12.19.2554


กระต่ายไทย เป็นกระต่ายพื้นบ้านที่มีมานานแล้ว มีราคาถูก ลักษณะขนจะสั้น ตัวใหญ่ มีหลากหลายสี
ว่องไว ปราดเปรียว หูยาว หน้าค่อนข้างจะแหลม มีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง สามารถกระโดดได้สูงเกิน1 เมตร
มีหลาย สีเช่น สีเทา ขาว น้ำตาล ฯลฯ ตาสีดำ หน้าแหลม เลี้ยงลูกเก่ง ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี
เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2.0-3.0 กิโลกรัม คนขายที่ไม่มีจรรยาบรรณบางคนจะนำกระต่ายไทย ที่ยังไม่อดนม
มาขายแล้วหลอกผู้ซื้อว่าเป็นกระต่ายแคระ เมื่อผู้ซื้อซื้อมาได้ไม่นานกระต่ายก็จะเสียชีวิต เนื่องจากกระต่ายเหล่านั้นยังไม่อดนม
บางตัว ทานอาหารเม็ดยังไม่เป็นด้วยซ้ำ ประกอบกับผู้เลี้ยงไม่มีความรู้ในการเลี้ยงดู จึงมักจะเข้าใจว่ากระต่ายต้องกินผัก
จึงมัก จะเอาผักให้กระต่ายที่อายุน้อยเหล่านี้กิน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมาก เนื่องจากกระต่ายเด็กเหล่านี้ ได้รับนมแม่ไม่เต็มที่
จึงยัง ไม่แข็งแรงพอ ที่จะรับมือกับ เชื้อโรค จุลินทรีย์ หรือโปรโตชัว ที่มากับผัก เป็นเหตุให้กระต่ายท้องเสียตาย
หรือถ้า รอดก็จะตัวโตไม่ได้แคระอย่างที่แม่ค้าบอกแน่นอน

กระต่ายไทยหรือไทยผสม ในท้องตลาดบ้านเรามีราคาประมาณ 80-180 บาท/ตัว
ปัจจุบันมีการผสมข้ามพันธุ์กับกระต่ายพันธุ์อื่นมากขึ้น กระต่ายไทยแท้ๆจึงหายาก

การที่เราคิดจะเลือกเลี้ยงสัตว์เลี้ยงสักอย่างหนึ่งนั้น สัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดก็ย่อมมีสิ่งที่จะต้องพิจารณาแตกต่างกันไป โดยเราจะต้องคิดถึงข้อดี ข้อด้อย ข้อจำกัดต่างๆ นอกเหนือจากเรื่องของความชอบส่วนบุคคลแล้ว แต่สำหรับการที่จะเลือกเลี้ยงกระต่ายเป็นเพื่อนนั้น คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า "กระต่ายเหมาะสมกับคุณ หรือ คุณเหมาะสมกับกระต่ายหรือไม่" คำถามนี้เป็นคำถามที่ เราจะต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อน ยังไงลองพิจารณาบทความนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณ แล้วคุณจะรู้ว่า กระต่ายใช่คำตอบสุดท้ายที่ถูกต้องสำหรับคุณหรือไม่ ...


เจ้าสัตว์เลี้ยงตัวน้อยขนปุย จอมซุกซนนี้ สำหรับคนไทยนั้นยังถือว่าไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่สำหรับชาวต่างชาตินั้น โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกา สัตว์เลี้ยงชนิดนี้กลับได้รับความนิยมอย่างมากมาย เพราะว่าเค้ามีความเชื่อที่ว่าเท้ากระต่าย (Rabbit Foot) เป็นสิ่งนำโชคสำหรับพวกเขา กระต่ายจึงกลายเป็นสัตว์เลี้ยงที่เหมือนกับว่าลึกลับสำหรับคนไทย อีกทั้งในประเทศไทยมีกระต่ายอยู่เพียงไม่กี่สายพันธุ์ การที่คุณจะเลือกกระต่ายสักตัวให้สวย น่ารัก และถูกใจจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย อีกทั้งการเลี้ยงกระต่ายก็มีข้อจำกัดในการเลี้ยงอยู่บ้าง ดังที่จะกล่าวต่อไป แต่ถ้าหากคุณกำลังมองหาเพื่อนที่รู้ใจ น่ารัก ขนปุย และที่สำคัญคือ ไม่ส่งเสียงดัง คำตอบที่เรานึกถึงก็คือ กระต่าย ลองพิจารณาสิ่งเหล่านี้ก่อนเพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณ

คุณมีเวลาอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมงหรือไม่

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะเลี้ยงกระต่ายสักตัวหนึ่งแล้ว กิจวัตรประจำวันที่คุณต้องปฏิบัติให้กระต่ายนั้น ค่อนข้างจะต้องใช้เวลาพอสมควร ทั้งการให้อาหาร เปลี่ยนน้ำสะอาด ทำความสะอาดกรง สางขนสำหรับสายพันธุ์ขนยาว และที่สำคัญที่สุดคือการปล่อยให้กระต่ายได้วิ่งเล่นอย่างเป็นอิสระบ้าง ความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือการให้อิสระ ไม่ใช่การกักขัง

คุณมีสถานที่ที่เหมาะสมหรือไม่
สถานที่วางกรงสำหรับกระต่าย ควรเป็นที่ที่มีอากาศถ่ายเทตลอดทั้งวัน ไม่ร้อนจัด ลมไม่พัดแรง และต้องไม่ชื้นแฉะ เพราะกลิ่นฉี่ของกระต่ายค่อนข้างมีกลิ่นที่แรง ยิ่งถ้าผสมกับมูลด้วย ยิ่งไม่น่าอภิรมย์ยิ่งนัก และอาจจะเป็นแหล่งที่เพาะเชื้อโรคเป็นอย่างดี ดังนั้นกระต่ายจึงไม่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงในบ้านหรือสถานที่ที่ปิดอับ ฉะนั้นคุณจึงต้องเตรียมสถานที่วางกรงให้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยสำหรับกระต่าย

สัตว์เลี้ยงตัวเก่าของคุณพร้อมหรือไม่สำหรับเพื่อนใหม่
สำหรับบางคนที่เลี้ยงสุนัขหรือแมวอยู่แล้ว ต้องการเลี้ยงจะกระต่ายเพิ่ม สิ่งนี้คือสิ่งที่ต้องระวังอย่างมากเป็นพิเศษ เนื่องจากธรรมชาติของสุนัขและแมว สัตว์เหล่านี้ที่มีสัญชาตญาณของการล่าเสมอ (นอกจากสุนัขบางสายพันธุ์ แต่แมวนี่คือศัตรูตัวฉกาจของกระต่ายเลย) และกระต่ายมักจะเป็นผู้ถูกล่าเสมอ เพราะฉะนั้น มันไม่เป็นการดีแน่ หากคุณมีสุนัขหรือแมวอยู่ก่อนแล้วในบ้าน เรื่องนี้มีวิธีแก้ไขหากคุณต้องการนำกระต่ายมาเลี้ยงเพิ่มจริง ๆ สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ คุณต้องพิจารณาว่าสุนัขและแมวของคุณ มีนิสัยอย่างไร และน่าจะเป็นอันตรายต่อกระต่ายหรือไม่ ถ้าหากเค้ามีนิสัยไม่ก้าวร้าวและเป็นมิตร การจะเลี้ยงกระต่ายเพิ่มขึ้นอีกสักตัว ก็ไม่เป็นไร ดังนั้น ก่อนทึ่คุณจะตัดสินใจเลือกกระต่ายมาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวของคุณ คุณต้องพิจารณาสัตว์เลี้ยงเดิมก่อนว่า เค้าจะยอมรับเพื่อนใหม่ขนปุยเข้ามาอยู่ด้วยกันในบ้านหรือไม่

กระต่ายและเด็กน้อยคือเพื่อนซี้กันจริงหรือ
แน่นอน เด็กน้อยน่ารักและกระต่ายน้อยเข้ากันได้อย่างดี เพราะกระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความอดทนในการจับ อุ้ม เป็นอย่างดี กระต่ายจะไม่ทำร้ายเด็ก ๆ อีกทั้งกระต่ายยังเหมาะสมที่จะใช้ฝึกเด็ก ๆ ให้รู้จักความรับผิดชอบ และทำให้จิตใจของเด็ก ๆ อ่อนโยน แต่ ... ข้อควรระวังสำหรับเด็กน้อยที่ไม่สามารถอุ้มกระต่ายได้อย่างถูกวิธีนั้นจะทำให้กระต่ายดิ้นหลุดมือ นั่นอาจทำให้กระต่ายได้รับอันตราย อีกทั้งสองขาหลังของกระต่ายนั้นเป็นขาที่ทรงพลังอย่างมหาศาล กระต่ายอาจจะดิ้นหรือถีบตัวเองออกจากการอุ้ม ทำให้เล็บอันแหลมคมจากขาหลังทำร้ายเด็ก ๆ ได้ และนี่คือสิ่งที่คุณต้องระมัดระวัง

นักทำลายและกัดแทะทุกสิ่ง
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่ากระต่าย คือ ยอดนักขุด และกัดแทะทุกสิ่งที่ขวางหน้า ดังนั้น พรม เฟอร์นิเจอร์สุดหรู สายไฟฟ้า สายโทรศัทพ์ สิ่งเหล่านี้อาจถูกทำลาย เสียหายได้ หากคุณไม่ได้เตรียมตัวป้องกันไว้ล่วงหน้า คุณยอมรับได้หรือไม่กับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในบ้านคุณ โดยไม่ได้ตั้งใจของน้องกระต่ายได้


วิธีการเลี้ยงกระต่าย วิธีการเลี้ยงกระต่ายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด อย่างหนึ่งสำหรับ การเลี้ยงกระต่ายและ พัฒนาพันธุ์กระต่าย ถ้าเราอยากให้การ เลี้ยงกระต่ายของเราสมบูรณ์แบบยิ่งๆขึ้นไป แข็งแรง น่ารัก และน่าเอ็นดู เราก็ต้องมาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของกระต่ายกันเสียก่อนว่า เจ้ากระต่ายน้อย
ชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไรเป็นพิเศษ อะไรที่สามารถทานได้ แล้วอะไรที่ทานไม่ได้ เราถึงจะได้ดูแลเจ้ากระต่ายน้อยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อาหารสำเร็จรูป หญ้า ผัก ผลไม้และน้ำ รวมถึงวิธีการให้อาหารด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เลี้ยงจะต้องรู้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับการเลี้ยงกระต่าย ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้กระต่ายมีความสุขและมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ อาหารกระต่าย น้ำ
น้ำเป็นโภชนาการที่สำคัญที่สุด น้ำที่สะอาด และเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ต้องการเลี้ยงกระต่ายจะละเลยไม่ได้โดยเด็ดขาด ถ้าหากการเลี้ยงกระต่ายขาดน้ำกระต่ายจะไม่ยอม ทานอาหารอะไรเลย จึงแนะนำว่าควรเปลี่ยนน้ำเช้า-เย็นนะครับ นอกจากนี้
อาทิตย์ หนึ่งๆ ควรมีสักวันหยดวิตามินรวม น้ำสีแดงๆ ให้กระต่ายสัก 2-3 หยด ต่อน้ำครึ่งลิตร เพื่อให้กระต่าย
ได้รับวิตามินบางตัวที่ไม่มีในอาหาร ยกตัวอย่างเช่นวิตามินบี ซีและเค การผสมวิตามินลงในน้ำสามารถช่วยลดอาการ เครียดและเป็นผลดีต่อแม่กระต่าย พันธุ์ที่ผสมติดต่อกันหลายครอก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกระต่ายมากๆ
ของกระต่ายและ โดยเฉพาะในกระต่ายขน น้ำจะช่วยให้ขนกระต่ายนั้นมีคุณภาพที่ดี จำไว้ว่าลิ้นของกระต่ายค่อน ข้างไวต่อรสชาติของน้ำที่เปลี่ยนไป และในบางครั้งเค้าอาจจะไม่ยอมดื่มน้ำที่แปลกกว่าที่เคยทาน แม้ว่าจะเป็น ช่วงระยะเวลาอันสั้นก็ตาม ที่กระต่ายขาดหรือไม่ยอมทานน้ำ แต่สิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิดเมตาโบลิซึมของการสร้าง ขนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งอาจจะทำให้ขนกระต่ายพันกันก็เป็นไปได้

อาหารสำเร็จรูป
อาหาร เม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารครบถ้วนและมีสัดส่วนที่พอเหมาะ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพ ของกระต่าย กระต่ายทั่วไปมีความต้องการโปรตีนอยู่ที่ 14-17 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2-4 เปอร์เซ็นต์ และไฟเบอร์อย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่ขายกันมากมายตามท้องตลาดมักจะมีอัตราส่วน อย่างพอเหมาะอยู่ แล้ว และยังมีสารอาหารอื่นๆที่จำเป็นเช่น วิตามินและเกลือแร่ แต่ผู้เลี้ยงก็ยังสามารถผสมหรือให้ผักผลไม้อื่นๆ เพิ่มเติมอีกได้ด้วย โดยสามารถให้อาหารกระต่ายทุก 12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ฉะนั้นเวลาที่ เหมาะสมที่สุดสำหรับการให้อาหารคือในช่วงเช้าตรู่และตอนหัวค่ำ กระต่ายเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนควรจะได้รับ อาหารเม็ดอย่างพอเพียง อาหารเม็ดใหม่ๆ และเปลี่ยนทุกวัน เช้าเย็น ควรจะมีไว้ตลอดอย่าให้ขาด เมื่อกระต่าย อายุมากขึ้น
การจำกัดอาหารตามปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ จำเป็นอย่าง ยิ่ง เพราะปัญหาหลักของการ เลี้ยงกระต่ายคือการให้อาหารกระต่ายก็ คือ การให้อาหารมากจนเกินไป ถ้าเราให้อาหารเจ้ากระต่ายน้อยมากจนเกินไป กระต่ายจะอ้วนและไม่แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลโดย ตรงกับการผสมพันธุ์ติดยาก เพราะฉะนั้น แม้ว่ากระต่ายจะทานอาหารทั้งหมดที่ท่านให้ แต่ก็จงต้องจำกัดปริมาณอาหาร อย่างเคร่งครัด สูตรง่ายๆ ของการให้อาหารเม็ด คือ ให้อาหาร 50 กรัมต่อน้ำหนักกระต่าย 1 กิโลกรัม ต่อวัน
* การเลี้ยงกระต่ายขนาดเล็กเล็ก เช่น โปลิช และดัทช์ ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
* การเลี้ยงกระต่ายหู ตกพันธุ์เล็ก เช่น ฮอลแลนด์ลอป และอเมริกันฟัซซี่ลอป ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
* การเลี้ยงกระต่ายแคระ สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ให้ทาน 35 กรัมต่อมื้อ

หญ้าขน สำหรับการเลี้ยงกระต่าย
หญ้าขนเป็นสิ่งจำ เป็นสำหรับการควบคุมโภชนาการของกระต่าย เพราะหญ้าขนเป็นแหล่งไฟเบอร์อย่างดี ซึ่ง
ช่วยให้การเลี้ยงกระต่ายมี ระบบการย่อยอาหารที่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงควรมีหญ้าขนที่สดและสะอาดไว้ในกรงตลอด
เวลา หญ้าขนที่นำมาให้กระต่ายกินควรจะทำความสะอาดเสียก่อน โดยการแช่น้ำผสมด่างทับทิมไว้อย่างน้อยที่สุด
30 นาที ถ้าไปเก็บมาจากสถานที่ที่เสี่ยงต่อการมียาฆ่าแมลงตกค้างก็ควรจะเลี่ยงหรือ แช่ให้นานกว่านั้น เพราะ
กระต่ายเป็นสัตว์ที่ไวต่อสิ่งมีพิษและอาจจะตาย ได้ในทันที นอกจากนี้หญ้าขนยังจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกระต่ายพันธุ์ขน
เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันอาการ ขนพันกันแล้ว หญ้าขนยังมีส่วนช่วยในการงอกใหม่ของขนอีกด้วย
หญ้าขนให้ได้ อัลฟัลฟ่าและฟางไม่สมควรให้ อัลฟัลฟ่าเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม และกระตุ้นการกิน
อาหารของกระต่าย แต่ไม่ควรให้มากหรือบ่อยเกินไป เพราะอัลฟัลฟ่ามีโปรตีนสูง ซึ่งจะมีผลต่อไตของกระต่าย
อาจะทำให้เกิด อาการไตวายเฉียบพลัน โดยเฉพาะการเลี้ยง กระต่ายพันธุ์เล็ก โปรตีนที่มากเกินไปจะมีผลเสียต่อไตและ อวัยวะภายในอื่นๆ กระต่ายที่ได้รับโปรตีนสูงเกินไป อาจจะมีอาการชักกระตุก หายใจถี่ น้ำมูกไหล และตายอย่างเฉียบพลันได้ในที่สุด ฟางก็ไม่สมควรให้เป็นอาหารกระต่าย เพราะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใดๆเลย


เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง กระต่ายสายพันธุ์เฟรนซ์ ลอป (French Lop) กับ เนเธอแลนด์ ดวอร์ฟ (Natherland Dwarf) โดยนักพัฒนาพันธุ์กระต่าย (Breeder) ชาวดัทซ์ หรือ เนเธอแลนด์ ชื่อ นายแอนเดรียน เดอคอก
การ พัฒนาสายพันธุ์ใช้เวลาในการพัฒนายาวนานร่วม 15 ปี เริ่มตั้งแต่ปี คศ.1949 จนถึงปี 1964
กระต่ายฮอลแลนด์ ลอป ต้นแบบจึงเกิดขึ้นและได้รับการจดทะเบียนรับรองมาตรฐานสายพันธุ์จากสภา กระต่าย
แห่งเนเธอร์แลนด์ และในปี 1980 ฮอลแลนด์ลอป ก็ได้รับการยอมรับจากสมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่าย
แห่งสหรัฐอเมริกา (ARBA) ที่งานประกวดกระต่ายสวยงาม ที่มลรัฐเท็กซัส

ลักษณะสายพันธุ์

คุณลักษณะ ของกระต่าย ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop) ที่ตรงตามมาตรฐาน
1. ลักษณะหัวต้องกลมโต
2. กล้ามเนื้อหนาแน่น
3. ลำตัวสั้นกระทัดรัด สมส่วนทั้งความยาว ความกว้าง และความสูง
4. สัดส่วนของลำตัว และหัว ควรจะเป็น 3 : 1 โดยหัวที่โต จะต่อกับลำตัวแลดูเหมือนไม่มีคอ
5. ไหล่ และอกกว้าง หนาและเต็ม เช่นเดียวกับสะโพก
6. ขาสั้น ขนนุ่มลื่น
7. หน้าตรง และกระดูกใหญ่
8. ใบหูทั้งสองข้างต้องตกแนบสนิทกับแก้ม และใบหูต้องหนาและมีขนขึ้นเต็ม ใบหูต้องยาวเลยจากคางไม่เกิน 1 นิ้ว ความยาวของหูต้องสัมพันธ์กับหัว และตัว
9. น้ำหนักตัวตามมาตรฐานในตัวผู้ คือ 1.6 ก.ก. ในตัวเมีย 1.7 ก.ก.
และน้ำหนักที่มากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้คือ 1.8 ก.ก.

กลุ่มสีที่ตรง ตามมาตรฐาน

กระต่ายฮอลแลนด์ลอปมีสีมากมายหลากหลายสี จนสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้มากถึง 7 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มอะกูติ (Agouti) กลุ่มสีขาวแต้ม (Broken) กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม (Pointed White) กลุ่มสีพื้น (Self) กลุ่มสีเฉด (Shaded) กลุ่มสีพิเศษ (Ticked) และกลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band) หรือเราอาจจะกล่าวง่ายๆ ว่ามีสีต่างๆ ที่รับรองโดย ARBA แล้ว ดังต่อไปนี้ คือ

กลุ่มอะกูติ : สีเชสนัทอะกูติ สีช็อกโกแล็ตอะกูติ สีชินชิลล่า สีช็อกโกแล็ตชินชิลล่า สีลิงซ์ สีโอปอล
สีกระรอก (Squirrel)

กลุ่มสีขาวแต้ม : สีขาวแต้ม คือสีขาว แต่มีสีแต้มเป็นสีอะไรก็ได้ ที่ได้รับการรับรอง รวมถึงสีไตรคัลเลอร์
หรือสามสี (มีสีขาว น้ำตาล และดำ)

กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม : โดยที่มาร์กกิ้งต้องมีสีกลุ่มสีพื้น (สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค)

กลุ่มสีพื้น : สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค สีขาวตาแดง และสีขาวตาฟ้า

กลุ่มสีเฉด : สีวิเชียรมาศ สีทองแดง สีซีล สีเทาควันบุหรี่ และสีกระ

กลุ่มสีพิเศษปลายขนสีน้ำตาล : ตอนนี้มีอยู่สีเดียวคือ สีสตีล หรือสีสนิมเหล็ก

กลุ่มสีอื่นๆ : สีครีม สีฟางข้าว สีฟร้อสตี้ (เทาควันบุหรี่อ่อนๆ) สีส้ม และสีแดง

ในขณะนี้ได้มีสีอีกกลุ่มหนึ่งที่เพิ่งจะได้รับการรับรองเมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา คือ กลุ่มสร้อยทอง หรือ ออตเตอร์ สีทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นสีมาตรฐานของสมาคมนักพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Rabbit Breeders Association, Inc.) แต่ของสภากระต่ายแห่งสหราชอาณาจักร (The British Rabbit Council) ก็จะมีสีน้อยกว่านี้ แต่จะมีสีแปลกๆเพิ่มขึ้นมาแทน เช่น กลุ่มสีสร้อยเงิน เช่น สีเทาควันบุหรี่สร้อยเงินและสีทองแดงสร้อยเงิน เป็นต้น

ราคาซื้อขายกันใน ตลาด


ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop) มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแลเลี้ยงดูค่อนข้างสูง เพราะเป็นกระต่ายที่มีนิสัยสนุกสนานกับการกิน และกินเก่งมาก ความสมบูรณ์ของสุขภาพทั้งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์อาหารบำรุงต้องถึง ต้องสมบูรณ์ จึงจะทำให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์สามารถให้ผลผลิตลูกออกมาได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งลักษณะขน และความสมบูรณ์ของรูปร่าง กล้ามเนื้อต่าง ๆ จึงทำให้ราคาขายกันทั่วไปในตลาดมีราคาค่อนข้างสูง ราคาเกรดเลี้ยงทั่วไป จะเริ่มกันที่ประมาณ 2,500-3,500 บาทขึ้นไป ในเกรดประกวด Show Quality จะเริ่มกันตั้งแต่ 6,000 บาท จนถึงหลักหมื่นกันเลยทีเดียว

สำหรับชาวชอบเลี้ยงกระต่ายทั้งหลายการเลี้ยงกระต่ายนั้นมี สายพันธุ์กระต่าย ให้เลี้ยงมากมายวันนี้เราก็จะมาพูดถึงเรื่องนี้กันนะครับ เราจะทำการแนะนำกระต่ายสายพันธุ์ต่างๆ อันดับแรก
1.กระต่ายไทย
เป็น สายพันธุ์กระต่าย พื้นบ้านของประเทศไทยคับ ลักษณะตัวใหญ่ มีหลากหลายสี ว่องไวปราดเปรียว หูยาว หน้าค่อนข้างจะกลม มีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง สามารถกระโดดได้สูง
2.นิวซีแลนด์ ไวท์ แรบบิท
เป็นสายพันธุ์กระต่ายพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์ ลักษณะตัวใหญ่กว่ากระต่ายไทย มีขนสีขาวจนถึงเหลืองอ่อนๆ หูยาว ตาแดง มีลักษณะลำตัวอ้วนตัน ใช้สำหรับเป็นอาหารและการทดลอง
3.ไลอ้อนเฮดท์
เป็นกระต่ายที่ตัวใหญ่ มีขนเป็นแผงคอจึงทำให้ดูเหมือนสิงโต ตัวอ้วน น้ำหนักมาก มีหลายสี
4.เท็ดดี้แบร์
เป็นสายพันธุ์กระต่ายที่มีขนาดกลางๆ มีขนฟูทั่วตัว ดูเเล้วน่ารัก มีหลากหลายสี พบได้ง่ายในท้องตลาด
5.วู๊ดดี้ทอย
เป็นกระต่ายขนาดค่อนข้างเล็ก มีขนนุ่มๆฟูๆกระจายไปทั่วตัว คล้ายๆเท็ดดี้แบร์ แต่จะตัวเล็กกว่า มีหลายสี อาจหาได้ยากกว่าเท็ดดี้แบร์
6.เจอร์รี่วู๊ดดี้ทอย
เป็นสายพันธุ์กระต่ายพันธุ์ผสม มีขนนุ่ม ฟูไปทั่วตัว ตัวเล็ก มีหลากหลายสี ราคาค่อนข้างสูง และหาได้ยากตามท้องตลาด
7.มินิล็อป
เป็นสายพันธุ์กระต่ายหูตกชนิดหนึ่ง มีขนาดกลางๆ ลำตัวค่อนข้างอ้วนกลม ขนจะยาว หาเจอได้ง่ายตามตลาด
8.ฮอลแลนด์ล็อป
เป็นสายพันธุ์กระต่ายหูตกอีกชนิดหนึ่ง ราคาค่อนข้างสูง มักมีแต่สีพื้นๆ มีขนาดเล็กกว่ามินิล็อป ดูเเล้วหน้ากลมน่ารัก
9.เฟรนซ์ล็อป
เป็นกระต่ายหูตกพันธุ์ใหญ่ที่สุด ลำตัวอ้วน ตัน ตัวใหญ่มากๆ หาได้ยากในเมืองไทย
10.อิงลิซล็อป
เป็นสายพันธุ์กระต่ายหูตกที่ดังที่สุดในอังกฤษ ในประเทศไทยต้องสั่งนำเข้ามาเท่านั้น หูจะยาวกว่าลำตัว ขนจะสั้นเกรียนไปทั่วทั้งตัว
11.ดัชต์
เป็นกระต่ายพันธุ์กลางๆอีกชนิดหนึ่ง ขนสั้น ลำตัวเปรียว ราคาก็ค่อนข้างสูง หูจะยาว กระโดดได้สูง
12.มินิเร็กซ์
เป็นกระต่ายใหญ่ มีขนแบบกำมะหยี่ ราคาค่อนข้างสูง ลำตัวยาว เปรียว วิ่งเร็ว
13.โปลิส
มีต้นกำเนิดที่เบลเยี่ยม หูสั้น ปลายหูชนกัน ตัวเล็ก ราคาค่อนข้างสูง
14.เนเธอร์แลนด์ดรอฟ
เป้นกระต่ายพันธุ์ผสมระหว่างกระต่ายแคระกับกระต่ายเนเธอร์แลนด์ มีขนาดเล็กที่สุด หูสั้น ตัวอ้วน แต่เปรียว ราคาแพง แต่เป้นที่นิยม หัวจะกลมหน้าจะสั้น
จะเห็นได้ว่ากระต่ายที่นิยมเลี้ยงๆกันอยู่ในปัจจุบันมีมากมายหลายสายพันธ์มากก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสนใจ

1. พาสเจอร์เรลโลลิส (Pasturellosis) เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา (Pasturella multocida) ซี่งทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการแตกต่างกันตามอวัยวะที่ติดเชื้อดังนี้

หวัด กระต่ายจะจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่มและมีน้ำมูกตดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก รักษาโดย ให้ยากิน เช่น เพนนิวิลลิน วี (Penicillin V ) หรือถ้าไม่แน่ใจให้รีบนำไปปริกษาสัตวแพทย์

ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจ ลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมี โอกาสรอดเพียง 75 % ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบ สัตวแพทย์ทันที

ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื้องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้า เช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85%) หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฎิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย

อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อ จับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ การอักเสบมักลุกลามไปทื่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้ โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรคัดทิ้ง

มดลูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทาง อวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื้อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขยายใหญ่ การรักษาทำได้ยากมากและ กระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรคัดทิ้ง

2. สแตฟฟิลโลคอคโคซีส (Staphylococcosis) โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล (Staphylococcus aureus) ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการดังนี้

ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาด แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน

เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านม จะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าญม่แน่ใจควรรีบปริกษาสัตวแพทย์

ข้ออักเสบ เกิดจากมีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่ ข้อเท้าทำให้ข้อบวมแดง เจ็บปวด กระต่ายอาจมีไข้และมักพบบาดแผลที่ฝ่าเท้า การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะ รักษาได้ยากและอาจจำเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรงอย่า ให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย

3. โรคบิด (Coccidiosis) เกิดจากเชื้อโปรโตชัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac, E. irresdua, E.magna ฯลฯ การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ

อาการ ถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่ายจะทำให้ น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน และอาจทำให้ตายได้

การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa) หรือแอมโปรเลียม (Amprolium )

4. โรคพิซเชอร์ (Tizzer 's disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชชื่อ แบซิลลัส ฟิลลิฟอร์มิส (Bacillus pilliformis) มักพบ ในกระต่ายที่มีอายุ 7-12 สัปดาห์มากที่สุด

อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออก จากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก

การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าชัยคลีน (Oxytetracyclin) ละลายน้ำให้กิน

5. โรคติดเชื้อ อี.โค.ไล (Colibacillosis) เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร กระต่ายจะมีอาการท้องเสีย อย่างรุนแรงและตายได้ การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฎิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ ให้น้ำเกลือ ลดอาหารข้น เพิ่มอาหารหยาบ

6. เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia) เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตาย อย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไล

7. ไรในหู (ear mange or ear canker) เกิดจากไรพวกโชรอบเตส แคนิคุไล(Psoroptes caniculi) อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้นๆ ที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตุดีๆ จะพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก กระต่ายที่เป็นโรคนี้จะคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางตรังเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนองและมีกลิ่นเหม็น

การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหู เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกใชด์(H202) แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความ สะอาดกรงและอุปกรณ์การเลี้ยงเสมอๆ

8. ไรที่ผิวหนัง (skin mange) เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei, var. cuniculi, Notedes cati var. caniculi อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหู

การรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษา สัตวแพทย์ การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม