9.27.2554


เป็นปลาหนัง (ปลาไม่มีเกล็ด) รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวแบนข้างมากส่วนหัวมักแบนราบหรือแบนข้างในบางชนิด ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กและแหลมขึ้นบนขากรรไกรและเป็นแผ่นบนเพดาน มีหนวด 2-3 คู่ครีบก้นยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว ไม่มีครีบไขมัน ครีบหลังเล็กมาก ไม่มีก้านครีบแข็งแหลมที่ครีบอกและครีบหลัง ครีบหางเว้าตื้นหรือเป็นแฉก ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบท้องเล็ก กินเนื้อ ได้แก่ แมลงขนาดเล็ก, ปลาขนาดเล็ก, กุ้งฝอย สัตว์หน้าดินต่างๆ วางไข่แบบจมติดกับวัสดุใต้น้ำ กระจายพันธุ์ไกล พบตั้งแต่ยุโรป, เอเชียตอนบน, อินเดียไปจนถึงอินโดนีเชีย เป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย, กัมพูชา เฉพาะที่พบในประเทศไทยมีราว 30 ชนิด ชนิดที่เล็กสุดคือ ก้างพระร่วง (Krytopterus bicirrhis) ที่มีความยาวราว 10 ซม. นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และชนิดใหญ่ที่สุดคือ เค้าขาว (Wallago attu) ใหญ่ได้ถึง 2 เมตร
•1.ก้างพระร่วง
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Krytopterus bicirrhis อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน Siluridae มีลักษณะลำตัวเพรียวยาวและแบนข้างมาก ตัวโปร่งใส จนสามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน อาจกล่าวได้ว่าเป็น " ปลาที่ตัวใสที่สุดในโลก " ก็ว่าได้ มีหนวดคู่ 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง โดยหนวดคู่บนจะยาวกว่าคู่ล่างมาก ครีบหลังมีขนาดเล็กและสั้นมากจนแทบมองไม่เห็น ครีบทวารเป็นแนวยาวจรดโคนหาง หางมีลักษณะเว้าลึก อาศัยอยู่ตามแม่น้ำและลำธารที่มีกระแสน้ำไหลแรงในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ของ ประเทศ โดยปลาที่พบในแม่น้ำลำคลองตัวจะมีสีขุ่นกว่าที่พบในแหล่งน้ำบริเวณเชิงเขา เชื่อว่าสาเหตุเพราะปลาต้องปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเพื่อหลีกเลี่ยง ศัตรู ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10 ซ.ม. พบใหญ่ที่สุดราว 15 ซ.ม.
อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่จำนวน 100 ตัวขึ้นไป ชอบเกาะกลุ่มในแหล่งน้ำไหล โดยจะลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ และหันหน้าสู้กระแสน้ำไปในทิศทางเดียวกันหมด เป็นปลาขี้ตื่นตกใจมาก เมื่อตกใจจะว่ายกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง จากนั้นก็จะกลับมาเกาะกลุ่มตามเดิม อาหารได้แก่ แมลงน้ำขนาดเล็กและแพลงก์ตอนสัตว์
ก้างพระร่วง เป็นปลาเนื้ออ่อนที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค และขึ้นชื่อมานาน โดยเป็นปลาส่งออกด้วย มีปรัมปราเล่ากันว่า พระร่วงได้ เสวยปลาชนิดนี้จนเหลือแต่ก้าง จึงทิ้งลงน้ำและกล่าววาจาสัจว่าขอให้ปลาตัวนี้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา จึงได้ชื่อว่า " ก้างพระร่วง " นับแต่นั้นมา นอกจากชื่อก้างพระร่วงแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า ผี, ก้าง, กระจก, เพียว เป็นต้น
นอกจากก้างพระร่วงชนิด Krytopterus bicirrhis แล้วยังมีก้างพระร่วงอีกชนิดหนึ่งที่มีความใกล้เคียงกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Krytopterus macrocephalus โดยก้างพระร่วงชนิดนี้จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า หนวดยาวกว่า อาศัยอยู่เฉพาะป่าพรุโต๊ะแดง ที่จังหวัดนราธิวาส เท่านั้น มีลำตัวที่ขุ่นทึบกว่า โดยมีอุปนิสัยและพฤติกรรมเหมือนกัน ปลาก้างพระร่วงชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า ก้างพระร่วงป่าพรุ หรือ เพียวขุ่น


เป็นปลาที่อยู่ในอันดับ (Order) Osteoglossiformes คือ ปลาที่มีกระดูกแข็งบริเวณส่วนหัวและลิ้น พบตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งสิ้น 4 สกุล (Genus) 8 ชนิด (Species) ปลาในอันดับนี้ เช่น ปลาตะพัดเป็นต้น พบในประเทศไทย 4 ชนิด คือ ปลากราย, ปลาตองลาย, ปลาสะตือ และปลาสลาด โดยในไทยมักจะเรียกปลาทั้ง 4 ชนิดนี้ว่า ปลาตอง รวมกันหมด เป็นปลาน้ำจืด มีรูปร่างแบนด้านข้างมาก และเรียวไปทางด้านท้าย ครีบหลังเล็ก ครีบก้นและครีบหางยาวติดกัน จึงใช้ครีบก้นที่ยาวติดกันนี้โบกพริ้วในเวลาว่ายน้ำ ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ปากกว้าง เกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ (Cycloid) และมีขนาดเล็กละเอียด กินเนื้อ เมื่อวางไข่ตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่ ไข่เป็นก้อนสีขาวทึบ ติดเป็นกลุ่มกับวัสดุใต้น้ำเช่นตอไม้หรือเสาสะพาน
•ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata (เดิม Notopterus chitala)
อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 ก.ก.
มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กพบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน


และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก (Albino) หรือสีทอง ขาว (Platinum) หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ (Short Body) มีชื่อเรียกอื่น เช่น " หางแพน " ในภาษากลาง " ตอง " ในภาษาอีสาน " ตองดาว " ในภาษาเหนือ เป็นต้น

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม