11.24.2552

ปลาหมู


ในประเทศไทยพบปลาหมูในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปแต่ปลาหมูตามแม่น้ำลำคลองส่วนใหญ่ จะเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก สิ่งที่เหมือนกันของปลาหมูทุกสายพันธุ์ คือ ชอบอาศัยอยู่ในเขตร้อนชื้น แต่เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า หรือเย็นกว่าบริเวณอื่นในแหล่งน้ำเดียวกัน ดังนั้นบริเวณที่ปลาหมูอาศัยจึงมักจะเป็นบริเวณน้ำไหลข้าง ๆ แก่งหินที่มีน้ำไหลเวียนตลอดเวลา ปลาหมูเป็นปลาชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่
ปลาหมูในวงศ์ Botiidae แบ่งเป็น 2 วงศ์ย่อยคือ Leptobotia และ Parabotia ลำตัวค่อนข้างเพรียว ส่วน Botiinae เป็นวงศ์ที่เราคุ้นเคยกันทั้งหลาย อย่างพวก หมูอินโดฯ หมูหางแดง หมูอารีย์ ฯลฯ ปลาหมูในวงศ์ย่อยนี้แบ่งออกเป็น 5 สกุล คือ
สกุล Chromobotia
1. ปลาหมูอินโดฯ Chromobotia macracanthus สกุลนี้มีชนิดเดียว เมื่อโตเต็มวัย ลายมี
ลักษณะเฉพาะสีเหลืองสลับดำที่เราคุ้นเคย พบในประเทศอินโดนีเซีย กระจายพันธุ์อยู่ในเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว ปลาหมูอินโดฯ เป็นปลาที่มีนิสัยดี ค่อนข้างรักสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ขายในตลาดจะมีขนาด 2-3 นิ้ว โตเร็วช่วงแรก ขนาดประมาณ 6 นิ้ว ก็จะชะลออัตราการเติบโตลง ปลาใหญ่จะค่อนข้างหายาก ปลาชนิดนี้เลี้ยงไม่ยาก ต้องการน้ำที่สะอาดและค่อนข้างไวต่อการเปลี่ยนแปลง จึงต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำที่ละน้อย
สกุล Botia
ปลาหมูโยโย่ ปลาหมูปากี, ปลาหมูพม่า ปลาหมูสาละวิน ปลาหมูลายเมฆ ปลาหมูฮองเต้
ปลาหมูในกลุ่มนี้ เลี้ยงง่ายและรักสงบอยู่รวมกันเป็นฝูง อยู่รวมกับปลาอื่นได้ดี แต่ต้องระวังถ้าเลี้ยงกับพวกปลาหมูที่ดุ ๆ พวกสกุล Yasuhikotakia ถ้าตู้ไม่กว้างพอหรือไม่มีที่หลบซ่อน จะถูกกัด มันจะเครียดและตายในที่สุด พวกนี้เป็นปลาที่มาจากแหล่งน้ำไหล ตู้ที่ใช้เลี้ยงจะต้องมีระบบกรองน้ำไหลเวียนดี และน้ำต้องมีคุณภาพดีอยู่เสมอ ปลาชนิดนี้ราคาไม่แพง
สกุล Syncrossus
ปลาหมูลาย Syncrossus beauforti
ปลาหมูจักรพรรดิ์ Syncrossus berdmorei


ปลาหมูลาย Syncrossus helodes
ปลาหมูสกุลนี้เดิมอยู่สกุล Botia ต่อมาถูกแยกออกเป็นสกุล Syncrossus ลำตัวจะยาว
และหน้าจะแหลม ตัวลาย ๆ เลอะๆ ดูคล้ายเสือโคร่งเรียกว่ากลุ่ม Tiger botia จะไม่ดุมาก มีการกระทบกระทั่งกันถ้าตู้เลี้ยงเล็กหรือมีที่หลบซ่อนไม่พอ ชนิดที่เห็นบ่อยที่สุด คือ S. helodes (ปลาหมูลาย) รองลงมา(ปลาหมูจักรพรรดิ์) S. berdmorei จากลุ่มน้ำสาละวิน ซึ่งนับว่าเป็นปลาหมูที่มีสีสันสะดุดตาที่สุด
สกุล Yasuhikotakia
ปลาหมูหางจุด Yasuhikotakia caudipunctata
ปลาหมูสัก Yasuhikotakia lecontei
ปลาหมูขาว, ปลาหมูหางแดง, ปลาหมูหางเหลือง Yasuhikotakia modesta
ปลาหมูค้อ ปลาหมูคอก Yasuhikotakia morleti
ปลาหมูน่าน Yasuhikotakia nigrolineata
ปลาหมูอารีย์ Yasuhikotakia sidthimunki เคยพบในประเทศไทย แต่สูญพันธุ์ไปจากลุ่มแม่
น้ำกลองแล้ว ส่วนปลาหมูขาว ปลาหมูค้อ และปลาหมูสัก ยังคงพบอยู่มากโดยเฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพะยาและแม่โขง
Sinibotia
เป็นกลุ่มปลาหมูที่พบในประเทศจีน นอกจากในประเทศไทยแล้ว ประเทศที่อยู่ในเขต
ลุ่มน้ำที่ได้รับอิทธิพลจากจีนตอนใต้ อย่างลาวและเวียดนาม ก็มีปลาหมูในสกุลนี้อาศัยอยู่เช่นกัน ปลาพวกนี้ตัวจะเรียว ๆ และยาวไม่ใหญ่มาก เลี้ยงง่ายไม่ก้าวร้าว ต้องระวังเรื่องอาหาร เป็นปลาจากเขตน้ำเย็น ในธรรมชาติปลากลุ่มนี้อาศัยอยู่ตามแก่งน้ำที่ไหลแรง ตู้ที่เลี้ยงจึงต้องมีการไหลเวียนน้ำที่ดี
สกุล Leptobotia
Leptobotia curta
Leptobotia elongata
Leptobotia flavolineata
Leptobotia guilinensis
Leptobotia hengyangensis
Leptobotia orientalis
Leptobotia pellegrini
Leptobotia pastercdorsalis
Leptobotia rubrilabris
Leptobotia taeniops
Leptobotia tchangi
Leptobotia tientainensis
Leptobotia zebra
เป็นปลาจากแถบตะวันออก ไม่มีการนำเข้ามาในประเทศไทย ปลากลุ่มนี้ชอบน้ำเย็น เลี้ยง
ในประเทศไทยอุณหภูมิปกติ จะมีปัญหาปลาผอมเร็ว การเผาผลาญพลังงานจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นทุก 1 OC พวกนี้อยู่ในลำธารเขตประเทศจีนหรือญี่ปุ่นที่อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำถึง 10 องศาเซลเซียส

Parabotia
Parabotia banarescui
Parabotia bimaculata
Parabotia dubia
Parabotia fasciata
Parabotia lijiangensis
Parabotia maculosa
Parabotia parva
พบในแถบประเทศจีน ปลาชนิดนี้หน้ายาว
วิธีการเลี้ยง
1. ตู้ที่ใช้เลี้ยงควรมีระบบกรองไหลเวียนน้ำดี ออกซิเจนละลายอยู่สูง มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะปลาหมูไม่ค่อยทนต่อคุณภาพน้ำที่ไม่ดี แต่การเปลี่ยนน้ำไม่ควรเปลี่ยนคราวละมาก ๆ ใช้น้ำที่อุณหภูมิต่างจากน้ำในตู้มากเกินไป เพราะปลาหมูค่อนข้างอ่อนไหว
2. ปลากลุ่มนี้อาศัยอยู่ตามแก่งหิน โพรงหิน เศษซากตอไม้ จึงต้องมีที่หลบซ่อนพอสมควร
การเตรียมที่หลบซ่อนให้ระวังอย่าใช้ที่มีรูเล็ก ๆ พอดีตัวปลา เวลาปลาตกใจอาจเบียดตัวเข้าไปติดตายได้
3. ปลาหมูไม่ใช่ปลาที่ว่ายน้ำไปมามากนัก ขนาดตู้จึงไม่ต้องใหญ่มาก
4. ปลาหมูเป็นปลาที่กระโดดได้สูง ถ้าเป็นไปได้ควรลดน้ำลง ต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้ปลากระโดดออกนอกตู้
5. ปลาหมูทุกชนิดมีเขี้ยวเล็ก ๆ ซ่อนไว้ข้างแก้มบริเวณใต้ตา
อาหาร
ปลาหมูกินอาหารได้หลากหลาย เช่นอาหารสด อย่างหนอนแดง ไส้เดือนน้ำ ไรทะเล อาหารสำเร็จรูปก็กินได้ นอกจากนั้นยังสามารถให้พวกผักต่าง ๆ เช่น แตงกวา, ผักลวก ดังนั้นการหมุนเวียนเปลี่ยนอาหารไปเรื่อย ๆ ทำให้ปลาได้รับสารอาหารครบถ้วน
เพื่อนร่วมตู้
ปลาหมูหลายชนิดดุมาก เช่น สกุล Botia หรือ Yasuhikotakia ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาที่มีขนาดเล็กกว่ามาก ๆ แต่สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาที่มีขนาดเท่า ๆ กันได้ เช่น พวกปลาเกล็ดขนาดกลาง อย่างปลาสร้อย ปลาตะเพียน ตะพาบหางไหม้ ปลาซิว ปลานอกพวก เรนโบว์ คราวเต็ทตร้า กลุ่ม Catfish อย่างปลาแขยงเป็นเพื่อนร่วมตู้ที่ดีของปลาหมู
ปลาหมูขนาดใหญ่ ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ จะทำลายไม้น้ำ ปลาเล็กอย่างหมูอารีย์ อยู่ในตู้ไม้น้ำมีน้ำหมุนเวียนได้ดี นอกจากนั้นแล้วปลาในกลุ่มนี้ยังกินหอยได้ดีอีกด้วย
โรคที่พบ
คือโรคจุดขาว อาการเริ่มต้นจะเริ่มคันว่ายแฉลบเอาสีข้างถูกับวัสดุในตู้ ถ้าไม่ทำการรักษาจะเริ่มมีจุดขาว ๆ มีเมือกออกตามตัวและครีบ ปล่อยทิ้งไว้จะลุกลามจนปลาตายได้
การเพาะพันธุ์
เป็นปลาที่ได้รับความนิยม มีการเพาะพันธุ์โดยวิธีผสมเทียม ซึ่งจะช่วยลดภาระให้กับธรรมชาติได้มาก ทำให้ผู้เลี้ยงได้ปลาที่มีสุขภาพดี
การเพาะพันธุ์ปลาหมูนั้น ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งการเพาะพันธุ์แต่ละครั้งจะต้องมีความพยายามเอาใจใส่ ผลที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร สิ่งที่สำคัญคือตู้เลี้ยงจะต้องกว้าง ระบบกรองที่ดี มีที่หลบซ่อนเยอะ ใกล้เคียงธรรมชาติ ปลาหมูที่โตเต็มวัยและสุขภาพดี อาหารหลากหลาย ไม่เลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นมากเกินไป สักวันอาจได้เห็นลูกปลาหมูว่ายอยู่ในตู้ก็ได้

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เปนข้อมูลที่ดีทีเดียว

แสดงความคิดเห็น

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม