2.06.2555


ปลาดุกแอฟริกา เป็นปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clarias gariepinus ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาดุกด้าน (C. batrachus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวยาวกว่าและแนวระหว่างจะงอยปากถึงท้ายทอยเว้าและโค้งลาด ด้านบนของศีรษะขรุขระกว่า เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม ท้ายทอยแหลมเป็นโค้ง 3 โค้ง โดยส่วนกลางยื่นยาวมากที่สุด ลำตัวยาว ครีบหลังและครีบก้นยาว ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลคล้ำอมเหลือง และมีลายแต้มแบบลายหินอ่อนบนลำตัว แก้มและท้องสีจาง ที่โคนครีบหางมีแถบตามแนวตั้งสีจาง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาชนิดนี้ ครีบมีสีเข้ามกว่าลำตัวเล็กน้อย บางตัวอาจมีขอบครีบสีแดง

นับเป็นปลาที่ขนาดใหญ่สุดในสกุล Clarias ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.70 เมตร

เป็นปลาพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา พบได้ในตอนเหนือและตอนตะวันออกของทวีป สำหรับในประเทศไทยได้ถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2528 โดยเอกชนบางรายในจังหวัดหนองคายและอุบลราชธานี โดยนำเข้ามาจากประเทศลาวเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น เนื่องจากมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าปลาดุกทั่วไป ต่อมากรมประมงได้นำมาทดลองผสมข้ามพันธุ์กับปลาดุกอุย (C. macrocephalus) พบว่าลูกผสมระหว่างพ่อปลาดุกแอฟริกาและแม่ปลาดุกอุยมีผลการรอดสูง และมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด เนื้อมีรสชาติที่ดีขึ้น จึงส่งเสริมและแพร่วิธีการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงดูสู่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง จนปัจจุบันนี้ กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่งของไทย และเรียกชื่อลูกปลาผสมนี้ว่า "บิ๊กอุย"

แต่ในปัจจุบัน สถานะของปลาดุกแอฟริกาในประเทศไทย จากบางส่วนได้หลุดรอดและถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น (alien species) ชนิดหนึ่งที่คุกคามการอยู่รอดสัตว์น้ำพื้นเมืองของไทย

สำหรับชื่ออื่น ๆ ที่เรียกปลาดุกแอฟริกา ก็ได้แก่ ปลาดุกรัสเซีย, ปลาดุกเทศ เป็นต้น

ปลาทู


ชื่อสามัญ INDO-PACIFIC MACKEREL
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ RESTRELLIGER NEGLECTUS
วงศ์ SCOMBRIDAE
ปลาทูสั้น SHORT -BODIE MACKEREL
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ RESTRELLIGER BRA CHYSOMA
ลักษณะ


ปลาทู มีลำตัวแป้นยาว เพรียว ตาโต ปากกว้าง จะงอยปากจะแหลม เกล็ดเล็กละเอียด มีม่านตาเป็น เยื่อไขมัน บนขากรรไกรมีฟันซี่เล็กๆ มีซี่เหงือกแผ่เต็มคล้ายพู่ขนนก มีครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกมีก้านแข็ง ส่วนอันหลังก้านครีบอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ครีบอกมีฐานครีบกว้าง แต่ปลายเรียว สีตัวพื้นท้องขาวเงิน ผิวด้านบนหลังมีสีน้ำเงินแกมเขียว แบบนี้มีประโยชน์ช่วยพรางตัวให้พ้นจากศัตรู ขนาดของปลาทูยาวประมาณ 14-20 เซนติเมตร แต่เคยพบปลาทูที่มีความยาวถึง 25 เซนติเมตรมาแล้ว
แหล่งที่พบ

สมัยก่อนเชื่อกันว่า ปลาทูที่คนไทยนิยมรับประทานกันนี้ ว่ายน้ำมาจากเกาะไหหลำ ต่อมาเมื่อกรมประมงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปลาทู จึงพบว่าปลาทูไม่ได้มาจากแหล่งดังกล่าว แต่มีอยู่ทั่วไปในอ่าวไทย ปลาทูเป็นปลาผิวน้ำ (PELAGIC FISH) อยู่รวมกันเป็นฝูงในบริเวณใกล้ฝั่งน้ำลึก ไม่เกิน 30 เมตร มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ความเค็มของน้ำไม่เกินร้อยละ 32.5 แต่อาจทนความเค็มได้ถึงร้อยละ 20.4 จะพบปลาทูชุกชุมมากบริเวณที่มีน้ำไหลลงสู่ทะเล เช่น บริเวณก้นอ่าวไทย บริเวณปากแม่น้ำต่างๆ เพราะบริเวณดังกล่าวมีอาหาร อุดมสมบูรณ์ เกิดแพลงก์ตอน พืช และสัตว์ อันเป็นอาหาร ที่สำคัญของปลาทู ซึ่งพบได้บริเวณอ่าวไทย ฝั่งตะวันตก ตะวันออก และทะเลอันดามัน จึงกล่าวได้ว่าแหล่งปลาทูที่พบหนาแน่น อยู่ในน่านน้ำอ่าวไทย ไม่ใช่ที่เกาะไหหลำดังความเชื่อที่มีมาแต่เดิม


ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ SOUTHERN BLUEFIN TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus maccoyii (Castelnau, 1872)

ปลาทูน่าสีน้ำเงินใต้เป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรในเขตอบอุ่น ระหว่างละติจูดที่ 30-50 องศาใต้ สามารถอยู่ในระดับอุณหภูมิต่ำระหว่าง 5-20 องศาเซลเซียส
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่กึ่งกลางของครีบหลังอันที่หนึ่ง ตัวค่อนข้างอ้วนสั้น หัวโต ตาโต ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน สันที่คอดหางมีสีเหลือง
ขนาดของปลาทูน่าสีน้ำเงินใต้ที่ใหญ่ที่สุดมีความยาวมากกว่า 225 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด ประมาณ 160-200 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 150 กิโลกรัม
ปลาทูน่าชนิดนี้นิยมรับประทานเป็นปลาดิบ การประมงหลัก ได้แก่การทำเบ็ดราวบริเวณประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์


ปลาทูน่าครีบยาว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ LONGFIN TUNA, ALBACORE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus alalunga (Bonnatere, 1788)

ปลาทูน่าครีบยาวเป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรในเขตร้อนและอบอุ่น ระหว่างละติจูดที่ 45-50 องศาเหนือ ถึง 30-40 องศาใต้ อาศัยบริเวณผิวน้ำจนถึงกลางน้ำ ในระดับอุณหภูมิระหว่าง 13.5-25.5 องศาเซลเซียส
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัด ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่ทางท้ายลำตัวมากกว่าปลาทูน่าชนิดอื่น ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน เมื่อผ่าท้องพบว่าด้านล่างของตับจะเป็นลาย
ขนาดของปลาทูน่าครีบยาวที่พบใหญ่ที่สุดมีความยาวประมาณ 127 เซนติเมตร น้ำหนัก 40 กิโลกรัม แต่ที่พบทั่วไปมีขนาดประมาณ 40-100 เซนติเมตร ถึงแม้ว่าปลาทูน่าครีบยาวจะมีขนาดเล็ก แต่ได้รับสมญานามว่าเป็นไก่ทะเล (Sea chicken) อย่างแท้จริงและนิยมบรรจุกระป๋อง
การจับปลาทูน่าครีบยาวจะจับได้โดยเครื่องมืออวนล้อม เบ็ดตวัดปลาทูน่า เบ็ดลาก ซึ่งจะจับได้เฉพาะปลาขนาดเล็กแต่วิธีทำการประมงที่สำคัญที่สุดในการจับปลาทูน่าครีบยาวขนาดใหญ่ที่อยู่ในน้ำลึกได้แก่ เบ็ดราวที่ระดับความลึก 380 เมตร


ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ BIGEYE TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus obesus ( Lowe, 1839

ปลาทูน่าตาโตเป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรในเขตร้อนและอบอุ่น ระหว่างละติจูด ที่ 40 องศาเหนือ ถึง 40 องศาใต้ ปลาทูน่าตาโตมักชอบว่ายน้ำตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงความลึก ประมาณ 250 เมตร ในระดับอุณหภูมิระหว่าง 13-29 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่ชอบได้แก่ 17-22 องศาเซลเซียส ดังนั้นเราอาจพบปลาทูนาตาโตในระดับความลึกที่ลึกกว่าปลาทูน่าครีบเหลือง ปลาทูน่าตาโตชอบอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับเทอร์โมไคลน์ ( Thermocline ) เล็กน้อยทำให้การแพร่กระจายของปลาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะภูมิอากาศตามฤดูกาลที่มีผลต่ออุณหภูมิของน้ำและชั้นเทอร์โมไคลน์ ( Thermocline )
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่บริเวณกึ่งกลางของครีบหลังอันแรก ปลาทูน่าตาโตเป็นปลาทูน่าที่มีลักษณะคล้ายปลาทูน่าครีบเหลือง แต่ลำตัวอ้วนสั้นกว่าครีบหลังอันแรกแยกออกจากครีบหลังอันที่สองอย่างชัดเจน ครีบหลังอันที่สองมีขนาดใกล้เคียงกับครีบหลังอันแรก ครีบหูมีความยาวถึงกึ่งกลางของฐานครีบหลังอันที่สอง ปลายครีบหางไม่มีแถบแนวดิ่งสีขาว เมื่อผ่าท้องออกจะพบว่าด้านล่างของตับจะเป็นลาย ตามีขนาดใหญ่
ด้านหลังเป็นสีน้ำเงินดำ แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินทางด้านล่างของลำตัวในปลาที่มีขนาดใหญ่ด้านล่างของลำตัวไม่มีจุดสีเข้มเป็นแถวตามแนวดิ่ง จุดเหล่านี้จะพบในปลาทูน่าตาโตที่มีขนาดเล็ก ทำให้ยากในการแยกปลาทูน่าตาโตจากปลาทูน่าครีบเหลืองขณะวัยอ่อน ครีบหลังอันแรกมีสีเหลืองเข้ม ครีบหลังอันที่สองจะมีสีเหลืองจาง มีครีบเล็ก ( Finlet ) สีเหลืองจำนวน 7-10 คู่และที่ปลายของครีบเล็กจะเป็นแถบสีดำ
ขนาดของปลาทูน่าตาโตที่พบใหญ่ที่สุดมีความยาวมากกว่า 2 เมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด ประมาณ 0.6-1.8 เมตร ( 1.8 เมตร มีอายุอย่างน้อย 3 ปี) ปลาทูน่าเริ่มเข้าสู่ภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว 100-130 เซนติเมตร
ปลาทูน่าตาโตไม่นิยมนำมาบรรจุกระป๋อง เพราะเมื่อเนื้อปลาโดนความร้อนแล้วจะไมเป็นสีขาว จึงนิยมบริโภคเป็นปลาดิบมากกว่า โดยนำมารับประทานแทนปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ซึ่งในปัจจุบันมีการควบคุมปริมาณการจับอย่างเข้มงวด
การจับปลาทูน่าตาโตจะจับได้โดยเครื่องมือประมงอวนล้อม โดยทั่วไปอวนล้อมมักจะจับได้ปลาทูน่าตาโตที่โตเต็มวัยขนาดเล็ก และปลาทูน่าวัยอ่อนหรืออาจจับได้ด้วยเบ็ดตวัดปลาทูน่า เบ็ดลาก แต่วิธีทำการประมง ที่สำคัญที่สุดในการจับปลาทูน่าตาโตขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่น้ำลึกได้แก่เบ็ดราวโดยระดับความลึกของเบ็ดราวรุ่นใหม่ อาจลงลึกได้ถึง 300 เมตร

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม