4.22.2555

พะยูน

พะยูน (อังกฤษ: Dugong, Sea cow) เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน (Sirenia)พะยูนถูกศึกษาทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1776 โดยได้ตัวอย่างต้นแบบจากที่จับได้จากน่านน้ำแหลมกู๊ดโฮปถึงฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายโลมาและวาฬ เดิมพะยูนจึงถูกจัดรวมอยู่ในอันดับเดียวกันคือ Cetacea แต่จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดพบว่า มีความแตกต่างกันมาก กล่าวคือ มีขนาดเล็กกว่า หัวกลม รูจมูกแยกจากกัน ปากเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี ไม่เป็นฟันยอดแหลมธรรมดาเหมือน ๆ กันอย่างวาฬ

และมีเส้นขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต ในปี ค.ศ. 1816 อองรี มารี ดูโครเตย์ เดอ แบล็งวีล นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบ ในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน รวมถึงการศึกษาซากโบราณของพะยูนในสกุล Eotheroides ในประเทศอียิปต์ พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น หรือเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว Eotheroides เป็นสัตว์มี 4 ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน พะยูนมีรูปร่างคล้ายแมวน้ำขนาดใหญ่ที่อ้วนกลมเทอะทะ ครีบมีลักษะคล้ายใบพาย ซึ่งวิวัฒนาการมาจากขาหน้าใช้สำหรับพยุงตัวและขุดหาอาหาร ไม่มีครีบหลัง ไม่มีใบหู ตามีขนาดเล็ก ริมฝีปากมีเส้นขนอยู่โดยรอบ ตัวผู้บางตัวเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีฟันคู่หนึ่งงอกออกจากปากคล้ายงาช้าง ใช้สำหรับต่อสู้เพื่อแย่งคู่กับใช้ขุดหาอาหาร ในตัวเมียมีนมอยู่ 2 เต้า ขนาดเท่านิ้วก้อย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ถัดลงมาจากขา คู่หน้า สำหรับเลี้ยงลูกอ่อน มีลำตัวและหางคล้ายโลมา สีสันของลำตัวด้านหลังเป็นสีเทาดำ หายใจทางปอด จึงต้องหายใจบริเวณผิวน้ำ 1-2 นาที อายุ 9-10 ปี สามารถสืบพันธุ์ได้ เวลาท้อง 9-14 เดือน ปกติมีลูกได้ 1 ตัว ไม่เกิน 2 ตัว แรกเกิดยาว 1 เมตร หนัก 15-20 กิโลเมตร ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 1 ปี กินนมและหญ้าทะเลประมาณ 2-3 สัปดาห์ หย่านมประมาณ 8 เดือน อายุประมาณ 70 ปี โดยแม่พะยูนจะดูแลลูกไปจนโต ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ถึง 3 เมตร น้ำหนักเต็มที่ได้ถึง 300 กิโลกรัม พะยูนสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานราว 20 นาที เมื่อจะนอนหลับพักผ่อน พะยูนจะทิ้งตัวลงในแนวดิ่ง และนอนอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นทะเลราว 20 นาที ก่อนจะขึ้นมาหายใจอีกครั้งหนึ่ง อาหารของพะยูน ได้แก่ หญ้าทะเล ที่ขึ้นตามแถบชายฝั่งและน้ำตื้น โดยพะยูนมักจะหากินในเวลากลางวัน พฤติกรรมการหากินจะคล้ายกับหมู โดยจะใช้ครีบอกและปากดุนพื้นทรายไถไปเรื่อย ๆ จนบางครั้ง จะเห็นทางยาวตามชายหาด จากพฤติกรรมเช่นนี้ พะยูนจึงได้ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "หมูน้ำ" หรือ "หมูดุด" ในบางตัวที่เชื่องมนุษย์ อาจเกาะกินตะไคร่บริเวณใต้ท้องเรือได้ พะยูนพบได้ในทะเลเขตอบอุ่นอย่างกว้างขวางตั้งแต่ชายฝั่งของทวีปแอฟริกาฝั่งตะวันออก, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลจีนใต้, ทะเลฟิลิปปิน, ทะเลซูลู, ทะเลเซเลบีส, เกาะชวา จนถึงโซนโอเชียเนีย โดยปกติแล้วมักจะไม่อาศัยอยู่น้ำที่ขุ่น สำหรับสถานะของพะยูนในประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากถูกคุกคามอย่างหนักในเรื่องถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้พฤติกรรมการหากินเปลี่ยนไปกลายเป็นมักจะหากินเพียงลำพังตัวเดียว ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงที่เดียวในประเทศไทย คือ บริเวณหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง เท่านั้น คาดว่ามีเหลืออยู่ประมาณ 100 ตัว และอาจเป็นไปได้ว่ายังพอมีเหลืออยู่แถบทะเลจังหวัดระยอง แต่ยังไม่มีรายงานที่มีข้อมูลยืนยันถึงเรื่องนี้เพียงพอ แต่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 มีชาวประมงจับพะยูนตัวหนึ่งได้ ความยาว 2 เมตร น้ำหนักประมาณ 200 กิโลกรัม ที่อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี หลังจากการหายตัวไปนานของพะยูนในแถบนี้นานถึง 34 ปี โดยพะยูนตัวสุดท้ายที่จับได้ในบริเวณนี้คือเมื่อ ปี พ.ศ. 2515 ในปี พ.ศ. 2554 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการอนุรักษ์และการจัดการพะยูน และแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนโดยครอบคลุมพื้นที่อาศัยของพะยูนทั้งหมด ระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ/อนุสัญญาว่าด้วยชนิดพันธุ์ที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่น โดยที่ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 20 ที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจนี้ มีรายงานว่า ประชากรพะยูนที่หลงเหลืออยู่มากที่สุด คือ ออสเตรเลีย มีอยู่ประมาณ 20,000 ตัว ขณะที่ในประเทศไทย พบในอ่าวไทยประมาณ 40 ตัว และทะเลอันดามันราว 200 ตัว โดยพบมากที่สุดคือ จังหวัดตรัง และมีอัตราการตายเฉลี่ยปีละ 15 ตัว เนื่องจากถูกไล่ล่า ไม่ใช่เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร แต่ทว่านำเขี้ยวมาเป็นเครื่องรางของขลังตามความเชื่อ และตายเพราะติดกับเครื่องมือประมงต่าง ๆ พะยูน เป็นสัตว์ที่ทำให้นักเดินเรือในยุคกลางเชื่อว่าคือ นางเงือก เนื่องจากแม่พะยูนเวลาให้นมลูกมักจะกอดอยู่กับอกและตั้งฉากกับท้องทะเล ทำให้แลเห็นในระยะไกลคล้ายผู้หญิงอยู่ในน้ำ พะยูนมีชื่อเรียกในภาษายาวีว่า "ดูหยง" (หมายถึง ผู้หญิงแห่งท้องทะเล) ชาวประมงพื้นเมืองมีความเชื่อว่า น้ำตาพะยูนและเขี้ยวพะยูนมีอำนาจในทางทำให้เพศตรงข้ามลุ่มหลงคล้ายน้ำมันพราย จนมีกล่าวถึงในบทเพลงพื้นบ้านว่า ไม่รอดแล้วน้องเด้ ถูกเหน่น้ำตาปลาดูหยง

ปลาสิงโต

ปลาสิงโต (Lionfish) เป็นปลาทะเลที่มีพิษ ในวงศ์ Scorpaenidae ภาษาละตินหมายถึง แมงป่อง มีหลายสปีชีส์ ใน 2 จีนัส คือ Pterois และ Dendrochirus มีครีบยาวและแตกแขนงออกมากมาย และมีลวดลายทางสีแดง สีน้ำตาล สีดำ หรือสีขาว อาศัยในทะเลเขตร้อนแถบอินโด-แปซิฟิก ค.ศ. 2003 ถูกพบในแนวปะการังเขตอบอุ่นทางตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลแคริบเบียน ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterois antennata

ขนาดลำตัว 8-13 ซม. ปลาสิงโต เป็นปลามีพิษซึ่งพิษอยู่ที่ก้านครีบ ปลาสิงโตจะอยู่ในครอบครัว Scorpaenidae ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ ปลาสิงโต ( Pteroinae ) และ 2.ปลาหินและปลาแมงป่อง ( Scorpaeninae ) ทั้งหมดนี้จะเป็นปลามีพิษร้ายแรง โดยที่พิษจะอยู่ที่ครีบแข็งทั้งหลาย เช่น ครีบอก ครีบหลัง พิษพวกนี้มีไว้ให้ป้องกันตัวอย่างเดียว เมื่อมีอันตรายเข้าใกล้ ปลาสิงโตจะกางครีบ เป็นการข่มขู่ แต่จะไม่ค่อยออกมาโจมตี หรือเอาครีบทิ่มแทงใคร ปลาสิงโต ชอบอำพรางตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ถ้าไปโดนพิษส่วนใหญ่จะเจ็บจี๊ดแล้วปวดขึ้นเรื่อยๆ ข้อแนะนำ ถ้าโดนพิษปลาสิงโต ให้ทำความสะอาดแผล แล้วใช้ความร้อนเข้าสู้ พิษของปลาพวกนี้จะเป็นโปรตีน เมื่อโดนความร้อนจะสลายไป อาจจะใช้ไดร์เป่าผม น้ำอุ่น กระเป๋าน้ำร้อน หรืออะไรก็ได้ที่ร้อนๆประคบไว้ อาจจะใช้วิธีอังไฟก็ได้นะค่ะ ปรกติจะปวดประมาณ 24 ชม.แล้วจะค่อยๆ เบาลง ลัษณะทั่วไป ปลาตัวนี้จะมีลำตัวที่หนา มีครีบที่แข็งทั้งยังเป็นพิษร้าย บริเวณหัวจะมีหนามแหลม แต่บางตัวจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผิวหนังตามหัว และลำตัวเป็นแผ่นยื่นออกมากซึ่งคล้ายกันปลาพันธุ์นี้มีหนวด การว่ายน้ำค่อนข้างเชื่องช้าชอบนอนนิ่งอยู่ตามพื้น ปลาสิงโตบางตัวมีสีที่กลมกลืนกับสีของพื้นทะเลซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการอำพรางตัวเพื่อล่าอาหารอีกด้วย ปลาสิงโต ชนิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ 1.ปลาสิงโตครีบยาว หรือปลาสิงโตธรรมดา ชื่อสามัญ Ragged-Finned lionfish ปลาสิงโตพันธุ์นี้จะมีจุดเด่น คือ ครีบของปลาค่อนข้างยาว บริเวณลำตัวจะเป็นลายแดงสลับแถบขาว ส่วนครีบของปลามีลักษณะเป็นหนวดยาว พบได้ทั้งมีสีขาว และลายบ้างเล็กน้อย 2.ปลาสิงโตลายขาว ชื่อสามัญ White-lined lionfish ปลาสิงโตลายขาวจะเหมือนกับปลาสิงโตครีบยาว บริเวณลำตัวจะมีลายสีขาวเส้นเล็กๆคาดบริเวณลำตัว หนวดนั้นส่วนใหญ่จะพบเป็นสีขาว มีข้อแตกต่างจากปลาสิงโตครีบยาว คือจะมีลายเส้นขาวเล็กๆพาดตามตัวเป็นหลัก อาหาร ปลาสิงโตจะลอยตัวนิ่งๆพุ่งเข้าชาร์ทเพยื่อด้วยความเร็วสูง กินปลาเล็ก หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกกุ้ง ปู เป็นอาหาร ปลาสิงโต สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าปากของมัน โดยสามารถเลี้ยงรวมกับ กลุ่มปลาเก๋า ปลากระพง หรือปลาสร้อยนกเขาชนิดต่างๆ แม้กระทั่งในกลุ่มปลาหิน หรือปลานกขุนทอง ปลาตาหวาน ก็ได้ ปลาที่ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงรวมกับปลาสิงโต ได้แก่ ปลาเล็กๆ หรือปลาที่ชอบแทะเล็มปลาอื่น ได้แก่ ปลาผีเสื้อ ปลาขี้ตังเบ็ด เพราะปลาพวกนี้ชอบไล่ตอด ทำให้ปลาสิงโตเกิดความรำคาญและเป็นแผลได้

ม้าน้ำ

ม้าน้ำ (อังกฤษ: Seahorse) เป็นปลากระดูกแข็งที่อาศัยอยู่ในทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Hippocampinae (ซึ่งมีอยู่ 2 สกุล คือหนึ่งสกุลนั้นคือ ปลาจิ้มฟันจระเข้สัน ที่อยู่ในสกุล Histiogamphelus มีรูปร่างคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ผสมกับม้าน้ำ) ในวงศ์ Syngnathidae อันเป็นวงศ์เดียวกับปลาจิ้มฟันจระเข้และมังกรทะเล ในอันดับ Syngnathiformes

สำหรับม้าน้ำนั้นจะมีอยู่เพียงสกุลเดียว คือ Hippocampus ซึ่งมาจากภาษากรีกโบราณ คำว่า "hippo" หรือ "hippos" ที่แปลว่า "ม้า" และ "campus" ที่แปลว่า "สัตว์ประหลาดทะเล" ม้าน้ำ เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ มีกระดูกหรือก้างมาห่อหุ้มเป็นเกราะอยู่ภายนอกตัวแทนเกล็ด ส่วนหางของแทนที่จะเป็นครีบสำหรับว่ายน้ำไปมาอย่างปลาชนิดอื่น กลับมีหางยาวเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน มีไว้เพียงเพื่อเกี่ยวยึดตัวเองกับพืชน้ำหรือปะการังในน้ำ มีครีบอกและมีครีบบางใสตรงเอวอีกครีบหนึ่งช่วยโบกพัดกระพือ โดยครีบทั้ง 2 นี้จะโบกพัดด้วยความเร็วประมาณ 20-30 ครั้งต่อวินาที ทำให้เคลื่อนไหวไปมาได้อย่างช้า ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วม้าน้ำมักจะว่ายน้ำเป็นไปในลักษณะขึ้น-ลง มากกว่าไปมาข้างหน้า-ข้างหลังเหมือนปลาชนิดอื่น ปากยื่นยาวคล้ายท่อไม่มีกราม ตรงปลายมีที่เปิด ใช้สำหรับดูดกินอาหาร จำพวกแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ ม้าน้ำ เหมือนกับปลาชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในวงศ์เดียวกันนี้ คือ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้อง โดยมีอวัยวะตรงบริเว๊ณหน้าท้องคล้ายถุง ใช้สำหรับเก็บไข่และฟักเป็นตัว เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ม้าน้ำตัวผู้จะปรับเปลี่ยนสีของลำตัวเพื่อดึงดูดม้าน้ำตัวเมีย จากนั้นตัวผู้จะใช้หางโอบกอดตัวเมียพร้อมกับแอ่นท้องประกบกับท้องเข้าหากัน ตัวเมียจะออกไข่ใส่ลงในถุงหน้าท้องของตัวผู้ และม้าน้ำตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่และฟักเป็นตัวอ่อนภายในถุงหน้าท้อง โดยใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 2 สัปดาห์ โดยจำนวนไข่ประมาณ 100-200 ฟอง มากที่สุดคือ 1,500 ฟอง ตามแต่ละชนิด เมื่อคลอด พ่อม้าน้ำก็จะบีบกล้ามเนื้อส่วนท้องและพ่นลูกม้าน้ำทั้งหมด ให้ออกจากกระเป๋าหน้าท้อง โดยที่ม้าน้ำมีพฤติกรรมแบบคู่เดียวตลอดทั้งชีวิต กล่าวคือ จะจับคู่อยู่กันเพียงตัวเดียว หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอันเป็นไป ก็จะไม่หาคู่ใหม่ ม้าน้ำ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร ตามแต่ละชนิด โดยขนาดเล็กเช่น ม้าน้ำจำพวกม้าน้ำแคระ จะมีความยาวเพียง 2.5 เซนติเมตรเท่านั้น มีการแพร่กระจายพันธุ์ในทะเลเขตอบอุ่นทั่วทั้งโลก ปัจจุบันพบทั้งหมด 47 ชนิด[2] มีเพียงสกุลเดียว คือ Hippocampus ส่วนม้าน้ำที่พบได้ในน่านน้ำไทยมีประมาณ 6 ชนิด ได้แก่ ม้าน้ำดำ (H. kuda) หรือ ม้าน้ำธรรมดา จัดเป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่พบได้ในน่านน้ำไทย มีลำตัวสีดำสนิท ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนเป็นสีครีม, สีเหลือง และน้ำตาลแดง พบง่ายบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย ม้าน้ำหนาม (H. spinosissimus) อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำค่อนข้างลึกและสภาพน้ำค่อนข้างใส มีสีสันสวยงาม มักจะมีสีออกน้ำตาลแดง มีลายจุดสีออกขาว เป็นแถบกว้างคาดบริเวณลำตัว มีหนามมากค่อนข้างแหลมและยาว แต่มีขนาดเล็กกว่าม้าน้ำดำ ม้าน้ำสามจุด (H. trimaculatus) พบตามเขตชายฝั่งในฤดูหนาว มักปรากฏจุดดำประมาณ 3 จุด บริเวณส่วนบนของลำตัว จึงเป็นที่มาของชื่อ ม้าน้ำแคระ (H. mohnikei) มีขนาดเล็กที่สุด พบเห็นไม่บ่อยนัก ลำตัวตัวสีดำ อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เกาะอยู่ตามสาหร่ายทะเล บริเวณที่เป็นพื้นทราย ม้าน้ำยักษ์ (H. kelloggi) หรือ ม้าน้ำใหญ่ เป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีความยาวได้ถึง 28 เซนติเมตร ม้าน้ำหนามขอ (H. histrix) มีลักษณะที่แตกต่างไปจากชนิดอื่น คือ มีปากขนาดยาวกว่า มีหนามที่เหนือตาและมีส่วนหน้าที่ยาวอย่างเห็นได้ชัด มีหนามบนหัว หนามตามลำตัวและหางจะแหลม บริเวณปลายหนามจะมีสีดำเข้ม เมื่อเอามือไปสัมผัสจะรู้สึกว่าเกี่ยวติดมือ หนามที่หางมีความยาวเท่า ๆ กัน ม้าน้ำ เป็นปลาที่นิยมทำเป็นยาจีนตามตำราการแพทย์แบบจีน ด้วยเชื่อว่าบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยจะทำไปตากแห้งและขายเป็นชั่งน้ำหนักขาย ทำให้ม้าน้ำทั่วโลกในปีหนึ่ง ๆ ถูกจับเป็นจำนวนมากเพื่อการนี้ และยังถูกนำไปทำเป็นเครื่องประดับอีก จนกลายทำให้เป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์ในบางชนิด นอกจากนี้แล้ว ความที่เป็นปลาที่มีรูปร่างแปลก มีขนาดเล็กน่ารัก ทำให้เป็นที่นิยมเลี้ยงของผู้ที่นิยมการเลี้ยงปลาตู้ด้วย ซึ่งในปัจจุบัน มีม้าน้ำบางชนิดสามารถนำมาเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว

ปลาหิมะ

ปลาหิมะ เป็นปลา ที่อยู่ในกลุ่ม Anoplopomatidae ปลาหิมะนี้มีสายพันธุ์แยกย่อยหลายพันธุ์ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศเช่น ทางอเมริกาจะเรียกว่า Sablefish, Sable, black cod หรือ butterfish ทางแถบประเทศอังกฤษจะมีชื่อว่า bluefish, candlefish, หรือ coal cod ที่ประเทศญี่ปุ่น เรียก กินดาระ (gindara) เป็นต้น

ปลาหิมะ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำลึก ประมาณ 300-3500 เมตร บริเวณมหาสมุทรแอนตาร์กติก ในแถบที่พื้นทะเลเป็นโคลน เป็นปลาที่เจริญเติบโตช้า วางไข่ได้เมื่ออายุ 10 ปี อายุยืน ความยาวสูงสุดที่พบประมาณ 2.2 เมตร น้ำหนัก 120 กก. กินปลาหมึก กุ้ง ปู และปลาเป็นอาหาร ปลาหิมะ เป็นปลาเนื้อสีขาว เนื้อนิ่ม รสชาติกลมกล่อม เนื้อของปลาชนิดคล้ายเนื้อปลากระพงขาว sea bass แต่เนื้อปลาหิมะจะมีไขมันผสมอยู่สูงกว่า เนื้อของมันสามารถใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภทเช่น ต้ม ย่าง อบ ทอด รวมถึง รับประทานสดเป็น ซาชิมิ คุณค่าทางสารอาหาร เนื้อปลาหิมะอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้าที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย (omega 3 fatty acids)

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม