ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป
เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง
และทะเลสาบ มีชื่อสามัญ STRIPED
ANAKE-HEAD FISH และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Channa striatus ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดี ก้างน้อย
สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด
จึงทำให้การบริโภคปลาช่อนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
แต่ปัจจุบันปริมาณปลาช่อนที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง
เนื่องจากการทำประมงเกินศักยภาพการผลิตตลอดจนสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อม
โทรมตื้นเขิน
ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต
ทำให้ปริมาณปลาช่อนในธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และความต้องการบริ
โภค
การเลี้ยงปลาช่อนจึงเป็นแนวทางหนึ่งซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนโดยนำลูก
ปลาที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะขยายพันธุ์มาเลี้ยงให้เป็น
ปลาโตขนาดตลาดต้องการต่อไป
อุปนิสัย
โดยธรรมชาติปลาช่อนเป็นปลาประเภทกินเนื้อ
กินสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ
รวมทั้งปลาขนาดเล็กและแมลงในน้ำชนิดต่างๆ เป็นอาหารเมื่ออาหารขาดแคลน
ปลาจะมีพฤติกรรมกินกันเองโดยปลาช่อนตัวใหญ่จะกินปลาตัวเล็ก
รูปร่างลักษณะ
ปลาช่อนเป็นปลาที่มีเกล็ด ลำตัวอ้วนกลม ยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง
หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่ ปากกว้างมาก
มีฟันซี่เล็กๆ อยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง
ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ครีบหางกลม ลำตัวส่วนหลังมีสีดำ ท้องสีขาว
ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียง มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ
ปลาช่อนจึงสามารถเคลื่อนไหวไปบนบกหรือฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆ
การผสมพันธุ์วางไข่
ปลาช่อนสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดปี
สำหรับฤดูกาลผสมพันธุ์วางไข่จะเริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม
– ตุลาคม
ช่วงที่มีความพร้อมที่สุดคือเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม
ในฤดูวางไข่
จะสังเกตความแตกต่างระหว่างปลาเพศผู้กับเพศเมียอย่างเห็นได้ชัดคือ
ปลาเพศเมีย
ลักษณะท้องจะอูมเป่ง ช่องเพศขยายใหญ่ มีสีชมพูปนแดง ครีบท้องกว้างสั้น
ส่วนปลาเพศผู้ ลำตัวมีสีเข้มใต้คางจะมีสีขาว ลำตัวยาวเรียวกว่าปลาเพศเมีย
ตามธรรมชาติปลาช่อนจะสร้างรังวางไข่ในแหล่งน้ำนิ่งความลึกของน้ำประมาณ
30
–100 เซนติเมตร
โดยปลาตัวผู้จะเป็นผู้สร้างรังด้วยการกัดหญ้าหรือพรรณไม้น้ำ
และใช้หางโบกพัดตลอดเวลาเพื่อที่จะทำให้พื้นที่เป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
30 –40 เซนติเมตร ปลาจะกัดหญ้าที่บริเวณกลางของรัง
ส่วนพื้นดินใต้น้ำ ปลาก็จะตีแปลงจนเรียบ
หลังจากที่ปลาช่อนได้ผสมพันธุ์วางไข่แล้ว พ่อแม่ปลาจะคอยรักษาไข่อยู่ใกล้ๆ
เพื่อมิให้ปลาหรือศัตรูอื่นเข้ามากินจนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัว
ในช่วงนี้พ่อแม่ปลาก็ยังให้การดูแลลูกปลาวัยอ่อน
เมื่อลูกปลามีขนาด 2 – 3 เซนติเมตร จึงแยกตัวออกไปหากินตามลำพังได้ ซึ่งระยะนี้เรียกว่า ลูกครอก
หรือลูกชักครอก ลูกปลาขนาดดังกล่าวน้ำหนักเฉลี่ย 0.5 กรัม ปลา
1 กิโลกรัมจะมีลูกครอก ประมาณ 2,000 ตัว
ลูกครอกระยะนี้จะมีเกษตรกรผู้รวบรวมลูกปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นอาชีพนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้เลี้ยงปลาอีกต่อหนึ่งในราคากิโลกรัมละ
70 – 100 บาท ซึ่งรวบรวมได้มากในระหว่างเดือนมิถุนายน –
ธันวาคม
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
ปลาช่อนที่นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่มีรูปร่าง ลักษณะสมบูรณ์
ไม่บอบช้ำและมีน้ำหนักตั้งแต่ 800 – 1,000 กรัมขึ้นไป และอายุ
1 ปีขึ้นไป
ลักษณะแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปลาช่อนที่ดีซึ่งเหมาะสมจะนำมาใช้ในการเพาะพันธุ์
แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย ลักษณะติ่งเพศมีสีแดงหรือสีชมพูอมแดง
ถ้าเอามือบีบเบาๆที่ท้องจะมีไข่ไหลออกมามีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน ใส
ส่วนพ่อพันธุ์ติ่งเพศควรจะมีสีชมพูเรื่อๆปลาไม่ควรจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมมากเกินไป
เป็นปลาขนาดน้ำหนัก 800
– 1,000 กรัม
การเพาะพันธุ์ปลาช่อน
ปลาช่อน
เป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่ประชาชนนิยมบริโภค
ทำให้ปริมาณปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
สำหรับเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาช่อน
เนื่องจากเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว
ทนทานต่อโรคและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งนี้
ลูกปลาช่อนที่เกษตรกรรวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนดังนั้นการเพาะพันธุ์ปลาจึงเป็นแนว
ทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตพันธุ์ปลาช่อน
ในการเพาะพันธุ์ปลาช่อนต้องคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาช่อนที่มีความสมบูรณ์
ซึ่งจะมีอายุ 1ปีขึ้นไป ขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม บ่อเพาะพันธุ์ควรมีระดับความลึกของน้ำประมาณ
1.0 – 1.5 เมตร และมีการถ่ายเทน้ำบ่อยๆ
เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี
มีการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนมีน้ำเชื้อและไข่ที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
การเพาะพันธุ์ปลาช่อน ทำได้ 2
วิธี คือ
1. การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ
วิธีนี้ควรใช้บ่อเพาะพันธุ์เป็นบ่อดินขนาด 0.5 – 1.0 ไร่
พร้อมทั้งจัดสภาพสิ่งแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1:1 ให้ปลาเป็ดผสมรำเป็นอาหารในปริมาณ 2.5 – 3.0 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา
2.
การเพาะพันธุ์โดยวิธีการผสมเทียมด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์
สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรี ดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาช่อนด้วยวิธีผสมเทียมโดยใช่ฮอร์โมน
สังเคราะห์ฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อหรือ
ปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ได้แก่
LHRHa หรือ LRH – a โดยใช้ร่วมกับโดมเพอริโดน (Domperidone)
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาช่อนโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่นั้น
ด้วยการฉีดเพียงครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา
1 กิโลกรัม ร่วมกับโดมเพอริโดน
10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา
1 กิโลกรัม
ส่วนพ่อพันธุ์ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 15 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา
1 กิโลกรัมร่วมกับโดมเพอริโดน
5
มิลลิกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1
กิโลกรัม จากนั้นประมาณ
8–10 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้เนื่องจากไข่ปลาช่อนมีไขมันมากเมื่อทำการผสม
เทียมจึงต้องล้างน้ำหลายๆครั้ง เพื่อขจัดคราบไขมัน
นำไข่ไปฟักในถังไฟเบอร์กลาสขนาด 2 ตัน
ภายในถังเพิ่มออกชิเจนผ่านหัวทรายโดยเปิดเบาๆ ในกรณีที่ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง
หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้วต้องแยกไข่ไปฟักต่างหากเช่นกัน
การฟักไข่
ไข่ปลาช่อนมีลักษณะกลมเล็ก
เป็นไข่ลอย มีไขมันมาก ไข่ที่ดีมีสีเหลือง ใส ส่วนไข่เสียจะทึบ ไข่ปลาช่อนฟักเป็นตัวภายในเวลา
30 –35 ชั่วโมง
ที่อุณหภูมิของน้ำ 27 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด - ด่าง
7.8 ความกระด้าง
56 ส่วนต่อล้าน
การอนุบาลลูกปลาช่อน
ลูกปลาที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ลำตัวมีสีดำ
มีถุงไข่แดงสีเหลืองใสปลาจะลอยตัวในลักษณะหงายท้องขึ้นอยู่บริเวณผิวน้ำ
ลอยอยู่นิ่งๆไม่ค่อยเคลื่อนไหว หลังจากนั้น
2 – 3 วันจึงพลิกตัวกลับลง
และว่ายไปมาตราปกติโดยว่ายรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณผิวน้ำ
ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัว
เมื่อถุงไข่แดงยุบ วันที่ 4 จึงเริ่มให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มสุกบดละลายกับน้ำผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากินวันละ
3 ครั้ง เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าวันที่
6 จึงให้ไรแดงเป็นอาหารอีก 2 สัปดาห์
และฝึกให้อาหารเสริม เช่น ปลาป่น เนื้อปลาสดบด โดยใส่อาหารในแท่นรับอาหารรูปสี่เหลี่ยมซึ่งมีทุ่นผูกติดอยู่
ถ้าให้อาหารไม่เพียงพออัตราการเจริญเติบโตของลูกปลาจะแตกต่างกัน
และพฤติกรรมการกินกันเอง ทำให้ตราการรอดตายต่ำจึงต้องคัดขนาดลูกปลา
การอนุบาลลูกปลาช่อนโดยทั่วไปจะมีอัตราการรอดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆละ
50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น