11.24.2552

ปลาอะโรวาน่า


ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้พบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1844 ในประเทศอินโดนีเซีย ปลาชนิดนี้ถือได้ว่าเป็นปลาที่อยู่ในตระกูลโบราณที่หายาก ปลาอะโรวาน่าเป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่เงียบสงบ เป็นปลาที่ได้รับความนิยมมาก ในกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีการจับปลาอะโรวาน่ามาเลี้ยงมากขึ้น จึงทำให้ปลาลดน้อยลงไป ทำให้ออกกฎหมายคุ้มครองปลาอะโรวาน่าเกิดขึ้น

ถิ่นกำเนิด
อย่างที่ทราบกัน ปลาอะโรวาน่ามีถิ่นกำเนิดที่แตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ ปลาอะโรวาน่าจะอาศัยอยู่ตามแม่น้ำและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เท่าที่ผมรู้ในประเทศไทยจะพบปลาอะโรวาน่าอาศัยอยู่ทางภาคใต้และภาคตะวันออก ภาคใต้จะพบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี สตูล ส่วนทางภาคตะวันออกจะพบที่จังหวัดจันทบุรี และตราด เป็นต้น นอกจากนี้ปลาอะโรวาน่ายังมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย แถบอัฟริกาและอเมริกาใต้ ปลาอะโรวาน่าเราจะแบ่งตามถิ่นที่อยู่อาศัยได้ 5 ชนิด



1. ปลาอะโรวาน่าเอเซีย (Asian Arowana)

ชื่อวิทยาศาตร์ Scleropages formosus
ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ได้เลี้ยงมากที่สุดในประเทศของเรา อย่างที่ทราบโดยเฉพาะหมู่คนจีน เนื่องจากคนจีนเชื่อกันว่า ถ้าเลี้ยงปลาชนิดนี้แล้ว จะประสบโชคดีมีลาภ ปลาปลาอะโรวาน่าที่นิยมเลี้ยงในบ้านเรามีอยู่ 3 ชนิด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 90 เซนติเมตร


2. ปลาอะโรวาน่าเงิน (Silver Arowana)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Osteoglossum bicirrhosum
ปลาอะโรวาน่าเงินจะมีแหล่งกำเนิดในลุ่มน้ำอะเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ ปลาอะโรวาน่าเงินจะสังเกตุง่าย ๆ บริเวณลำตัวจะมีสีเงินแวว จะมีขายมากกันในบ้านเรา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 120 เซนติเมตร


3. ปลาอะโรวาน่าอัฟริกา (Afica Arowana หรือ Nile Arowana)

ชื่อวิทยาศาตร์ Heterotis niloticus
ปลาอะโรวาน่านี้จะพบในอัฟริกันชนิดเดียวเท่านั้น จะอาศัยตอนบนของแม่น้ำไนล์ สีของลำตัวด้านหลังและด้านข้างมีสีน้ำเงินอมดำหรือน้ำตาลอมเทา จะสังเกตุได้ว่าปลาชนิดนี้จะมีรูปร่างที่แปลกและมีราคาค่อนข้างแพงมาก จึงไม่นิยมเลี้ยง


4. ปลาอะโรวาน่าดำ (Black Arowana, South America Arowana)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Osteoglossum ferreirai
ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้จะอาศัยบริเวณ แม่น้ำริโอมิโกร ในประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับปลาอะโรวาน่าเงิน ปลาอะโรวาน่าดำจะมีสีคล้ำกว่าอะโรวาน่าเงิน จะมีครีบหลังและครีบก้นเป็นสีดำ


5. ปลาอะโรวาน่าออสเตรเลีย (Australia Arowana)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Scleropages leichardti
ปลาชนิดนี้จะมีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ลักษณะลำตัวจะเรียวยาว สีของลำตัวจะมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเขียว ปลาชนิดนี้มีการเลี้ยงกันน้อยและมีราคาสูงมาก ในประเทศออสเตรเลียได้มีกฎหมายคุ้มครองห้ามนำปลาออกนอกประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดอย่างเคร่งครัด อะโรวาน่าออสเตรเลียมี 2 ชนิด


ลักษณะทั่วไป
อย่างที่ทราบกันนะครับ ปลาอะโรวาน่าจะมีลักษณะเด่นตรงที่เกล็ดขนาดใหญ่เรียงกันอย่างงดงามปลาชนิดนี้จะมีสีสันแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่แต่ละชนิดและถิ่นที่อยู่อาศัย ปลาอะโรวาน่าจะมีลักษณะแบนด้านข้างลำตัวยาว ปากกว้างเฉียงเชิดขึ้น ฟันคมแหลม บริเวณริมฝีปากล่างจะมีหนวดสั้นอยู่ 2 หนวด

อุปนิสัย
โดยธรรมชาติแล้วปลาชนิดนี้จะอาศัยอยู่บริเวณน้ำไหลเอื่อย บริเวณก้อนหินและมีพื้นดินปนทราย ปลาชนิดนี้ชอบว่ายน้ำบริเวณผิวน้ำ โดยทั่วไปแล้วอะโรวาน่า เมื่อเห็นเหยื่อก็สามารถดีดตัวจับเหยื่อได้ ปลาอะโรวาน่าจัดเป็นปลากินเนื้อและมีนิสัยก้าวร้าวและดุร้าย

ขนาด
ปลาชนิดนี้เมื่อเจริญเติบโตได้เร็วมากและเมื่อโตเต็มที่ปลาชนิดนี้จะมีความยาวถึง 1 เมตร
ปลาชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้

การเพาะพันธุ์
ประวัติการผสมพันธุ์ปลาอะโรวาน่า ผสมพันธุ์ปลาอะโรวาน่าในตู้ปลาประสบผลสำเร็จครั้งแรกในเดือน ก.ย. 1996 ที่ Long Beach California ส่วนในประเทศไทยเพาะพันธุ์ได้ในบ่อดินสำเร็จเดือน พ.ย. 2531 โดยศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืด สุราษฎร์ธานี ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี pH ที่เหมาะสมในการเพาะพันธุ์ปลาอะโรวาน่าควรอยู่ในช่วง 6.5 – 8.5 โดยนำปลาเพศผู้และเพศเมียใส่ลงในบ่อ โดยพื้นที่เพาะพันธุ์จะต้องเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด ช่วงแรกเราจะสังเกตุปลาอะโรวาน่าจะจับคู่ใกล้ชิดกัน ถูตัวซึ่งกันและกันจะเห็นได้ว่าจะว่ายคู่กันอย่างนี้บ่อยครั้ง ตัวผู้จะใช้ครีบท้องของตนทำให้เสียงดังเป็นระยะ ๆ ตัวเมียจะทำเหมือนกัน แต่ไม่บ่อยเหมือนตัวผู้นี้คือพฤติกรรมก่อนตัวเมียวางไข่ เมื่อถึงเวลาที่จะวางไข่ปลาก็จะหาที่สงบ ๆ อยู่ตามลำพังช่วงนี้เราไม่ควรรบกวนหรือทำให้ตกใจและอาจจะทำให้ปลากินไข่ของตัวเองได้ ปลาอะโรวาน่าจะใช้เวลา 60 วันในการฟักไข่ ปลาชนิดนี้จะวางไข่ปีละ 2 ครั้ง อยู่ในช่วงเดือน พ.ค. – ม.ย. และช่วงที่ 2 เดือน ต.ค. – ธ.ค.

การอนุบาลลูกปลา
ควรนำลูกปลาอะโรวาน่าอนุบาลไว้ในตู้เพื่อความสะดวกในการดูแลและเมื่อลูกปลาออกมาใหม่จะไม่กินอาหารเพราะลูกปลาจะมีถุงไข่แดงติดอยู่ และเมื่อถุงไข่แดงยุบหายไปเราก็จะเริ่มให้อาหารที่มีขนาดเล็ก เช่นไข่มด ไรแดง เป็นต้น

การเลี้ยง
การเลี้ยงปลาอะโรวาน่า เราควรศึกษาให้ดีก่อน ก่อนทำการเลี้ยง ปลาชนิดนี้เราสามารถเลี้ยงได้ทั้งในตู้กระจกหรือในบ่อ โดยทั่วไปแล้วเรานิยมเลี้ยงในตู้กระจกเพื่อความสวยงาม ปลาชนิดนี้ไม่นิยมเลี้ยงในตู้เดียวกันหลายตัว เพราะทำให้ปลากัดกันเอง ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้ในตู้กระจกขนาดใหญ่ไว้ในบ้าน ภายในตู้ต้องมีระบบกรองน้ำ แสงสว่างและระบบให้อากาศอยู่ตลอดเวลา ปลาอะโรวาน่าเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายโตเร็ว กินอาหารได้หลายอย่าง

อาหารการกินของอะโรวาน่า
อย่างที่รู้กัน ปลาอะโรวาน่าเป็นปลาที่กินสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เป็นอาหาร เหยื่อที่กิน เช่น ลูกปลา กุ้ง กบ และแมลงต่าง ๆ เป็นต้น บางท่านอาจจะให้อาหารเม็ดก็ได้ เช่น Hikari tetra และ Azoo เป็นต้น อาหารจำพวกนี้ทำมาเพื่อปลาชนิดนี้โดยเฉพาะ แต่การให้อาหารเม็ดควรทำการฝึกให้กันตั้งแต่เล็กผสมกับอาหารจำพวกเนื้อ

การแยกเพศ
การแยกเพศปลาชนิดนี้ โดยการสังเกตจากรูปลักษณะภายนอกในระยะแรกยังหาข้อสรุปไม่ได้ เนื่องจากปลาเพศเมียและเพศผู้มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ทางศูนย์พัฒนาการประมงน้ำจืด สุราษฎร์ธานีได้ทำการผ่าพิสูจน์ปลาที่ดองไว้ ทำให้สามารถดูลักษณะภายนอกได้ โดยครีบหูและระยะห่างระหว่างปลายครีบหูและระยะห่างระหว่างปลาครีบหูกับฐานครีบท้อง กล่าวคือ ในปลาอะโรวาน่าเพศผู้ครีบหูหนาใหญ่ โค้งหุ้มและยาวจรดฐานครีบท้อง ส่วนปลาตัวเมีย ครีบหูบางสั้น ระยะห่างจากปลายครีบหูถึงฐานครีบท้อง จึงกว้างกว่าปลาเพศผู้ นอกจากนี้ปลาเพศเมียจะมีส่วนกว้างของลำตัวมากกว่าปลาเพศผู้

การเลือกซื้อปลาอะโรวาน่า
ในการเลือกซื้อควรจะดูการว่ายน้ำต้องมีลักษณะสง่างาม หางไม่หุบ ไม่ลู่ ปลาอะโรวาน่าที่ดีจะต้องมีสีของลำตัวเข้ม ลำตัวตรง ขอบด้านและด้านบนขนานกัน ดวงตาต้องสดใสไม่คว่ำไม่ตก ปลาจะต้องมีครีบสมบูรณ์ ครีบหลังและครีบก้นต้องใหญ่ ครีบหางต้องแผ่กว้างและครีบต้องไม่มีตำหนิใด ๆ นี้จะเป็นการเลือกซื้อปลาอะโรวาน่าที่เราจะได้ปลาที่ดีและแข็งแรง

ตลาด
เราจะมาพูดถึงเรื่องตลาดกันบ้าง ในช่วงปี 2546 เศรษฐกิจของบ้านเราไม่ค่อยจะดี แต่ในขณะเดียวกันตลาดปลาอะโรวาน่ากลับได้รับความนิยมอย่างไม่น่าเชื่อ บางท่านอยากรู้ทำไมราคาปลาบ้านเราถึงได้สูงขึ้นกว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา คือ ปลาอะโรวาน่าเขียวตัวละ 1,400 บาท แต่ตอนนี้ตัวละ 2,500 – 3,000 บาท ปลาอะโรวาน่าทองอินโด จาก 8,500 บาท มาเป็น 15,000 บาท สวนทองมาเลย์จากเดิม 30,000 บาท ตอนนี้ 45,000 บาท
จากข้อมูลที่รู้มาตอนนี้ประเทศไต้หวันได้ผ่าน cites คือได้รับใบอนุญาตจากสภาสมาคมโลกของสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้จากการเพาะพันธุ์ หลังจากดูระงับการนำเข้าปลามา 8 ปีเต็มแล้ว และเพิ่งผ่านเมื่อต้นปี 2546 เองครับ ประเทศไต้หวันได้สั่งปลาจำนวนมาก ทำให้บ้านเราได้ปลาจำนวนน้อยจึงทำให้ราคาในบ้านเรามีราคาสูงขึ้นนี้เอง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม