12.05.2553


มาตรฐานทั่งไปเป็นมาตรฐานที่ปลากัดทุกประเภทต้องมีร่วมกัน ปกติลักษณะทั่วไปจะเน้นที่ความสมบูรณ์และพัฒนาลักษณะต่างๆของปลากัด สำหรบมาตรฐานทั่วไปจะประกอบด้วย47ส่วนหลักๆ 4 ส่วนคือ โครงสร้าง รูปแบบ ความสมบูรณ์ และท่าทางอาการ

การพิจารณาโครงสร้างของปลาจะพิจารณาถึงขนาด ความสมดุล และสัดส่วนของปลา

ขนาดของลำตัว
ขนาดของปลากัดเพศผู้ ปลาประกวดโดยปกติจะต้องมีความยาวอย่างน้อย1.5นิ้ว ของปลากัดเพศเมียต้องมีความยาวอย่างน้อย 1.25 นิ้ว


ครีบหลัง ขนาดความกว้างของครีบวัดจากฐานของก้านครีบที่อยู่ตรงกลางครีบไปจรดส่วนปลายของครีบที่สูงที่สุด จะต้องกว้างอย่างน้อย1ใน4ของความยาวลำตัว
ครีบหาง ขนาดความยางของครีบหาง วัดจากจุดกึ่งกลางที่ติดโคนหาง ถึงจุดกึ่งกลางของส่วยปลายหาง (ไม่ส่วนที่ยาวที่สุด) จะต้องอย่างน้อยเป็นครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว
ครีบท้อง หรือตะเกียบ ไม่มีมาตรฐานกำหนดตายตัว โดยทั่วไปความกว้างและความยาวของครีบจะต้องสมส่วนกัน
ครีบอก หรือครีบหู เป็นครีบที่พิจารณาค่อนข้างยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นครีบกระจก อย่างไรก็ตามโดยทั่วๆไปควรจะเป็นครีบที่แผ่เต็มและมีขนาดใหญ่
ความสมดุลของรูปร่าง
ปลากัดที่สวยงามสมบูรณ์ ซึ่งอาจพบค่อนข้างยาก ควรจะมีความสมดุลระหว่างสองข้างของเส้นที่ลากผ่านกลางตัวด้านข้าง ทั้งในแนวขนานและในบางชนิดจะเป็นในแนวดิ่งด้วย ซึ่งในแนวขนานอาจรวมถึงความสมดุลของครีบหางทั้ง2ซีกด้วย

สัดส่วนปลากัดที่สวยงามมักมีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ขนาดของลำตัวจะต้องเป็นสัดส่วนที่พอดีกับขนาดของครีบด้วย จึงจะทำให้ปลาที่ครีบใหญ่มากๆก็ควรจะมี่ลำตัวขนาดใหญ่ด้วย

ประเภทของหาง

ปลากัดหางคู่ ปลากัดหางคู่จะมีลักษณะที่แตกต่างจากปลากัดห่างเดียวคือ

มีหางแยกเป็น2หาง ลักษณะที่สมบูรณ์จะแยกเป็น2ส่วน โดยสมบูรณ์ถึงโคนหาง การทับ ซ้อนของหางทั้ง2ส่วนถือเป็นลักษณะที่ดี
ปลากัด2หาง จะมีโคลนหางใหญ่เพื่อรองรับหางที่แยกเป็น2ส่วน
ปลากัด2หาง จะมีครีบหลังใหญ่กว่าในขนาดที่เกือบเท่าครีบหาง
ลำตัวของปลากัด2หาง ปกติจะอ้วนและสั้นกว่าปลาหางเดี่ยวเล็กน้อย

ปลาหางคู่ปกติครีบหลังจะใหญ่กว่าปลากัดหางเดี่ยว ครีบหลังที่สมบูรณ์ควรจะมีลักษณะขนาดรูปร่างเหมือนครีบก้น

ครีบหางเป็นครีบที่มีรูปแบบหลากหลายมากที่สุด รูปแบบโดยทั่วไป สำหรับปลาหางเดี่ยวแบ่งเป็น5รูปแบบ คือหางกลม หางรูปสามเหลี่ยม หางปลายแหลม หางย้วย และหางรูปใบโพธิ์

หางทุกรูปแบบควรมีการกระจายกันของก้านครีบเท่ากัน ระหว่างส่วนบนและส่วนล่างที่ลากผ่านแนวขนานลำตัว ปกติหางที่สมบูรณ์พิจารณาจากความกลมและแผ่เต็ม

ในกรณีของปลาหางคู่ ลักษณะหางจะเป็นลักษณะที่เชื่อมต่อกันจนปลายหางเป็นเส้นตรงหรือเว้าเล็กน้อย หรือเว้ามากเป็นรูปหัวใจ หรือหางแยกที่ซ้อนทับเกยกันหรือหางที่แยกจากกันเต็มที่โดยไม่ซ้อนทับหรือเป็นหางที่เว้าลึกในระดับต่างๆแต่ไม่แยกจากกันเด็ดขาด

ครีบก้น ลักษณะของครีบที่ดีควรจะมีขอบครีบส่วนหน้าและส่วนหลังขนานกัน และค่อยๆโค้งไปทางด้านหลัง ขอบด้านหน้าและขอบด้านหลังจะต้องไม่เรียวแหลมเข้าหากัน ลักษณะที่ดีจะต้องแผ่กว้างทำมุม และซ้อนทับเป็นเนื้อเดียวกันกับคีบหางแต่ไม่เชื่อมต่อกับครีบหาง

ครีบท้อง ลักษณะควรเหมือนใบมีดที่ด้านคมอยู่ด้านหลัง ขอบด้านหน้าโค้งเข้าเล็กน้อย ปลายแหลม ครีบทั้งคู่ควรมีความยาวและขนาดเท่ากัน และไม่ไขว้กัน ครีบจะต้องไม่สั้น หรือกว้างเกินไปและไม่ยาวหรือแคบเกินไป ครีบท้องของตัวเมียปกติจะมีลักษณะสั้นกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนของลำตัว

ครีบอก ในปลากัดเป็นครีบที่มีความสำคัญที่สุดในการว่ายน้ำและการทรงตัวในน้ำ ครีบที่สมบูรณ์ควรกว้างและยาว

สภาพของปลา


การพิจารณาสภาพของปลาจะพิจารณาจากสุขภาพของปลา และระดับความชำรุดเสียหายของครีบและลำตัว ซึ่งมีผลต่อภาพรวมของปลากัด ปลาควรจะมีความสมบูรณ์ เคลื่อนไหวกระปี้กระเป่า มีครีบและลำตัวที่สมบูรณ์

ปลาที่อายุมากเกินไปจะทำให้มีสภาพด้อยลง เช่น อาจจะโตเกินไป และก้านครีบคดงอ

ลำตัว ประเด็นหลักจะต้องดูสมบูรณ์ รอยแผล เกล็ดหลุด เกล็ดพอง หรืออาการผิดปกติใดๆบนลำตัวถือเป็นข้อด้อย

ครีบ ครีบเป็นส่วนที่ทำให้ปลากัดมีความสวยงาม ครีบปลาทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยครีบคู่1 และครีบเดี่ยว3ครีบ ควรมีลักษณะร่วมที่เหมือนๆกันดังนี้

ก้านครีบควรจะตรง และขนาน หรือแผ่ออกอย่างเป็นระเบียบจากฐานครีบที่อยู่ใกล้ลำตัวสู่ขอบนอกของครีบ
ก้านครีบอาจยื่นยาวเลยแผนครีบ ในกรณีเช่นนี้ทุกครีบควรมีก้านครีบยื่นเลยแผ่นครีบเหมือนกัน และระยะห่างเท่าๆกัน
แผ่นครีบจะต้องเต็ม แข็งแรง ไม่ชำรุด ขอบขอบของแผ่นครีบควรเรียบ (ยกเว้นปลาที่มีก้านครีบยกเลยแผ่นครีบ) และไม่ฉีกขาด
ครีบควรจะแผ่สวยงามในรูปแบบที่เหมือนกัน
ลักษณะท่าทาง
ที่เป็นประเด็นหลักในการสังเกตคือ การพองตัว ซึ่งนอกจากจะแสดงถึงความปราดเปรียว กระฉับกระเฉง แล้วยังจะทำให้เห็นความสวยงามของสีและลักษณะอื่นๆ ท่าทีเซื่องซึมมักเป็นลักษณะของปลาที่ผิดปกติหรือปลาที่ตกใจ

11.06.2553


2541ปลาเสือตอเป็นปลาสวยงามที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่นักเลี้ยงปลาในต่างประเทศรู้จักกันดีมาหลายสิบปีแล้วในชื่อ SIAM TIGER FISH มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius Microlepis พบปลาชนิดนี้ทั่วไปในประเทศทางแถบร้อนเช่น อินโดนีเซีย ไทย พม่า เขมร ในประเทศไทยเราพบมากในบึงบอระเพ็ด แม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง แม่น้ำน่าน ทางภาคอีสานพบในแม่น้ำโขง, แม่น้ำชี, แม่น้ำมูล
ลักษณะทั่วไปของปลาเสือตอ
ปลาเสือตอมีลำตัวเล็กแบนข้างส่วนที่เป็นหน้าผากขาวลาด ปากกว้าง และยืดหดได้ ครีบหลังยาวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแข็ง 12 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อนครีบล่างส่วนแรกเป็นหนามแข็งขนาดใหญ่ลดหลั่นกัน 3 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อนเป็นแผ่นใสขอบกลม หางเป็นรูปมนมีเกล็ดขนาดเล็กรอบเกล็ดมีหนาม ลำตัวมีสีครีมออกชมพูและสีเหลือง มีแถบดำใหญ่พาดขวางลำตัวประมาณ 6 แถบ ขนาดความยาวเมื่อโตเต็มที่มีความยาว 16 นิ้ว
ปลาเสือตอที่นิยมในตลาดปลาสวยงามในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 3 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์เสือตอน้ำจืด 2 สายพันธุ์และสายพันธุ์เสือตอน้ำกร่อยอีก


1 สายพันธุ์
ลักษณะที่เป็นความสวยงามเฉพาะตัวของปลาเสือตอคือ รูปทรงที่แบนกว้าง มีพื้นสีเหลืองสดใส มีลายดำพาดขวางลำตัวอย่างได้ส่วน เวลาเคลื่อนไหวครีบบนครีบล่างส่วนท้ายอ่อนพลิ้ว ครีบท้องหรือครีบตะเกียบมีสีเหลืองตัดสีดำเหยียดตรง มีชายพู่ตะเกียบ 3-4 เส้น ดูสง่างามโดยเฉพาะเวลาตามเหยื่อ หนามแข็งส่วนหน้าของครีบจะชี้ตัวขึ้น ครีบหนามล่างจะเหยียดลงทำให้ดูสวยงาม ปกติชอบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีตอไม้จึงจะได้ชื่อว่า "ปลาเสือตอ"
การเลี้ยงปลาเสือตอ
ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลาเสือตอจะอาศัยอยู่บริเวณน้ำลึกในฤดูร้อนเพื่อวางไข่และย้ายตำแหน่งในฤดูน้ำหลาก ปลาเสือตอขนาดเล็กในแหล่งน้ำธรรมชาติกินอาหารประเภทสัตว์น้ำขนาดเล็กแทบทุกชนิด ส่วนปลาเสือตอขนาดใหญ่ชอบกินกุ้งฝอยและลูกปลา ส่วนปลาเสือตอที่นำมาเลี้ยงในตู้กระจกสามารถฝึกให้กินเหยื่อชนิดอื่นๆเช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา กุ้ง และหนอนมีลเวิร์มแต่ต้องใช้ความพยายามในการฝึกค่อนข้างนานกว่าปลาชนิดอื่น
วิธีฝึกให้กินเหยื่อ ต้องนำปลาชนิดอื่นที่กินเหยื่อนั้นดีอยู่แล้ว และมีขนาดไล่เลี่ยกับปลาเสือตอฝูงที่จะฝึกมาใส่รวมกันและเลี้ยงด้วยอาหารชนิดนั้น ปลาที่เคยกินเหยื่อจะชักนำให้ปลาเสือตอที่ไม่เคยกินเหยื่อชนิดนั้นแย่งกินเป็นบางครั้ง หากปลาเสือตอคายเหยื่อจะต้องคอยตักออกเมื่อฝึกไปสัก 3-4 สัปดาห์ ปลาเสือตอจะเริ่มคุ้นเหยื่อที่ให้ในระยะแรกหากปลาเสือตอที่ต้องการฝึกยังไม่ยอมกินต้องใช้เหยื่อเป็นคือ ลูกกุ้งฝอย ปลาเล็ก เป็นๆใส่ให้กินแต่น้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาท้องกิ่วตาย
การเพาะขยายพันธุ์ปลาเสือตอ
ปลาเสือตอสามารถวางไข่โดยวิธีธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้การฉีดฮอร์โมนเข้าช่วย ช่วงการวางไข่ประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปลาเสือตอเพศผู้จะมีขนาดโตเต็มวัยเมื่อมีน้ำหนักประมาณ 300-400 กรัม ส่วนปลาเสือตอเพศเมียขนาด 800 กรัมจะได้วัยเจริญพันธุ์
ไข่ปลาเสือตอเป็นไข่ประเภทลอยน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ใช้เวลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 14-17 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิประมาณ 29 องศาเซลเซียส และถุงอาหารจะยุบภายในเวลา 2-3 วัน อาหารที่เหมาะสมของลูกปลาเสือตอวัยอ่อนควรเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก เช่นโรติเฟอร์ในระยะ 3-10 วันแรก และใช้ไรแดงเลี้ยงอนุบาลจนได้ขนาด 3 เซนติเมตรขึ้นไป จึงใช้หนอนแดงอาร์ทีเมียขนาดใหญ่หรือลูกปลาขนาดเล็กให้กินเป็นอาหาร
โรคและปัญหาของปลาเสือตอ
โรคของปลาเสือตอมักจะเกิดจากปรสิตที่ติดมากับปลาเสือตอในธรรมชาติที่พบอยู่เป็นประจำคือ
- ฝีตามตัว มีลักษณะเป็นตุ่มตามตัวหรือส่วนทวารขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นตุ่มบวมปูดออกจากผิวหนัง
วิธีรักษาคือ ให้แยกปลาที่มีอาการป่วยออกมาใส่ตู้พยาบาลที่มีระบบกรองน้ำและให้อากาศค่อนข้างแรงจึงอดอาหารไว้ 2-3 วันแล้วใช้ยาปฏิชีวนะผสมน้ำ 1 ช้อนโต๊ะต่อ 1 แคปซูลราดลงบนตัวกุ้งฝอยเป็นๆที่กรองแห้งไว้แล้วเทให้ปลากิน 1 วันครั้ง สัก 2-3 ครั้ง
- โรคอิ๊กหรือจุดขาว เกิดจากเชื้ออิ๊ก ใช้ยาซุปเปอร์อิ๊กที่มีขายอยู่ตามร้านขายปลาทั่วไป แช่ปลาตามอัตราส่วนที่กำหนด
ปลาเสือตอมีสีคล้ำเป็นลักษณะ แสดงความไม่สมบูรณ์และเจ็บป่วย เพราะสีของปลาเสือตอแสดงถึงความสมบูรณ์และอารมณ์ของปลา ปลาเสือตอที่ตกใจหรือป่วยจะออกสีดำ ครีบหุบ ลักษณะของปลาที่สมบูรณ์ครีบจะกางสีออกเหลืองสดใส ลายดำออกซีด ครีบกางตั้งทั้งปลาขนาดเล็กจนถึงปลาขนาดใหญ่
ตลาดปลาเสือตอ
ปลาเสือตอที่พบในแหล่งน้ำทางภาคอีสานเป็นปลาเสือตอลายเล็กมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius Undecimraciatus หรือในชื่อเรียกที่รู้จักในตลาดปลาสวยงามว่า "เสือตอลายเล็ก" พบมากในแม่น้ำโขงแถบจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ยโสธร ในแม่น้ำมูล มีจำนวนค่อนข้างมาก ราคาซื้อขายขนาดเล็ก 2 นิ้วฟุต ตัวละ 20-50 บาท ปลาเสือตออีกชนิดหนึ่งคือ ปลาเสือตอน้ำกร่อยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius Quadrifasciatus หรือเรียกว่า "ปลากะพงลาย" เป็นปลาเสือตอที่ลายเล็กที่สุดมีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว พบในแหล่งธรรมชาติตามปากแม่น้ำแทบทุกแห่งทั่วประเทศ จัดเป็นปลาเสือตอที่ราคาถูกที่สุด
ปลาเสือตอชนิดที่นิยมและมีราคาสูงที่สุดในปัจจุบันคือ ปลาเสือตอลายใหญ่และเสือตอลายคู่(ลาย 7 ขีด) ปลาเสือตอทั้ง 2 ชนิดนี้ต้องนำเข้ามาจากประเทศเขมร เป็นปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ทะเลสาบในประเทศเขมรโดยมีพ่อค้าคนกลางเก็บรวบรวม ปลาเสือตอทุกขนาดลำเลียงเข้ามาในประเทศไทยเพื่อขายส่งต่อไปยังต่างประเทศทั่วโลกเป็นสินค้าปลาสวยงามนิ้วละ 60-100 บาท ส่วนปลาเสือตอลายคู่ราคาจะสูงกว่าปลาเสือตอลายใหญ่เกือบ 3 เท่าตัว

7.01.2553


แฮมสเตอร์แบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆได้ 2 ชนิด


แฮมสเตอร์ไม่แคระ คือ พันธุ์ Syrian
แฮมสเตอร์แคระ คือพันธุ์ Winter White, พันธุ์ Campbells, พันธุ์ Chinese และ พันธุ์ Roborovski
Winter White กับ Campbells
แฮมสเตอร์พันธุ์ Winter White และ พันธุ์ Campbells จะมีลักษณะคล้ายกันมาก จนแยกได้ค่อนข้างยาก ว่าเป็นพันธุ์อะไร โดยเฉพาะ Campbells สีธรรมดา และ Winter White สีธรรมดา จะดูยากมาก ดังภาพ
ดูกันออกไหมคะ ว่าตัวบน กับตัวล่าง ตัวไหน เป็น Campbells ตัวไหนเป็น Winter White เฉลย เลยแล้วกัน ตัวที่อยู่บน คือ Winter White สีธรรมดาค่ะ ตัวล่าง คือ Campbells สีธรรมดาค่ะ
ที่จริงแล้ว ด้วยความที่คล้ายกันมาก เดิมนักวิทยาศาสตร์ เคยจัด Campbells และ Winter White เป็น สปีชีย์ เดียวกัน แต่ต่อมา ก็ได้พบความแตกต่าง ของทั้ง 2 พันธุ์นี้ และได้แยกทั้ง 2 พันธุ์นี้ออกจากกันเป็นคนละสปีชีย์ โดยจัด Winter White เป็นสปีชีย์ Sungorus ส่วน Campbell เป็นสปีชีย์ Campbell ค่ะ

ถึงจะดูภายนอกคล้ายกัน แต่ทั้ง 2 พันธุ์นี้จะแตกต่างกัน จึงไม่ควรจะนำมาผสมข้ามพันธุ์กันค่ะ ว่ากันว่า 2 พันธุ์นี้ สามารถจะผสมกันได้ เพราะมีความใกล้เคียงกันสูง จำนวนโครโมโซม ก็เท่ากัน แต่ไม่แนะนำให้ผสมข้ามพันธุ์ค่ะ เพราะจะทำให้ลูกที่เกิดมา มีโอกาสพิการ หรือ ผิดปกติสูง


แล้วเวลาซื้อ จะรู้ได้อย่างไร ว่าตัวไหนเป็น Campbells หรือ Winter White

ที่ดูยากก็คือสีธรรมดาค่ะ พอจะสังเกตุข้อแตกต่างได้ ก็คือ Campbells จะมีลายพาดบนหลัง เส้นเดียว ชัดเจนกว่า ส่วนลายด้านข้างๆ ก็จะไม่ชัดเท่า Winter White ค่ะ แต่ไม่ต้องตกใจค่ะ ในเมืองไทยเราตอนนี้เท่าที่เห็น มีการนำเข้า Campbells มาบ้างแล้ว แต่เท่าที่เห็น มีเพียงสีขาวตาแดงเท่านั้นค่ะ จึงดูง่าย ไม่สับสนค่ะ

การผสมข้ามพันธุ์อื่นๆ
แฮมสเตอร์พันธุ์อื่นๆ จะผสมข้ามพันธุ์ไม่ติดค่ะ เพราะจำนวน โครโมโซม ต่างกัน และอยู่กันคนละสปีชีย์

ซึ่งแฮมสเตอร์จะมีนิสัย ที่แตกต่างไปตามสายพันธุ์ อีกด้วย เช่น Syrian จะเป็นแฮมสเตอร์ที่รักสันโดษ มักจะกัดกัน แต่แฮมสเตอร์แคระ จะสามารถอยู่รวมกันเป็นคู่ หรือ หลายตัวได้ แต่ก็มักจะมีการกัดกันบ้างเหมือนกัน เช่น เมื่อมีหนูตัวอื่นบุกรุกมาในถิ่นของตน เป็นต้น


แฮมสเตอร์ไม่แคระ คือ พันธุ์ Syrian
แฮมสเตอร์แคระ คือพันธุ์ Winter White, พันธุ์ Campbells, พันธุ์ Chinese และ พันธุ์ Roborovski
Winter White กับ Campbells
แฮมสเตอร์พันธุ์ Winter White และ พันธุ์ Campbells จะมีลักษณะคล้ายกันมาก จนแยกได้ค่อนข้างยาก ว่าเป็นพันธุ์อะไร โดยเฉพาะ Campbells สีธรรมดา และ Winter White สีธรรมดา จะดูยากมาก ดังภาพ
ดูกันออกไหมคะ ว่าตัวบน กับตัวล่าง ตัวไหน เป็น Campbells ตัวไหนเป็น Winter White เฉลย เลยแล้วกัน ตัวที่อยู่บน คือ Winter White สีธรรมดาค่ะ ตัวล่าง คือ Campbells สีธรรมดาค่ะ
ที่จริงแล้ว ด้วยความที่คล้ายกันมาก เดิมนักวิทยาศาสตร์ เคยจัด Campbells และ Winter White เป็น สปีชีย์ เดียวกัน แต่ต่อมา ก็ได้พบความแตกต่าง ของทั้ง 2 พันธุ์นี้ และได้แยกทั้ง 2 พันธุ์นี้ออกจากกันเป็นคนละสปีชีย์ โดยจัด Winter White เป็นสปีชีย์ Sungorus ส่วน Campbell เป็นสปีชีย์ Campbell ค่ะ

ถึงจะดูภายนอกคล้ายกัน แต่ทั้ง 2 พันธุ์นี้จะแตกต่างกัน จึงไม่ควรจะนำมาผสมข้ามพันธุ์กันค่ะ ว่ากันว่า 2 พันธุ์นี้ สามารถจะผสมกันได้ เพราะมีความใกล้เคียงกันสูง จำนวนโครโมโซม ก็เท่ากัน แต่ไม่แนะนำให้ผสมข้ามพันธุ์ค่ะ เพราะจะทำให้ลูกที่เกิดมา มีโอกาสพิการ หรือ ผิดปกติสูง


แล้วเวลาซื้อ จะรู้ได้อย่างไร ว่าตัวไหนเป็น Campbells หรือ Winter White

ที่ดูยากก็คือสีธรรมดาค่ะ พอจะสังเกตุข้อแตกต่างได้ ก็คือ Campbells จะมีลายพาดบนหลัง เส้นเดียว ชัดเจนกว่า ส่วนลายด้านข้างๆ ก็จะไม่ชัดเท่า Winter White ค่ะ แต่ไม่ต้องตกใจค่ะ ในเมืองไทยเราตอนนี้เท่าที่เห็น มีการนำเข้า Campbells มาบ้างแล้ว แต่เท่าที่เห็น มีเพียงสีขาวตาแดงเท่านั้นค่ะ จึงดูง่าย ไม่สับสนค่ะ

การผสมข้ามพันธุ์อื่นๆ
แฮมสเตอร์พันธุ์อื่นๆ จะผสมข้ามพันธุ์ไม่ติดค่ะ เพราะจำนวน โครโมโซม ต่างกัน และอยู่กันคนละสปีชีย์

สายพันธุ์ Syrian Winter
White Russian Campbells
Russian Chinese Roborovski
ภาพ
ชนิด ธรรมดา แคระ แคระ แคระ แคระ
ชื่อเล่น Golden, Standard, Fancy, Teddy bear Siberian hamster, Russian hamster Siberian hamster, Djungarian hamster Striped hamster แฮมเตอร์ทะเลทราย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cricetus auratus Phodopus sungorus Phodopus campbell Cricetulus griseus Phodopus roborovski
สปีชีย์ Auratus Sungorus Campbell Griseus Rovorovski
ขนาด 15-20 ซม. 10-12 ซม. 10-12 ซม. 7.5-9 ซม. 4-5 ซม.
น้ำหนัก 100-140 กรัม 20-28 กรัม 22-28 กรัม 38-46 กรัม -
โครโมโซม 44 28 28 22 34
เวลาตั้งครรภ์ 16 วัน 18-21 วัน 18-21 วัน 21 วัน 23-30 วัน
อายุขัย 2-2.5 ปี 1.5-2 ปี 1.5-2 ปี 2-2.5 ปี 3-3.5 ปี
ถิ่นกำเนิด พบในซีเรีย ที่ราบ มีหญ้าขึ้น ตะวันออกของคาซัคสถาน และทางตะวันตกเฉียงใต้ของไซบีเรีย ที่ราบสูงชัน ที่แห้ง พบในมองโกเลีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน อาศัยตามเนินทรายในทะเลทราย ทางเหนือของจีน และมองโกเลีย ที่ราบสูงกึ่งทะเลทรายทางตะวันออกและตะวันตกของมองโกเลียและทางเหนือของจีน
ความยากใน การผสม ง่าย ง่าย ง่าย ยาก ยาก
นิสัย ชอบอยู่ตัวเดียว ชอบอยู่เป็นกลุ่มหลายตัว อยู่เป็นคู่ หรือกลุ่มเล็กๆ อยู่เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ อยู่เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ
จำนวนลูกเฉลี่ย 4-12 4-6 8 4 6
หย่านม 21 วัน 20 วัน 21 วัน 21 วัน 28-30 วัน
มีโอกาสผสม ติดเมื่อ อายุ 2 เดือน อายุ 2 เดือน อายุ 2 เดือน อายุ 3 เดือน อายุ 4 เดือน
ในเมืองไทย มีมานานแล้ว ก่อนแฮมเตอร์แคระทุกพันธุ์ เพิ่งนำมาเลี้ยงไม่นาน เพราะเลี้ยงง่าย เพิ่งนำเข้ามาเลี้ยง นิยมสีขาว ตาแดง ยังไม่เคยพบในเมืองไทย เพิ่งนำเข้ามาเลี้ยงไม่นาน เป็นหนูพันธุ์ที่เล็กที่สุด ตื่นเต้นง่าย จับยาก
ซึ่งแฮมสเตอร์จะมีนิสัย ที่แตกต่างไปตามสายพันธุ์ อีกด้วย เช่น Syrian จะเป็นแฮมสเตอร์ที่รักสันโดษ มักจะกัดกัน แต่แฮมสเตอร์แคระ จะสามารถอยู่รวมกันเป็นคู่ หรือ หลายตัวได้ แต่ก็มักจะมีการกัดกันบ้างเหมือนกัน เช่น เมื่อมีหนูตัวอื่นบุกรุกมาในถิ่นของตน เป็นต้น

6.08.2553


ปลาปอมปาดัวร์(pompadour) หรือมีชื่อเรียกสามัญ
ภาษาอังกฤษว่า Discus อยู่ในสกุลของ Symphysodon
และจัดอยู่ในครอบครัว Cichlidae ซึ่งเป็นครอบครัว
ปลาที่ใหญ่ที่สุดครอบครัวหนึ่ง โดยมีมากถึงกว่า 600
ชนิด มีชื่อเรียกรวมๆกันทั่วไปว่า Cichilds ปลาในครอบ
ครัวนี้ส่วยใหญ่มีถิ่นกำเนิดและพบอาศัยในเขตร้อน โดย
เฉพาะทวีปแอฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

ลักษณะที่สำคัญของปลาในครอบครัว Cichlidae คือ มีครีบหลังต่อกันยาวตลอด
ส่วนของลำตัว และบริเวณส่วนครีบหน้าจะเป็นหน้าแหลม ซึ่งจะต่อติดกับครีบอ่อน
ที่อยู่ด้านท้ายลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือ รูจมูกมีเพียงข้างละรู ซึ่งแตกต่างจาก
ปลาในครอบครัวอื่นที่มีรูจมูกข้างละ 2 รู ปลาจำพวก Cichildsมักจะมีสีสันบนลำตัว
สวยงาม จึงมีผู้นิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้ซึ่งคนรู้จักกันทั่วไป เช่น ปลาเทวดา ปลา
ออสก้าร์ เป็นต้น ส่วนที่นำมาเลี้ยงเป็นอาหารก็คือ ปลาหมอเทศ ปลานิล เป็นต้น
ปลาปอมปาดัวร์ เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะเป็นรูปทรงกลม
ลำตัวแบนมีความกว้างของลำตัวมากจนมีลักษณะคล้ายจาน
ตามครีบหลังและครีบท้องเรียนเป็นแนวยาวตลอดจนถึงครีบ
หาง โดยบริเวณด้าหน้าของครีบหลัง และครีบทวารที่ต่อกัน
กับครีบอ่อนด้านท้ายจะมีลักษณะแข็งเป็นหนามแหลมคล้าย
เงี่ยง ลวดลายและสีสันลำตัวมีอยู่ด้วยกันหลายสี ขนาดโต
เด็มที่ประมาณ 6-8 นิ้ว

เป็นปลาที่มีการเคลื่อนไหวเนิบนาบดูอ่อนช้อยสวยงาม
มีถิ่นกำเนิดเดิมที่ลุ่มแม่น้ำอเมซอน อันเป็นแม่น้ำที่อยุ่ใน
ทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีลำน้ำสาขาต่างๆไหลผ่านครอบคลุม
หลายประเทศด้วยกัน เช่น บราซิล เวเนซุเอลา โคลัมเบีย
และเปรู ซึ่งปัจจุบันบริเวณลุ่มแม่น้ำนี้ยังคงความเป็นธรรม
ชาติไม่แตกต่างไปจากเดิม สำหรับปลาที่มีถิ่นอาศัย อยู่ใน
ลุ่มน้ำลำธารที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อยๆ และมีระดับความลึก
ของน้ำไม่มากนักมักหลบอาศัยตามรากไม้น้ำหรือใต้พุ่มไม้
น้ำที่มีลักษณะรก


นกแก้ว และคิงคอง เป็นปลาที่ผสมพันธุ์ระหว่างซินสไปรุ่มกับ
เรดเดวิล ซึ่งพ่อแม่พันธุ์แต่ละคู่ให้ลูกปลาในลักษณะที่แตกต่าง
กันออกไป พ่อแม่ปลาบางคู่จะให้ลูกปลามาเป็นปลานกแก้วใน
ขณะที่บางคู่จะให้ลูกปลาเป็นคิงคอง ซึุ่งปลานกแก้วและ
ปลาคิงคอง จะมีลักษณะใกล้เคียงกันมากเมื่อยังเล็ก คือ มีลักษณะกลมป้อม ผิวเป็นสีน้ำตาลจนถึงดำแล้วค่อยๆลอก
สีผิวออกเป็นสีส้มจรเป็นสีแดงเมื่อโตขึ้น
นกแก้ว

ปลานกแก้วจะมีลักษณะปากหักลงมา ริมฝีปากไม่ปิดสนิท แต่ปลาคิงคองจะมีปากที่ปิดสนิท หรือหุบลงได้
สีของปลาคิงคองจะออกแดงจัดกว่าปลานกแก้ว บริเวณหัวของปลา่คิงคองจะโหนกและมีขนาดที่ใหญ่
กว่าปลานกแก้วเมื่อโตเต็มที่

ทั้งปลานกแก้วและปลาคิงคองเป็นปลาที่ผสมข้ามสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ที่นิยมเลี้ยงปลาหมอสี
กันมากในยุคแรกๆซึ่งเป็นปลาที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวันจนกระทั่งระยะหลังๆมานี้มีผู้สามารถเพาะ
พันธุ์ได้สำเร็จจึงทำให้ปลาดัีงกล่าวมีราคาถูกลงมามาก ต่อมาจึงมีผู้นิยมนำปลานกแก้วและปลาคิงคองไป
ผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาอื่น เพื่อดึงความแดงและความกลมป้อมออกมาใช้ โดยทั่วไปแล้วปลานกแก้ว
และปลาคิงคองตัวผู้มักจะเป็นปลาหมัน ดังนั้นจึงนิยมนำปลาเพศเมียไปผสมพันธุ์กับปลาสายพันธุ์อื่นๆ


ปลามังกรจัดเป็นปลาที่มีราคาแพงทั้งในประเทศแลละต่างประเทศ ซึ่งถ้าได้เกณฑ์มาตรฐานแล้วราคาอาจสูงถึงหลักล้านเลยทีเดียว ผู้เลี้ยงปลามังกรหลายท่านเชื่อว่า ถ้าเลี้ยงแล้วจะมีโชคลาภ จึงทำให้ความนิยมในการเลี้ยงปลามังกรไม่เคยตกลงเลย มีผู้เลี้ยงบางท่านยอมลงทุนอย่างมากเพื่อที่จะได้ปลาชนิดนี้มาเลี้ยงโดยไม่ต้องคอยลุ้นว่าเมื่อไหร่ปลามังกรตัวโตๆจะมีเกล็ดมันวาว แต่สำหรับบางท่านที่ต้องการเห็นตั้งแต่ตัวเล็กๆจนปลามังกรค่อยๆโตขึ้น เราก็มีเคล็ดลับง่ายๆในการเลี้ยงให้ปลามังกรโตเร็วและมีสุขภาพที่แข็งแรงด้วยวิธีง่ายๆและมีปัจจัยหลักๆดังนี้

1. อาหาร
สารอาหารที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของปลามังกร คือ โปรตีน และแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้เราหาได้จาก ปลา นั่นเอง ดังนั้นการให้ลูกปลาเป็นอาหารจะให้ผลดีที่สุด แต่ก็ควรสลับกับอาหารชนิดอื่นๆบ้าง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารชนิดนี้ควรล้างและลวกซะก่อน เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อบางชนิด บางท่านให้กินแมลงสาบเป็นอาหาร ซึ่งวิธีนี้ควรทบทวนให้ดี เพราะแมลงสาบเป็นพาหะอย่างหนึ่งที่จะนำเชื้อโรคเข้าสู่ตัวปลา ส่วนการให้ปลากินอาหารนั้น ควรให้ในปริมาณน้อยๆแต่ให้ถี่ๆ แต่คงจะยากสำหรับคนที่ไม่มีเวลามากพอที่จะนั่งเฝ้าดูปลากินอาหารทั้งวัน ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ขอแนะนำให้ฝึกปลากินอาหารให้เป็นเวลาจะดีที่สุด

2.อากาศ
เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ปลาแข็งแรงสมบูรณ์ และทำให้ปลากินอาหารได้มากขึ้น ดังนั้นควรเปิดแอร์ปั๊มในตู้อยู่ตลอดเวลา

3.น้ำ
น้ำที่ดีที่สุดควรเป็นน้ำประปาที่ผ่านการกรองมาแล้วไม่ต่ำกว่า 24 ชม. pH ควรอยู่ที่ 6.5-6.8 ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ 20-30% ของน้ำในตู้ทุกๆเดือน จะทำให้ปลารู้สึกสดชื่นกระตือรือร้นทันที

4. อุณหภูมิ
ไม่ควรปล่อยให้ต่ำเกินไป เพราะจะทำให้ปลากินอาหารได้น้อย ควรรักษาอุณหภูมิในตู้ให้คงที่

5.สภาพแวดล้อม
จัดสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด จะทำให้ปลาไม่ตื่นกลัว และสามารถกินอาหารได้มากขึ้น

6.โรคภัย
โรคปลาจะเกิดขึ้นได้ ถ้าหากผู้เลี้ยงละเลยปัจจัยทั้ง 5 ที่กล่าวมา และการสังเกตปลาเป็นโรคเบื้องต้น ให้สังเกตการกินอาหาร และการว่ายน้ำ ถ้ามีอาการช้าลงแสดงว่าปลาเริ่มเป็นโรคแล้ว ควรหาวิธีแก้ไขให้เร็วที่สุดเพียงแค่ท่านปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมานี้ ท่านก็จะได้เห็นปลามังกรที่โตเร็วและแข็งแรงเป็นผลตอบแทน


ปลาหมอสีฟลาวเวอร์ ฮอร์น(flower horn) เป็นปลาผสมข้ามสายพันธุ์ี่มีต้นกำเนิดจากประเทศมาเลเซีย เริ่มเข้ามาในประเทศไทย ประมาณปลายปี 2543 และได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2544
flower horn จัดเป็นปลาที่มีความสวยงามมากมีลักษณะเด่นต่างๆที่ทำให้ผู้เลี้ยงปลาหมอสีบ้านเราเกิดความนิยมทั้งในรูปทรงและสีสัน โดยลักษณะนิสัยของ flower horn ค่อนข้างดุ รักและหวงถิ่นที่อยู่อาศัย กินอาหารได้บ่อยครั้งเจริญเติบโตได้ค่อนข้างเร็ว

ปลาหมอสีฟลาวเวอร์ ฮอร์น flowerhorn นั้นมีต้นกำเนิดมาจากสองทวีปคือ ปลาหมอสีพันธุ์ใหญ่จากอเมริกากลาง และอเมริกาใต้โดยไม่ได้รับการเปิดเผยจากผู้เพาะพันธุ์ว่าใช้ปลาอะไรบ้างเท่าที่สามารถสันนิษฐานได้จากลักษณะของปลา ได้แก่

1. ไตรมาคู จะได้ลักษณะของลวดลาย(Marking) และความเป็นมุกตามลำตัว
2. เรดเดวิล ให้ลักษณะเด่นด้านขนาดความใหญ่ของลำตัว และความโหนกของหัว
3. ซินสไปรุ่ม ให้ลักษณะเด่นทางด้านความใหญ่ของลำตัว และความโหนกของหัวเช่นเดียวกัน

นอกจากสามสายพันธุ์ที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจจะมีสายพันธุ์อื่นๆเข้ามาผสมด้วย เพราะ flowerhornชนิดต่างๆมีมากมายเกิน 20 ชนิด ซึ่งแตละชนิดก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ผู้ซื้อควรเลือกซื้อโดยพิจารณาว่าชอบลักษณะใด เช่น ชอบลวดลายดอกที่ลำตัว,หาง,กระโดง ก็อาจซื้อ flower streetเป็นต้น ทั้งนี้หลักการในการเลือกซื้อ flower horn ควรพิจารณาดังนี้ึครับ




1. ลวดลาย หรือ Marking บนตัวปลาส่วนใหญ่แล้วจะพิจารณา
Marking ที่ขาวตั้งแต่หัวจนถึงหางปลา จึงจะถือว่าเป็นปลาเกรด A หรือเป็นปลาคุณภาพ แต่ในบางครั้ง ก็ควรพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่นๆด้วย เช่น สีสัน,รูปทรงของตัวปลา เช่น Perfect Harmony มี Markingเพียงแค่กึ่งกลางลำตัวแต่มีรูปร่างและสีสันที่สวยงามก็นับได้ว่าเป็นปลาเกรด A และมีราคาสูงถึงตัวละ ประัมาณ 5 แสนบาท

2. ความเป็นมุกที่ลำตัวและรอบๆมาร์คกิ้ง Flower Horn เป็นปลาที่มีความแวววาวตามลำตัว หรือที่
เรียกว่า "มุก" โดยจะมีมุกรอบๆมาร์คกิ้งทุกจุดและตามลำตัว ถ้าจับปลามาดูใกล้ๆจะเห็นความระยิบระยับอย่างชัดเจน ผิวปลาไม่เป็นสีดำคล้ำ สีผิวโทนสว่างตลอดลำตัว

3. สีสัน flower horn เป็นปลาที่มีสีสันเฉพาะตัวตามลักษณะ แต่ละชนิดของ Flower Hornโดยทั่วไปแล้วจะมีสีส้ม แดง หรือบางครั้งออกสีทอง

ในการเลือกซื้อflowerhornผู้ซื้อควรสอบถามข้อมูลต่างๆ จากผู้ขายว่าเป็นปลามาจากแหล่งใด
รวมทั้งข้อมูลในการเลี้ยง การให้อาหาร โดยควรจะศึกษาข้อมูลให้เพียงพอก่อนตัวสินใจซื้อเพราะ
flowerhornขนาดเล็กจะดูค่อนข้างยากว่าเป็นปลาสายพันธุ์แท้หรือไม่ เพราะจะมีลักษณะคล้าย
ไตรมาคูมาก ในขณะที่ราคาต่างกันสิบเท่าตัว จึงควรพิจารณาก่อนเลือกซื้ออย่างละเอียดถี่ถ้วน


ปลาหมอสีเท็กซัสแดง(Red Texas) เป็นปลาที่ผสมข้ามสายพันธุ์ที่ได้
รับความนิยมมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นปลาที่มีลักษณะเด่น
คือ ลำตัวมีสีแดงสลับกับสีขาวเป็นลสดลายสวยงาม ซึ่งมี
เกิดจากการผสมข้่ามสายพันธุ์กันระหว่าง เท๊กซัสเขียว
(Herichthys carpinte) ผสมข้ามสายพันธุ์กับปลามีสีพื้น
แดงอเมริกา หรือปลาพื้นแดงที่ข้ามสายพันธุ์มาแล้ว โดยทั่วไปมักจะนิยมผสมข้ามสายพันธุ์ดังนี้


1.เท็กซักเขียวตัวผู้กับเรดเดวิลตัวเมีย ซึ่งก็จะได้เท็กซัสแดงที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อโตเต็มที่
จะมีโหนกใหญ่มาก มีลำตัวหนา มีลวดลายแตกต่างกันไปในแต่ละตัว

2. เท็กซักเขียวตัวเมียกับเรดเดวัลตัวผู้ซึ่งจะได้เท็กซัสแดงที่มีขนาดและรายละเอียดอื่นๆใกลเคียงกับข้อ 1

3. เท็กซักเขียวตัวผู้กับนกแก้วตัวเมีย การเพาะโดยใช้นกแก้วจะไม่สามารถสลับเพศได้เพราะ
นกแก้วเป็นปลาที่ข้ามมาแล้ว 1 ชั้นระหว่างนกแก้วกับซินสไปรุ่ม ลูกเท็กซัสแดงที่ได้จากเท็กซัสเขียวและนกแก้วจะมีสีส้มสดถึงแดง ลำตัวกลม หัวไม่โหนกมากนัก

4. เท็กซัสเขียวตัวผู้กับคิงคอง จะเพาะในลักษณะเดียวกับนกแก้ว ไม่สามารถสลับเพศได้ เท็กซัสแดงที่ได้จะมีลักษณะใกล้เคียงกับข้อ 3 แต่สีจะแดงฉ่ำกว่า

5. เท็กซัสเขียวตัวผู้กับเท็กซัสแดงตัวเมีย วิธีผสมนี้จะใช้ได้เฉพาะกับเท็กซัสแดงตัวเมียเท่านั้นเพราะเท็กซัสแดงตัวผู้ซึ่งเป็นปลาที่ข้ามสายพันธุ์มาแล้วจะเป็นหมัน โดยส่วนใหญ่ไม่สามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ ส่วนเท็กซัสแดงตัวเมียใช้ได้ทั้งเท็กซัสแดงที่มากจาก เรดเดวิล นกแก้วหรือคิงคองก็ได้ซึ่งเท็กซัสที่ได้จะมีลักษณะแตกต่างกัน ตามลักษณะแม่พันธุ์


สาเหตุที่เท็กซัสแดงได้รับความนิยมและมีราคาค่อนข้างสูง
เนื่องมาจากเท็กซัสแดงเป็นปลาที่ต้องอาศัยระยะเวลา
ในการลอกผิวนาน โดยจะลอกผิวด้า่นนอกเป็นสีแดงหรือ
สีส้ม แต่ระยะเวลาในการลอก และความสวยงามจะแตก
ต่างกันไปในแต่ละตัว จึงควรเลือกซื้อเท็กซัสแดงที่มีลวด
ลายตามลำตัวสวยงาม เริ่มมีการลอกหรือมีแววว่าจะลอก
โดยสอบถามถึงพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์จากผู้ขายเพื่อ
ประกอบการพิจารณาในการเลือกซื้อ


1. การเตรียมตู้ การเลี้ยงปลามังกรนั้นผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึงเรื่องตู้เป็นอันดับแรก มาตรฐานขั้นต่ำที่ใช้เลี้ยงนั้นคือ 60*24*24 นิ้ว หรือ ประมาณ 150*60*60 ซม. จะสามารถเลี้ยงจากขนาดเล็กที่มีขายตามร้านค้าทั่วไปจนถึง ขนาด 24 นิ้ว จะสามารถทำให้ท่านเลี้ยงได้ประมาณ 4-5 ปี แล้วจึงค่อยขยับขยาย” แต่หากท่านที่มีเนื้อที่

ค่อนข้างจำกัดจริงๆก็สามารถเลี้ยงได้ตลอดไป แต่กระจกที่ใช้ควรจะหนาประมาณ 3 หุน ขึ้นไป และ ในกรณีที่พอมีเนื้อที่ในด้านกว้างที่พอจะเพิ่มได้ควรจะกว้างอย่างน้อย 30 นิ้ว หรือ 75 ซม. สูง 36 นิ้ว แต่จะให้ดีก็ กว้าง 36 นิ้ว หรือ 90 ซม. สูง 36 นิ้ว ไปเลยก็จะดี ปลาขนาดใหญ่จะได้ไม่เครียด”( ที่สำคัญอย่าลืมเผื่อกันกระโดดด้วย ประมาณ 4-6 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของปลา ) ที่ผมแนะนำอย่างนี้ก็เพื่อผู้เลี้ยงจะไม่ต้องเปลืองสตางค์ซื้อตู้บ่อยๆ แล้วตู้ที่ไม่ได้ใช้เกะกะเต็มบ้านจนต้องยอมขายถูกๆหรือไม่ก็ยกให้ใครไปฟรีๆ แต่ปัญหาที่พบบ่อยปลาเล็กในตู้ขนาดใหญ่ คือ ตื่นกลัว ทำให้การว่ายไม่สง่า ครีบลู่ วิธีแก้คือ หาแท้งค์เมท มาเพิ่มสัก 2-5 ตัว แล้วแต่ขนาดของตู้ ปลาที่ผมอยากจะแนะนำได้แก่ ปลานกแก้ว เป็นตัวหลัก เพราะ เป็นปลาที่ไม่มีข้อเสีย เลย แถมยังข้อดีเพียบ แต่ ไม่ควรใส่จนเยอะเกินไป หรือ นำนกแก้วที่มีขนาดใหญ่กว่าปลามังกรใส่ลงไป ก็จะสามารถแก้อาการตื่นกลัวได้ หากไม่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้ปลาตื่นกลัว เช่น เด็กชอบมาทุบกระจก หรือ ตู้ปลาอยู่ตรงทางเดินที่มีคนพลุกพล่าน เป็นต้น

ในกรณีท่านที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อที่ เมื่อปลาได้ขนาด 16 –18 นิ้วแล้วจึงย้ายปลาไปอยู่ในตู้ที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้ปลาที่ท่านเลี้ยงโตขึ้นโดยไม่สะดุด และการว่ายจะไม่มีปัญหา และปลาจะไม่เกิดความเครียด

เมื่อท่านเลือกขนาดตู้ที่เหมาะสมแล้วนั้นการเลือกระบบการกรองชีวภาพ และรายละเอียดปลีกย่อยทุกอย่างล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น

2. น้ำที่ใช้เลี้ยงปลา จะต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน บางท่านอาจจะใช้การพักน้ำให้คลอรีนระเหยบ้าง ใช้เครื่องกรองน้ำบ้าง ( ข้อควรระวัง ห้ามใช้เครื่องกรองที่มีวัสดุกรองเป็นเรซินหรือเครื่องกรองน้ำที่ใช้ดื่ม วัสดุกรองที่ใช้กรองคลอรีนจะต้องเป็นถ่านกะลาเท่านั้น หากใช้คาร์บอนชนิดอื่นอาจทำให้น้ำเป็นด่างสูงเป็นอันตรายต่อปลาได้ ) คุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามังกรนั้นค่อนข้างสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากให้ผมแนะนำการที่จะได้มาซึ่งคุณภาพน้ำสูงสุดนั้น ควรใช้น้ำปะปาแล้วต่อเครื่องกรองคลอรีนแล้วนำน้ำไปพักให้ตกตะกอนหากน้ำที่พักทิ้งไว้เป็นเวลาหลายวันควรมีหัวทรายตีน้ำไว้เพื่อคงระดับออกซิเจนในน้ำเพื่อป้องกันน้ำเสีย จะทำให้ท่านได้น้ำที่ปราศจากคลอรีน ใสไม่มีตะกอน และมีออกซิเจนสูง อุณหภูมิน้ำในตู้บริเวณผิวน้ำควรอยู่ระหว่าง 30-34 องศาเซลเซียส น้ำที่ต้องห้ามใช้เลี้ยงปลามังกร ได้แก่ น้ำที่มีสารเคมีทุกชนิดปนอยู่ น้ำที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูง น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำสกปรก คือน้ำที่มีออกซิเจนละลายอยู่ในปริมาณต่ำ

3. อาหาร ที่ใช้เลี้ยงปลามังกรก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งมีผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของปลา รวมถึงรูปทรงและสีสันของปลา อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ แมลงเกือบทุกชนิด ลูกปลา หนอน ไส้เดือน กบ กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง รวมทั้ง อาหารเม็ด การให้อาหารปลามังกรนั้นไม่จำกัดตายตัว ว่าจะต้องกินอย่างไร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ ความสะดวกของผู้เลี้ยง และอุปนิสัยการกินของปลาประกอบเข้าด้วยกัน แต่ที่ผมจะแนะนำคือ ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันนั้นจะต้องไม่มาก หรือน้อยเกินไป โดยส่วนมากแล้วเมื่อปลาอิ่มจะไม่สนใจอาหารแล้วเชิดหน้าใส่ ยกเว้นจะเป็นของที่โปรดปรานจริงๆจึงจะฝืนกินจนพุงกางบางท่านชอบทำแบบนี้แล้วชอบใจว่าปลาของเรากินเก่ง แต่ผลเสียก็คือ ปลาของท่านจะเป็นโรคอ้วน เสียทรง ตาตก เพราะอาหารที่พวกมัน โปรดปรานส่วนใหญ่หนีไม่พ้นอาหารที่มีไขมันสูง อันได้แก่ หนอนนก หนอนยักษ์ จิ้งหรีด กบ ตะพาบ ซึ่งอาหารจำพวกนี้ควรควบคุมปริมาณที่ให้ในแต่ละวัน แต่จะงดไปเลยก็ไม่ดี เพราะจะทำให้ปลาท่านไม่โต หรือโตช้า เนื่องจากอาหารจำพวกนี้จะอุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการเจริญเติบโต การให้อาหารที่ดีนั้น ท่านควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆเพื่อสุขภาพปลาของท่านจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานสูง เหมือนกับคนเราที่ได้รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้

เดือนมกราคม หนอนนก กุ้งฝอย ลูกปลา

เดือนกุมภาพันธ์ หนอนยักษ์ กุ้งฝอย ลูกกบ

เดือนมีนาคม จิ้งหรีด กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง

เดือนเมษายน ตะขาบ กุ้งฝอย ลูกตะพาบ

เดือนพฤษภาคม แมลงป่อง กุ้งฝอย จิ้งจก

เดือนมิถุนายน ก็กลับหมุนเวียนเอาของเดือนมกราคมขึ้นมาใหม่ เป็นต้น

หรือ จะเอาทุกอย่างมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนในแต่ละวันก็ได้ แต่อาหารที่มีทั่วไปหาซื้อง่าย ได้แก่ หนอนนก กุ้งฝอย เนื้อกุ้งสด ลูกปลา จิ้งหรีด ลูกกบ อาหารที่ไม่แนะนำให้ใช้กับปลามังกรได้แก่ แมลงสาบ ถ้าท่านไม่ได้เพาะพันธ์เองไม่ควรใช้ เนื้อหมู หรือ เนื้อวัว จะทำให้ย่อยยาก อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้ หรือเมื่อใช้เลี้ยงไปนานๆปลาของท่านอาจจะตายโดยไม่รู้สาเหตุ เพราะในเนื้อหมูหรือเนื้อวัวนั้นจะมีพยาธิบางชนิดค่อยๆกัดกินอวัยวะภายในจนตาย เนื่องจากมันไม่ใช่อาหารของมันตามธรรมชาติ จึงไม่มีกลไกภายในร่างกายสามารถป้องกันได้

4.07.2553


ชื่อไทย ทองเกล็ดแก้ว
ชื่ออังกฤษ Peal Scale Gold Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius aruatus
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน
ปลาทองเกล็ดแก้วมีลักษณะเด่นอยู่ที่ลำตัวป้อมสั้น ส่วนมากจะกลม เกล้ดจะ หนานูนขึ้นแตกต่างกับปลาทองพันธ์อื่น ๆ ปลาที่มีลักษณะดีเกล็ดควรจะเรียงเป็นระเบียบ ส่วนหัวอาจมีวุ้นหรือไม่มีก็ได้ ปลาทองเกล็ดแก้วเป็นปลาทองที่ต้องการการดุแลเอาใจใส่ เป็นพิเศษ เป็นปลาที่ค่อนข้างจะบอบบาง กินอาหารพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล อาหารเม็ด ไม่ควรเลี้ยงปนกับปลาชนิดอื่น


ชื่อไทย ทองออแรนดา
ชื่ออังกฤษ Oranda
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน
ปลาทองออแรนดาเป็นปลาทองที่มีช่วงลำตัวยาว ครีบทุกครีบยาว โดยเฉพาะ ครีบหางจะยาวเป็นพวงสวยงาม บริเวณหัวอาจจะมีวุ้นหรือไม่มีก็ได้ เป็นปลาที่สามารถ เจริญเติบโตมีขนาดใหญ่กว่าปลาทองชนิดอื่น ปลาชนิดนี้เลี้ยงง่ายเป็นที่รู้จักทั่วไป กิน อาหารจำพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล อาหารเม็ดสลับกันไป เลี้ยงรวมกับปลาทองชนิดอื่นได้


ชื่อไทย ทองตาลูกโป่ง
ชื่ออังกฤษ Buble eye gold fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
แหล่งกำเนิด ประเทสจีน
ปลาทองตาลูกโป่งเป็นปลาที่มีลักษณะเด่นเป็นที่สังเกตได้ง่ายตรงที่มีตาใหญ่ คล้ายลูกโป่ง ทำให้ปลาชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดี ปลาชนิดนี้มีลำตัวยาว ปกติจะไม่มีครีบหลัง การที่มีตาขนาดใหญ่ทำให้ว่ายน้ำได้เชื่องช้า คนส่วนใหญ่ชอบซื้อปลาที่มีขนาดตาใหญ่ 2 ข้างเสมอกัน การเลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นปลาที่เปราะบาง มีจุดอ่อนที่ตา ไม่ควรเลี้ยงกับปลาที่ดุร้ายอื่นๆ กินลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล และอาหารสำเร็จ


ชื่อไทย ทองเล่ห์
ชื่ออังกฤษ Telescope black moor
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน
ปลาทองเลห์ เป็นปลาที่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวสีดำสนิทแม้กระทั่งครีบ ทุกครีบ ปลาชนิดนี้นับว่าเป็นที่นิยมเลี้ยงกันพอสมควร เป็นปลาทองที่มีตาโตโปน ออกมา ครีบหางบานใหญ่ บางชนิดมีชื่อเรียกว่า เล่ห๋ตุ๊กตา หรือเล่ห์หางผีเสื้อ เนื่องจากครีบหางแผ่กว้างสวยงามคล้ายผีเสื้อ จัดว่าเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้สง่างาม น่ารัก เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายชอบอาหารพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล หนอนแดงและอาหารสำเร็จรูป สามารถเลี้ยงปนกับปลาทองชนิดอื่นได้


ชื่อไทย ชูบุงกิง
ชื่ออังกฤษ Speckled gold fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
ปลาทองชุงบุงกิง หรือตลาดค้าปลาสวยงาม เรียกว่า ชูบานกิ้น เป็นปลาทองที่มี ลักษณะเด่นที่มีครีบหางเดี่ยวแยกเป็น 2 แฉก ลำตัวเรียวยาว ลำตัวส่วนมากมีสีส้ม ส้มแดง แดงขาว อาจมีสีดำประบ้าง ปลาทองชนิดนี้เลี้ยงง่าย เป็นปลาที่มีความทนทานมาก ว่ายน้ำ ได้ปราดเปรียว กินอาหารเก่ง กินได่แทบทุกประเภท ปลาทองชุงบุงกิงเทื่อเลี้ยงอยู่ในบ่อ ดูเผิน ๆ จะคล้ายกับปลาคาร์ปมาก บางตัวมีสีสดสวยกว่าปลาคาร์ป ปลาชนิดนี้จึงเป็น ที่นิยมเลี้ยงกันมากชนิดหนึ่ง


ชื่อไทย ริวกิ้น
ชื่ออังกฤษ Veiltail
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carrasius auratus
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน
ปลาทองริ้วกิ้นเป็นปลาทองที่นิยมของผู้เลี้ยงปลา เนื่องจากมีรูปทรงสวยงาม ลำตัวป้อมสั้น ท้องใหญ่ หางยาวเป็นพวง ส่วนหัวสูง ลำตัวเป็นสีส้ม หรือส้มแดงปนขาว เวลาว่ายน้ำจะเป็นถ่วงท่าที่ดูสง่างาม ปลาชนิดนี้มีทั้งที่สั่งมาจากประเทศญี่ปุ่นและเพาะพันธ์ ขึ้นเองในประเทศ ปลาจากญี่ปุ่นจะมีรูปร่างและสีดีกว่าของไทยแต่มีราคาสูงกว่าของไทยมาก ตู้ที่เลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องมีน้ำใสสะอาด ไม่ควรให้น้ำเย็นเกินไป ปลาริ้วกิ้นชอบกินลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล และอาหารสำเร็จ


ชื่อไทย ทองหัวสิงห์
ชื่ออังกฤษ Lion head gold fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carasius auratuss
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน
ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาทองชนิดที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้เลี้ยงปลา ปลาชชนิดนี้มีรูปทรงสง่างาม มีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ สิงค์จีนและสิงห์ญี่ปุ่น สิงห์จะมีลักษณะ หัวใหญ่ส่วนใหญ่จะมีวุ้นหนา ลำตัวยาว สิงห์ญี่ปุ่นส่วนหัวจะเล็กกว่าส่วนใหญ่ไม่มีวุ้น ลำตัวสั้น หลังจะโค้งมน หางสั้นและเชิดขึ้นดูสง่างาม ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินลูกน้ำ ไรแดง ไข่น้ำ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ดีควรเลี้ยงในอ่างตื้น ๆ ลึกไม่เกิน 8 นิ้ว จะทำให้ปลามีรูปร่างสวยงาม


น้ำบาดาล เป็นน้ำที่สูบจากใต้ดิน มีแร่ธาตุละลายปนมา เช่น สนิมเหล็ก น้ำจะมีกลิ่นแร่ธาตุ กลิ่นโคลนและมีปริมาณออกซิเจนต่ำซึ่งแก้ไขโดยนำน้ำมาพักทิ้งไว้เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ น้ำบาดาลที่ได้จากแหล่งน้ำใต้ดินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงปลา จัดเป็นแหล่งน้ำที่ดีเพราะ มีเชื้อโรคปนเปื้อนต่ำและสามารถใช้ได้ตลอดฤดูกาล

น้ำประปา น้ำประปาเป็นน้ำที่สะอาดและมีคุณสมบัติเหมาะสมนำมาใช้เลี้ยงสัตว์น้ำได้ดี เนื่องจากน้ำ ประปาผ่านการบำบัดและการกรองหลายขั้นตอน ปราศจากเชื้อโรค แต่มีราคาแพงและมีปัญหาเรื่อง ปริมาณคลอรีนที่หลงเหลืออยู่ในน้ำ ซึ่งวิธีการกำจัดคลอรีนสามารถดำเนินการได้ดังนี้

พักน้ำไว้ 2-3 วันหรือพักไว้ในที่แจ้งตากแดดตลอดเวลา 24 ชั่วโมงคลอรีนจะแตกตัวระเหยไปกับ
อากาศ

ใช้กรองด้วยถ่านคาร์บอน (Ativated carbon)
ถ้าต้องการใช้น้ำเลี้ยงปลาทันที สามารถเติมโซเดียม ไธโอซัลเฟต อัตรา 1 เกล็ดต่อน้ำ 5 ลิตร


คำถามยอดฮิตสำหรับมือใหม่ที่สนใจที่จะเลี้ยงรันชู คือ รันชูกับสิงห์ญี่ปุ่นแตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากปลาทองทั้งสองชนิดนั้นมีรูปร่าง
ลักษณะที่คล้ายคลึงกันมากจนแทบจะแยกกันไม่ออก คำตอบคือ ที่จริงปลาทั้ง 2 ชนิดนี้คือปลาชนิดเดียวกันนั่นเองโดยต้นกำเนิด
ปลารันชูชาวญี่ปุ่นเป็นผู้เพาะพันธ์ได้ โดยเลี้ยงอยู่ในบ่อหรืออ่างและมองความสวยงามของปลาจากด้านบนเป็นหลัก (Top View) ต่อมารันชูได้เผยแพร่ออกไปตามประเทศต่างๆ ซึ่งบางประเทศได้นำปลารันชูมาเลี้ยงในตู้แทนเนื่องจากไม่มีพื้นที่เพียงพอในการวางบ่อ หรือบางประเทศเป็นค่านิยมที่เลี้ยงปลาสวยงามไว้ในตู้ ซึ่งการเลี้ยงในตู้จะทำให้การมองจะต้องมองด้านข้างของปลาเป็นหลัก (Side View) ประเทศไทยนำปลารันชูที่เลี้ยงในตู้มาพัฒนาให้การดูจากด้านข้างสวยงามขึ้น เพราะปลาที่ดูด้านบนเวลามามองดูด้านข้างแล้วจะ
ไม่ค่อยสวยนัก และตั้งชื่อปลารันชูที่พัฒนาใหม่นี้ว่า "สิงห์ญี่ปุ่น" ซึ่งมาจากคำว่า Lion Headและเป็นการให้เกียรติประเทศญี่ปุ่นที่เป็น
ผู้เพาะพันธ์ปลาชนิดนี้ขึ้นมา ประเทศไทยได้พัฒนาสิงห์ญี่ปุ่นหลายสิบปี จนขณะนี้ ถือได้ว่าปลารันชูที่ดูด้านข้างหรือสิงห์ญี่ปุ่นนี้ เป็นสิงห์ญี่ปุ่นที่สวยที่สุดในโลก

ความสวยงามและจุดเด่นของปลารันชู เมื่อดูจากด้านบน หลังปลาต้อง กว้าง หนา ดูแข็งแรงบึกบึน ข้อหางใหญ่ ลำตัวซ้าย ขวา จะต้องเท่ากันหางจะกางออกมีไหล่ หางงุ้มออกไปด้านหน้าเล็กน้อย การว่ายน้ำเป็นไปอย่างสมดุลย์กล่าวสรุปได้ว่า รันชู เมื่อมอง
จากด้านบน BREEDER ก็จะพยายามพัฒนารันชูให้มองดูจากด้านบนสวยที่สุด ส่วนด้านข้างให้ความสำคัญรองลงไป

ส่วนสิงห์ญี่ปุ่น BREEDER ก็พยายามที่จะพัฒนาให้มองจากด้านข้างดูดีที่สุด ด้านบนไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก ตลอดจนถึงหาวิธีการเลี้ยงต่างๆ เช่น ความสวย/จุดเด่นของสิงห์ญี่ปุ่นเมื่อดูจากด้านข้างลำตัว ของปลาจะต้องกว้าง หลังโค้งขึ้นเล็กน้อยและแนวหลังโค้งลงลึกอย่างสวยงาม ส่วนท้องย้อยลงมารับกับส่วนหลัง ซึ่งดูแล้วคล้ายกับรูปไขไก่ ใบหางปกคลุมครีบ ทวาร การยืนน้ำไม่หัวทิ่ม หรือหัวเชิดขึ้นจนเกินไป

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
หนังสือ YEAR BOOK 2007
ของชมรมปลาทองรันชูแห่งประเทศไทย ครับ

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม