบจับขึ้นมาชำแหละขายเสมอในจังหวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ชัยนาทจนถึงอยุธยา และปากแม่น้ำแม่กลอง ตามที่ปรากฏเป็นข่าวบ่อย ๆ ตามหน้าสื่อหนังสือพิมพ์

จัดเป็นปลาน้ำจืดไทยอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์

7.08.2554


ปลาหมอสีนกแก้ว (Parrot Cichlid) ปลาหมอนกแก้วมีดวงตากลมโต ลูกตาดำใหญ่ ปากครุท คล้ายนกแก้ว ลำตัวกลม ป้อม สั้น อุปนิสัยเป็นปลาที่ค่อนข้างเกเร ต่อปลาอื่นๆ เพราะหวงถิ่น มักไล่ชนปลาเล็กกว่า หรือปลาอื่นๆ แต่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่ ขนาดเท่ากันได้ เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ทน และแข็งแรง


การเลี้ยงควรจัด สถานที่เลี้ยง หรือตู้ ให้โล่งๆ ตกแต่งด้วยหินขนาดใหญ่ และขอนไม้ เพราะปลานกแก้วเป็น ปลาที่ชอบขุดคุ้ย สร้างโพรง จึงควรใส่ภาชนะดินเผา ประเภทหม้อ ไห เพื่อให้ปลาได้อาศัย

การให้อาหาร ให้กุ้งฝอย หรือ ไรทะเล อาหารที่มีโปรตีนสูง จะทำให้สีปลาสด กินอาหารได้ทุกอย่าง ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอาหารเม็ด หรืออาหารสด โตไว

สีของปลาหมอนกแก้ว มีหลายสีแตกต่างกันออกไป ทั้งเกิดจากการฉีดสี และสีธรรมชาติ สีแดงสด เรียกว่า เรดบลัดแพรอท สีแดงอมม่วง เรียกว่า เพอเพิลบลัดแพรอท ส่วนนกแก้วที่มี การตัดต่อสายพันธุ์ ทีไม่มีหางลักษณะ รูปหัวใจเรียกว่า เลิฟฮาร์ดแพรอท (นกแก้วเลิฟ)


งูจงอาง (อังกฤษ: King Cobra) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูพิษขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 2.5 - 4 เมตร จัดเป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ซึ่งตัวที่ยาวเป็นสถิติโลกมีความยาวถึง 5.59 เมตร เป็นงูจงอางไทย ถูกยิงได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2467 น้ำหนักประมาณ 6 - 10 กิโลกรัม มีลูกตาดำและกลม หัวใหญ่กลมทู่ สามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า ลำตัวเรียวยาว ว่ายน้ำเก่ง มีหลายสีแต่โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลแดงอมเขียว ท้องมีสีเหลืองจนเกือบขาว มีสีแดงเกือบส้มที่บริเวณใต้คอ มีพิษร้ายแรงแต่ไม่เท่างูเห่า มีผลทางระบบประสาท (Neurotoxin) ที่รุนแรง พิษของงูจงอางสามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้[3] โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 75%เนื่องจากปริมาณพิษที่ฉีดออกจากเขี้ยวพิษมีมาก งูจงอางมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย แต่ถ้าไม่จวนตัวหรือถูกรุกรานก่อนจะไม่ทำร้าย อาหารของงูจงอางคืองูอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า กบหรือตะกวดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเช่นหนู เป็นต้น

งูจงอางจัดอยู่ในสกุล Ophiophagus ซึ่งเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้ โดยมีรากศัพท์จากภาษาละตินมีความหมายว่า "กินงู" ซึ่งหมายความถึงการล่าเหยื่อของงูจงอาง เพราะงูในสกุลนี้ กินงูอื่นเป็นอาหาร พบในประเทศไทย ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีมากในป่าจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา และในป่าทุกภาค แต่ชุกชุมทางภาคใต้มากที่สุด[6] ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
งูจงอางเป็นงูพิษที่มีลักษณะหัวกลมมน เกล็ดบริเวณส่วนหัวใหญ่ มีเขี้ยว 2 เขี้ยวที่ขากรรไกรด้านบน หน้าตาดุดัน จมูกทู่ มองเผิน ๆ คล้ายกับงูสิงดง ที่บริเวณขอบตาบนมีเกล็ดยื่นงองุ้มออกมา ทำให้หน้าตาของงูจงอางมองดูแลดูดุและน่ากลัว ส่วนบริเวณท่อนหางจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด มีม่านตากลม ลำคอมีขนาดสมส่วน ลำตัวขนาดใหญ่เรียวยาว แผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า งูจงอางที่ยังไม่โตเต็มวัย จะมีขนาดลำตัวเท่ากับงูเห่าดงแต่จะยาวกว่า ทำให้คนทั่วไปที่พบเห็นและไม่เคยเห็นงูจงอางมาก่อน จะเข้าใจผิดว่าเป็นงูเห่าและเรียกว่างูเห่าดง

ตามปกติจะหากินที่พื้นดินแต่ก็สามารถขึ้นต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นงูที่ใช้วิธีการฉกกัดและรัดเหยื่อไม่เป็น ซึ่งไม่สมกับขนาดของลำตัวที่เพรียวยาว ปกติจะเลื้อยช้าแต่จะมีความว่องไวและปราดเปรียวเมื่อตกใจ ถ้าพบเจอสิ่งใดแล้วไม่หยุดชูคอขึ้น จะเลื้อยผ่านไปเงียบ ๆ แต่ถ้าขดตัวเข้ามารวมเป็นกลุ่มแล้วยกหัวสูงขึ้น แสดงว่าพร้อมจู่โจมสิ่งที่พบเห็น เวลาเลื้อยหัวจะเรียบขนานไปกับพื้น แต่เมื่อตกใจหรือโกรธสามารถยกตัวขึ้นชูคอได้สูงประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดความยาวลำตัว เทียบความสูงได้ในระดับประมาณเอวของคน จังหวะที่ยกตัวชูสูงขึ้นในครั้งแรกจะมีความสูงมากและค่อย ๆ ลดลงมาอยู่ในระดับปกติตามเดิม ไม่ส่งเสียงขู่ฟ่อ ๆ เมื่อมีสิ่งใดเข้าใกล้เช่นเดียวกับงูเห่า ที่สามารถพ่นลมออกจากทางรูจมูกซึ่งเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะของงูเห่าแผ่แม่เบี้ยได้เหมือนงูเห่าแต่จะแคบและไม่มีลายดอกจันที่บริเวณศีรษะด้านหลัง มีลายค่อนข้างจางพาดตามขวาง มีลักษณะเป็นบั้ง ๆ แทน

งูจงอางเป็นงูพิษที่สามารถต้านทานพิษงูชนิดอื่น ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม เช่น งูเห่า งูกะปะ เมื่อเกิดการต่อสู้และถูกกัดจะไม่ได้รับอันตรายจนถึงตาย แต่จะกัดและกินงูเหล่านั้นเป็นอาหารแทน งูจงอางมีเกล็ดพิเศษบนศีรษะจำนวน 1 คู่ อยู่บริเวณด้านหลังของเกล็ดกระหม่อม (Parietals) มีชื่อเรียกว่า Occipitals ซึ่งจะมีเฉพาะงูจงอางเท่านั้น มีถิ่นอาศัยอยู่ในป่า ไม่ปรากฏว่าพบตามสวนหรือไร่นา ทำรังและวางไข่ประมาณปีละครั้ง ครั้งละประมาณ 20 - 30 ฟอง ชอบทำรังในกอไผ่ กกและฟักไข่เองจนกว่าลูกงูจะเกิด

6.13.2554


เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากสิงห์จีนโดยประเทศญี่ปุ่น หลังของปลาจะโค้งมากกว่าสิงห์จีน มีวุ้นอยู่บนส่วนหัว แก้ม เหนือริมฝีปาก และที่คาง หลังของปลาจะต้องโค้งจนคนในวงการปลาเปรียบเทียบไว้ว่า หลังโค้งไข่ผ่าซีก ครีบหางต่อกับลำตัวเป็นมุมแหลมเฉียงขึ้น 45 องศา ครีบทวารมีทั้งเดี่ยวและคู่ มีสีแดงและขาวสลับแดง

ปลาทองหัวสิงห์สยาม (Siamese lionhead)



เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์ให้สวยขึ้นโดยประเทศไทย มีทรงและลักษณะเหมือนสิงห์ลูกผสม แต่มีสีทุกส่วนของลำตัวปลาเป็นสีดำทั้งหมด


ปลาทองออรันดาหัววุ้น..

ชื่อเป็นทางการคือ Dutch lionhead ส่วนผมก็เห็นด้วยกับชื่อนี้ที่ดูเหมือนหัวสิงโตอยู่ใ นทีชื่อออกไปทางฝั่งยุโรป อย่างอัศวินสีส้ม ฮอรันดา หรือ ดัช ด๊อย แต่คนที่คิดค้นผสมข้ามสายพันธุ์จนเกิดออรันดาหัววุ้น นี้ขึ้นมาคือคนญี่ปุ่นครับ

เหตุที่หยิบยืมชื่อประเท ศฮอลแลนน์มาอยู่ในชื่อน่าจะมาจากสีส้มทองอร่ามที่เป็ นลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้ครับ
โดยหลังจากการผสมข้ามส ายพันธุ์จนเกิดเป็นออรันดา หัววุ้นนี้ขึ้นมา โดยลักษณะเด่นของเค้าที่ถูกใจและสร้างความแปลกแตกต่า งจากสายพันธุ์อื่น

ก็คือ ลักษณะหัววุ้นที่เกิดขึ้นอย่างเด่นชัดครับถือเป็นจุด เด่นจุดขายและ การดูลักษณะทีดีของพันธุ์นี้อย่างหนึ่งเลย
โดยดูร่วม กันกับลักษระของความโค้งขอหลังและความสวยงามของครีบห ลัง ครีบท้องและ ครีบหาง ซึ่งยาวสลวยสวยเก๋ บานใหญ่เกิดความพลิ้วไหวโดยทางฝั่งญี่ปุ่นบางทีเค้าก ็เปรียบเทียบการเยื้องย่าง ว่ายเวียนของปลา
ทองที่ดีนั้นควรเปลี่ยนเหมือนสามงาม ที่สวยภายใต้ชุดกิโมโน เมื่อเวลาเดินก็เกิดการน่าดูชมครับ
สวยหากถ้าสังเกตุ ดีๆจะมีสีขาวป้ายแกมมาในส่วนปลาย ซึ่งเรียกความสนุกน่าชมไปอีกแบบครับ เหมือนเป็นไฮไล์แต่งแต้มเสริมให้กับสีสมพื้นไม่เบื่อ ตา

ลำตัวจะเป็นสีที่อ่อนลงมาใกล้สีทองมากๆ ซึ่งก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งที่ผมเห็นสำหรับปลาพัน ธุ์นี้ ทีดูน่ารักไปอีกแบบก็คือดวงตาเล็กๆจิ้มลิ้ม ขิขุอาโนเนะเหมือนเด็กเล็กๆที่เราต้องคอยประคมประหงม เวลาเลี้ยงปลาพันธุ์นี้ครับ
...์จนเกิดออรันดาหัววุ้นนี้ขึ้นมาคือคนญี่ปุ่นครับ เหตุที่หยิบยืมชื่อประเทศฮอลแลนน์มาอยู่ในชื่อน่าจะมาจากสีส้มทองอร่ามที่เป็นลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้ครับ โดยหลังจากการผสมข้ามสายพันธุ์จนเกิดเป็นออรันดา หัววุ้นนี้ขึ้นมา โดยลักษณะเด่นของเค้าที่ถูกใจและสร้างความแปลกแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ก็คือ ลักษณะหัววุ้นที่เกิดขึ้นอย่างเด่นชัดครับถือเป็นจุดเด่นจุดขายและ การดูลักษณะทีดีของพันธุ์นี้อย่างหนึ่งเลย โดยดูร่วมกันกับลักษระของความโค้งขอหลังและความสวยงามของครีบหลัง ครีบท้องและ ครีบหาง ซึ่งยาวสลวยสวยเก๋ บานใหญ่เกิดความพลิ้วไหวโดยทางฝั่งญี่ปุ่นบางทีเค้าก็เปรียบเทียบการเยื้องย่าง ว่ายเวียนของปลา ทองที่ดีนั้นควรเปลี่ยนเหมือนสามงามที่สวยภายใต้ชุดกิโมโน เมื่อเวลาเดินก็เกิดการน่าดูชมครับ สวยหากถ้าสังเกตุดีๆจะมีสีขาวป้ายแกมมาในส่วนปลาย ซึ่งเรียกความสนุกน่าชมไปอีกแบบครับ เหมือนเป็นไฮไล์แต่งแต้มเสริมให้กับสีสมพื้นไม่เบื่อตา ลำตัวจะเป็นสีที่อ่อนลงมาใกล้สีทองมากๆ ซึ่งก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งที่ผมเห็นสำหรับปลาพันธุ์นี้ ทีดูน่ารักไปอีกแบบก็คือดวงตาเล็กๆจิ้มลิ้ม ขิขุอาโนเนะเหมือนเด็กเล็กๆที่เราต้องคอยประคมประ

5.06.2554


1. เราสามารถฝึกสุนัขไม่ให้ขับถ่ายในบ้านได้ เพราะโดยธรรมชาติของสุนัขแล้วมันจะชอบที่จะขับถ่ายที่ที่มันขับถ่ายอยู่เป็นประจำ มันจะไม่ขับถ่ายบริเวณที่มันนอน กินและที่ที่มันอยู่เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ช่วยให้การฝึกง่ายขึ้น ในเวลาฝึกเราก็ใช้ความสามารถในส่วนนี้ของมัน เพื่อให้มันรู้ว่าควรขับถ่ายที่ใดเมื่อไหร่ ถ้าไม่สอนให้มันรู้ว่าควรขับถ่ายที่ไหน มันจะหาที่ของมันเอง อาจเป็นภายในบ้านซึ่งเจ้าของอาจไม่พอใจก็ได้ เราควรสอนลูกสุนัขให้ขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง ในที่ที่เราจัดไว้ให้ การเรียนรู้ด้านอื่น ๆ ที่เราพยายามเสริมสร้าง นิสัยที่ดี ๆ ให้ และ ลดโอกาสการเกิดนิสัยที่ไม่ดี การลงโทษเวลามันทำผิดไม่ได้ช่วยให้การฝึกสอนมันดีขึ้น

2. สิ่งสำคัญในการรู้ข้อจำกัดของลูกสุนัขในการฝึก ลูกสุนัขอาจต้องการขับถ่ายทุก ๆ 2-4 ช.ม ระหว่างวัน และ มันอาจจะอั้นได้นานขึ้นในเวลากลางคืน สุนัขโตอาจอั้นได้นานถึง 6-8 ช.ม ในระหว่างวัน และโดยปกติในเวลากลางคืนมันจะอั้นได้ 8-10 ช.ม สุนัขแต่ละตัวอาจจะสามารถควบคุมความต้องการในการขับถ่ายของมันให้ยาวนานหรือ สั้นกว่าค่าเฉลี่ยได้ คุณควรจะเรียนรู้ถึงขีดความอดทนของมัน มันไม่ดีถ้าหากเราจะให้มันอั้นไว้นานกว่าที่นั้นจะอั้นได้

3.ต้องใช้เวลาและเป็นข้อผูกมัดคนในครอบครัวในการทำให้ถูกวิธี ลูกสุนัขจะไม่เพียงแค่ฝึกตัวมันเอง แต่บางตัวสามารถฝึกได้ง่ายกว่าตัวอื่นๆ สมาชิกทุกคนในบ้านต้องร่วมมือกันในการฝึกอย่างเช่น พามันออกไปข้างนอกตลอดชั่วโมงดูแลมันเพื่อไม่ให้มันเ กิดอุบัติเหตุ และทำความสะอาดให้มันเมื่อมันขับถ่าย มันอาจจะต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์หรือหลายเดือน ในการฝึกให้ลูกสุนัขเรียนรู้ ถ้าหากคุณทำตามคำแนะนำข้างล่างนี้คุณก็จะประสบความสำ เร็จ ในการฝึกลูกสุนัขของคุณได้

วิธีในการฝึกสุนัข

õ พยายามทำให้เป็นกิจวัตร สุนัขของคุณก็เหมือนเด็ก ๆ มันจะทำได้ดีเมื่อได้ทำอยู่เป็นประจำในการกิน เล่น นอนและขับถ่าย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยส่วนใหญ่ จำเป็นต้องถ่ายหลังกินอาหาร การจัดตารางการให้อาหาร จะช่วยให้คุณรู้ว่าลูกสุนัขของคุณต้องการถ่ายเมื่อไร และคุณก็จะสามารถพามันออกไปถ่ายยังที่ที่จัดไว้ได้อย่างถูกต้อง

õ การให้รางวัลเมื่อมันทำได้ดี พาสุนัขไปในที่ที่ต้องการให้มันถ่ายในเวลาที่มันต้อง การถ่าย สิ่งแรกคือในตอนเช้าหลังจากตื่นนอน สิ่งสุดท้ายคือก่อนเข้านอน หลังอาหาร หลังจากการนอนนานกว่า 2 ช.ม หรือหลังการวิ่งเล่นนานกว่า 20 นาที เมื่อคุณพาสุนัขออกไปคุณควรถามมันด้วยว่าอยากถ่ายหรือไม่ หรือประโยคอื่น ๆ ที่จะกระตุ้นให้มันออกนอกบ้าน และเมื่อคุณพามันไปยังจุดที่ได้เตรียมไว้แล้ว ก็บอกให้มันถ่าย เมื่อมันทำตามก็ควรชมมันและให้รางวัลมัน มันสำคัญมากที่จะให้รางวัลแก่มันเมื่อมันไปขับถ่ายถูกที่

õ พยายามให้มันถ่ายในที่ที่เราจัดไว้ให้ ทางที่ดีที่สุดคือ ดูแลลูกสุนัขของคุณอย่างสม่ำเสมอ จูงมันไว้ด้วยสายจูง หรือเปิดประตูเอาไว้เพื่อที่จะมองเห็นมันตลอดเวลา การปล่อยมันเดินเล่นโดยไม่ดูแลมันอาจทำให้มันถ่ายเรี่ยราดได้ และถ้าหากมันทำอย่างนั้นบ่อย ๆเข้า มันก็จะเกิดความเคยชินและมันก็จะถ่ายบริเวณนั้นตลอด โดยธรรมชาติของสุนัขแล้ว มันจะไม่ชอบถ่ายในพื้นที่แคบ ๆ ที่ซึ่งมันใช้เวลาโดยส่วนใหญ่ของมันตรงบริเวณนั้นเช่น ในกรงหรือในลัง พื้นที่แคบ ๆ ภายในครัว ห้องซักรีดหรือห้องน้ำ

ในบางครั้งลูกสุนัขอาจถูกทิ้งไว้ในที่เหล่านั้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ถ้าหากมันได้รับการฝึกให้อยู่ในที่นั้น ๆ ซึ่งหมายความว่ามันได้รับประสบการณ์ที่ดีจากที่นั้น ๆ และมันรู้สึกสบายและไม่กลัวการอยู่ในที่นั้น ๆ ลูกสุนัขโดยส่วนใหญ่สามารถนอนในลังหรือที่อื่นๆ ได้ในช่วงเวลากลางคืนถ้าหากเจ้าของจะพามันออกไปถ่ายใ นเวลากลางคืน ถ้าหากจะต้องทิ้งสุนัขไว้เป็นเวลานาน ๆ ควรปล่อยมันไว้ในบริเวณที่เป็นพื้นที่โล่งๆ กว้าง ๆเช่น ในครัว ห้องซักรีดหรือที่อื่น ๆ ที่มันสามารถหาที่พักได้ เล่นได้ และมีน้ำและที่ให้มันขับถ่าย

õ อย่าลงโทษในสิ่งที่มันได้ทำลงไปแล้ว ลูกสุนัขอาจถ่ายโดยไม่ได้ตั้งใจในพื้นที่ที่เราไม่ได ้จัดไว้ ถึงแม้ว่าเราจะฝึกมันเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม

õ ถ้าหากมันทำท่าจะถ่ายอย่าตะโกนใส่มัน หรือตีหรือเตะมัน ควรใช้คำพูด เพื่อขัดขวางการกระทำนั้น ๆ แทน และพามันไปยังที่ที่เราได้จัดไว้ การตะโกน การตี การทำเสียงดังหรือการทำโทษวิธีอื่น ๆ จะไม่ช่วยให้การสอนนั้นดีขึ้นเลย และมันอาจเป็นสาเหตุของความกลัวหรือเป็นเหตุให้การฝึกไม่ประสบผลก็ได้

õ ถ้าหากสุนัขที่ถ่ายในที่ที่เราไม่ได้จัดไว้ให้เรียบร้อยไปแล้ว อย่าตะโกนด่า ตีหรือ ลงโทษโดยวิธีอื่น ๆ เพราะมันจะไม่เข้าใจว่าเราทำโทษมันทำไม ถึงแม้ว่าเราจะว่ามันในเรื่องที่มันทำเลอะเทอะในบ้าน และทำโทษมันก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรมันดีขึ้น เพราะสุนัขไม่สามารถเชื่อมโยงเรื่องที่มันทำเลอะเทอะ เข้ากับเรื่องที่มันโดยดุได้ การทำโทษสุนัขในตอนที่มันทำลงไปแล้วนั้น จะทำได้ดีที่สุดก็เพียงทำให้มันเรียนรู้ที่จะไม่ทำเลอะเทอะอีกและมันก็จะกลัวเจ้าของด้วย สิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้คือ ทำความสะอาดและคอยดูแลสุนัขให้ดีไม่ให้ทำเลอะเทอะอีก

õ ทำความสะอาดพื้นที่ที่มันถ่ายไว้ สุนัขจะกลับมาถ่ายตรงที่เดิมที่มันเคยถ่ายไว้โดยใช้กลิ่น ดังนั้นเราควรกำจัดกลิ่นนั้น ๆ วิธีที่ได้ผลมากในเรื่องการกำจัดกลิ่นคือ การใช้น้ำยากำจัดกลิ่น บางครั้งอาจใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำก็สามารถช่วยกำจัดกลิ่นได้ อย่าใช้แอมโมเนียเพราะมันมีกลิ่นฉุนเหมือนอึ ซึ่งจะทำให้สุนัขมาถ่ายตรงที่นั้น ๆ อีกได้

õ ควรให้อิสระกับมันมาก ๆ เมื่อสุนัขเริ่มเรียนรู้ที่จะขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทางแล้ว คุณควรให้อิสระแก่มันมากขึ้น แต่ถ้าหากมันถ่ายไม่เป็นที่อีก ก็ค่อยมากดูแลมันอย่างใกล้ชิดอีกครั้ง จนกว่าจะแก้นิสัยได้ จึงค่อยให้อิสระแก่มัน


เรามีกลเม็ดเด็ดในการพิชิตกลิ่นปากสุนัขมาฝาก เจ้าของที่เป็นห่วงเป็นใยในสุขอนามัยของตูบน้อยก็คงจะได้หมดห่วงกันทีนี้ล่ะค่ะ วิธีการรักษากลิ่นปากอย่างแรกเลยก็คือ การแปรงฟัน ใช่แล้วค่ะ สุนัขก็ควรจะต้องแปรงฟันเหมือนกับเราๆ นี่ล่ะค่ะ เพียงแต่ว่ายาสีฟันที่ใช้กับสุนัขนั้นไม่เหมือนกับของคนนะคะ เพราะยาสีฟันสำหรับคนนั้นจะมีฟองมากเกินไป สุนัขไม่สามารถบ้วนฟองออกมาได้เหมือนคนหรอกค่ะ และยาสีฟันสำหรับคนจะมีฟลูออไรด์ ถ้าสุนัขกลืนเข้าไปจะเป็นอันตรายได้

ดังนั้น คุณจึงควรใช้ยาสีฟันสำหรับสุนัขโดยเฉพาะที่ให้ฟองน้อยๆ จะดีกว่า (หาซื้อได้ตามร้านขายของสำหรับสัตว์เลี้ยงใหญ่ๆ ทั่วไป) นอกจากนี้ยาสีฟันสำหรับสุนัขยังมีรสหลากหลาย เช่น รสเป็ด รสไก่ ซึ่งสุนัขของคุณจะชื่นชอบและสำราญกับการแปรงฟันพอๆ กับการหม่ำอาหารเลยล่ะค่ะ

วิธีการแปรงฟันในตอนแรกก็คือให้คุณค่อยๆ แปรงไปทีละซี่ ใช้ระยะเวลาในการแปรงน้อยๆ ก่อน เมื่อสุนัขชินจึงค่อยขยับเวลาให้นานขึ้น ไม่นานหรอกค่ะ ตูบของคุณก็จะชินกับการแปรงฟัน และไม่วิ่งหนีเมื่อมันเห็นคุณถือแปรงกับยาสีฟันเดินมาอีก

นอกจากการแปรงฟันแล้ว คุณยังควรหาของเล่นขัดฟันไว้ให้มันอีกอย่างหนึ่ง ของเล่นขัดฟันนี้ก็อย่างเช่นกระดูกเทียมที่คุณมักจะเห็นวางขายอยู่ทั่วไปนั่นแหละ ของเล่นขัดฟันจะช่วยกำจัดคราบอาหารออกจากฟันของสุนัขและยังช่วยให้ฟันของมันแข็งแรงอีกด้วย ในตอนแรกสุนัขอาจไม่ยอมแทะของเล่นที่คุณหามาให้ วิธีการล่อใจง่ายๆ ก็คือให้เอาอาหารที่สุนัขชอบกินทาไว้ที่ของเล่นนั่นแหละ เมื่อมันได้กลิ่นของโปรดของมัน มันก็จะวิ่งตัวปลิวมาคาบของเล่นกลับไปแทะเองแหละค่ะ

อีกอย่างหนึ่งที่เจ้าของสุนัขควรใส่ใจนอกเหนือไปจากการแปรงฟันให้สุนัขและการหาของเล่นสำหรับแทะให้มันแล้ว คุณยังควรใส่ใจกับสุขอนามัยในการกินของตูบด้วย คุณควรสลับชนิดของอาหารสุนัขให้แตกต่างกันไป เพราะอาหารบางชนิดอาจเป็นสาเหตุของกลิ่นปากได้ เช่น ถ้าคุณให้อาหารเปียกอยู่ คุณก็อาจเปลี่ยนเป็นอาหารแห้งบ้าง เพราะอาหารเปียกจะทำให้เกิดกลิ่นปากได้ง่าย ในขณะที่อาหารแห้งหรืออาหารเม็ดจะเป็นตัวช่วยขัดถูฟันให้สุนัขได้ ตารางเวลาในการให้อาหารก็เป็นสิ่งสำคัญ คุณควรให้อาหารสุนัขเป็นเวลา หากคุณให้อาหารสุนัขทั้งวันก็จะยิ่งทำให้สุนัขมีแบคทีเรียในปากมากขึ้น และนั่นก็หมายถึงกลิ่นปากที่รุนแรงยิ่งขึ้นด้วย จงอย่าใจอ่อนไม่ว่าสุนัขของคุณจะอ้อนได้น่ารักน่าสงสารปานใด หากคุณยอมอ่อนข้อให้กับมันแล้ว ก็ไม่มีวันหรอกค่ะที่คุณจะเอาชนะกลิ่นปากของมันได้

เป็นไงคะ ไม่ใช่วิธีที่ยากเย็นแสนเข็ญอะไรเลยใช่มั้ยคะ ถ้าหากว่าคุณทำตามวิธีการเหล่านี้แล้วล่ะก็ รับรองเลยค่ะว่าตูบของคุณจะมีกลิ่นปากสะอาดหอมสดชื่น ใครเห็นใครก็ต้องชมว่าเจ้าของสุนัขตัวนี้ช่างเลี้ยงดีเสียจริงๆ จำไว้นะคะว่ากลิ่นปากสุนัขบ่งบอกถึงสุขภาพของสุนัขด้วย ถ้าหากสุนัขของคุณมีกลิ่นปากเหม็นรุนแรงร้ายกาจชนิดวิธีที่เราว่ามายังเอาไม่อยู่แล้วล่ะก็ คุณต้องรีบพามันไปหาหมอแล้วล่ะ

4.02.2554

โลมา


โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งอาศัยน้ำที่มีสติปัญญาสูงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายใกล้เคียงกับ วาฬ ในภาษาอังกฤษเรียกโลมาว่า Dolphin มาจากภาษากรีกโบราณ δελφίς เดลฟิส (delphis) ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลงมาเป็นมนุษย์ และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไดโอนีซอสนั้นแม้จะเป็นเทพ ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เมื่อถึงคราวของไดโอนีซอส เขาจึงถูกลูกเรือปล้น และคิดจะจับเขาไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เขาจึงจำต้องแสดงตนว่าเป็นเทพ และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจ จึงกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นปลาโลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นปลาโลมา นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปด้วย กลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอนหาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ปลาโลมาจึงได้รับเกียรติจากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมาอีกด้วย ที่จริงแล้วโลมาเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ แต่เพื่อความพยายามหาอาหาร เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมาจึงค่อยๆปรับตัวให้ลงไปอยู่ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน นั่นเป็นตำนานของคนโบราณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่นอาศัยอยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยังเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์ และยังเป็นสัตว์น้ำที่น่ารักเสียด้วย
รูปร่างของโลมา

โลมา อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรนับร้อยชนิด แต่ในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดีมีอยู่ ๒ ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร บางครั้งยังพบโลมาอยู่ในแม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะ จะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ดังนี้ จมูก โลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาทั่วไป หู หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้านข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของโลมามีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง การมองเห็น โลมามีดวงตาแจ่มใส เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเปลือกตาปิดได้ และในเวลา กลางคืนตาก็จะเป็นประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา และมองเห็นได้ไกลถึง ๕๐ ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ สีผิว สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ จนกระทั่งถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไปปลาโลมาจะมีสีผิวแบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสีตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน สีเข็มจะกลืนกับสีน้ำทะเล และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ ความฉลาดของโลมา

ว่ากันว่า โลมานั้นฉลาดไม่แพ้เด็กตัวเล็กๆ เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย โลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เทียบกับลำตัวใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์ และ สมองส่วนซีรีบรัม อันเป็นส่วนของความจำ และการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมของการรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้ นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่าโลมาอาจจะฉลาดเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้ โลมาผู้ช่วยชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาโลมาช่วยชีวิตคนนั้นมีอยู่บ่อยครั้ง แต่จริงๆแล้ว เป็นเพราะปลาโลมาต้องการช่วยชีวิตคนจริงๆ หรือ เชื่อว่าจริงๆ แล้ว ปลาโลมานั้นเป็นปลาที่อ่อนโยน รักสนุก และขี้เล่น ที่มันช่วยคนอาจเป็นเพราะมันต้องการเข้ามาเล่นสนุกๆ เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็น สัญชาตญาณของแม่ปลาที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าลูกปลาเสียชีวิต ระหว่างคลอด จะพบว่าแม่ปลาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุด ภัยร้ายของโลมา ในประเทศไทย โลมาที่ติดอวนมาแล้ว จะถูกชำแหละเนื้อขายด้วยราคาถูกๆ เนื่องจากเนื้อปลาโลมามีความคาวมาก จึงไม่มีผู้นิยมบริโภคเท่าใดนัก ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเคยเป็นประเทศที่ล่าปลาวาฬมากที่สุดในโลก จนกระทั่งปลาวาฬใกล้สูญพันธ์ จึงถูกสั่งห้ามล่าปลาวาฬ หันมาล่าปลาโลมาแทน โดยเพิ่มปริมาณการล่าปลาวาฬขึ้นเป็นสี่เท่า ทำให้โลมาในทะเลญี่ปุ่นลดน้อยลงเป็นอันมาก จะเห็นว่าโลมา ไม่ได้มีชีวิตอยู่สุขสบายนักในท้องทะเลธรรมชาติ ดังนั้น เราก็ควรที่จะอนุรักษ์เจ้าโลมาไว้ เพื่อที่จะได้ยกให้มันเป็นสัตว์ที่น่ารัก และมีให้เราได้เห็นอยู่ในท้องทะเลได้อีกนานๆ คงไม่มีใครอยากเห็นเจ้าโลมาน้อยน่ารัก โดนสาปให้แข็ง ตั้งโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ และมีป้ายเขียนว่า “สัตว์สูญพันธุ์” เป็นแน่. เป็นสัตว์ไม่มีขา เป็นสัตว์ฉลาด

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม