7.08.2554


ปลาหมอสีนกแก้ว (Parrot Cichlid) ปลาหมอนกแก้วมีดวงตากลมโต ลูกตาดำใหญ่ ปากครุท คล้ายนกแก้ว ลำตัวกลม ป้อม สั้น อุปนิสัยเป็นปลาที่ค่อนข้างเกเร ต่อปลาอื่นๆ เพราะหวงถิ่น มักไล่ชนปลาเล็กกว่า หรือปลาอื่นๆ แต่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่ ขนาดเท่ากันได้ เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ทน และแข็งแรง


การเลี้ยงควรจัด สถานที่เลี้ยง หรือตู้ ให้โล่งๆ ตกแต่งด้วยหินขนาดใหญ่ และขอนไม้ เพราะปลานกแก้วเป็น ปลาที่ชอบขุดคุ้ย สร้างโพรง จึงควรใส่ภาชนะดินเผา ประเภทหม้อ ไห เพื่อให้ปลาได้อาศัย

การให้อาหาร ให้กุ้งฝอย หรือ ไรทะเล อาหารที่มีโปรตีนสูง จะทำให้สีปลาสด กินอาหารได้ทุกอย่าง ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอาหารเม็ด หรืออาหารสด โตไว

สีของปลาหมอนกแก้ว มีหลายสีแตกต่างกันออกไป ทั้งเกิดจากการฉีดสี และสีธรรมชาติ สีแดงสด เรียกว่า เรดบลัดแพรอท สีแดงอมม่วง เรียกว่า เพอเพิลบลัดแพรอท ส่วนนกแก้วที่มี การตัดต่อสายพันธุ์ ทีไม่มีหางลักษณะ รูปหัวใจเรียกว่า เลิฟฮาร์ดแพรอท (นกแก้วเลิฟ)


งูจงอาง (อังกฤษ: King Cobra) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูพิษขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 2.5 - 4 เมตร จัดเป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ซึ่งตัวที่ยาวเป็นสถิติโลกมีความยาวถึง 5.59 เมตร เป็นงูจงอางไทย ถูกยิงได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2467 น้ำหนักประมาณ 6 - 10 กิโลกรัม มีลูกตาดำและกลม หัวใหญ่กลมทู่ สามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า ลำตัวเรียวยาว ว่ายน้ำเก่ง มีหลายสีแต่โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลแดงอมเขียว ท้องมีสีเหลืองจนเกือบขาว มีสีแดงเกือบส้มที่บริเวณใต้คอ มีพิษร้ายแรงแต่ไม่เท่างูเห่า มีผลทางระบบประสาท (Neurotoxin) ที่รุนแรง พิษของงูจงอางสามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้[3] โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 75%เนื่องจากปริมาณพิษที่ฉีดออกจากเขี้ยวพิษมีมาก งูจงอางมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย แต่ถ้าไม่จวนตัวหรือถูกรุกรานก่อนจะไม่ทำร้าย อาหารของงูจงอางคืองูอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า กบหรือตะกวดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเช่นหนู เป็นต้น

งูจงอางจัดอยู่ในสกุล Ophiophagus ซึ่งเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้ โดยมีรากศัพท์จากภาษาละตินมีความหมายว่า "กินงู" ซึ่งหมายความถึงการล่าเหยื่อของงูจงอาง เพราะงูในสกุลนี้ กินงูอื่นเป็นอาหาร พบในประเทศไทย ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีมากในป่าจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา และในป่าทุกภาค แต่ชุกชุมทางภาคใต้มากที่สุด[6] ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
งูจงอางเป็นงูพิษที่มีลักษณะหัวกลมมน เกล็ดบริเวณส่วนหัวใหญ่ มีเขี้ยว 2 เขี้ยวที่ขากรรไกรด้านบน หน้าตาดุดัน จมูกทู่ มองเผิน ๆ คล้ายกับงูสิงดง ที่บริเวณขอบตาบนมีเกล็ดยื่นงองุ้มออกมา ทำให้หน้าตาของงูจงอางมองดูแลดูดุและน่ากลัว ส่วนบริเวณท่อนหางจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด มีม่านตากลม ลำคอมีขนาดสมส่วน ลำตัวขนาดใหญ่เรียวยาว แผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า งูจงอางที่ยังไม่โตเต็มวัย จะมีขนาดลำตัวเท่ากับงูเห่าดงแต่จะยาวกว่า ทำให้คนทั่วไปที่พบเห็นและไม่เคยเห็นงูจงอางมาก่อน จะเข้าใจผิดว่าเป็นงูเห่าและเรียกว่างูเห่าดง

ตามปกติจะหากินที่พื้นดินแต่ก็สามารถขึ้นต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นงูที่ใช้วิธีการฉกกัดและรัดเหยื่อไม่เป็น ซึ่งไม่สมกับขนาดของลำตัวที่เพรียวยาว ปกติจะเลื้อยช้าแต่จะมีความว่องไวและปราดเปรียวเมื่อตกใจ ถ้าพบเจอสิ่งใดแล้วไม่หยุดชูคอขึ้น จะเลื้อยผ่านไปเงียบ ๆ แต่ถ้าขดตัวเข้ามารวมเป็นกลุ่มแล้วยกหัวสูงขึ้น แสดงว่าพร้อมจู่โจมสิ่งที่พบเห็น เวลาเลื้อยหัวจะเรียบขนานไปกับพื้น แต่เมื่อตกใจหรือโกรธสามารถยกตัวขึ้นชูคอได้สูงประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดความยาวลำตัว เทียบความสูงได้ในระดับประมาณเอวของคน จังหวะที่ยกตัวชูสูงขึ้นในครั้งแรกจะมีความสูงมากและค่อย ๆ ลดลงมาอยู่ในระดับปกติตามเดิม ไม่ส่งเสียงขู่ฟ่อ ๆ เมื่อมีสิ่งใดเข้าใกล้เช่นเดียวกับงูเห่า ที่สามารถพ่นลมออกจากทางรูจมูกซึ่งเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะของงูเห่าแผ่แม่เบี้ยได้เหมือนงูเห่าแต่จะแคบและไม่มีลายดอกจันที่บริเวณศีรษะด้านหลัง มีลายค่อนข้างจางพาดตามขวาง มีลักษณะเป็นบั้ง ๆ แทน

งูจงอางเป็นงูพิษที่สามารถต้านทานพิษงูชนิดอื่น ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม เช่น งูเห่า งูกะปะ เมื่อเกิดการต่อสู้และถูกกัดจะไม่ได้รับอันตรายจนถึงตาย แต่จะกัดและกินงูเหล่านั้นเป็นอาหารแทน งูจงอางมีเกล็ดพิเศษบนศีรษะจำนวน 1 คู่ อยู่บริเวณด้านหลังของเกล็ดกระหม่อม (Parietals) มีชื่อเรียกว่า Occipitals ซึ่งจะมีเฉพาะงูจงอางเท่านั้น มีถิ่นอาศัยอยู่ในป่า ไม่ปรากฏว่าพบตามสวนหรือไร่นา ทำรังและวางไข่ประมาณปีละครั้ง ครั้งละประมาณ 20 - 30 ฟอง ชอบทำรังในกอไผ่ กกและฟักไข่เองจนกว่าลูกงูจะเกิด

;;
Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม