12.29.2551

ปลาหมอสี



ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดที่มาจากทะเลสาบ ทังกันยิกา ทะเลสาบมาลาวีและทะเลสาบวิกตอเรีย รูปร่างลักษณะคล้ายปลาหมอไทย แต่มีสีสันหลากหลายสวยงามยิ่งนัก ตามตำราระบุว่าปลาหมอชนิดนี้เป็นลัตว์น้ำเค็ม แต่เมื่อประมาณ 11-30 ล้านปีได้เกิดการแตกแยกของผิวโลก กลายเป็นทะเลสาบ ปลาทะเลนานาชนิดไถเข้าไปอยู่อาศัย โดยเฉพาะปลาหมอสีได้วิวัฒนาการมาตลอดจนมีจำนวนสกุลและชนิดมาก ดังนั้นรูปร่างและพฤติกรรมก็แตกต่างกันหลายรูปแบบด้วย
ปัจจุบันนี้ปลาหมอสีได้ถูกมนุษย์จับมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และพัฒนาพันธุ์มากมายหลายชนิด ซึ่งประเทศไทยก็มิน้อยหน้าประเทศใด ๆ เลย เพราะว่ามีผู้เลี้ยงปลาสวยงามจำนวนมากนิยมนำปลาชนิดนี้มาเลี้ยงพร้อมกับพัฒนาพันธุ์ ผลิตลูกพันธุ์ขายให้กับผู้สนใจทั้งในและนอกประเทศ ทำเงินเข้าประเทศปีละนับสิบ ๆ ล้านบาท เช่นปลาในสกุล (Genus Nimbochromis), Genus Protomelas, Genus Aulonocara, Genus Aristochromis, Genus Copadichromis, Genus Geophagus และ Labeotropheus
ปลาหมอสีสกุล Geophagas
มีวามสวยงามและมีความแปลกในด้านของสีสันและรูปทางปลาหมอในกลุ่มนี้ เป็นปลาหมอสายพันธุ์แท้จากอเมริกาใต้ปลาหมอกลุ่มนี้สามารถเลี้ยงรวมกันได้กับพรรณไม้น้ำชนิดที่มีความคงทนและแข็งแรง รวมทั้งการจัดตู้โดยใช้ขอนไม้ ปลาหมอในกลุ่มนี้น้อยคนนักที่จะรู้จัก ความจริงแล้วมีการนำเข้าปลาในกลุ่มนี้มานานนับ 10 ปีแล้ว ทั้งมีปลาหมอสีสกุล Geophagas มากเกือบ 10 ชนิด ที่มีเข้ามาขายในบ้านเรา และเป็นที่รู้จักกันดีมีอยู่ประมาณ 6 ชนิดได้แก่
1.1 Balzanii มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศปารากวัย จุดเด่นอยู่ที่ส่วนตัว ตรงบริเวณปากที่จะนูนออกมาจนทำให้สันของจงอยปากตั้งตรง สีของลำตัวมีสีเหลืองและมีแถบดำลักษณะเป็นริ้วพาดขวางลำตัว บริเวณแก้มและลำตัวปลายจุดฟ้า
1.2 Brasiliensis ตั้งชื่อตามประเทศ นอกจากนี้ยังพบในประเทศอาเจนติน่า มีลำตัวแบน หัวโต ปากกว้าง นัยน์ตามีขนาดปานกลาง และคอหางสั้น ครีบกระโดงมีปลายเรียว แหลม และอยู่กลางลำตัว
1.3 Surinamensis จับได้จากเมือง ซูรินัม (ประเทศอีกาน่า) มีลำตัวแบนข้าง ตัวโต จงอยปากยาว ปากเล็ก และอยู่ในแนวระดับเดียวกับท้องครีบกระโดง
1.4 พร็อกซินัม คล้ายซูรินัม มีสีสันเข้มและเงางามกว่า เวลาที่ปลาว่ายกลับตัวหรือกระทบแสงไฟจะเห็นเป็นสีเหลืองที่สวยงาม มีลำตัวแบนข้าง
1.5 ทาปาโจส (Tapajos Orangehead or Red head) มีสีแดงบริเวณส่วนหัวและบริเวณหางจะเป็นริ้ว ลำตัวมีสีเขียว แต่ไม่เงางามหรือเป็นประกายเท่ากับพร็อกซินัม เป็นปลาที่พึ่งมีการนำเข้ามาในเมืองไทย แหล่งกำเนิด Rio Tapajos, South America
1.6 ฮอนเด (Steindachneri Red-hamp)

1. น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้
2. ใช้เครื่องกรองน้ำซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้
3. ขนาดของตู้เลี้ยงควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวกหมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้
4. อาหารปลาหมอสีกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มีลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี
5. ก้อนหิน ก้อนกรวด พันธุ์ไม้น้ำที่เราคิดว่าจะจัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลงพันธุ์ไม้น้ำก็ควรจะพักไว้ในถังหรือตู้อื่นๆ รอจนมันฟื้นตัวได้แล้วค่อยนำมาจัดในตู้
6. ตู้ปลาควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก
7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆ

การเพาะพันธุ์เราควรจะคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เสียก่อน ปลาหมอสีตัวผู้กับตัวเมียหากจะดูตามลักษณะของอวัยวะเพศนั้นค่อนข้างยาก แต่ถ้าดูด้วยตาเปล่าจะสังเกตเห็นว่าปลาหมอสีบางพันธุ์ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย และบางพันธุ์ตัวผู้จะมีสีสด ส่วนตัวเมียจะมีสีซีดกว่า พ่อแม่พันธุ์ที่ดีต้องเป็นปลาที่สมบูรณ์ ว่ายน้ำว่องไว ปราดเปรียว ที่สำคัญต้องเป็นปลาที่ไม่ผ่านการเร่งหรือย้อมสี มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
สถานที่ที่ใช้เพาะพันธุ์ปลาหมอสีควรใช้ตู้กระจกขนาด 36 นิ้ว เพราะสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของแม่ปลาได้ง่าย ทาสีตู้ทั้ง 3 ด้าน เพื่อป้องกันปลาตื่นตกใจ เมื่อเตรียมพ่อแม่พันธุ์และสถานที่เรียบร้อยแล้ว จึงปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตราส่วน พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 5 ตัว ซึ่งตู้ขนาด 36 นิ้ว สามารถปล่อยพ่อพันธุ์ได้ 3 ตัว และ แม่พันธุ์ได้ถึง 15 ตัว โดยตัวผู้จะไล่จัดคู่กับตัวเมียเอง
การผสมพันธุ์นั่นเมื่อตัวเมียเริ่มวางไข่ตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ และเนื่องจากปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาที่อมไข่ เมื่อตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อเสร็จปลาตัวเมียก็จะอมไข่ไว้และทำเช่นนี้เรื่อยไปจนไข่หมด ซึ่งปลาหมอสีจะอมไข่ได้ครั้งละประมาณ 30-40 ฟอง จากนั้นตัวผู้จะไปผสมพันธุ์กับตัวอื่นต่อไป มีปลาหมอสีบางชนิดที่วางไข่กับพื้นโดยไม่อมไข่ไว้เหมือนกันแต่พบได้น้อยมาก
ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วแม่ปลาจะอมไว้ในปาก ซึ่งเราจะสังเกตเห็นว่าใต้คางของแม่ปลาจะอูมออกมาชัดเจน เหงือกจะอ้าออกเพื่อให้น้ำไหลผ่านในช่องปากตลอดเวลา เมื่อครบ 15 วัน ลูกปลาจะเริ่มฟักเป็นตัวระยะนี้เราสามารถนำแม่ปลามาเปิดปากเพื่อนำลูกปลาออกมาแล้วนำไปอนุบาลต่อไป การเปิดปากแม่ปลาควรทำด้วยความรวดเร็วและระมัดระวังมิเช่นนั้นแม่ปลาอาจเกิดการบาดเจ็บได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม