12.09.2556

ลักษณะของยี่สกเทศ เป็นปลาน้ำจืดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียนขาว ลำตัวยาวเรียวแบนข้าง รูปร่างคล้ายปลานวลจันทร์

น้ำจืด หัวค่อนข้างโต ปากแคบ ริมฝีปากหนามีร่องรอบปาก มีหนวดสั้น ๆ อยู่มุมปากบน 1 คู่ ลำตัวด้านหลังสีน้ำเงินปนเทา ด้านข้างสีน้ำเงินและจางลงจนถึงส่วนท้อง เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมีจุดสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพูอ่อน
ยี่สกเทศแต่เดิมมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดีย นักวิชาการประมงของไทยทำการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการผสมเทียมได้เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2511 ต่อมาได้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำทั่วประเทศ ชอบอยู่ตามแม่น้ำ ลำธาร และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีพื้นเป็นกรวดทรายและอุดมสมบูรณ์ด้วยแพลงก์ตอนสีเขียว

ปลาเม่น

ปลาแรด (Giant Gouramy) Osphronemus goramy (Lacepede) เป็นปลาน้ำจืด ขนาดใหญ่ของไทยชนิดหนึ่ง ปลาขนาดใหญ่ที่พบมีน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม ความยาว 65 เซนติเมตร เป็นปลาจำพวกเดียวกับปลากระดี่และปลาสลิด แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีเนื้อแน่นนุ่ม เนื้อมากไม่ค่อยมีก้าง รสชาติดี จึงได้รับความนิยมจากประชาชนผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอด เจี๋ยน ต้มยำ แกงเผ็ด ลาบปลา และน้ำยา ฯลฯ ในระยะหลังได้รับการจัดเป็นปลาจานในภัตตาคารต่าง ๆ หรือจะนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามก็ได้ สำหรับผู้เลี้ยง ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเช่นเดียวกับปลาสลิดราคาค่อนข้างสูง มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมและโรคได้เป็นอย่างดี ให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนดีมีกำไรและไม่มีปัญหาเรื่องตลาด เป็นปลาที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดีทั้งในบ่อและกระชัง มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว สามารถแพร่ขยายพันธุ์ในบ่อได้ โดยเลี้ยงเพื่อขาย เป็นปลาเนื้อหรือปลาสวยงาม

ปลาแรดมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า "ปลาเม่น" มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย แถบหมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในประเทศไทยภาคกลาง พบตามแม่น้ำ ลำคลอง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ ที่จังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฏร์ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัย อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนน้อยลง เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่ และแหล่งเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม การเลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลาย มีอยู่เฉพาะบริเวณ แถบจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อย การเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมาก จะทำให้มีปลาแรดบริโภคกันอย่างกว้างขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์


1. ลักษณะเพศ ปกติปลาแรดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จะเห็นได้ชัดก็ต่อเมื่อมีขนาดสมบูรณ์พันธุ์ คือ ตัวผู้จะมีนอ (Tubercle) ที่หัวของมันโหนกสูงขึ้นจนเห็นได้ปัดหัวโต ส่วนตัวเมียจะมีโหนกไม่สูงและที่ใต้ฐานของครีบอกตัวเมีย จะมีจุดสีดำ แต่ตัวผู้จะมีแต้มสีขาว ปลาแรดที่มีอายุเท่ากัน ปลาตัวผู้จะโตกว่าปลาตัวเมีย ปลาแรดจะเริ่มมีไข่เมื่ออายุ 2-3 ปี น้ำหนักประมาณ 2-4 กิโลกรัม แม่ปลาขนาด 3 กิโลกรัมจะมีไข่ 2,000-4,000 ฟอง แม่ปลาตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง/ปี



2. การเพาะพันธุ์ปลา ปลาแรดสามารถวางไข่ได้ตลอดปี แต่จะมีไข่สูงใน ช่วง 7 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ปลาแรดจะสร้างรังวางไข่ การเพาะพันธุ์ จึงควรใส่ฟางหรือหญ้าเพื่อให้ปลาแรดนำไปใช้ในการสร้างรัง รังจะมีลักษณะคล้ายรังนก และจะมีฝาปิดรัง ขนาดรังโดยทั่ว ๆ ไป มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1 ฟุต ใช้เวลาสร้าง ประมาณ 1 สัปดาห์ การเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติในบ่อดิน บ่อเพาะพันธุ์ควรเป็น บ่อขนาดใหญ่ 1-2 ไร่ อัตราการปล่อยปลาตัวผู้ต่อตัวเมีย 1:2 จำนวน 100-150 คู่/ไร่ แม่ปลาขนาด 3 กิโลกรัมจะมีไข่ระหว่าง 2,000-4,000 ฟอง
การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ บริเวณพื้นบ่อมีสภาพเป็นโคลน ให้มีหญ้าและพันธุ์ ไม้น้ำขึ้นหนาสักหน่อย พร้อมทั้งหากิ่งไผ่ ผักให้จมอยู่ในน้ำเพื่อใช้เป็นที่สร้างรังพ่อแม่ปลา จะคอยระวังรักษาลูกอ่อนอยู่ใกล้ ๆ รังและจะพุ่งเข้าใส่ศัตรูที่มารบกวนอย่างเต็มที่ หรือ อาจใช้คอกที่สร้างขึ้นบริเวณตลิ่งที่เป็นคุ้งของลำแม่น้ำที่ไม่ไหลเชี่ยวมาก ใช้เพาะปลาแรด เช่นเดียวกับการเพาะในบ่อ
3. การฟักไข่ ไข่ปลาแรดเป็นประเภทไข่ลอย (มีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน มีไขมันมาก กลิ่นคาวจัด ไม่มีเมือกเหนียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร) เมื่อ ปลาแรดวางไข่แล้วนำรังที่มีไข่ขึ้นมาแล้วคัดเฉพาะไข่ดี ควรช้อนคราบไขมันออกมิฉะนั้น แล้ว จะทำให้น้ำเสียและปลาติดเชื้อโรคได้ง่าย ต่อจากนั้นรวบรวมไข่ใส่ถังส้วมทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ระดับน้ำประมาณ 30-50 ซม. ให้เครื่องเป่าอากาศเบา ๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนและใส่พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง เพื่อช่วยในการดูดซับไขมันและให้ลูกปลาได้ยึดเกาะ หรือฟักไข่ในบ่ออนุบาลหรือฟักในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว กระชังมีรูปร่าง สี่เหลี่ยมขนาด 2 x 1 x 0.5 ใช้หูเกี่ยวหรือโครงเหล็กถ่วงที่พื้นเพื่อให้กระปังดึงคงรูปอยู่
ได้ ในระหว่างการฟักควรเพิ่มอากาศหรือน้ำลงในกระชังเพื่อไล่ไขมันที่ติดมากับไข่ออกได้ มากที่สุด ไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนภายใน 18-36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20-30 เซลเซียส เมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ตัวอ่อนจะลอยหงายท้องอยู่และยึดติดกับพืชน้ำ ลูกปลาจะเริ่มกิน อาหารในวันที่ 5-7 โดยให้ไข่ชง อายุ 7-10 วัน ให้ไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ ช่วงที่ให้ไข่เป็น อาหาร ควรให้ทีละน้อยในบริเวณที่ลูกปลารวมเป็นกลุ่ม อายุ 10-15 วัน จึงให้ไรแดง ลูกปลาแรด จะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย เมื่ออายุได้ 4 เดือน

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม