ชื่อไทย ทองเกล็ดแก้ว
ชื่ออังกฤษ Peal Scale Gold Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius aruatus
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน
ปลาทองเกล็ดแก้วมีลักษณะเด่นอยู่ที่ลำตัวป้อมสั้น ส่วนมากจะกลม เกล้ดจะ หนานูนขึ้นแตกต่างกับปลาทองพันธ์อื่น ๆ ปลาที่มีลักษณะดีเกล็ดควรจะเรียงเป็นระเบียบ ส่วนหัวอาจมีวุ้นหรือไม่มีก็ได้ ปลาทองเกล็ดแก้วเป็นปลาทองที่ต้องการการดุแลเอาใจใส่ เป็นพิเศษ เป็นปลาที่ค่อนข้างจะบอบบาง กินอาหารพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล อาหารเม็ด ไม่ควรเลี้ยงปนกับปลาชนิดอื่น
ชื่อไทย ทองออแรนดา
ชื่ออังกฤษ Oranda
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน
ปลาทองออแรนดาเป็นปลาทองที่มีช่วงลำตัวยาว ครีบทุกครีบยาว โดยเฉพาะ ครีบหางจะยาวเป็นพวงสวยงาม บริเวณหัวอาจจะมีวุ้นหรือไม่มีก็ได้ เป็นปลาที่สามารถ เจริญเติบโตมีขนาดใหญ่กว่าปลาทองชนิดอื่น ปลาชนิดนี้เลี้ยงง่ายเป็นที่รู้จักทั่วไป กิน อาหารจำพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล อาหารเม็ดสลับกันไป เลี้ยงรวมกับปลาทองชนิดอื่นได้
ชื่อไทย ทองตาลูกโป่ง
ชื่ออังกฤษ Buble eye gold fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
แหล่งกำเนิด ประเทสจีน
ปลาทองตาลูกโป่งเป็นปลาที่มีลักษณะเด่นเป็นที่สังเกตได้ง่ายตรงที่มีตาใหญ่ คล้ายลูกโป่ง ทำให้ปลาชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดี ปลาชนิดนี้มีลำตัวยาว ปกติจะไม่มีครีบหลัง การที่มีตาขนาดใหญ่ทำให้ว่ายน้ำได้เชื่องช้า คนส่วนใหญ่ชอบซื้อปลาที่มีขนาดตาใหญ่ 2 ข้างเสมอกัน การเลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นปลาที่เปราะบาง มีจุดอ่อนที่ตา ไม่ควรเลี้ยงกับปลาที่ดุร้ายอื่นๆ กินลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล และอาหารสำเร็จ
ชื่อไทย ทองเล่ห์
ชื่ออังกฤษ Telescope black moor
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน
ปลาทองเลห์ เป็นปลาที่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวสีดำสนิทแม้กระทั่งครีบ ทุกครีบ ปลาชนิดนี้นับว่าเป็นที่นิยมเลี้ยงกันพอสมควร เป็นปลาทองที่มีตาโตโปน ออกมา ครีบหางบานใหญ่ บางชนิดมีชื่อเรียกว่า เล่ห๋ตุ๊กตา หรือเล่ห์หางผีเสื้อ เนื่องจากครีบหางแผ่กว้างสวยงามคล้ายผีเสื้อ จัดว่าเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้สง่างาม น่ารัก เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายชอบอาหารพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล หนอนแดงและอาหารสำเร็จรูป สามารถเลี้ยงปนกับปลาทองชนิดอื่นได้
ชื่อไทย ชูบุงกิง
ชื่ออังกฤษ Speckled gold fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
ปลาทองชุงบุงกิง หรือตลาดค้าปลาสวยงาม เรียกว่า ชูบานกิ้น เป็นปลาทองที่มี ลักษณะเด่นที่มีครีบหางเดี่ยวแยกเป็น 2 แฉก ลำตัวเรียวยาว ลำตัวส่วนมากมีสีส้ม ส้มแดง แดงขาว อาจมีสีดำประบ้าง ปลาทองชนิดนี้เลี้ยงง่าย เป็นปลาที่มีความทนทานมาก ว่ายน้ำ ได้ปราดเปรียว กินอาหารเก่ง กินได่แทบทุกประเภท ปลาทองชุงบุงกิงเทื่อเลี้ยงอยู่ในบ่อ ดูเผิน ๆ จะคล้ายกับปลาคาร์ปมาก บางตัวมีสีสดสวยกว่าปลาคาร์ป ปลาชนิดนี้จึงเป็น ที่นิยมเลี้ยงกันมากชนิดหนึ่ง
ชื่อไทย ริวกิ้น
ชื่ออังกฤษ Veiltail
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carrasius auratus
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน
ปลาทองริ้วกิ้นเป็นปลาทองที่นิยมของผู้เลี้ยงปลา เนื่องจากมีรูปทรงสวยงาม ลำตัวป้อมสั้น ท้องใหญ่ หางยาวเป็นพวง ส่วนหัวสูง ลำตัวเป็นสีส้ม หรือส้มแดงปนขาว เวลาว่ายน้ำจะเป็นถ่วงท่าที่ดูสง่างาม ปลาชนิดนี้มีทั้งที่สั่งมาจากประเทศญี่ปุ่นและเพาะพันธ์ ขึ้นเองในประเทศ ปลาจากญี่ปุ่นจะมีรูปร่างและสีดีกว่าของไทยแต่มีราคาสูงกว่าของไทยมาก ตู้ที่เลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องมีน้ำใสสะอาด ไม่ควรให้น้ำเย็นเกินไป ปลาริ้วกิ้นชอบกินลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล และอาหารสำเร็จ
ชื่อไทย ทองหัวสิงห์
ชื่ออังกฤษ Lion head gold fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carasius auratuss
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน
ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาทองชนิดที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้เลี้ยงปลา ปลาชชนิดนี้มีรูปทรงสง่างาม มีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ สิงค์จีนและสิงห์ญี่ปุ่น สิงห์จะมีลักษณะ หัวใหญ่ส่วนใหญ่จะมีวุ้นหนา ลำตัวยาว สิงห์ญี่ปุ่นส่วนหัวจะเล็กกว่าส่วนใหญ่ไม่มีวุ้น ลำตัวสั้น หลังจะโค้งมน หางสั้นและเชิดขึ้นดูสง่างาม ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินลูกน้ำ ไรแดง ไข่น้ำ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ดีควรเลี้ยงในอ่างตื้น ๆ ลึกไม่เกิน 8 นิ้ว จะทำให้ปลามีรูปร่างสวยงาม
น้ำบาดาล เป็นน้ำที่สูบจากใต้ดิน มีแร่ธาตุละลายปนมา เช่น สนิมเหล็ก น้ำจะมีกลิ่นแร่ธาตุ กลิ่นโคลนและมีปริมาณออกซิเจนต่ำซึ่งแก้ไขโดยนำน้ำมาพักทิ้งไว้เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ น้ำบาดาลที่ได้จากแหล่งน้ำใต้ดินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงปลา จัดเป็นแหล่งน้ำที่ดีเพราะ มีเชื้อโรคปนเปื้อนต่ำและสามารถใช้ได้ตลอดฤดูกาล
น้ำประปา น้ำประปาเป็นน้ำที่สะอาดและมีคุณสมบัติเหมาะสมนำมาใช้เลี้ยงสัตว์น้ำได้ดี เนื่องจากน้ำ ประปาผ่านการบำบัดและการกรองหลายขั้นตอน ปราศจากเชื้อโรค แต่มีราคาแพงและมีปัญหาเรื่อง ปริมาณคลอรีนที่หลงเหลืออยู่ในน้ำ ซึ่งวิธีการกำจัดคลอรีนสามารถดำเนินการได้ดังนี้
พักน้ำไว้ 2-3 วันหรือพักไว้ในที่แจ้งตากแดดตลอดเวลา 24 ชั่วโมงคลอรีนจะแตกตัวระเหยไปกับ
อากาศ
ใช้กรองด้วยถ่านคาร์บอน (Ativated carbon)
ถ้าต้องการใช้น้ำเลี้ยงปลาทันที สามารถเติมโซเดียม ไธโอซัลเฟต อัตรา 1 เกล็ดต่อน้ำ 5 ลิตร
คำถามยอดฮิตสำหรับมือใหม่ที่สนใจที่จะเลี้ยงรันชู คือ รันชูกับสิงห์ญี่ปุ่นแตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากปลาทองทั้งสองชนิดนั้นมีรูปร่าง
ลักษณะที่คล้ายคลึงกันมากจนแทบจะแยกกันไม่ออก คำตอบคือ ที่จริงปลาทั้ง 2 ชนิดนี้คือปลาชนิดเดียวกันนั่นเองโดยต้นกำเนิด
ปลารันชูชาวญี่ปุ่นเป็นผู้เพาะพันธ์ได้ โดยเลี้ยงอยู่ในบ่อหรืออ่างและมองความสวยงามของปลาจากด้านบนเป็นหลัก (Top View) ต่อมารันชูได้เผยแพร่ออกไปตามประเทศต่างๆ ซึ่งบางประเทศได้นำปลารันชูมาเลี้ยงในตู้แทนเนื่องจากไม่มีพื้นที่เพียงพอในการวางบ่อ หรือบางประเทศเป็นค่านิยมที่เลี้ยงปลาสวยงามไว้ในตู้ ซึ่งการเลี้ยงในตู้จะทำให้การมองจะต้องมองด้านข้างของปลาเป็นหลัก (Side View) ประเทศไทยนำปลารันชูที่เลี้ยงในตู้มาพัฒนาให้การดูจากด้านข้างสวยงามขึ้น เพราะปลาที่ดูด้านบนเวลามามองดูด้านข้างแล้วจะ
ไม่ค่อยสวยนัก และตั้งชื่อปลารันชูที่พัฒนาใหม่นี้ว่า "สิงห์ญี่ปุ่น" ซึ่งมาจากคำว่า Lion Headและเป็นการให้เกียรติประเทศญี่ปุ่นที่เป็น
ผู้เพาะพันธ์ปลาชนิดนี้ขึ้นมา ประเทศไทยได้พัฒนาสิงห์ญี่ปุ่นหลายสิบปี จนขณะนี้ ถือได้ว่าปลารันชูที่ดูด้านข้างหรือสิงห์ญี่ปุ่นนี้ เป็นสิงห์ญี่ปุ่นที่สวยที่สุดในโลก
ความสวยงามและจุดเด่นของปลารันชู เมื่อดูจากด้านบน หลังปลาต้อง กว้าง หนา ดูแข็งแรงบึกบึน ข้อหางใหญ่ ลำตัวซ้าย ขวา จะต้องเท่ากันหางจะกางออกมีไหล่ หางงุ้มออกไปด้านหน้าเล็กน้อย การว่ายน้ำเป็นไปอย่างสมดุลย์กล่าวสรุปได้ว่า รันชู เมื่อมอง
จากด้านบน BREEDER ก็จะพยายามพัฒนารันชูให้มองดูจากด้านบนสวยที่สุด ส่วนด้านข้างให้ความสำคัญรองลงไป
ส่วนสิงห์ญี่ปุ่น BREEDER ก็พยายามที่จะพัฒนาให้มองจากด้านข้างดูดีที่สุด ด้านบนไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก ตลอดจนถึงหาวิธีการเลี้ยงต่างๆ เช่น ความสวย/จุดเด่นของสิงห์ญี่ปุ่นเมื่อดูจากด้านข้างลำตัว ของปลาจะต้องกว้าง หลังโค้งขึ้นเล็กน้อยและแนวหลังโค้งลงลึกอย่างสวยงาม ส่วนท้องย้อยลงมารับกับส่วนหลัง ซึ่งดูแล้วคล้ายกับรูปไขไก่ ใบหางปกคลุมครีบ ทวาร การยืนน้ำไม่หัวทิ่ม หรือหัวเชิดขึ้นจนเกินไป
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
หนังสือ YEAR BOOK 2007
ของชมรมปลาทองรันชูแห่งประเทศไทย ครับ