12.29.2555

ปลากดหัวผาน (อังกฤษ: Shovelnose sea catfish) ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemiarius verrucosus อยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae)มีรูปร่างคล้ายปลากดคัง (Hemibagrus wyckioides) ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน แต่จะมีส่วนหัวที่ยาวและปลายจะงอยปากยื่นแหลมกว่า พื้นลำตัวเป็นสีดำอมน้ำตาล ท้องสีขาว และมีหนวดที่ไม่ยาวเก่าปลากดคัง มีครีบทั้งหมด 8 ครีบ โดยครีบหลังจะยาวใหญ่กว่า เงี่ยงแหลมที่ก้านครีบหลังใหญ่และแหลมคมกว่า ครีบอกมีเงี่ยงขนาดใหญ่แหลมคม ก้านครีบอก ครีบหลัง ครีบท้องสีซีดจาง ครีบไขมันค่อนข้างเล็ก เส้นประสาทข้างลำตัวเล็กมากจนแทบมองไม่เห็น มีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร ใหญ่สุด 80 เซนติเมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 6 กิโลกรัม
พบอาศัยอยู่อย่างชุกชุมในอดีตในเขตน้ำกร่อยตอนใต้ถึงน้ำจืดในแม่น้ำบางปะกง แต่พบน้อยมากที่แม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จะพบได้บ่อยในอดีตในช่วงที่มีน้ำทะเลหนุน ที่สภาพน้ำมีความเค็มมาก ปลามักจะว่ายน้ำขึ้นทวนน้ำเพื่อหนีความเค็ม
ปัจจุบัน เป็นปลาที่พบได้น้อยมาก จนมีสภาพล่อแหลมต่อการใกล้สูญพันธุ์ (VN) ตามบัญชีแดง ของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ในแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบซากฟอสซิลเพียงไม่กี่ชิ้นที่ก้นแม่น้ำ และในแม่น้ำบางปะกงได้หายไปหลังปี พ.ศ. 2535 ซึ่งก่อนหน้านั้นสามารถจับได้ปีละหลายสิบตัว และมีทุกขนาดตั้งแต่น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม สันนิษฐานว่าเป็นเพราะการสร้างเขื่อนทดน้ำบางปะกง ทำให้ปลาไม่สามารถว่ายทวนน้ำหนีความเค็มได้เหมือนเช่นในอดีต
ปลากดหัวผานยังสามารถพบได้อีกที่ลุ่มแม่น้ำโขง ที่นั่นจัดว่าเป็นปลาที่หาได้ไม่ยาก นิยมนำมาบริโภคมีขายกันในตลาดสดในประเทศลาว โดยพบได้ตั้งแต่ตอนใต้ของน้ำตกหลี่ผี และคอนพะเพ็ง จนถึงจังหวัดกระแจะ ในประเทศกัมพูชา บริเวณปากแม่น้ำโขง แต่ในประเทศไทยไม่มีรายงานพบมานานแล้วกว่า 20 ปี จึงสันนิษฐานว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้วจากธรรมชาติ[1]

ปลากดดำ หรือ ปลากดหม้อ (อังกฤษ: Crystal eye catfish, Black diamond catfish) ปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus wyckii มีรูปร่างค่อนข้างสั้นป้อม หัวและลำตัวตอนหน้าแบนราบกว่าปลาชนิดอื่น ๆ ปากกว้าง ตาค่อนข้างเล็ก ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังมีก้านแข็ง ครีบไขมันค่อนข้างยาว หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณหลัง ตัวมีสีเทาคล้ำหรือดำ ด้านท้องสีจาง ครีบสีคล้ำขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีขาวเห็นชัดเจน
มีขนาดประมาณ 30 เซนติเมตร ใหญ่สุด 70 เซนติเมตร พบในแม่น้ำสายใหญ่ทุกภาคของประเทศ และพบไปถึงบอร์เนียว เป็นปลากดที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลากดคัง (H. wyckioides) และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย

ปลากดหม้อ ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปเช่น ปลาสิงห์ดำ, ปลากดหางดอก ชื่อที่ใช้เรียกในวงการปลาสวยงามคือ "มรกตดำ" แต่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวมาก ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้เลย

8.28.2555


สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิด จะมีการอพยพย้ายถิ่นฐานตามแต่ฤดูกาล โดยจะย้ายถิ่นฐานจากถิ่นเดิมที่เคยอยู่อาศัย เมื่อสภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป เช่นแหล่งอาหารที่เคยอุดมสมบูรณ์เริ่มขาดแคลน สภาพอากาศมีความหนาวเย็นเกินไปหรือร้อนจัดจนเกินไป ไม่สามารถดำรงชีวตอยู่ได้ หรืออาจอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อหาแหล่งที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับการผสมพันธุ์ การอพยพย้ายถิ่นฐานของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะขึ้นอยู่กับสิ่งปลุกเร้าทางสรีระร่างกายด้วย ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และเมื่อสภาพภูมิอากาศกลับคืนสู่สภาพเดิม ก็จะอพยพย้ายถิ่นฐานกลับมายังถิ่นเดิม และจะปฏิบัติเป็นประจำทุก ๆ ปี[11]

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในเรื่องของการอพยพย้ายถิ่นฐานของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่การอพยพของสัตว์ที่มีกีบเช่นกวางเรนเดียร์ที่อาศัยในแถบทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งนักชีววิทยาได้ทำการติดตาม ค้นคว้าและสำรวจถึงพฤติกรรมอันแปลกประหลาดของกวางเรนเดียร์ ที่จะต้องอพยพย้ายถิ่นฐานในทุก ๆ ปี ซึ่งพฤกติกรรมดังกล่าวมีระยะเวลามากกว่าร้อยปีขึ้นไป กวางเรนเดียร์จะอาศัยอยู่ในแถบเขตแดนที่ทุรกันดารทางตอนเหนือของอเมริกาในช่วงฤดูร้อน และอพยพลงทางตอนใต้ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี โดยใช้เส้นทางเดิมที่อพยพจากทางตอนเหนือของอเมริกา และระหว่างการอพยพจะมีการผสมพันธุ์กันด้วย

เมื่อถึงช่วงฤดูหนาวกวางเรนเดียร์จะอยู่กับที่ ไม่เดินทางย้ายไปไหนจนกระทั่งย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ จึงจะเริ่มการอพยพย้ายกลับคืนถิ่นฐานในอเมริกาเหนืออีกครั้ง ระหว่างทางกวางเรนเดียร์ที่ได้รับการผสมพันธุ์จากการเดินทาง จะออกลูกในช่วงการอพยพย้ายกลับถิ่นฐานด้วย การอพยพของกวางเรนเดียร์จะเป็นการเนทางเป็นฝูงใหญ่ ด้วยปริมาณกวางจำนวนมากกว่าร้อยตัวขึ้นไป และมุ่งหน้าเดินทางเพียงอย่างเดียวโดยไม่หวั่นและเกรงกลัวต่ออุปสรรคตลอดการเดินทาง บางครั้งจากการติดตามการอพยพของกวางเรนเดียร์ นักชีววิทยาพบว่ามีกวางในฝูงจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยตัว จมน้ำตายในขณะที่พยายามจะข้ามแม่น้ำที่เชี่ยวกราดหรือถูกสัตว์นักล่าโจมตีเป็นอาหารโดยที่ไม่ยอมเปลี่ยนทิศทางในการอพยพ

วาฬหลายชนิดในท้องทะเลและมหาสมุทร เช่นวาฬบาลีน วาฬอัมพ์แบค วาฬสีเทา จะมีการอพยพย้ายถิ่นฐานตามฤดูกาลเป็นประจำ ในระยะทางหลายพันกิโลเมตร แต่การอพยพของวาฬส่วนใหญ่ จะเป็นการอพยพเพื่อหาแหล่งที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์และออกลูก ซึ่งการเดินทางด้วยระยะทางหลายพันกิโลเมตรทั้งการเดินทางไปและกลับโดยยึดเส้นทางเดินทางเดิมโดยไม่หลงทาง ยังเป็นสิ่งนักชีวิวิทยาและนักสัตววิทยา ยังไม่สามารถหาคำอธิบายได้อย่างชัดเจน[11]

ค้างคาวเป็นสัตว์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานเช่นเดียวกัน แต่การอพยพยของค้างคาวกลับมีไม่มากเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดอื่น และมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น โดยจะอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อหลบหนีอากาศที่หนาวเย็น ไปยังเขตพื้นที่ที่มีสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่า

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและนก จัดเป็นสัตว์เพียง 2 กลุ่มเท่านั้นที่เรียกว่าสัตว์เลือดอุ่น (warm-blooded) ซึ่งมีความแตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่เรียกว่าสัตว์เลือดเย็น (cold-blooded) โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมนั้นจะมีอุณหภูมิร่างกายที่คงที่ อุณหภูมิภายในร่างกายจะอุ่นกว่าอุณหภูมิภายนอกร่างกายเสมอ แต่สัตว์เลือดเย็น ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเลือดที่เย็นเสมอไป ปลาที่อาศัยในเขตร้อน แมลงและสัตว์เลื้อยคลานต่างก็มีการพึ่งแสงแดดเพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิของร่างกายเช่นกัน และเป็นการช่วยรักษาอุณหภูมิของร่ายกายให้เท่าหรือเกือบเท่ากับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั่วไป

แต่ในทางกลับกัน สัตว์เลือดอุ่นที่มีการจำศีลในตลอดช่วงระยะเวลาของฤดูหนาว จะมีอุณหภูมิของร่างกายที่ลดลงจนเกือบถึงจุดเยือกแข็งของน้ำ ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งกันของนักสัตววิทยาที่ความหมายของสัตว์เลือดอุ่นและสัตว์เลือดเย็น ยังมีความหมายที่ไม่ชัดเจนมากนัก แต่ก็ยังเป็นคำเรียกที่นิยมใช้เรียกกันในปัจจุบัน[9]

สัตว์ที่จัดอยู่ในประเภทโฮมิโอเธอร์มิค (homeothermic) ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและนก ซึ่งจะมีอุณหภูมิของร่างกายที่คงที่ ส่วนสัตว์ที่จัดอยู่ในประเภทพอยคิโลเธอร์มิค (poikilothermic) หมายถึงสัตว์ชนิดอื่น ๆ ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิของร่างกายตามสภาพของภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังมีความสับสนในเรื่องการปรับตัวตามสภาพภูมิอากาศ เช่น ปลาจัดเป็นสัตว์ประเภทพอยคิโลเธอร์มิค แต่สำหรับปลาที่อาศัยอยู่ในแถบท้องทะเลที่มีความลึกมาก ๆ จะอยู่ในสภาพภูมิอากาศที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมากนัก ทำให้ปลาในท้องทะเลลึกมีอุณหภูมิของร่างกายที่คงที่ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในประเภทของโฮมิโอเธอร์มิคด้วยเช่นกัน

แต่สำหรับนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิด ที่มีการเบี่ยงเบนของอุณหภูมิร่างกายในช่วงระยะเวลากลางวันและกลางคืน หรือตลอดฤดูการจำศีลก็อาจจะจัดให้อยู่ในประเภทพอยคิโลเธอร์มิคก็ได้ จากความสับสนในการจัดประเภทสัตว์นี้ ทำให้นักสัตววิทยาและนักชีววิทยานิยมเรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและนก ว่าเป็นสัตว์เลือดอุ่นหรือจัดอยู่ในประเภทโฮมิโอเธอร์มิค คือมีการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยการอาศัยความร้อนที่เกิดจากเมทาโบลิซึมภายในร่างกาย

สำหรับกระบวนการในการรักษาอุณหภูมิรางกายให้คงที่นั้น กระบวนการทางชีวเคมีและส่วนของระบบประสาท จะเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก กระบวนการนี้จะช่วยทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีความปราดเปรียว ว่องไวในฤดูหนาว รวมถึงมีพฤติกรรมที่สัตว์ชนิดอื่น ๆ ทำไม่ได้ ตามปกติอุณหภูมิร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะอยู่ระหว่าง 36 - 38 องศาเซลเซียส แต่สำหรับนกจะอยู่ที่ประมาณ 40 - 42 องศาเซลเซียส การรักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ เป็นการทำให้ความร้อนที่สร้างขึ้นภายในร่างกาย กับความร้อนที่สูญเสียไปอยู่ในสภาวะที่สมดุล[9]

ความร้อนภายในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เกิดจากเมทาโบลิซึมที่ประกอบไปด้วยออกซิไดร์อาหาร กระบวนการเมโทบาลิซึมภายในเซลล์จะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อ ความร้อนจะสูญเสียไปโดยการถ่ายเทไปยังที่เย็นกว่า โดยการระเหยของน้ำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสามารถควบคุมกระบวนการทั้ง 2 กระบวนการคือ สร้างและระบายความร้อน เมื่อร่างกายเริ่มเย็นก็จะเพิ่มความร้อนด้วยการทำงานของกล้ามเนื้อ และลดการสูญเสียความร้อนด้วยการเพิ่มฉนวนความร้อน เมื่อร่างกายเริ่มอุ่นหรือร้อนเกินไป ก็จะลดการสร้างความร้อนและเพิ่มการระบายความร้อนออกจากร่างกายแทน


ชะมดแปลงลายแถบ หรือ อีเห็นลายเมฆ (อังกฤษ: Banded linsang, ชื่อวิทยาศาสตร์: Prionodon linsang) เป็นชะมดชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์ในแถบคาบสมุทรมาเลย์, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว และชวาตะวันตก รวมทั้งในประเทศไทยตั้งแต่บริเวณคอคอดกระลงไป

ชะมดแปลงลายแถบ จัดเป็นชะมดชนิดหนึ่งที่ไม่มีต่อมกลิ่น มีลายเป็นแถบคดเคี้ยวขวางบริเวณหลังทั้งหมด 5 แถบ และตามด้านข้างของคอและลำตัว จุดจะติดกัน กลายเป็นแถบคดเคี้ยวมีอยู่ด้านละ 2 แถบ สีพื้นของตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองซีด ๆ หางมีปล้องสีขาวสลับดำอยู่ 7 ปล้อง ไม่มีขนแผงคอหรือแผงหลัง มีขนาดตัวยาวจากหัวถึงหาง 74 เซนติเมตร อาศัยและหากินบนต้นไม้มากกว่าจะลงมาพื้นดิน กินอาหาร ได้แก่ กระรอก, หนู, นก และจิ้งจก

มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม สร้างรังออกด้วยเรียวไม้และใบไม้อยู่ในโพรงดินโคนต้นไม้ใหญ่ ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว มีอายุยืนเกือบ 10 ปี

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535


หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือ จิ้งจอก (อังกฤษ: Fox, Jackal) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง และตัวมีกลิ่นเหม็นมาก หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั้งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[1]

หมาจิ้งจอก มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความเจ้าเล่ห์ ในความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออก จิ้งจอกที่มีอายุมาก ๆ จะเป็นปีศาจสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของหมาจิ้งจอกนั้นไม่ทำร้ายคนอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ และในนิทานหลายเรื่อง เช่น นิทานอีสปก็จะมีอ้างอิงถึงหมาจิ้งจอกอยู่มากด้วยเช่นกัน เช่น องุ่นเปรี้ยว, หมาหางด้วน หรือ สิงโตกับหมาจิ้งจอก เป็นต้น
ชอบออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันมักจะนอนในโพรงดิน หากมีหลายตัวอาจจะไล่จับกินสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น กวาง หรือสัตว์ขนาดเล็กเช่น กิ้งก่า จิ้งเหลน แย้ หรือซากสัตว์และผลไม้ โดยมากหากินตัวเดียวหรือเป็นคู่ คือประมาณ 2-4 ตัว ไม่ค่อยอยู่เป็นฝูง จะดุเมื่อจวนตัว[1]

ส่วนการผสมพันธุ์ หมาจิ้งจอกเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 2 เดือน ออกลูกครั้งละ 4-5 ตัว หมาจิ้งจอกมีอายุประมาณ 12 ปี สำหรับในประเทศไทยจะพบหมาจิ้งจอกได้เพียงชนิดเดียว คือ หมาจิ้งจอกทอง หรือ หมาจิ้งจอกเอเชีย[3]ซึ่งเชื่อว่า เป็นบรรพบุรุษต้นสายพันธุ์ของ สุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว ด้วย

กระแต

กระแต (อังกฤษ: Treeshrew, Banxring[1], อันดับ: Scandentia) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Scandentia

กระแต มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับกระรอก ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) รวมทั้งมีพฤติกรรมความเป็นอยู่ที่คล้ายกัน หากแต่กระแตมีปากยื่นยาวกว่ากระรอก มีฟันเล็กหลายซี่ ไม่ได้เป็นฟันแทะ แบ่งออกเป็นฟันตัด 4 ซี่ ที่ขากรรไกรบน และ 6 ซี่ที่ขากรรไกรล่าง จึงไม่สามารถที่จะกัดแทะผลไม้หรือไม้เปลือกแข็งอย่างกระรอกได้ และมีนิ้วที่ขาคู่หน้า 5 นิ้ว ที่เจริญและใช้ในการหยิบจับได้ดี เหมือนเช่นสัตว์ในอันดับไพรเมต (Primate) หรืออันดับวานร กระแตมีขนปกลุมลำตัวสีเขียวหรือสีน้ำตาลเหมือนกระรอก มีหางยาวประมาณ 12-19 เซนติเมตร

กระแต นั้นหากินทั้งบนพื้นดิน โคนต้นไม้ และบนต้นไม้ กินได้ทั้งพืช และสัตว์เล็ก ๆ อย่าง แมลง หรือหนอน เป็นอาหาร โดยมากจะหากินในเวลากลางคืน และอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว แต่บางครั้งก็พบอยู่ด้วยกัน 2-3 ตัว เป็นฝูงเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว โดยที่ก็ตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า เช่น ชะมด หรืออีเห็น, แมวป่า หรือนกล่าเหยื่อ อย่าง เหยี่ยว หรืออินทรี ด้วย

กระแต กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในป่าทวีปเอเชียแถบเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีทั้งหมด 19 ชนิด 5 สกุล แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ พบในประเทศไทย 5 ชนิด คือ กระแตเหนือ (Tupaia belangeri) และกระแตใต้ หรือกระแตธรรมดา (T. glis), กระแตเล็ก (T. minor), กระแตหางขนนก (Ptilocercus lowii) และกระแตหางหนู (Dendrogale murina)

เดิม กระแตเคยถูกจัดรวมอยู่อันดับเดียวกับอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) เช่น หนูผี แต่ปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกเป็นอันดับต่างหาก และกระแตถูกสันนิษฐานว่ามีบรรพบุรุษร่วมกันกับอันดับไพรเมตด้วย ด้วยมีนิ้วที่เท้าหน้าคล้ายคลึงกัน โดยวิวัฒนาการแยกออกจากกันในยุคอีโอซีนตอนกลาง

กวาง


กวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cervidae; อังกฤษ: Deer) เป็นวงศ์ทางชีววิทยา ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง) มีลักษณะ ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา ลักษณะเขาตัน ไม่กลวง เป็นเกลียว บางชนิดอาจแตกแขนงได้มากเหมือนกิ่งไม้ ไม่มีถุงน้ำดี ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน

สัตว์เคี้ยวเอื้องอื่นบางชนิดเรียกว่ากวางตามชื่อสามัญ แต่ไม่ใช่กวางแท้ เช่น สัตว์ในวงศ์กวางชะมด (ชื่อสามัญ: Musk deer; ชื่อวิทยาศาสตร์: Moschidae) และกวางผา (ชื่อสามัญ: Himalayan goral; ชื่อวิทยาศาสตร์: Naemorhedus goral)


อันดับไฮแรกซ์ (อังกฤษ: Hyrax, Dassie) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ที่เรียกชื่อสามัญว่า ไฮแรกซ์ หรือ ตัวไฮแรกซ์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hyracoidea (/ไฮ-รา-คอย-เดีย/)

ลักษณะโดยรวมของไฮแรกซ์ มีลำตัวอ้วนป้อม มีขนปกคลุมทั้งลำตัว แลดูคล้ายหนูตะเภา ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ไฮแรกซ์มีอันดับแยกออกมาชัดเจน โดยมีขาหน้าเป็นกีบคล้ายกับพวกสัตว์ในอันดับสัตว์กีบคู่ หรือสัตว์กีบคี่ ขาหน้ามี 4 นิ้ว หูและหางสั้น ไม่มีเขี้ยว มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 30-70 เซนติเมตร น้ำหนักตัวราว 4-5 กิโลกรัม

ไฮแรกซ์เป็นสัตว์ที่มีสายวิวัฒนาการใกล้เคียงกับสัตว์ในอันดับช้าง (Proboscidea) หรือช้างในปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ด้วยว่ามีลักษณะของฟันซี่หน้า 2 ซี่บนขากรรไกรบนเช่นเดียวกันที่ยาว แต่ทว่าฟันเขี้ยวจะไม่งอกยาวออกมาเป็นงาเหมือนช้าง และมีข้อต่อนิ้วที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

ไฮแรกซ์ เป็นสัตว์กินพืช สามารถกินพืชได้หลากหลายประเภท ทั้งเมล็ดหรือหญ้า และยังกินพืชที่มีหนามและมีพิษได้อีกด้วย และเป็นสัตว์ที่สามารถปีนป่ายก้อนหินหรือโขดหินได้เป็นอย่างดี พบกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปแอฟริกาเท่านั้น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ชอบอาบแดดในเวลาเช้าแล้วจึงออกหาอาหาร โดยจะกินอย่างรวดเร็วและหันหลังชนกันและหันหน้าออกเพื่อจะคอยระวังสัตว์กินเนื้อ นอกจากนี้แล้วไฮแรกซ์ยังไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะออกมาหาอาหารใกล้ ๆ กับชุมชนที่มีมนุษย์อาศัยอยู่เสมอ ๆ [2]

ไฮแรกซ์ แบ่งออกได้เป็น 5 วงศ์ (ดูในตาราง) แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 4 วงศ์ จึงเหลือเพียงวงศ์เดียว แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด

6.28.2555


วงศ์ปลาดุกไฟฟ้า (วงศ์: Malapteruridae, อังกฤษ: Electric catfish) วงศ์ปลาหนังน้ำจืดจำพวกหนึ่ง พบเฉพาะในทวีปแอฟริกาตอนเหนือและตะวันออกบริเวณแม่น้ำไนล์ มีทั้งหมด 2 สกุล พบทั้งหมด 25 ชนิด

มีลำตัวมีรูปร่างกลมป้อม หัวหนา ตามีขนาดเล็ก มีครีบ 7 ครีบ แต่ไม่มีครีบหลัง มีเพียงครีบไขมัน ขนาดใหญ่ อยู่ด้านหลังใกล้โคนหาง ครีบอก 1 คู่ ไม่มีเงี่ยง ครีบท้อง 1 คู่มีขนาดเล็ก ครีบก้นอยู่ตรงข้ามกับครีบไขมัน หางมีขนาดใหญ่เป็นรูปพัด มีหนวด 3 คู่ รอบริมฝีปากมีหนังหนา มีอวัยวะสร้างไฟฟ้า 1 คู่โดยฝังอยู่ใต้ ผิวหนังที่หนาบริเวณลำตัวข้างละอันการปล่อยกระแสไฟฟ้าอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาท โดยปกติจะปล่อยกระแสไฟฟ้าเวลาหาอาหารหรือป้องกันตัวเท่านั้น ปลาที่มีขนาดใหญ่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าขนาด 1 แอมแปร์ และแรงคลื่นกว่า 100 โวลท์ได้ ซึ่งกระแสไฟฟ้าขนาดนี้ในน้ำสามารถ ทำอันตรายต่อศัตรู หรือแม้กระทั่งมนุษย์ได้ แต่แม้กระนั้นกระแสไฟฟ้าของปลาดุกไฟฟ้าเมื่อเทียบกับ ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) ก็ยังจัดว่ามีกำลังอ่อนกว่ามาก เพราะปลาไหลไฟฟ้าขนาดใหญ่บางตัวสามารถสร้างไฟฟ้าที่มีแรงคลื่นสูงถึง 600 โวลท์ ซึ่ง เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสัตว์ทุกชนิด สีตัวของปลาดุกไฟฟฟ้า ด้านหลังเป็นสีน้ำตาลลอมเทา ส่วนด้านท้องมีสีจางกว่า ตามตัว มีปละสีดำกระจายทั่วตัวจะมากหรือน้อยไม่แน่นอน ตามครีบมีสีอ่อน โคนครีบหางมีสีดำจางพาดลงมา โดยเฉพาะในตัวที่มีขนาดเล็ก ปลาดุกไฟฟ้าเป็นปลาที่รู้จักของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณไม่ต่ำ กว่า 6,000 ปี ทั้งนี้โดยมีหลักฐานจากภาพแกะสลักบนแผ่นดินที่พบในปิรามิดของอียิปต์ นิยมใช้เนื้อบริโภคในท้องถิ่น

เป็นปลากินเนื้อ มักซุกซ่อนตัวอยู่นิ่ง ๆ ตามวัสดุใต้น้ำ เช่น โพรงไม้, สาหร่าย หาเหยื่อในเวลากลางคืนด้วยการสร้างกระแสไฟฟ้าเพื่อสลบเหยื่อ การขยายพันธุ์เชื่อกันว่าเป็นปลาที่ฟักไข่ในปาก

ปลาดุกไฟฟ้า ชนิดที่ใหญ่ที่สุดโตเต็มได้ราว 1.22 เมตร คือ ชนิด Malapterurus microstoma ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งต้องเลี้ยงเดี่ยว ๆ เพียงตัวเดียวเนื่องจากเป็นปลาที่ก้าวร้าว ซ้ำยังสามารถปล่อยไฟฟ้าใส่ปลาชนิดอื่นได้อีก

ซึ่งคำว่า Malapteruridae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ทางวิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า Mala หมายถึง นุ่มนิ่ม, pteron หมายถึง ครีบ และ oura หมายถึง หาง

5.22.2555

Goblin Shark


ฉลามก็อบบลิน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitsukurina Owstoni (ตามชื่อเรือประมง
ที่ค้นพบ) เป็นปลาฉลามที่หายากและข้อมูลของมันมีน้อยมาก มันอาศัยในแถบ
มหาสมุทรแปซิฟิคตอนใต้ ไล่ไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติคและมหาสมุทรอินเดีย
ตอนใต้ พบครั้งแรกที่ประเทศ ญี่ปุ่น รูปร่างลักษณะของมันก็เหมือนฉลามธรรมดา
ผิวสีเทา มีหาง มีครีบ แต่จะมีครีบที่ค่อนข้างมากอยู่สักหน่อย และส่วนที่เห็นได้ชัดเลย
ว่าแตกต่างไปจากฉลามตัวอื่น คือ เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากหน้าผากมัน หรือก็คือจมูก
ที่มีลักษณะแบนราบซึ่งจะ เป็นตัวช่วยให้ฉลามก็อบบลินหาเหยื่อได้ โดยจะมีอวัยวะที่
ทำงานคล้ายเซนเซอร์ไฟฟ้าอยู่ข้างในจมูกของมัน คอยส่งสัญญาณให้ฉลามก็อบบลิน
รู้ว่าเหยื่ออยู่ที่ไหน ระยะทางเท่าไหร่ แต่บางทีมันก็ใช้การดมกลิ่นแทน ส่วนขนาด
ความยาวทั้งตัวตั้งแต่หัวถึงหางของฉลามก็อบบลินก็ยาวประมาณ 11-15 ฟุตหรือ
3.3 -4.5 เมตร

ปัจจุบันไม่มีรายงานการโจมตีของฉลามชนิดนี้เลยเนื่องจากมันหายากและอยู่ในน้ำลึก
ส่วนสาเหตุที่หายากและใกล้สูญพันธุ์เนื่องมาจากใต้ทะเลนั้นมืดมิด โอกาสที่จะได้เจอ
คู่ของมันนั้นยากมาก ทำให้ไม่มีโอกาสผสมพันธ์กัน

Lamprey


ปลาแลมเพรย์เป็นปลาไหลชนิดหนึ่ง ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและ

ครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะคล้าย

แว่นใช้สำหรับดูด ปากกลมซึ่งไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ขึ้นมาบังคั

ขากรรไกรให้อ้าและหุบแบบปัจจุบัน พวกมันต้องการเพียงปากที่มีตะขอสำหรับเกาะ
เหยื่อเพื่อดูดเลือดสัตว์อื่นเป็นอาหาร และดำรงชีพเป็นปรสิตเมื่อดูดเลือดของเหยื่อจน
ตัวเหยื่อแห้งก็จะปล่อยแล้วหาเหยื่อใหม่ (แลมเพรย์มีหลายชนิด บางชนิดไม่จำเป็น

ต้องดำรงแบบปรสิต)
แลมป์เพรย์ มีทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล และมีกระจายอยู่ทั่วโลก คือ อเมริกาเหนือ


อเมริกาใต้ ยุโรป อาฟริกาตะวันตก ญี่ปุ่น ชิลี นิวซีแลนด์ และ ทาสเมเนีย

Blob Fish


ปลาบร็อบ ( Blobfish ) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ " Psychrolutes marcidus " เป็น
ปลาน้ำลึก ที่พบในน่านน้ำ ออสเตรเลีย ( Australia ) และ แทสมาเนีย ( Tasmania )
เนื่องจากการเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยทำได้ยาก จึงไม่ค่อยมีผู้พบเห็นมากนัก
ปลาบร็อบ ถูกพบในระดับความลึกที่มีแรงดันมากกว่าปกติ ถึง 12 เท่าทำให้ถุงลม

ขาดประสิทธิภาพ เพื่อที่ปลา สามารถลอยตัวได้ (ที่รู้จักกันในชื่อ "กระเพาะปลา"
มีหน้าที่ เก็บกักอากาศ หรือปล่อยอากาศออกเพื่อประโยชน์ในการลอยตัว หรือดำน้ำ)
ปลาจึงมีเนื้อที่มีลักษณะเป็นวุ้น มีความหนาแน่น น้อยกว่าน้ำเล็กน้อย เพื่อให้สามารถ

ลอยตัวเหนือพื้นทะเล โดยใช้พลังงานน้อยที่สุดในการลอยตัว และว่ายน้ำ จึงทำให้

ปลาบร็อบ ไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อ และข้อดีอย่างแรกก็คือมันสามารถทิ้งตัวลงมา

จับเหยื่อจากด้านบนจึงเป็นการดีกว่าจะเข้า จู่โจมจากด้านหน้าที่อาจจะได้รับอันตราย

จากการที่เหยื่อต่อสู้

Basking Shark


ฉลามบาสกิ้น ความจริงยังมีฉลามอีกมากควรติดอันดับ เช่นฉลามยักษ์เมกาโลดอน
(Megalodon Sharkหรือฉลามเมกาเมาทธ์ (MegaMouth ) แต่ดูเหมือนว่าฉลาม
บาสกิ้นจะดูโดดเด่นที่สุดในอันดับของเรา โดยฉลามชนิดนี้เป็นยักษ์ใหญ่ผู้ใจดีแห่ง
ท้องทะเลใหญ่เป็นอันดับสองรองจากฉลามวาฬยาวประมาณ 12.27 เมตร หนักกว่า
19 ตัน มีรายงานการพบปลาขนาดใหญ่ที่นอร์เวย์วัดได้ยาว 12 เมตร มีปากขนาดใหญ่
แต่กินแพลงตอนเป็นอาหารโดยปากของมันจะเหมือนตัวกรองที่สามารถดูดน้ำเข้าปาก
ได้ 2000 ตันต่อชั่วโมง พบในมหาสมุทรที่น้ำเย็นทั่วโลก แต่เนื่องจากมันเชื่อมช้าทำให

มันมักติดมากับอวดของชาวประมงอยู่บ่อยๆ อีกทั้งมันยังถูกล่าในเชิงพาณิชย์อีกด้วย
ทำให้มันเริ่มหายาก (ครีบ กระดูกอ่อนยาจีน เนื้อดิบญี่ปุ่น) ทำให้กลายเป็นสัตว์สงวน
ห้ามล่า


แฮคฟีช (hagfish) รูปร่างเหมือนทากหรือปลิงแต่ความจริงแล้วเป็นปลา เป็นปลา
ไม่มีขากรรไกรที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยการกินปลาตาย หรือใกล้ตายรวมทั้งสัตว์ไม่
มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม กลุ่มหนอนปล้อง มอลลัสและครัสเตเชียน ดังนั้น
ฮคพีช จึงไม่เป็นปาราสิต และไม่ได้เป็นสัตว์ล่าเหยื่อ แต่ค่อนมาทางกินซากสัตว์
มากว่า แฮคฟีชมีประมาณ 32 ชนิด ชนิดที่รู้จักกันดีในอเมริกาเหนือ ในมหาสมุทร
แอตแลนติก
แฮคฟีชกินปลาตายหรือปลาใกล้ตายโดยการ กัดไชเข้าไปทางทวารหรือถุงเหงือก
แล้วกินส่วนของตัวปลาที่อ่อนนุ่มเหลือไว้แต่หนังและกระดูก นอกจากนี้แอคฟีชยังกิน
ปลาที่ตำแหอวนลอยอยู่ ทำความเสียหายให้แก่ชาวประมง แต่หลังจากมีการประมง
โดยใช้อวนลากขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง ปัญหาที่เกิดจากแฮคฟีชจึงลดลง
แฮคฟีชมีต่อมเหมือกทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่กระจายอยู่ที่ผิวหนัง และมีต่อม

เหมือนเรียงตัวเป็นแนวอยู่ทางด้านข้างตลอดความยาวของลำตัว มีคำกล่าวว่า แฮคฟีช

1 ตัว สามารถทำให้น้ำ 1 ถัง แปรสภาพเป็นก้อนวุ้นสีขาวภายใน 1 นาที

นอกจากนี้ แฮคฟีช ยังเป็นอาหารอร่อยอีกด้วย ที่เกาหลีจะนำปลาชนิดนี้มาหมักกับ

พริกเอาไปย่างหรือเอาผัดเรียกว่า Bokkeum Kkomjangeo (ไม่แน่ใจนะครับ

เพราะไม่ได้กินอาหารเกาหลี)

4.22.2555

พะยูน

พะยูน (อังกฤษ: Dugong, Sea cow) เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน (Sirenia)พะยูนถูกศึกษาทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1776 โดยได้ตัวอย่างต้นแบบจากที่จับได้จากน่านน้ำแหลมกู๊ดโฮปถึงฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายโลมาและวาฬ เดิมพะยูนจึงถูกจัดรวมอยู่ในอันดับเดียวกันคือ Cetacea แต่จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดพบว่า มีความแตกต่างกันมาก กล่าวคือ มีขนาดเล็กกว่า หัวกลม รูจมูกแยกจากกัน ปากเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี ไม่เป็นฟันยอดแหลมธรรมดาเหมือน ๆ กันอย่างวาฬ

และมีเส้นขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต ในปี ค.ศ. 1816 อองรี มารี ดูโครเตย์ เดอ แบล็งวีล นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบ ในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน รวมถึงการศึกษาซากโบราณของพะยูนในสกุล Eotheroides ในประเทศอียิปต์ พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น หรือเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว Eotheroides เป็นสัตว์มี 4 ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน พะยูนมีรูปร่างคล้ายแมวน้ำขนาดใหญ่ที่อ้วนกลมเทอะทะ ครีบมีลักษะคล้ายใบพาย ซึ่งวิวัฒนาการมาจากขาหน้าใช้สำหรับพยุงตัวและขุดหาอาหาร ไม่มีครีบหลัง ไม่มีใบหู ตามีขนาดเล็ก ริมฝีปากมีเส้นขนอยู่โดยรอบ ตัวผู้บางตัวเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีฟันคู่หนึ่งงอกออกจากปากคล้ายงาช้าง ใช้สำหรับต่อสู้เพื่อแย่งคู่กับใช้ขุดหาอาหาร ในตัวเมียมีนมอยู่ 2 เต้า ขนาดเท่านิ้วก้อย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ถัดลงมาจากขา คู่หน้า สำหรับเลี้ยงลูกอ่อน มีลำตัวและหางคล้ายโลมา สีสันของลำตัวด้านหลังเป็นสีเทาดำ หายใจทางปอด จึงต้องหายใจบริเวณผิวน้ำ 1-2 นาที อายุ 9-10 ปี สามารถสืบพันธุ์ได้ เวลาท้อง 9-14 เดือน ปกติมีลูกได้ 1 ตัว ไม่เกิน 2 ตัว แรกเกิดยาว 1 เมตร หนัก 15-20 กิโลเมตร ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 1 ปี กินนมและหญ้าทะเลประมาณ 2-3 สัปดาห์ หย่านมประมาณ 8 เดือน อายุประมาณ 70 ปี โดยแม่พะยูนจะดูแลลูกไปจนโต ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ถึง 3 เมตร น้ำหนักเต็มที่ได้ถึง 300 กิโลกรัม พะยูนสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานราว 20 นาที เมื่อจะนอนหลับพักผ่อน พะยูนจะทิ้งตัวลงในแนวดิ่ง และนอนอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นทะเลราว 20 นาที ก่อนจะขึ้นมาหายใจอีกครั้งหนึ่ง อาหารของพะยูน ได้แก่ หญ้าทะเล ที่ขึ้นตามแถบชายฝั่งและน้ำตื้น โดยพะยูนมักจะหากินในเวลากลางวัน พฤติกรรมการหากินจะคล้ายกับหมู โดยจะใช้ครีบอกและปากดุนพื้นทรายไถไปเรื่อย ๆ จนบางครั้ง จะเห็นทางยาวตามชายหาด จากพฤติกรรมเช่นนี้ พะยูนจึงได้ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "หมูน้ำ" หรือ "หมูดุด" ในบางตัวที่เชื่องมนุษย์ อาจเกาะกินตะไคร่บริเวณใต้ท้องเรือได้ พะยูนพบได้ในทะเลเขตอบอุ่นอย่างกว้างขวางตั้งแต่ชายฝั่งของทวีปแอฟริกาฝั่งตะวันออก, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลจีนใต้, ทะเลฟิลิปปิน, ทะเลซูลู, ทะเลเซเลบีส, เกาะชวา จนถึงโซนโอเชียเนีย โดยปกติแล้วมักจะไม่อาศัยอยู่น้ำที่ขุ่น สำหรับสถานะของพะยูนในประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากถูกคุกคามอย่างหนักในเรื่องถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้พฤติกรรมการหากินเปลี่ยนไปกลายเป็นมักจะหากินเพียงลำพังตัวเดียว ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงที่เดียวในประเทศไทย คือ บริเวณหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง เท่านั้น คาดว่ามีเหลืออยู่ประมาณ 100 ตัว และอาจเป็นไปได้ว่ายังพอมีเหลืออยู่แถบทะเลจังหวัดระยอง แต่ยังไม่มีรายงานที่มีข้อมูลยืนยันถึงเรื่องนี้เพียงพอ แต่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 มีชาวประมงจับพะยูนตัวหนึ่งได้ ความยาว 2 เมตร น้ำหนักประมาณ 200 กิโลกรัม ที่อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี หลังจากการหายตัวไปนานของพะยูนในแถบนี้นานถึง 34 ปี โดยพะยูนตัวสุดท้ายที่จับได้ในบริเวณนี้คือเมื่อ ปี พ.ศ. 2515 ในปี พ.ศ. 2554 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการอนุรักษ์และการจัดการพะยูน และแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนโดยครอบคลุมพื้นที่อาศัยของพะยูนทั้งหมด ระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ/อนุสัญญาว่าด้วยชนิดพันธุ์ที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่น โดยที่ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 20 ที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจนี้ มีรายงานว่า ประชากรพะยูนที่หลงเหลืออยู่มากที่สุด คือ ออสเตรเลีย มีอยู่ประมาณ 20,000 ตัว ขณะที่ในประเทศไทย พบในอ่าวไทยประมาณ 40 ตัว และทะเลอันดามันราว 200 ตัว โดยพบมากที่สุดคือ จังหวัดตรัง และมีอัตราการตายเฉลี่ยปีละ 15 ตัว เนื่องจากถูกไล่ล่า ไม่ใช่เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร แต่ทว่านำเขี้ยวมาเป็นเครื่องรางของขลังตามความเชื่อ และตายเพราะติดกับเครื่องมือประมงต่าง ๆ พะยูน เป็นสัตว์ที่ทำให้นักเดินเรือในยุคกลางเชื่อว่าคือ นางเงือก เนื่องจากแม่พะยูนเวลาให้นมลูกมักจะกอดอยู่กับอกและตั้งฉากกับท้องทะเล ทำให้แลเห็นในระยะไกลคล้ายผู้หญิงอยู่ในน้ำ พะยูนมีชื่อเรียกในภาษายาวีว่า "ดูหยง" (หมายถึง ผู้หญิงแห่งท้องทะเล) ชาวประมงพื้นเมืองมีความเชื่อว่า น้ำตาพะยูนและเขี้ยวพะยูนมีอำนาจในทางทำให้เพศตรงข้ามลุ่มหลงคล้ายน้ำมันพราย จนมีกล่าวถึงในบทเพลงพื้นบ้านว่า ไม่รอดแล้วน้องเด้ ถูกเหน่น้ำตาปลาดูหยง

ปลาสิงโต

ปลาสิงโต (Lionfish) เป็นปลาทะเลที่มีพิษ ในวงศ์ Scorpaenidae ภาษาละตินหมายถึง แมงป่อง มีหลายสปีชีส์ ใน 2 จีนัส คือ Pterois และ Dendrochirus มีครีบยาวและแตกแขนงออกมากมาย และมีลวดลายทางสีแดง สีน้ำตาล สีดำ หรือสีขาว อาศัยในทะเลเขตร้อนแถบอินโด-แปซิฟิก ค.ศ. 2003 ถูกพบในแนวปะการังเขตอบอุ่นทางตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลแคริบเบียน ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterois antennata

ขนาดลำตัว 8-13 ซม. ปลาสิงโต เป็นปลามีพิษซึ่งพิษอยู่ที่ก้านครีบ ปลาสิงโตจะอยู่ในครอบครัว Scorpaenidae ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ ปลาสิงโต ( Pteroinae ) และ 2.ปลาหินและปลาแมงป่อง ( Scorpaeninae ) ทั้งหมดนี้จะเป็นปลามีพิษร้ายแรง โดยที่พิษจะอยู่ที่ครีบแข็งทั้งหลาย เช่น ครีบอก ครีบหลัง พิษพวกนี้มีไว้ให้ป้องกันตัวอย่างเดียว เมื่อมีอันตรายเข้าใกล้ ปลาสิงโตจะกางครีบ เป็นการข่มขู่ แต่จะไม่ค่อยออกมาโจมตี หรือเอาครีบทิ่มแทงใคร ปลาสิงโต ชอบอำพรางตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ถ้าไปโดนพิษส่วนใหญ่จะเจ็บจี๊ดแล้วปวดขึ้นเรื่อยๆ ข้อแนะนำ ถ้าโดนพิษปลาสิงโต ให้ทำความสะอาดแผล แล้วใช้ความร้อนเข้าสู้ พิษของปลาพวกนี้จะเป็นโปรตีน เมื่อโดนความร้อนจะสลายไป อาจจะใช้ไดร์เป่าผม น้ำอุ่น กระเป๋าน้ำร้อน หรืออะไรก็ได้ที่ร้อนๆประคบไว้ อาจจะใช้วิธีอังไฟก็ได้นะค่ะ ปรกติจะปวดประมาณ 24 ชม.แล้วจะค่อยๆ เบาลง ลัษณะทั่วไป ปลาตัวนี้จะมีลำตัวที่หนา มีครีบที่แข็งทั้งยังเป็นพิษร้าย บริเวณหัวจะมีหนามแหลม แต่บางตัวจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผิวหนังตามหัว และลำตัวเป็นแผ่นยื่นออกมากซึ่งคล้ายกันปลาพันธุ์นี้มีหนวด การว่ายน้ำค่อนข้างเชื่องช้าชอบนอนนิ่งอยู่ตามพื้น ปลาสิงโตบางตัวมีสีที่กลมกลืนกับสีของพื้นทะเลซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการอำพรางตัวเพื่อล่าอาหารอีกด้วย ปลาสิงโต ชนิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ 1.ปลาสิงโตครีบยาว หรือปลาสิงโตธรรมดา ชื่อสามัญ Ragged-Finned lionfish ปลาสิงโตพันธุ์นี้จะมีจุดเด่น คือ ครีบของปลาค่อนข้างยาว บริเวณลำตัวจะเป็นลายแดงสลับแถบขาว ส่วนครีบของปลามีลักษณะเป็นหนวดยาว พบได้ทั้งมีสีขาว และลายบ้างเล็กน้อย 2.ปลาสิงโตลายขาว ชื่อสามัญ White-lined lionfish ปลาสิงโตลายขาวจะเหมือนกับปลาสิงโตครีบยาว บริเวณลำตัวจะมีลายสีขาวเส้นเล็กๆคาดบริเวณลำตัว หนวดนั้นส่วนใหญ่จะพบเป็นสีขาว มีข้อแตกต่างจากปลาสิงโตครีบยาว คือจะมีลายเส้นขาวเล็กๆพาดตามตัวเป็นหลัก อาหาร ปลาสิงโตจะลอยตัวนิ่งๆพุ่งเข้าชาร์ทเพยื่อด้วยความเร็วสูง กินปลาเล็ก หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกกุ้ง ปู เป็นอาหาร ปลาสิงโต สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าปากของมัน โดยสามารถเลี้ยงรวมกับ กลุ่มปลาเก๋า ปลากระพง หรือปลาสร้อยนกเขาชนิดต่างๆ แม้กระทั่งในกลุ่มปลาหิน หรือปลานกขุนทอง ปลาตาหวาน ก็ได้ ปลาที่ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงรวมกับปลาสิงโต ได้แก่ ปลาเล็กๆ หรือปลาที่ชอบแทะเล็มปลาอื่น ได้แก่ ปลาผีเสื้อ ปลาขี้ตังเบ็ด เพราะปลาพวกนี้ชอบไล่ตอด ทำให้ปลาสิงโตเกิดความรำคาญและเป็นแผลได้

ม้าน้ำ

ม้าน้ำ (อังกฤษ: Seahorse) เป็นปลากระดูกแข็งที่อาศัยอยู่ในทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Hippocampinae (ซึ่งมีอยู่ 2 สกุล คือหนึ่งสกุลนั้นคือ ปลาจิ้มฟันจระเข้สัน ที่อยู่ในสกุล Histiogamphelus มีรูปร่างคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ผสมกับม้าน้ำ) ในวงศ์ Syngnathidae อันเป็นวงศ์เดียวกับปลาจิ้มฟันจระเข้และมังกรทะเล ในอันดับ Syngnathiformes

สำหรับม้าน้ำนั้นจะมีอยู่เพียงสกุลเดียว คือ Hippocampus ซึ่งมาจากภาษากรีกโบราณ คำว่า "hippo" หรือ "hippos" ที่แปลว่า "ม้า" และ "campus" ที่แปลว่า "สัตว์ประหลาดทะเล" ม้าน้ำ เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ มีกระดูกหรือก้างมาห่อหุ้มเป็นเกราะอยู่ภายนอกตัวแทนเกล็ด ส่วนหางของแทนที่จะเป็นครีบสำหรับว่ายน้ำไปมาอย่างปลาชนิดอื่น กลับมีหางยาวเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน มีไว้เพียงเพื่อเกี่ยวยึดตัวเองกับพืชน้ำหรือปะการังในน้ำ มีครีบอกและมีครีบบางใสตรงเอวอีกครีบหนึ่งช่วยโบกพัดกระพือ โดยครีบทั้ง 2 นี้จะโบกพัดด้วยความเร็วประมาณ 20-30 ครั้งต่อวินาที ทำให้เคลื่อนไหวไปมาได้อย่างช้า ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วม้าน้ำมักจะว่ายน้ำเป็นไปในลักษณะขึ้น-ลง มากกว่าไปมาข้างหน้า-ข้างหลังเหมือนปลาชนิดอื่น ปากยื่นยาวคล้ายท่อไม่มีกราม ตรงปลายมีที่เปิด ใช้สำหรับดูดกินอาหาร จำพวกแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ ม้าน้ำ เหมือนกับปลาชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในวงศ์เดียวกันนี้ คือ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้อง โดยมีอวัยวะตรงบริเว๊ณหน้าท้องคล้ายถุง ใช้สำหรับเก็บไข่และฟักเป็นตัว เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ม้าน้ำตัวผู้จะปรับเปลี่ยนสีของลำตัวเพื่อดึงดูดม้าน้ำตัวเมีย จากนั้นตัวผู้จะใช้หางโอบกอดตัวเมียพร้อมกับแอ่นท้องประกบกับท้องเข้าหากัน ตัวเมียจะออกไข่ใส่ลงในถุงหน้าท้องของตัวผู้ และม้าน้ำตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่และฟักเป็นตัวอ่อนภายในถุงหน้าท้อง โดยใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 2 สัปดาห์ โดยจำนวนไข่ประมาณ 100-200 ฟอง มากที่สุดคือ 1,500 ฟอง ตามแต่ละชนิด เมื่อคลอด พ่อม้าน้ำก็จะบีบกล้ามเนื้อส่วนท้องและพ่นลูกม้าน้ำทั้งหมด ให้ออกจากกระเป๋าหน้าท้อง โดยที่ม้าน้ำมีพฤติกรรมแบบคู่เดียวตลอดทั้งชีวิต กล่าวคือ จะจับคู่อยู่กันเพียงตัวเดียว หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอันเป็นไป ก็จะไม่หาคู่ใหม่ ม้าน้ำ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร ตามแต่ละชนิด โดยขนาดเล็กเช่น ม้าน้ำจำพวกม้าน้ำแคระ จะมีความยาวเพียง 2.5 เซนติเมตรเท่านั้น มีการแพร่กระจายพันธุ์ในทะเลเขตอบอุ่นทั่วทั้งโลก ปัจจุบันพบทั้งหมด 47 ชนิด[2] มีเพียงสกุลเดียว คือ Hippocampus ส่วนม้าน้ำที่พบได้ในน่านน้ำไทยมีประมาณ 6 ชนิด ได้แก่ ม้าน้ำดำ (H. kuda) หรือ ม้าน้ำธรรมดา จัดเป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่พบได้ในน่านน้ำไทย มีลำตัวสีดำสนิท ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนเป็นสีครีม, สีเหลือง และน้ำตาลแดง พบง่ายบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย ม้าน้ำหนาม (H. spinosissimus) อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำค่อนข้างลึกและสภาพน้ำค่อนข้างใส มีสีสันสวยงาม มักจะมีสีออกน้ำตาลแดง มีลายจุดสีออกขาว เป็นแถบกว้างคาดบริเวณลำตัว มีหนามมากค่อนข้างแหลมและยาว แต่มีขนาดเล็กกว่าม้าน้ำดำ ม้าน้ำสามจุด (H. trimaculatus) พบตามเขตชายฝั่งในฤดูหนาว มักปรากฏจุดดำประมาณ 3 จุด บริเวณส่วนบนของลำตัว จึงเป็นที่มาของชื่อ ม้าน้ำแคระ (H. mohnikei) มีขนาดเล็กที่สุด พบเห็นไม่บ่อยนัก ลำตัวตัวสีดำ อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เกาะอยู่ตามสาหร่ายทะเล บริเวณที่เป็นพื้นทราย ม้าน้ำยักษ์ (H. kelloggi) หรือ ม้าน้ำใหญ่ เป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีความยาวได้ถึง 28 เซนติเมตร ม้าน้ำหนามขอ (H. histrix) มีลักษณะที่แตกต่างไปจากชนิดอื่น คือ มีปากขนาดยาวกว่า มีหนามที่เหนือตาและมีส่วนหน้าที่ยาวอย่างเห็นได้ชัด มีหนามบนหัว หนามตามลำตัวและหางจะแหลม บริเวณปลายหนามจะมีสีดำเข้ม เมื่อเอามือไปสัมผัสจะรู้สึกว่าเกี่ยวติดมือ หนามที่หางมีความยาวเท่า ๆ กัน ม้าน้ำ เป็นปลาที่นิยมทำเป็นยาจีนตามตำราการแพทย์แบบจีน ด้วยเชื่อว่าบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยจะทำไปตากแห้งและขายเป็นชั่งน้ำหนักขาย ทำให้ม้าน้ำทั่วโลกในปีหนึ่ง ๆ ถูกจับเป็นจำนวนมากเพื่อการนี้ และยังถูกนำไปทำเป็นเครื่องประดับอีก จนกลายทำให้เป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์ในบางชนิด นอกจากนี้แล้ว ความที่เป็นปลาที่มีรูปร่างแปลก มีขนาดเล็กน่ารัก ทำให้เป็นที่นิยมเลี้ยงของผู้ที่นิยมการเลี้ยงปลาตู้ด้วย ซึ่งในปัจจุบัน มีม้าน้ำบางชนิดสามารถนำมาเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว

ปลาหิมะ

ปลาหิมะ เป็นปลา ที่อยู่ในกลุ่ม Anoplopomatidae ปลาหิมะนี้มีสายพันธุ์แยกย่อยหลายพันธุ์ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศเช่น ทางอเมริกาจะเรียกว่า Sablefish, Sable, black cod หรือ butterfish ทางแถบประเทศอังกฤษจะมีชื่อว่า bluefish, candlefish, หรือ coal cod ที่ประเทศญี่ปุ่น เรียก กินดาระ (gindara) เป็นต้น

ปลาหิมะ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำลึก ประมาณ 300-3500 เมตร บริเวณมหาสมุทรแอนตาร์กติก ในแถบที่พื้นทะเลเป็นโคลน เป็นปลาที่เจริญเติบโตช้า วางไข่ได้เมื่ออายุ 10 ปี อายุยืน ความยาวสูงสุดที่พบประมาณ 2.2 เมตร น้ำหนัก 120 กก. กินปลาหมึก กุ้ง ปู และปลาเป็นอาหาร ปลาหิมะ เป็นปลาเนื้อสีขาว เนื้อนิ่ม รสชาติกลมกล่อม เนื้อของปลาชนิดคล้ายเนื้อปลากระพงขาว sea bass แต่เนื้อปลาหิมะจะมีไขมันผสมอยู่สูงกว่า เนื้อของมันสามารถใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภทเช่น ต้ม ย่าง อบ ทอด รวมถึง รับประทานสดเป็น ซาชิมิ คุณค่าทางสารอาหาร เนื้อปลาหิมะอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้าที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย (omega 3 fatty acids)

2.06.2555


ปลาดุกแอฟริกา เป็นปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clarias gariepinus ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาดุกด้าน (C. batrachus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวยาวกว่าและแนวระหว่างจะงอยปากถึงท้ายทอยเว้าและโค้งลาด ด้านบนของศีรษะขรุขระกว่า เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม ท้ายทอยแหลมเป็นโค้ง 3 โค้ง โดยส่วนกลางยื่นยาวมากที่สุด ลำตัวยาว ครีบหลังและครีบก้นยาว ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลคล้ำอมเหลือง และมีลายแต้มแบบลายหินอ่อนบนลำตัว แก้มและท้องสีจาง ที่โคนครีบหางมีแถบตามแนวตั้งสีจาง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาชนิดนี้ ครีบมีสีเข้ามกว่าลำตัวเล็กน้อย บางตัวอาจมีขอบครีบสีแดง

นับเป็นปลาที่ขนาดใหญ่สุดในสกุล Clarias ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.70 เมตร

เป็นปลาพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา พบได้ในตอนเหนือและตอนตะวันออกของทวีป สำหรับในประเทศไทยได้ถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2528 โดยเอกชนบางรายในจังหวัดหนองคายและอุบลราชธานี โดยนำเข้ามาจากประเทศลาวเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น เนื่องจากมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าปลาดุกทั่วไป ต่อมากรมประมงได้นำมาทดลองผสมข้ามพันธุ์กับปลาดุกอุย (C. macrocephalus) พบว่าลูกผสมระหว่างพ่อปลาดุกแอฟริกาและแม่ปลาดุกอุยมีผลการรอดสูง และมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด เนื้อมีรสชาติที่ดีขึ้น จึงส่งเสริมและแพร่วิธีการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงดูสู่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง จนปัจจุบันนี้ กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่งของไทย และเรียกชื่อลูกปลาผสมนี้ว่า "บิ๊กอุย"

แต่ในปัจจุบัน สถานะของปลาดุกแอฟริกาในประเทศไทย จากบางส่วนได้หลุดรอดและถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น (alien species) ชนิดหนึ่งที่คุกคามการอยู่รอดสัตว์น้ำพื้นเมืองของไทย

สำหรับชื่ออื่น ๆ ที่เรียกปลาดุกแอฟริกา ก็ได้แก่ ปลาดุกรัสเซีย, ปลาดุกเทศ เป็นต้น

ปลาทู


ชื่อสามัญ INDO-PACIFIC MACKEREL
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ RESTRELLIGER NEGLECTUS
วงศ์ SCOMBRIDAE
ปลาทูสั้น SHORT -BODIE MACKEREL
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ RESTRELLIGER BRA CHYSOMA
ลักษณะ


ปลาทู มีลำตัวแป้นยาว เพรียว ตาโต ปากกว้าง จะงอยปากจะแหลม เกล็ดเล็กละเอียด มีม่านตาเป็น เยื่อไขมัน บนขากรรไกรมีฟันซี่เล็กๆ มีซี่เหงือกแผ่เต็มคล้ายพู่ขนนก มีครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกมีก้านแข็ง ส่วนอันหลังก้านครีบอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ครีบอกมีฐานครีบกว้าง แต่ปลายเรียว สีตัวพื้นท้องขาวเงิน ผิวด้านบนหลังมีสีน้ำเงินแกมเขียว แบบนี้มีประโยชน์ช่วยพรางตัวให้พ้นจากศัตรู ขนาดของปลาทูยาวประมาณ 14-20 เซนติเมตร แต่เคยพบปลาทูที่มีความยาวถึง 25 เซนติเมตรมาแล้ว
แหล่งที่พบ

สมัยก่อนเชื่อกันว่า ปลาทูที่คนไทยนิยมรับประทานกันนี้ ว่ายน้ำมาจากเกาะไหหลำ ต่อมาเมื่อกรมประมงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปลาทู จึงพบว่าปลาทูไม่ได้มาจากแหล่งดังกล่าว แต่มีอยู่ทั่วไปในอ่าวไทย ปลาทูเป็นปลาผิวน้ำ (PELAGIC FISH) อยู่รวมกันเป็นฝูงในบริเวณใกล้ฝั่งน้ำลึก ไม่เกิน 30 เมตร มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ความเค็มของน้ำไม่เกินร้อยละ 32.5 แต่อาจทนความเค็มได้ถึงร้อยละ 20.4 จะพบปลาทูชุกชุมมากบริเวณที่มีน้ำไหลลงสู่ทะเล เช่น บริเวณก้นอ่าวไทย บริเวณปากแม่น้ำต่างๆ เพราะบริเวณดังกล่าวมีอาหาร อุดมสมบูรณ์ เกิดแพลงก์ตอน พืช และสัตว์ อันเป็นอาหาร ที่สำคัญของปลาทู ซึ่งพบได้บริเวณอ่าวไทย ฝั่งตะวันตก ตะวันออก และทะเลอันดามัน จึงกล่าวได้ว่าแหล่งปลาทูที่พบหนาแน่น อยู่ในน่านน้ำอ่าวไทย ไม่ใช่ที่เกาะไหหลำดังความเชื่อที่มีมาแต่เดิม


ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ SOUTHERN BLUEFIN TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus maccoyii (Castelnau, 1872)

ปลาทูน่าสีน้ำเงินใต้เป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรในเขตอบอุ่น ระหว่างละติจูดที่ 30-50 องศาใต้ สามารถอยู่ในระดับอุณหภูมิต่ำระหว่าง 5-20 องศาเซลเซียส
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่กึ่งกลางของครีบหลังอันที่หนึ่ง ตัวค่อนข้างอ้วนสั้น หัวโต ตาโต ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน สันที่คอดหางมีสีเหลือง
ขนาดของปลาทูน่าสีน้ำเงินใต้ที่ใหญ่ที่สุดมีความยาวมากกว่า 225 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด ประมาณ 160-200 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 150 กิโลกรัม
ปลาทูน่าชนิดนี้นิยมรับประทานเป็นปลาดิบ การประมงหลัก ได้แก่การทำเบ็ดราวบริเวณประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์


ปลาทูน่าครีบยาว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ LONGFIN TUNA, ALBACORE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus alalunga (Bonnatere, 1788)

ปลาทูน่าครีบยาวเป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรในเขตร้อนและอบอุ่น ระหว่างละติจูดที่ 45-50 องศาเหนือ ถึง 30-40 องศาใต้ อาศัยบริเวณผิวน้ำจนถึงกลางน้ำ ในระดับอุณหภูมิระหว่าง 13.5-25.5 องศาเซลเซียส
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัด ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่ทางท้ายลำตัวมากกว่าปลาทูน่าชนิดอื่น ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน เมื่อผ่าท้องพบว่าด้านล่างของตับจะเป็นลาย
ขนาดของปลาทูน่าครีบยาวที่พบใหญ่ที่สุดมีความยาวประมาณ 127 เซนติเมตร น้ำหนัก 40 กิโลกรัม แต่ที่พบทั่วไปมีขนาดประมาณ 40-100 เซนติเมตร ถึงแม้ว่าปลาทูน่าครีบยาวจะมีขนาดเล็ก แต่ได้รับสมญานามว่าเป็นไก่ทะเล (Sea chicken) อย่างแท้จริงและนิยมบรรจุกระป๋อง
การจับปลาทูน่าครีบยาวจะจับได้โดยเครื่องมืออวนล้อม เบ็ดตวัดปลาทูน่า เบ็ดลาก ซึ่งจะจับได้เฉพาะปลาขนาดเล็กแต่วิธีทำการประมงที่สำคัญที่สุดในการจับปลาทูน่าครีบยาวขนาดใหญ่ที่อยู่ในน้ำลึกได้แก่ เบ็ดราวที่ระดับความลึก 380 เมตร


ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ BIGEYE TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus obesus ( Lowe, 1839

ปลาทูน่าตาโตเป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรในเขตร้อนและอบอุ่น ระหว่างละติจูด ที่ 40 องศาเหนือ ถึง 40 องศาใต้ ปลาทูน่าตาโตมักชอบว่ายน้ำตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงความลึก ประมาณ 250 เมตร ในระดับอุณหภูมิระหว่าง 13-29 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่ชอบได้แก่ 17-22 องศาเซลเซียส ดังนั้นเราอาจพบปลาทูนาตาโตในระดับความลึกที่ลึกกว่าปลาทูน่าครีบเหลือง ปลาทูน่าตาโตชอบอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับเทอร์โมไคลน์ ( Thermocline ) เล็กน้อยทำให้การแพร่กระจายของปลาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะภูมิอากาศตามฤดูกาลที่มีผลต่ออุณหภูมิของน้ำและชั้นเทอร์โมไคลน์ ( Thermocline )
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่บริเวณกึ่งกลางของครีบหลังอันแรก ปลาทูน่าตาโตเป็นปลาทูน่าที่มีลักษณะคล้ายปลาทูน่าครีบเหลือง แต่ลำตัวอ้วนสั้นกว่าครีบหลังอันแรกแยกออกจากครีบหลังอันที่สองอย่างชัดเจน ครีบหลังอันที่สองมีขนาดใกล้เคียงกับครีบหลังอันแรก ครีบหูมีความยาวถึงกึ่งกลางของฐานครีบหลังอันที่สอง ปลายครีบหางไม่มีแถบแนวดิ่งสีขาว เมื่อผ่าท้องออกจะพบว่าด้านล่างของตับจะเป็นลาย ตามีขนาดใหญ่
ด้านหลังเป็นสีน้ำเงินดำ แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินทางด้านล่างของลำตัวในปลาที่มีขนาดใหญ่ด้านล่างของลำตัวไม่มีจุดสีเข้มเป็นแถวตามแนวดิ่ง จุดเหล่านี้จะพบในปลาทูน่าตาโตที่มีขนาดเล็ก ทำให้ยากในการแยกปลาทูน่าตาโตจากปลาทูน่าครีบเหลืองขณะวัยอ่อน ครีบหลังอันแรกมีสีเหลืองเข้ม ครีบหลังอันที่สองจะมีสีเหลืองจาง มีครีบเล็ก ( Finlet ) สีเหลืองจำนวน 7-10 คู่และที่ปลายของครีบเล็กจะเป็นแถบสีดำ
ขนาดของปลาทูน่าตาโตที่พบใหญ่ที่สุดมีความยาวมากกว่า 2 เมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด ประมาณ 0.6-1.8 เมตร ( 1.8 เมตร มีอายุอย่างน้อย 3 ปี) ปลาทูน่าเริ่มเข้าสู่ภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว 100-130 เซนติเมตร
ปลาทูน่าตาโตไม่นิยมนำมาบรรจุกระป๋อง เพราะเมื่อเนื้อปลาโดนความร้อนแล้วจะไมเป็นสีขาว จึงนิยมบริโภคเป็นปลาดิบมากกว่า โดยนำมารับประทานแทนปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ซึ่งในปัจจุบันมีการควบคุมปริมาณการจับอย่างเข้มงวด
การจับปลาทูน่าตาโตจะจับได้โดยเครื่องมือประมงอวนล้อม โดยทั่วไปอวนล้อมมักจะจับได้ปลาทูน่าตาโตที่โตเต็มวัยขนาดเล็ก และปลาทูน่าวัยอ่อนหรืออาจจับได้ด้วยเบ็ดตวัดปลาทูน่า เบ็ดลาก แต่วิธีทำการประมง ที่สำคัญที่สุดในการจับปลาทูน่าตาโตขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่น้ำลึกได้แก่เบ็ดราวโดยระดับความลึกของเบ็ดราวรุ่นใหม่ อาจลงลึกได้ถึง 300 เมตร

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม