ไรน้ำนางฟ้า กินอาหารจำพวกสาหร่าย อินทรียสาร แบคทีเรีย และอาหารที่ให้กินก็หาได้ง่าย เช่น น้ำเขียว การทำน้ำเขียว โดยหาหัวเชื้อน้ำเขียวได้จากสถานีประมงซึ่งตั้งอยู่เกือบทุกจังหวัด แล้วนำมาขยายปริมาณ ส่วนผสมการทำน้ำเขียวประกอบด้วย ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยสูตร 16-20-0 รำข้าว ปูนขาว การเพาะน้ำเขียวต้องอาศัยแสงแดด ในกรณีที่เป็นบ่อซีเมนต์ทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ต้องมีจำนวน 3-4 บ่อ เพื่อสำรองผลิตน้ำเขียวให้มีปริมาณเพียงพอต่อการขยายพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า
การให้อาหารจะให้วันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น แต่ที่ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์จะใช้ระบบน้ำหยด โดยน้ำเขียว ค่อย ๆ หยดผ่านท่อแอสรอนครั้งละ 1-2 หยดเติมครั้งเดียวใช้ได้ 1-2 วัน ถ้าเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอัตราความหนาแน่นเกิน 30 ตัวต่อลิตร ต้องให้ อาหารมากสักหน่อย การสังเกตุความสมบูรณ์ของไรน้ำนางฟ้าตัวอ่อนสมบูรณ์จาก ทางเดินอาหารมีสีเขียว ท่อลำไส้จะยาว ถ้าใส่อาหารเยอะ น้ำเขียวมากจะเป็นที่สะสมของของเสียซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำรงชีวิตของไรน้ำนางฟ้า
วงจรชีวิตของไรน้ำนางฟ้า ไข่ไรน้ำนางฟ้าใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อมีอายุ 8-9 วันจะเจริญเติบโตมีไข่และ พัฒนาขยายพันธุ์ได้อีกทุก ๆ วัน โดยเฉลี่ยวางไข่วันละ 1 ครั้ง ครอกละ 500 ฟอง หากเป็นบ่อดิน ไข่จะไปกองบริเวณพื้นบ่อทำให้ไม่สามารถ เก็บไข่ได้ ถ้าเป็นกะละมังหรือบ่อซีเมนต์จะเก็บไข่ได้ง่ายกว่า การป้องกันไข่ไรน้ำนางฟ้าติดไปกับน้ำที่ระบายทิ้ง ขอแนะนำให้ใช้ผ้ากรองปิดที่ ปลายท่อระบายน้ำทิ้ง นำไข่มาแช่น้ำ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาทำให้แห้งเพื่อเก็บไว้ขยายพันธุ์ในครั้งต่อไป ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับ มิฉะนั้นจะทำให้ การเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ หากไข่ที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว เปอร์เซ็นต์การฟักจะสูงถึงร้อยละ 90 ไข่ไรน้ำนางฟ้ามีขนาด เล็กกว่าไข่อาร์ทีเมียและเป็นไข่จมน้ำ ส่วนไข่อาร์ทีเมียจะลอยน้ำ ไรน้ำนางฟ้าไทยมีอายุขัย 25-30 วัน ไรน้ำนางฟ้าสยายมีอายุขัย 69-119 วัน
ประโยชน์ของไรน้ำนางฟ้า
1. ใช้ในวงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม
2. ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอสี
3. ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น แกง หมก
4. ใช้ทดแทนการนำเข้าอาร์ทีเมียที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ช่วยลดภาวะการขาดดุลของประเทศ
5. สามารถเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้ผู้ประกอบการ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น