5.25.2563

ปลาสวาย

ปลาสวายเป็นปลาน้ำจืดประเภทไม่มีเกล็ดเช่นเดียวกับปลาเทโพเทพา และสังกะวาดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ มากรองจากปลาบึก ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 150 เซนติเมตร ปลาชนิดนี้มีพบในแถบประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย ปลาสวายมีชื่อสามัญหรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Stripped Catfish มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าPangasius sutchi Fewler เป็นปลาที่มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศอีกชนิดหนึ่ง
ประมาณปี พ.ศ. 2492 เป็นต้นมาทำให้ราษฎรมีอาชีพรวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ในเขตจังหวัด นครสวรรค์ อุทัยธานี ส่งขายต่อให้ผู้เลี้ยงปลาในเขตจังหวัดอุทัยธานี อยุธยา และกรุงเทพฯ ต่อมาได้มีการผสมเทียมเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้สำเร็จในปี 2509 และหลังจากนั้น 3 ปี การเพาะพันธุ์และการอนุบาลก็ประสบความสำเร็จ พอดำเนินเป็นการค้าได้ นอกจากนี้ได้มีอาชีพเลี้ยงลุกปลาขนาดเล็กเพื่อส่งขายต่างประเทศแบบลูกปลาสวายสวยงามได้ด้วย ในการเลี้ยงปลาเป็นอาชีพ ปลาสวายเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงกว้างขวาง สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อ ในกระชัง และเลี้ยงได้ทั้งชนิดเดียว หรือเลี้ยงรวมกันกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล ฯลฯ เพราะปลาสวายเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็วและไม่ค่อยมีโรคพยาธิเบียดเบียนเช่น ปลาอื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นปลา ที่กินอาหารได้เกือบทุกชนิด แม้เศษอาหารจากร้านค้า ครัวเรือน หรือ มูลสัตว์ เช่น มูลสุกร ฯลฯ ก็ใช้เป็นอาหารปลาสวายได้เป็นอย่างดี

แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย ปลาสวายมีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า ต่อมาได้แพร่เข้ามาในประเทศอินโดนีเซียและไทย สำหรับ
ประเทศไทย ปลาสวายมีแหล่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน ป่าสัก และแม่น้ำโขงรวมทั้ง คลอง หนองบึง อันเป็นสาขาของแม่น้ำดังกล่าว เช่น ในบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์ และบึงสีไฟจังหวัดพิจิตร พบว่าปลาสวาย ชอบอาศัยอยู่บริเวณที่เป็นอ่าว น้ำนิ่งและเป็นผักตบชวา หรือแพสนุ่นขึ้นหนาแน่น เป็นปลาที่ตื่นตกใจง่าย เมื่อถูกรบกวนหรือถูกทำอันตรายสารบัญ


รูปร่างลักษณะ
ปลาสวายมีรูปร่างค่อนข้างเรียวยาว หัวค่อนข้างกว้าง แต่ไม่แบนมากนัก ปากอยู่ต่ำ กว้างทู่ มีตาขนาดเล็ก
มีหนวด 2 คู่ คือ หนวดขากรรไกรบน 1 คู่ และหนวดขากรรไกรล่าง 1 คู่ ซึ่งหนวดคู่แรกมีความกว้างกว่าหนวดคู่ที่ 2 เส้นข้างตัวมีลักษณะเป็นเส้นสมบูรณ์ ส่วนสัดของลำตัวที่สำคัญๆ คือ ความยาวสุดของลำตัวประมาณ 4 เท่าครึ่งของ ความยาวส่วนหัว ส่วนความยาวมาตรฐานลำตัวยาวประมาณเกือบ 4 เท่าครึ่งของความกว้างลำตัว ครีบหลังมี
ก้านแข็ง 1 ก้าน มีลักษณะฟันเลื่อย และมีก้านแขนง 6 ก้าน มีครีบไขมันขนาดเล็กอยู่ระหว่างครีบหลังและครีบหาง ครีบก้นมีก้านแข็ง 4 ก้าน และก้านแขนง 30-32 ก้าน ครีบหูมีก้านแข็ง 1 ก้าน และก้านแขนง 6 ก้าน
ลักษณะภายในที่สำคัญ มีซี่เหงือก 20 ซี่ มีฟันซี่เล็กๆ เรียงเป็นแถวบนขากรรไกรบนทั้ง 2 คู่ มีฟันบนเพดานเรียง
เป็น 2 แถว ปลาสวายที่แก่เต็มวัยจะมีลำตัวเป็นสีเทาดำบริเวณด้านหลังและมีสีขาวบริเวณตั้งแต่ด้านข้างของลำตัว จากส่วนหน้าถึงโคนหางขนานไปกับเส้นข้างตัวทั้งด้านบนและด้านล่างทำให้แลดูสวยงามมาก อนึ่งลูกปลาสวายขนาดเล็ก มีลักษณะต่างๆที่คล้ายคลึงกันมากกับลูกปลาเทโพและสังขะวาด ทำให้ยากแก่การจำแนก และเป็นปัญหาต่อผู้ที่มีอาชีพ รวบรวมลูกปลาสวายจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ถึงอย่างไรก็ดีจากผลการศึกษาและค้นคว้าพอสรุปข้อแตกต่างของลูกปลา
ทั้ง 3 ชนิดได้ดังนี้
ความแตกต่างระหว่างลูกปลาสวาย เทโพ และลูกปลาสังกะวาด

ก้าน 6 ก้าน 6 ก้าน
รอยผ่าของปาก มุมกว้าง มุมกว้างกว่าสวาย มุมแคบกว่าสวายและ เล็กน้อย เทโพมาก
ซี่เหงือก มากกว่า 12 ซี่มีลักษณะของ มากกว่า12 ซี่ ปลากินเนื้อ
สีของครีบหลังและ สีดำจางพอสังเกตได้ สีดำเข้มชัดเจน ไม่มีสีครีบอก
สีครีบหาง สีดำจาง ๆ สีดำเข้ม ไม่มีสี
การผุดขึ้นที่ผิวน้ำ ผุดขึ้นเร็วและสะบัด ผุดเร็วและสะบัด ผุดขึ้นช้า ๆ และไม่ หางจนน้ำกระเด็น หางค่อนข้างเร็ว สะบัดหาง
การรวมฝูงและว่าย ไปเป็นฝูงเดียวหรือ ไปเป็นฝูงหรือร่วม ไปฝูงเดียวไม่รวมกับน้ำ รวมกับปลาเทโพ กับลูกปลาสวาย ปลาชนิดอื่น
หมายเหตุ ; จากลัษณะที่แตกต่างดังกล่าวข้างต้น ผู้มีอาชีพรวบรวมลุกปลาสวายสามารถใช้ลักษณะที่แตกต่างที่สำคัญเป็นหลักใน
การสังเกตได้ 3 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 2,6 และ 8สารบัญ


ลักษณะเพศและการผสมพันธุ์
ความแตกต่างระหว่างเพศผู้และเพศเมียของปลาสวายนั้น จะสังเกตได้ยากจากปลาที่โตไม่เต็มวัย แต่พอถึงฤดูวางไข่และผสมพันธุ์ทั้งปลาเพศเมียและเพสผู้จะมีลักษณะภายนอกที่เห็นเด่นชัด คือ
ปลาเพศเมีย
ส่วนท้องพองเป่ง กลมนูน พื้นท้องนิ่มมาก ลักษณะช่องเพศเป็นรูปวงรีกว้างใหญ่กว่าตัวผู้ ช่องเพศพองเป่ง และมีสีแดงเข้ม ลำตัวจะมีสีขาวเงินสวยงาม พอถึงเวลาที่ปลาเพศเมียมีไข่สุกเต็มที่จะวางไข่ มีลักษณะสังเกตได้ง่าย -มองเห็นเม็ดไข่สีเหลืองไหลออกมาจากช่องเพศในทันทีที่จับปลาขึ้นมาพ้นน้ำ เมื่อจับโคนหางงอพับมาทางด้านหน้า ไข่ที่สุกจะไหลออกมาอย่างต่อเนื่องปลาเพศผู้ จะมีท้องเรียบกว่าและไม่นูนเหมือนปลาเพศเมีย พื้นท้องแข็งกว่าช่องเพศ เป็นรูปรีเช่นเดียวกันแต่แคบและเล็กกว่า สีแดงอ่อนและมีส่วนของอวัยวะเพศยื่นยาวออกมา ปลาตัวผู้ที่มีน้ำเชื้อสมบูรณ์และแก่เต็มที่ เมื่อใช้มือบีบที่บริเวณช่องเพศเบา ๆ จะเห็นน้ำเชื้อสีขาวไหลออกเห็นได้ชัด ในธรรมชาติปลาสวายจะผสมพันธุ์วางไข่ ในบริเวณที่มีน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ในช่วงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม


ปัจจุบันการเพาะพันธุ์ปลาสวายโดยวิธีการฉีดฮอร์โมนผสมเทียมทำให้มีพันธุ์ปลาพอเพียงกับการเลี้ยง โดยสามารถเพาะพันธุ์ปลาได้ ตั้งแต่เดือนเมษายน-ตุลาคม ไข่ปลาจะฟักออกเป็นตัวในระยะเวลา 27-33 ชั่วโมง หลังจากวางไข่ที่อุณหภูมิ 28-31 องศาเซลเซียส ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะมีขนาดความยาวประมาณ 3 มม. มีลักษณะใสและโปร่งแสง และยังไม่ว่ายน้ำ คงพักตัวอยู่เฉย ๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จนลูกปลาแข็งแรงขึ้นแล้วจึงเริ่มเคลื่อนไหว โดยว่ายน้ำขึ้นลงในทางดิ่ง ซึ่งว่ายน้ำขึ้นลงอยู่อย่างนี้เป็นเวลาประมาณ 3 วัน ลูกอ่อนปลาสวาย เป็นลูกปลาที่ค่อนข้างแปลกกว่าลูกปลาชนิดอื่นตรงที่ว่าลูกปลาจะกินอาหารและกินกันเองตั้งแต่งปากเริ่มอ้า และถุงไข่แดงยังยุบไม่หมดลูกปลาที่มีอายุตั้งแต่ 3 วันนี้ เริ่มว่ายน้ำไปมาในทางราบได้ ลูกปลาสวายจะเจริญและมีอวัยวะครบถ้วน เช่นเดียวกับปลาเต็มวัยเมื่อมีอายุได้ 14 วัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม