5.22.2555

Goblin Shark


ฉลามก็อบบลิน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitsukurina Owstoni (ตามชื่อเรือประมง
ที่ค้นพบ) เป็นปลาฉลามที่หายากและข้อมูลของมันมีน้อยมาก มันอาศัยในแถบ
มหาสมุทรแปซิฟิคตอนใต้ ไล่ไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติคและมหาสมุทรอินเดีย
ตอนใต้ พบครั้งแรกที่ประเทศ ญี่ปุ่น รูปร่างลักษณะของมันก็เหมือนฉลามธรรมดา
ผิวสีเทา มีหาง มีครีบ แต่จะมีครีบที่ค่อนข้างมากอยู่สักหน่อย และส่วนที่เห็นได้ชัดเลย
ว่าแตกต่างไปจากฉลามตัวอื่น คือ เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากหน้าผากมัน หรือก็คือจมูก
ที่มีลักษณะแบนราบซึ่งจะ เป็นตัวช่วยให้ฉลามก็อบบลินหาเหยื่อได้ โดยจะมีอวัยวะที่
ทำงานคล้ายเซนเซอร์ไฟฟ้าอยู่ข้างในจมูกของมัน คอยส่งสัญญาณให้ฉลามก็อบบลิน
รู้ว่าเหยื่ออยู่ที่ไหน ระยะทางเท่าไหร่ แต่บางทีมันก็ใช้การดมกลิ่นแทน ส่วนขนาด
ความยาวทั้งตัวตั้งแต่หัวถึงหางของฉลามก็อบบลินก็ยาวประมาณ 11-15 ฟุตหรือ
3.3 -4.5 เมตร

ปัจจุบันไม่มีรายงานการโจมตีของฉลามชนิดนี้เลยเนื่องจากมันหายากและอยู่ในน้ำลึก
ส่วนสาเหตุที่หายากและใกล้สูญพันธุ์เนื่องมาจากใต้ทะเลนั้นมืดมิด โอกาสที่จะได้เจอ
คู่ของมันนั้นยากมาก ทำให้ไม่มีโอกาสผสมพันธ์กัน

Lamprey


ปลาแลมเพรย์เป็นปลาไหลชนิดหนึ่ง ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและ

ครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะคล้าย

แว่นใช้สำหรับดูด ปากกลมซึ่งไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ขึ้นมาบังคั

ขากรรไกรให้อ้าและหุบแบบปัจจุบัน พวกมันต้องการเพียงปากที่มีตะขอสำหรับเกาะ
เหยื่อเพื่อดูดเลือดสัตว์อื่นเป็นอาหาร และดำรงชีพเป็นปรสิตเมื่อดูดเลือดของเหยื่อจน
ตัวเหยื่อแห้งก็จะปล่อยแล้วหาเหยื่อใหม่ (แลมเพรย์มีหลายชนิด บางชนิดไม่จำเป็น

ต้องดำรงแบบปรสิต)
แลมป์เพรย์ มีทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล และมีกระจายอยู่ทั่วโลก คือ อเมริกาเหนือ


อเมริกาใต้ ยุโรป อาฟริกาตะวันตก ญี่ปุ่น ชิลี นิวซีแลนด์ และ ทาสเมเนีย

Blob Fish


ปลาบร็อบ ( Blobfish ) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ " Psychrolutes marcidus " เป็น
ปลาน้ำลึก ที่พบในน่านน้ำ ออสเตรเลีย ( Australia ) และ แทสมาเนีย ( Tasmania )
เนื่องจากการเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยทำได้ยาก จึงไม่ค่อยมีผู้พบเห็นมากนัก
ปลาบร็อบ ถูกพบในระดับความลึกที่มีแรงดันมากกว่าปกติ ถึง 12 เท่าทำให้ถุงลม

ขาดประสิทธิภาพ เพื่อที่ปลา สามารถลอยตัวได้ (ที่รู้จักกันในชื่อ "กระเพาะปลา"
มีหน้าที่ เก็บกักอากาศ หรือปล่อยอากาศออกเพื่อประโยชน์ในการลอยตัว หรือดำน้ำ)
ปลาจึงมีเนื้อที่มีลักษณะเป็นวุ้น มีความหนาแน่น น้อยกว่าน้ำเล็กน้อย เพื่อให้สามารถ

ลอยตัวเหนือพื้นทะเล โดยใช้พลังงานน้อยที่สุดในการลอยตัว และว่ายน้ำ จึงทำให้

ปลาบร็อบ ไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อ และข้อดีอย่างแรกก็คือมันสามารถทิ้งตัวลงมา

จับเหยื่อจากด้านบนจึงเป็นการดีกว่าจะเข้า จู่โจมจากด้านหน้าที่อาจจะได้รับอันตราย

จากการที่เหยื่อต่อสู้

Basking Shark


ฉลามบาสกิ้น ความจริงยังมีฉลามอีกมากควรติดอันดับ เช่นฉลามยักษ์เมกาโลดอน
(Megalodon Sharkหรือฉลามเมกาเมาทธ์ (MegaMouth ) แต่ดูเหมือนว่าฉลาม
บาสกิ้นจะดูโดดเด่นที่สุดในอันดับของเรา โดยฉลามชนิดนี้เป็นยักษ์ใหญ่ผู้ใจดีแห่ง
ท้องทะเลใหญ่เป็นอันดับสองรองจากฉลามวาฬยาวประมาณ 12.27 เมตร หนักกว่า
19 ตัน มีรายงานการพบปลาขนาดใหญ่ที่นอร์เวย์วัดได้ยาว 12 เมตร มีปากขนาดใหญ่
แต่กินแพลงตอนเป็นอาหารโดยปากของมันจะเหมือนตัวกรองที่สามารถดูดน้ำเข้าปาก
ได้ 2000 ตันต่อชั่วโมง พบในมหาสมุทรที่น้ำเย็นทั่วโลก แต่เนื่องจากมันเชื่อมช้าทำให

มันมักติดมากับอวดของชาวประมงอยู่บ่อยๆ อีกทั้งมันยังถูกล่าในเชิงพาณิชย์อีกด้วย
ทำให้มันเริ่มหายาก (ครีบ กระดูกอ่อนยาจีน เนื้อดิบญี่ปุ่น) ทำให้กลายเป็นสัตว์สงวน
ห้ามล่า


แฮคฟีช (hagfish) รูปร่างเหมือนทากหรือปลิงแต่ความจริงแล้วเป็นปลา เป็นปลา
ไม่มีขากรรไกรที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยการกินปลาตาย หรือใกล้ตายรวมทั้งสัตว์ไม่
มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม กลุ่มหนอนปล้อง มอลลัสและครัสเตเชียน ดังนั้น
ฮคพีช จึงไม่เป็นปาราสิต และไม่ได้เป็นสัตว์ล่าเหยื่อ แต่ค่อนมาทางกินซากสัตว์
มากว่า แฮคฟีชมีประมาณ 32 ชนิด ชนิดที่รู้จักกันดีในอเมริกาเหนือ ในมหาสมุทร
แอตแลนติก
แฮคฟีชกินปลาตายหรือปลาใกล้ตายโดยการ กัดไชเข้าไปทางทวารหรือถุงเหงือก
แล้วกินส่วนของตัวปลาที่อ่อนนุ่มเหลือไว้แต่หนังและกระดูก นอกจากนี้แอคฟีชยังกิน
ปลาที่ตำแหอวนลอยอยู่ ทำความเสียหายให้แก่ชาวประมง แต่หลังจากมีการประมง
โดยใช้อวนลากขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง ปัญหาที่เกิดจากแฮคฟีชจึงลดลง
แฮคฟีชมีต่อมเหมือกทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่กระจายอยู่ที่ผิวหนัง และมีต่อม

เหมือนเรียงตัวเป็นแนวอยู่ทางด้านข้างตลอดความยาวของลำตัว มีคำกล่าวว่า แฮคฟีช

1 ตัว สามารถทำให้น้ำ 1 ถัง แปรสภาพเป็นก้อนวุ้นสีขาวภายใน 1 นาที

นอกจากนี้ แฮคฟีช ยังเป็นอาหารอร่อยอีกด้วย ที่เกาหลีจะนำปลาชนิดนี้มาหมักกับ

พริกเอาไปย่างหรือเอาผัดเรียกว่า Bokkeum Kkomjangeo (ไม่แน่ใจนะครับ

เพราะไม่ได้กินอาหารเกาหลี)

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม