11.18.2557

ปลาสวาย


ปลาสวายเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ซึ่งพบเห็นอยู่ทั่วไป ทั้งในประเทศไทย เขมร และเวียดนาม สำหรับประเทศไทยมีผู้นิยมเลี้ยงปลาสวายทั้งในบ่อและในกระชัง จังหวัดที่เลี้ยงปลาสวายในกระชังกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ได้แก่จังหวัดอุทัยธานี และนครสวรรค์ โดยสร้างกระชังขนาดใหญ่เลี้ยงเรียงรายอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำ นับว่าเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง เพราะเนื้อมีรสดี มีปริมาณมากสามารถปรุงแต่งเป็นอาหารได้หลายแบบหลายรส

รูปร่างลักษณะและนิสัย
ปลา สวายเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกับปลาเทโพ เพราะมีรูปร่างขนาด ลักษณะ ตลอดจนความเป็นอยู่ไปในลักษณะเดียวกัน เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด ลำตัวเรียวยาว ลักษณะด้านข้างค่อนไปทางอวบกลมมีหลังข้างตรง ส่วนหน้าลาดลงถึงปาก และปากกว้างทู่มีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ มีกระโดงครีบหลัง 1 อัน และครีบอกข้างละ 1 คู่ ปลายหางยาวและเว้าลึกเป็นแฉก หลังมีสีหม่นเข้ม ตามครีบจะมีสีเหลืองอ่อน ส่วนที่ปลายหางครีบหลัง และครีบอกจะมีสีค่อนข้างดำปลาเทโพ มีลักษณะส่วนสัดคล้ายคลึงกับปลาสวาย แต่ที่นับว่าแตกต่างใช้เป็นจุดสังเกตได้ง่าย ๆ คือ ปลาเทโพจะมีจุดกลมดำที่เหนือโคนครีบหู หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หู" อีกข้างละหนึ่งจุด
ในประเทศ ไทย แหล่งที่พบปลาสวายชุกชุมมากที่สุด อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยทั่วไป คือ มักพบเห็นตามแม่น้ำ ลำคลอง ตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อยไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ปลาทั้งสองชนิดนี้มักจะว่ายรวมกันไปเป็นฝูง ๆ อยู่ในน้ำลึกซึ่งมีกระแสน้ำไหลถ่ายเทได้ชอบรวมกลุ่มพักอยู่ในที่ร่มใกล้ พันธุ์ไม้น้ำ เช่น ตามใต้แพผักบุ้งที่มีกร่ำแพสนุ่น หรือใต้กอผักตบชวา ปลาสวายเป็นปลาที่ตื่นตกใจง่ายเมื่อถูกรบกวนหรือถูกทำอันตราย

ลักษณะเพศและการแพร่ขยายพันธุ์
ลักษณะ เพศ ปลาสวายตัวผู้มีท้องเรียบไม่นูน พื้นท้องแข็งกว่าตัวเมีย ลักษณะช่องเพศเป็นรูปวงรี แคบเล็ก มีสีแดงอ่อน เมื่อใช้มือบีบที่ช่องเพศเบา ๆ จะมีน้ำเชื้อสีขาวไหลออกมาให้เห็นได้ชัด ส่วนตัวเมียมีลักษณะที่พอจะสังเกตได้ชัด คือบริเวณส่วนท้องอูมเป่ง กลมนูนออกมาเห็นได้ถนัด พื้นท้องมีผิวเนียนนิ่ม ลักษณะของช่องเพศ เป็นรูปรีมีขนาดกว้างใหญ่กว่าของตัวผู้ นอกจากนั้นตรงบริเวณช่องเพศยังมีลักษณะพองเป่งปรากฏเป็นสีแดงเข้มฤดูและ แหล่งวางไข่ ปลาสวายจะวางไข่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติในบริเวณที่มีน้ำท่วมในฤดูน้ำมาก ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ไข่ปลาสวายจะฟักออกเป็นตัวในระยะเวลา 27-33 ชั่วโมงหลังจากวางไข่ ที่อุณหภูมิ 28-31 องศาเซลเซียส

จาก การสอบถามผู้ที่ได้เคยทำการทดลองเลี้ยงปลาสวายในกระชัง และได้ทดลองเลี้ยงในบ่อ ปรากฏว่าทั้งปลาสวายและปลาเทโพจะไม่วางไข่แพร่พันธุ์ในบ่อหรือในกระชังที่ เลี้ยงไว้เลย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปลาสวายจะไม่วางไข่ในบ่อและในกระชัง แต่ก็มีผู้นิยมเลี้ยงปลาสวายในบ่อและในกระชังกันมาก ทั้งนี้เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินง่าย โตเร็ว มีน้ำหนักมาก เนื้อมีรสอร่อย และในท้องตลาดจะมีผู้รับซื้อในราคาที่ดีพอสมควร

ชาว ประมงที่เลี้ยงปลาสวายในบ่อ (หรือในกระชัง) จะต้องซื้อหาลูกปลาสวายขนาดเล็กประมาณ 5-12 เซนติเมตร มาจากแหล่งขายลูกปลา ลูกปลาสวายที่นำมาจำหน่าย ส่วนมากจะได้มาจากแหล่งต่าง ๆ ในลุ่มน้ำภาคกลาง เช่น ในท้องที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี อุทัยธานี อ่างทอง นครสวรรค์และพิษณุโลก

การเก็บรวบรวมลูกปลาสวายจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
การ เก็บรวมรวมลูกปลาสวาย นิยมใช้เครื่องมือจับปลาแบบเครื่องกั้นที่เรียกว่า "ไซมาน" หรือแห และอาจใช้ลอบยืนได้ โดยใช้กล้วยสุกหรือปลาเน่า เป็นเหยื่อล่อ การจับลูกปลาสวายจากแหล่งน้ำธรรมชาตินี้จะจับลูกปลาได้มากในเดือนสิงหาคมถึง เดือนกันยายน แต่ถ้าปีใดมีฝนตกเร็วกว่าปกติ ก็จะจับลูกปลาได้เร็วขึ้น ปีไหนฝนตกชุกน้ำท่าบริบูรณ์ดีก็จะจับลูกปลาได้มาก เพราะลูกปลาสวายชอบผุดว่ายขึ้นสู่ผิวน้ำอยู่เสมอ ๆ ฉะนั้นจะสังเกตเห็นได้ง่ายกว่าปลาชนิดอื่น ๆ ในเวลาที่ได้รับอาหารก็จะยิ่งผุดขึ้นบ่อยครั้ง


ปลา สวายไม่กระโดดขึ้นเหนือผิวน้ำจึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะเลี้ยงในกระชังเพราะถึง แม้ว่าปากของกระชังจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำเล็กน้อย และไม่มีฝาปิดปากกระชังก็ตาม ปลาก็จะไม่กระโจมออก แต่การเลือกทำเลเลี้ยงในกระชังนี้ต้องอยู่ในแม่น้ำลำคลองที่ค่อนข้างสงบ ไม่มีเรือยนต์หรือเรือหางยาวสัญจรไปมามากนัก เพราะปลาสวายเป็นปลาที่ตื่นตกใจง่าย ฉะนั้นหากจะเลี้ยงในบ่อที่มีทางระบายน้ำถ่ายเทได้ดี นับว่าเหมาะกว่าเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำลำคลองซึ่งมีคลื่นรบกวนอยู่เนือง ๆ

5.25.2557

ปลากะรังหน้างอน หรือ ปลากะรังหงส์ หรือ ปลาเก๋าหงส์ (อังกฤษHumpback grouper, Barramundi cod, Panther grouperชื่อวิทยาศาสตร์Cromileptes altivelis) อยู่ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae)



มีรูปร่างหัวเรียวแหลม ปากเล็ก ตาเล็ก ครีบหลังต่อเป็นแผ่นเดียว ลำตัวสีเทาอ่อน แต้มด้วยจุดสีดำกระจายทั่วทั้งตัวและครีบ จัดเป็นปลาชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Cromileptes
มีความยาวเต็มที่ 70 เซนติเมตร ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 2 ปี น้ำหนักกว่า 2.5 กิโลกรัม
พบกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลบริเวณแนวปะการังหรือกองหินที่มีน้ำขุ่น ความลึกตั้งแต่ 2-40 เมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทะเลจีน,ญี่ปุ่นปาปัวนิวกินีมหาสมุทรอินเดียหมู่เกาะนิโคบาร์ออสเตรเลียตอนเหนือ, ไทยมาเลเซียฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย
ปลากะรังหน้างอนเป็นปลาที่มีความโดดเด่นที่สีสันที่มีความสวยงาม โดยเฉพาะเมื่อยังเล็ก พื้นลำตัวจะเป็นสีขาวตัดกับจุดกลมสีดำเห็นชัดเจน จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อย จึงนิยมจับเพื่อรับประทานเป็นอาหารอีกด้วย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาตัวที่ถูกจับได้ในธรรมชาติจะมีราคาสูงถึงตัวละ 2,400-2,800 บาท ดังนั้น สถานะในธรรมชาติของปลากะรังหน้างอนจึงอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยถูกคุกคาม แต่ในปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว

3.31.2557

ปลานกแก้วหัวโหนก (อังกฤษ: Bumphead parrotfish, Green bumphed parrotfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Bolbometopon muricatum) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลานกแก้ว (Scaridae) ถือเป็นปลานกแก้วมีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีขนาดใหญ่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.3 เมตร น้ำหนักได้ถึง 46 กิโลกรัม และมีอายุยืนยาวได้นานถึง 40 ปี มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลานกขุนทองหัวโหนก (Cheilinus undulatus) ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) และถือเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Bolbometopon
โดยมีลักษณะเด่น คือ บริเวณหน้าผากโหนกหนาแข็งแรง ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกันชนเวลาที่เข้ากัดกินหินหรือปะการังแข็ง ๆ เพื่อกินเป็นอาหาร ปากและฟันหน้าใหญ่แข็งแรง ติดกันเป็นพรืดเหมือนกันกับปลานกแก้วชนิดอื่นทั่วไปไม่เป็นซี่ ๆ เหมือนสัตว์ทั่วไป ลักษณะของปากและฟันเช่นนี้ทำให้ถูกเปรียบเทียบว่าคล้ายกับจะงอยปากของนกแก้ว อันเป็นที่มาของชื่อ มีลำตัวทั่วไปสีเขียว
ปลานกแก้วหัวโหนกเป็นปลาที่อยู่อาศัยหากินรวมกันเป็นฝูง ตามแนวปะการัง ในฝูงหนึ่งประมาณ 13-14 ตัว ออกหากินในเวลากลางวัน และเข้านอนตามซอกหลืบถ้ำหรือตามซากเรือจมในเวลากลางคืน ในระดับความลึกไม่เกิน 30 เมตร
พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ทะเลแดง, ซามัว จนถึงนิวแคลิโดเนียและเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ในออสเตรเลีย สำหรับน่านน้ำไทย ถือเป็นปลาที่พบได้น้อย หายาก จึงมักเป็นที่ชื่นชอบของนักประดาน้ำเพื่อถ่ายรูปเช่นเดียวกับปลานกขุนทองหัวโหนก โดยอาจพบได้ที่เขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันและหมู่เกาะสุรินทร์แต่ก็ไม่บ่อยนัก และจำนวนก็ไม่มาก ครั้งละ 3-4 ตัวเท่านั้น
แต่สำหรับที่เกาะเซปาดัง ในมาเลเซีย และเกาะบอร์เนียว ในอินโดนีเซียจะพบได้ง่ายกว่า

2.23.2557

Oreochromis nilotica

ปลานิล  Oreochromis nilotica  เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี พ.. 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยงในระยะเวลา เดือน – 1 ปี สามารถเจริญเติบโตได้ถึงขนาด 500 กรัม เนื้อปลามีรสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200 – 300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็วแต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก เพื่อให้ได้ปลานิลพันธุ์ดีกรมประมงจึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในด้านต่างๆอาทิ เจริญเติบโตเร็ว ปริมาณความดกของไข่สูง ให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น ดังนั้นผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิจเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป



รูปร่างลักษณะของปลานิลคล้ายกับปลาหมอเทศ แต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและร่างเสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด แถว ตามลำตัวมีลายพาดขวางจำนวน 9 – 10 แถบ นอกจากนั้นลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อนเป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบแข็งและอ่อนเช่นกัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่กระดูกแก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่งบริเวณส่วนอ่อนของครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาวและสีดำตัดขวางแลดูคล้ายลายข้าวตรอกอยู่โดยทั่วไป
       ต่อมากรมประมงโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาและพันธุกรรมสัตว์น้ำได้นำปลานิลสายพันธุ์แท้มีชื่อว่าปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาไปดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ได้ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ จำนวน สายพันธุ์ ดังนี้
    1. ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 1 เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธ์แบบคัดเลือกภายในครอบครัว (within family selection) เริ่มดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.. 2528 จนถึงปัจจุบันเป็นชั่วอายุที่ ซึ่งทดสอบพันธุ์แล้วพบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าปลานิลพันธุที่เกษตรกรเลี้ยง 22 %
   2. ปลานิลสายพันธุ์จิตลดา 2 เป็นปลานิลที่พัฒนาพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา โดยการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมในพ่อพันธุ์ให้มีโครโมโซมเป็น "YY"  ที่เรียกว่า  "YY - Male"  หรือซุปเปอร์เมล ซึ่งเมื่อนำพ่อพันธุ์ดังกล่าวไปผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์ปรกติจะได้ลูกปลานิลเพศผู้ที่เรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 2 " ซึ่งมีลักษณะเด่นคือเป็นเพศผู้ที่มีโครโมโซมเพศเป็น "XY" ส่วนหัวเล็กลำตัวกว้าง สีขาวนวล เนื้อหนาและแน่น  รสชาติดี อายุ 6 – 8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 2 – 3 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 45 %
           3.  ปลานิลสายพันธุจิตรลดา 3 เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากการนำปลานิลพันธุ์ผสมกลุ่มต่างๆที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาและปลานิลสายพันธุ์อื่นๆ อีก สายพันธุ์ ได้แก่  อียิปต์  กานา  เคนยา  สิงคโปร์ เซเนกัล  อิสราเอล และไต้หวันซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วและมีอัตรารอดสูง ในสภาพแวดล้อมการเลี้ยงต่างๆ ไปสร้างเป็นประชากรพื้นฐาน จากนั้นจึงดำเนินการคัดพันธุ์ในประชากรพื้นฐานต่อโดยวิธีดูลักษณะครอบครัวร่วมกับวิธีดูลักษณะภายในครอบครัว ปลานิลชั่วอายุที่ 1 – 5 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์โดยหน่วยงาน  ICLARM  ในประเทศฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงนำลูกปลาชั่วอายุที่ เข้ามาในประเทศไทย ในปี พ.. 2538 สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจึงดำเนินการปรับปรุงปลาพันธุ์ดังกล่าวต่อ โดยวิธีการเดิมจนในปัจจุบันได้ ชั่วอายุ และเรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3 " ปลาสายพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นคือ ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สีเหลืองนวล เนื้อหนาและแน่น รสชาติดี อายุ 6 – 8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 3 – 4 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 40 %
ปัจจุบันสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำได้กระจายพันธุ์ปลานิลทั้ง สายพันธุ์ ไปสู่ภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ เพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงแล้ว โดยหน่วยงานของสถาบันฯในจังหวัดปทุมธานีและหน่วยพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจืดพิษณุโลก ขอนแก่น และสุราษฏร์ธานี นอกจากนี้ยังดำเนินการดำรงสายพันธุ์และทดสอบพันธุ์ปลานิลดังกล่าวด้วย


ปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี  จากการศึกษาพบว่า ปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพันส่วน ทนต่อค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5 – 8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40  องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสพบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนักทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน
การสืบพันธ์

         1. ลักษณะ ตามปกติแล้วรูปร่างภายนอกของปลานิลตัวผู้และตัวเมีย จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่จะสังเกตลักษณะเพศได้ก็โดยการดูอวัยวะเพศที่บริเวณใกล้กับช่องทวาร โดยตัวผู้จะมีอวัยวะเพศในลักษณะเรียวยาวยื่นออกมา แต่สำหรับตัวเมียจะมีลักษณะเป็นรูค่อนข้างใหญ่และกลม ขนาดปลาที่จะดูเพศได้ชัดเจนนั้นต้องเป็นปลาที่มีขนาดความยาวตั้งแต่10 เซนติเมตรขึ้นไป สำหรับปลาที่มีขนาดโตเต็มที่นั้นเราจะสังเกตเพศได้อีกวิธีหนึ่งด้วยการดูสีที่ลำตัวซึ่งปลาตัวผู้ที่ใต้คางและลำตัวจะมีสีเข้มต่างกับตัวเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์สีจะยิ่งเข้มขึ้น

         2. การผสมพันธุ์และวางไข่ ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปีโดยใช้เวลา 2 – 3เดือน/ครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสมในระยะเวลา ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5 – 6 ครั้ง ขนาดอายุและช่วงการสืบพันธุ์ของปลาแต่ละตัวจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม และสภาพทางสรีรวิทยาของปลาเอง การวิวัฒนาการของรังไข่และถุงน้ำเชื่อของปลานิล พบว่าปลานิลจะมีไข่และน้ำเชื่อเมื่อมีความยาว 6.5ซม.
              
โดยปรกติปลานิลที่ยังโตไม่ได้ขนาดผสมพันธุ์หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเพื่อการวางไข่ ปลารวมกันอยู่เป็นฝูง แต่ภายหลังที่ปลามีขนาดที่จะสืบพันธุ์ได้ปลาตัวผู้จะแยกออกจากฝูงแล้วเริ่มสร้างรังโดยเลือกเอาบริเวณเชิงลาดหรือก้นบ่อที่มีระดับน้ำลึกระหว่าง 0.5 – 1 เมตร วิธีการสร้างรังนั้นปลาจะปักหัวลง โดยที่ตัวของมันอยู่ในระดับที่ตั้งฉากกับพื้นดิน แล้วใช้ปากพร้อมกับการเคลื่อนไหวของลำตัวเพื่อเขี่ยดินตะกอนออกจากนั้นจะอมดินตะกอนงับเศษสิ่งของต่างๆออกไปทิ้งนอกรังทำเช่นนี้จนกว่าจะได้รังที่มีลักษณะค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 – 35 ซมลึกประมาณ 3 – 6 ซมความกว้างและความลึกของรังไข่ขึ้นอยู่กับขนาดของพ่อปลาหลังจากสร้างรังเรียบร้อยแล้วมันพยายามไล่ปลาตัวอื่นๆ ให้ออกไปนอกรัศมีของรังไข่ประมาณ2–3เมตรขณะเดียวกันพ่อปลาที่สร้างรังจะแผ่ครีบหางและอ้าปากกว้าง ในขณะที่ปลาตัวเมียว่ายน้ำอยู่ใกล้ๆรัง และเมื่อเลือกตัวเมียได้ถูกใจแล้วก็แสดงอาการจับคู่ โดยว่ายน้ำเคล้าคู่กันไปโดยใช้หางดีดและกัดกันเบาๆ การเคล้าเคลียดังกล่าวใช้เวลาไม่นานนัก ปลาตัวผู้ก็จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมียเพื่อเป็นการกระตุ้นเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ซึ่งตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 10 – 15 ฟอง ปริมาณไข่รวมกันแต่ละครั้งมีปริมาณ 50 – 600 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลา เมื่อปลาวางไข่แต่ละครั้งปลาตัวผู้จะว่ายไปเหนือไข่พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อลงไปทำเช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์แล้วเสร็จโดยใช้เวลา 1 – 2 ชั่วโมง ปลาตัวเมียเก็บไข่ที่ได้รับการผสมแล้วอมไว้ในปากและว่ายออกจากรังส่วนปลาตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเค้าเคลียกับปลาตัวเมียอื่นต่อไป
            3. การฟักไข่ ไข่ปลาที่อมไว้โดยปลาตัวเมียจะวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ แม่ปลาจะขยับปากให้น้ำไหลเข้าออกในช่องปากอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้ไข่ที่อมไว้ได้รับน้ำที่สะอาด ทั้งยังเป็นการป้องกันศัตรูที่จะมากินไข่ ระยะเวลาฟักไข่ที่ใช้แตกต่างกันตามอุณหภูมิของน้ำ สำหรับน้ำที่มีอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ไข่จะมีวิวัฒนาการเป็นลูกปลาวัยอ่อนภายใน วัน ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวถุงอาหารยังไม่ยุบ  และจะยุบเมื่อลูกปลามีอายุครบ 13 – 14 วัน นับจากวันที่แม่ปลาวางไข่ ในช่วงระยะเวลาที่ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ลูกปลานิลวัยอ่อนจะเกาะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม โดยว่ายวนเวียนอยู่บริเวณหัวของแม่ปลา และเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อมีภัย หรือถูกรบกวนโดยปลานิลด้วยกันเอง เมื่อถุงอาหารยุบลงลูกปลานิลจะเริ่มกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำขนาดเล็กได้ และหลังจาก 3  สัปดาห์แล้วลูกปลาก็จะกระจายแตกฝูงไปหากินเลี้ยงตัวเองได้โดยลำพัง




;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม