2.06.2555

ปลาทู


ชื่อสามัญ INDO-PACIFIC MACKEREL
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ RESTRELLIGER NEGLECTUS
วงศ์ SCOMBRIDAE
ปลาทูสั้น SHORT -BODIE MACKEREL
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ RESTRELLIGER BRA CHYSOMA
ลักษณะ


ปลาทู มีลำตัวแป้นยาว เพรียว ตาโต ปากกว้าง จะงอยปากจะแหลม เกล็ดเล็กละเอียด มีม่านตาเป็น เยื่อไขมัน บนขากรรไกรมีฟันซี่เล็กๆ มีซี่เหงือกแผ่เต็มคล้ายพู่ขนนก มีครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกมีก้านแข็ง ส่วนอันหลังก้านครีบอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ครีบอกมีฐานครีบกว้าง แต่ปลายเรียว สีตัวพื้นท้องขาวเงิน ผิวด้านบนหลังมีสีน้ำเงินแกมเขียว แบบนี้มีประโยชน์ช่วยพรางตัวให้พ้นจากศัตรู ขนาดของปลาทูยาวประมาณ 14-20 เซนติเมตร แต่เคยพบปลาทูที่มีความยาวถึง 25 เซนติเมตรมาแล้ว
แหล่งที่พบ

สมัยก่อนเชื่อกันว่า ปลาทูที่คนไทยนิยมรับประทานกันนี้ ว่ายน้ำมาจากเกาะไหหลำ ต่อมาเมื่อกรมประมงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปลาทู จึงพบว่าปลาทูไม่ได้มาจากแหล่งดังกล่าว แต่มีอยู่ทั่วไปในอ่าวไทย ปลาทูเป็นปลาผิวน้ำ (PELAGIC FISH) อยู่รวมกันเป็นฝูงในบริเวณใกล้ฝั่งน้ำลึก ไม่เกิน 30 เมตร มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ความเค็มของน้ำไม่เกินร้อยละ 32.5 แต่อาจทนความเค็มได้ถึงร้อยละ 20.4 จะพบปลาทูชุกชุมมากบริเวณที่มีน้ำไหลลงสู่ทะเล เช่น บริเวณก้นอ่าวไทย บริเวณปากแม่น้ำต่างๆ เพราะบริเวณดังกล่าวมีอาหาร อุดมสมบูรณ์ เกิดแพลงก์ตอน พืช และสัตว์ อันเป็นอาหาร ที่สำคัญของปลาทู ซึ่งพบได้บริเวณอ่าวไทย ฝั่งตะวันตก ตะวันออก และทะเลอันดามัน จึงกล่าวได้ว่าแหล่งปลาทูที่พบหนาแน่น อยู่ในน่านน้ำอ่าวไทย ไม่ใช่ที่เกาะไหหลำดังความเชื่อที่มีมาแต่เดิม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม